วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

แนวทางการใช้กำลังทางเรือตามโครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ ของกรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์






ผลการศึกษาแนวทางการใช้กำลังทางเรือตามโครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ. ๑๒๙ ของกรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์และเอกสารความเห็นเกี่ยวกับเรือ ส.ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อการปรับปรุงแผนป้องกันประเทศทางทะเลของกองทัพเรือ

บทความนี้ได้รับรางวัล ๒ รางวัล คือ รางวัลเอกสารประจำภาคดีเด่นจากวิทยาลัยการทัพเรือ(ย่อมาจากเอกสารประจำภาค(เป็นงานวิจัย))และเป็นบทความดีเด่นชมเชยอันดับที่ ๒ รางวัลพลเรือเอกกวี สิงหะ จากการลงบทความนี้ในวารสารนาวิกศาสตร์

นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล
 ชนชาติใดก็ตาม ถ้าไม่คิดคำนึงนึกถึงประวัติศาสตร์ ชนชาตินั้นไม่มีอนาคต” เซอร์ วิลตัน เชอร์ชิล
กองทัพของทุกประเทศถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีภารกิจหลักสำคัญในการป้องกันประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทยได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ หน้าที่รัฐ คือรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นภารกิจหลักของกองทัพเรือในการรักษาอำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย เขตแดนทางทะเลรวมถึงการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจากประวัติศาสตร์ชาติไทยพบว่าแนวความคิดระดับยุทธการในการทำสงครามขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมความมั่นคงในแต่ยุคสมัยและเทคโนโลยีของอาวุธที่เปลี่ยนแปลงไปเห็นได้จากประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยาได้ใช้แนวคิดการป้องกันเชิงลึกหรือ Defense in Depth ในการป้องกันประเทศโดยจัดการปกครองประเทศเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค(หัวเมือง)และการปกครองประเทศราช ที่มีจุดศูนย์ดุลของประเทศ คือกรุงศรีอยุธยา แต่แนวคิดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงในสมัยสงครามเก้าทัพใน สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นการทำสงครามระหว่างพม่ากับไทยซึ่งฝ่ายพม่ามีพระเจ้าปดุง เป็นกษัตริย์ ได้ยกทัพมา ๙ ทัพ รวม ๑๔๔,๐๐๐ นาย ซึ่งฝ่ายไทยมีกำลังพล ๗๐,๐๐๐ นาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงวางแผนการรบแบบการป้องกันเชิงรุก(Active Defense) ในการป้องกันประเทศซึ่งแตกต่างจากสมัยอยุธยาโดยจัดกองทัพเป็น ๔ กองทัพโดยกองทัพแรกโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทให้ไปรับศึกแรกที่ด่านเจดีย์สามองค์ จว.กาญจนบุรี ด้วยความชำนาญในพื้นที่และผลของการตัดการส่งเสบียงของพม่าได้สำเร็จ ยุทธวิธีการลวงและการรบในเวลากลางคืน ทำให้ประเทศไทยชนะ ในศึกพม่าครั้งแรกและต่อมาก็ได้ชัยชนะในการรบทั้งหมด ได้แก่ การศึกที่หัวเมืองลำปาง พิษณุโลกและหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่นเดียวกับแนวคิดการรบแบบแตกหัก(Decisive Operation) ในสมัยสงครามกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ใช้แนวคิดนี้ในการนำกองเรือรบของไทยจากจันทบุรีมายกพลขึ้นบกแล้วเข้าตีค่ายโพธิสามต้นของพม่าจนแตกพ่ายจนทำให้ประเทศไทยได้รับเอกราชจากพม่า ซึ่งแนวคิดแบบการป้องกระเทศแบบเชิงรุกนี้กองทัพไทยก็ได้นำมากำหนดเป็นหลักการสงครามของกองทัพไทยซึ่งใช้ในการป้องกันประเทศในปัจจุบัน


ภาพที่ ๑ ภาพ ๒๕๐ ปีตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
           ที่มา: https://www.innnews.co.th/social/news_222597/
ภารกิจในการป้องกันประเทศทางทะเลของกองทัพเรือ
          อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒  เท่ากับ ๓๒๓,๔๘๘.๓๒ ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ของอาณาเขตทางบกที่มีเนื้อที่อยู่ประมาณ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งทะเลฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศทั้งสิ้น ๓๑๔๘.๒๓ กิโลเมตร ครอบคลุม ๒๓ จังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเล  อาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) จึงมีความสำคัญต่อความมั่นคง ความอยู่รอดและความมั่งคั่งของประเทศในลักษณะ ๒ ประการ ได้แก่ 
๑.อาณาเขตทางทะเลแสดงถึงอำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของประเทศไทยที่ประเทศอื่นไม่สามารถเข้ามายึด/ครอบครองหรือแสวงประโยชน์ในพื้นที่เขตแดนทางทะเลของไทย
๒.อาณาเขตทางทะเลเป็นที่มาของผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอันเนื่องมาจากการนำทรัพยากรธรรมชาติในทะเล เช่น สัตว์น้ำ  แร่ธาตุ น้ำมันและแก้สธรรมชาติ ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจของประเทศเช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ การประมง และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทะเลในการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเล การขนส่งทางทะเล เป็นต้น โดยในยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ๒๐ปี ได้ประมาณการผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในปี พ.ศ ๒๕๕๗ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ ๒๔ ล้านล้านบาทต่อปี
           พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการ กห.พ.ศ.๒๕๕๑ กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลัง ทร. ป้องกันราชอาณาจักรและการใช้กำลัง ทร. โดยมี ผบ.ทร.เป็นผู้บังคับบัญชา และ พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒  ให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.)ขึ้นตรงสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่วางแผน/สนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานรัฐในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและการประเมินสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมี นรม.เป็น ผอ.ศรชล. และ ผบ.ทร. เป็น รอง ผอ.ศรชล.
สรุปภารกิจในการป้องกันประเทศทางทะเลของกองทัพเรือ คือ การรักษาเอกราช อธิปไตย สิทธิอธิปไตย การคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางทะเลของประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยจุดศูนย์ดุลระดับยุทธศาสตร์ของประเทศทางทะเล หมายถึง ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศไทยแบ่งออกได้ ๒ ระดับ ได้แก่
      ระดับที่ ๑ Survival National Interests  ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อการดำรงอยู่ของชาติตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของการโจมตี ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ขั้นสำคัญที่สุดของชาติเพราะถ้าชาติไม่สามารถดำรงความอยู่รอดได้แล้วผลประโยชน์ที่เหลือก็ไม่มีความหมายซึ่งจุดศูนย์ดุลของประเทศทางทะเลในระดับ Survival Interests นี้ หมายถึง การรักษาเอกราช อธิปไตย สิทธิอธิปไตย ในเส้นเขตแดนทางทะเลไม่ให้ศัตรูเข้ามาล่วงล้ำหรือยึดครองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยเป็นแนวคิดเดียวกับแผนป้องกันชายแดนของ ทบ. ในการวางกำลังทางบกป้องกันเขตแดนทางบก
       ระดับที่ ๒ คือ Vital National Interests คือ เป็นสถานการณ์ที่จะมีภัยร้ายแรงเกิดขึ้นกับชาติถ้าไม่ใช้มาตรการรุนแรงซึ่งก็รวมถึงการใช้กำลังเข้าปกป้องผลประโยชน์นั้น โดยผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์ดุลของประเทศในระดับ Vital Interests ได้แก่ เส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเล (SLOC) เพราะมีผลต่อความอยู่รอดของชาติที่ตองพึ่งพาการนำเข้าและส่งออกของสินค้าด้วยระบบการขนส่งสินค้าทางทะเลมากว่าร้อยละ๘๐ ฐานขุดเจาะน้ำมันและแก้สธรรมชาติในทะเล เรือขนส่งน้ำมันในทะเล โครงสร้างพื้นฐานของประเทศทางทะเล (Maritime Critical Infrastructure) ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก อู่ต่อเรือ ฐานทัพเรือ เรือลำเลียงขนส่งน้ำมันดิบ ฐานขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในทะเล ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล ทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในทะเล อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน/ปิโตรเคมี เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายฝั่งทะเลนี้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติที่มีความสำคัญยิ่งที่ ทร.ต้องใช้กำลังทางเรือในการคุ้มครองป้องกัน
ความสำคัญของการกำหนดแนวทางการใช้กำลังทางเรือของกองทัพเรือในยุทธศาสตร์และแผนป้องกันประเทศ
แนวทางการใช้กำลังทางเรือของกองทัพเรือ มีความสำคัญอย่างมากด้วยเหตุผลเพื่อใช้เป็นกรอบแนวความคิดในการปฏิบัติ(Concept of Operation)ในการเขียนแผนยุทธการ(Operation Plans)ของแผนป้องกันประเทศทางทะเลเพื่อการรบให้ได้ชัยชนะและเพื่อใช้ในยุทธศาสตร์การเตรียมกำลังกองทัพเรือ คืออยู่ในหลักเกณฑ์สำคัญที่ต้องพิจารณาในการกำหนดยุทธศาสตร์และโครงสร้างกำลังรบ(Strategic and Force Planning)ของกองทัพเรือ กล่าวคือการทำโครงการเสริมสร้างกำลังรบจะต้องจัดหายุทโธปกรณ์ตามแนวความคิดด้านยุทธการที่กำหนดในยุทธศาสตร์กองทัพเรือและ แผนป้องกันประเทศ ตัวอย่าง เอกสาร Sea Power 21 : Transformation Plan ของ ทร.สหรัฐฯ กำหนดแนวความคิดระดับยุทธการทางเรือ(Naval Operational Concept: NOC) ว่า “Sea Strike, Sea Shield, Sea Baseเป็นกรอบในการจัดหาและพัฒนาเทคโนโลยีของเรือและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้สอดคล้องกับแนวความคิดด้านยุทธการหรือเป็นแนวคิดในการรบสมัยใหม่เพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติสหรัฐในนอกประเทศซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแผนการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือสหรัฐหรือ Defense Planning Guidance for Fiscal Years ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนถึงผลลัพธ์ของการกำหนดแนวความคิดระดับยุทธการทางเรือของสหรัฐที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศและการรักษาผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอันนำไปสู่การที่สหรัฐสามารถเป็นประเทศมหาอำนาจทางทะเลในยุคปัจจุบัน โดยมี  กองทัพเรือสหรัฐเป็นเครื่องมือหลักในการปฏิบัติการในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติสหรัฐนอกประเทศ ตัวอย่างการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารด้านกำลังทางเรือของสหรัฐที่รองรับ Power and Access …From the sea (Sea Strike , Sea Shield , Sea Base) ได้แก่ ระบบการอำนวยการรบสนับสนุนการทำสงครามแบบ NCW การพัฒนาขีปนาวุธโจมตีฝั่งจากเรือ เช่น โทมาฮอร์ค ระบบป้องกันภัยทางอากาศกองเรือที่เรียกว่า AEGIS Combat System (ACS) การพัฒนาเรือสนับสนุนการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ การส่งกำลังบำรุงระดับยุทธศาสตร์ทั้งระบบ Airlift และ Sealift  เป็นต้น



ภาพที่ ๒ ภาพ US Naval Operational Concept “Sea Strike, Sea Shield, Sea Base”
ที่มา: "Sea Power 21: Projecting Decisive Joint Capabilities". วารสาร Proceedings  พลเรือเอก Vern Clark  
 ดาบของชาติ เล่มนี้คือชีวิตเรา ถึงจะคมอยู่ดีลับไว้ สำหรับสู้ไพรีให้ชาติเรานา ให้มิตรให้เมียให้ลูกแล้ชาติไทย”ด้วยระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดากองทัพเรือที่มีต่อประเทศชาติและกองทัพเรือ โดยพระองค์จบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ทรงได้ริเริ่มจัดทำโครงการป้องกันประเทศด้านทะเลที่เรียกว่า“โครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙”ประกอบด้วยแนวคิดในการใช้กำลังทางเรือและความต้องการกำลังรบทางเรือซึ่งก็คือแผนการทัพ(Campaign Plan) ในการป้องกันประเทศทางทะเลฉบับแรกของประเทศไทยโดยวิสัยทัศน์ของพระองค์เป็นแนวคิดยุทธศาสตร์ทะเล (Maritime Strategy) คือ การมองเขตแดนทางทะเลเป็นเสมือนแผ่นดินที่ต้องมีอำนาจอธิปไตยและการที่ประเทศต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเช่นเดียวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางบกและความขัดแย้งระหว่างรัฐสามารถขยายอำนาจจากทะเลขึ้นสู่ฝั่งและยึดครองพื้นที่ทางบกต่อไปได้ เช่น วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ สงครามฝรั่งเศส-สยาม ซึ่งฝรั่งเศสใช้การทูตเเบบเรือปืน นำเรือละเมิดอธิปไตยของไทยโดยมีการสู้รบกันที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและฝรั่งเศสได้ทำการปิดอ่าวไทยบริเวณเกาะสีชัง และการยึด จว. จันทบุรีและ จว. ตราด กดดันจนทำให้รัฐบาลไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งสิบสองจูไทยต้องตกอยู่ใต้ปกครองของฝรั่งเศส รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๔๓,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร พลเมืองประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คน และการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นที่ จว.ประจวบคีรีขันธ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นหลักฐานสนับสนุนแนวคิดนี้ ซึ่งกองทัพไทยควรต้องนำมาทบทวน/ปรับปรุงแผนป้องกันประเทศโดยให้ความสำคัญกับสงครามจำกัดทางทะเล (Limited War)
      


ภาพที่ ๓ พิธีมอบเมืองตราดและเกาะกงให้กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำเขมร และจวนเรสิดังกัมปอร์ต ( Residence Kampot)ใช้เป็นที่พำนักข้าหลวงฝรั่งเศสที่ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด
ที่มา ภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส (ปกหลัง) Le Petit Journal ฉบับวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๐๕
ที่มาของโครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙
   




ภาพที่ ๔ เหตุการณ์ ร.ศ ๑๑๒ การรบที่ปากน้ำ จว.สมุทรปราการและการสูญเสียดินแดนของไทย
ที่มา: แชน ปัจจุสานนท์ และ สวัสดิ์ จันทนี, กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา สมัย ร.ศ.๑๑๒, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๑๙)

๑.   วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) เป็นวิกฤตการณ์ที่ฝรั่งเศสที่เข้ามารุกรานแผ่นดินสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ขณะนั้นประเทศไทยยังใช้ชื่อ สยาม โดยการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยามเป็นไทย เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.. ๒๔๘๒ ตามที่รัฐบาลมีมติพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศ) โดยฝรั่งเศสได้ยึดประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม และวางแผนจะเข้ายึดประเทศลาว ซึ่งขณะนั้นลาวยังเป็นดินแดนในอาณัติของสยาม แต่ฝรั่งเศสอ้างว่าลาวควรเป็นของเวียดนามด้วย ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ส่งเรือลูแตงพร้อมเรือรบ ๒ ลำเข้ามารุกรานกดดันไทยเพื่อยื่นข้อเรียกร้องที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรัฐบาลไทยได้ทำการประท้วง แต่ฝรั่งเศสไม่สนใจทำให้เกิดการรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างหมู่เรือฝรั่งเศสและป้อมผีเสื้อสมุทร จว.สมุทรปราการใน ๑๓ ก....๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) กำลังทางเรือที่ ทร.มีได้แก่  .ล มกุฎราชกุมาร และ ร.ล มูรธาวสิตสวัสดิ์ ซึ่งมีอำนาจการยิงของปืนเรือที่ด้อยกว่าและทหารเรือฝรั่งเศสมีความชำนาญในการรบ ขณะที่ทหารเรือไทยยังไม่มีความชำนาญในการรบทำให้ไม่สามารถหยุดยั้งเรือรบฝรั่งเศสที่มีอำนาจการยิงที่ดีกว่าได้   ทำให้เรือฝรั่งเศสสามารถเดินเรือขึ้นไปจอดกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและ หันปืนเรือเข้าหาพระบรมมหาราชวัง บีบให้ไทยยอมจำนนโดยต้องยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ภายใน ๒๔ ช.ม และฝรั่งเศสยังได้กดดันโดยเข้ายึดครอง จว.จันทบุรี และยึด จว.ตราด    บีบบังคับให้ไทยยอมยกดินแดนเกาะกงให้ฝรั่งเศสเพิ่มเติมด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาอาณาเขตดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงทรงยอมตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยรัฐบาลไทยได้ทำสนธิสัญญาสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. ๑๒๒ (อังกฤษ: Franco–Siamese Treaty of 1904; ฝรั่งเศส: Traité français–siamois de 1904) เป็น อนุสัญญา (convention) หรือที่ในสมัยนั้นเรียกว่า "สัญญาน้อย" ระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ กับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในสมัยของประธานาธิบดีเอมีล ฟรังซัวส์ ลูเบต์ (Émile François Loubet) มีเนื้อหาสำคัญเป็นการกำหนดเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนใกล้เคียงซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้วกับทั้งยังให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวฝรั่งเศสหรือผู้อยู่ในบังคับฝรั่งเศสด้วยโดยไทยยอมสละกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝรั่งเศส ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิในการปกครองลาวและจ่ายเงินค่าปรับ  ๓ ล้านฟรังซ์ให้ฝรั่งเศษจากเหตุการณ์ รศ.๑๑๒ ได้สร้างความเจ็บพระทัยแก่รัชกาลที่ ๕ โดยเฉพาะกรมหลวงชุมพรฯพระองค์ทรงสัก ตราด ร.ศ. ๑๑๒ ไว้ที่พระอุระเพื่อเตือนใจ โดยเหตุการณ์นี้เป็นบทเรียนสำคัญของประเทศไทยในการป้องกันประเทศทางทะเล


ภาพที่ ๕ อาณาเขตของประเทศสยามและหนังสือสัญญาสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. ๑๒๒

  
ภาพที่ แนวความคิดของกรมหลวงชุมพรฯ ในการใช้กำลังทางเรือและการวางตำบลที่กำลังตามพื้นที่แบ่งพื้นที่การป้องกันประเทศทางทะเลเป็น ๕ ชั้น จากเขาสามร้อยยอดจนถึงสิงคโปร์

ที่มา: โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙. กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ.๒๔๕๓) นี้มีคณะกรรมการประกอบด้วย นายพลเรือตรี พระเจ้า       พี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ต่อมาเป็น นายพลเรือเอก กรมหลวง ฯ ) นายพลเรือตรี พระยาราชวังสรรค์ (ฉ่าง แสง–ชูโต ต่อมาเป็นนายพลเรือเอก พระยามหาโยธา) และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต่อมาได้เป็นนายพลเรือเอก กรมหลวง ฯ ) ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (ต่อมาเป็น จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระ ฯ ) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และเสนาบดี ฯ ทรงน้ำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙ กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯไว้ว่าเพื่อเอาเปนการเด็ดขาดไว้ว่าสร้างเรือสำหรับป้องกันภัย ไม่ใช่สำหรับไปท้าทายต่อยุทธ์กับประเทศอื่น นอกจากพระราชอาณาเขตร์โดยโครงการจัดหาเรือรบจะจัดหาเรือรบทีละชั้นตามแนวคิดการป้องกันทางลึกหรือ Defense in Depth เพื่อการป้องกันประเทศทางทะเล โดยพิจารณาตามข้อจำกัดงบประมาณ ทั้งนี้โครงสร้างกำลังรบทางเรือ แบ่งออกเป็น ๒ กองทัพเรือ คือ
กองทัพเรือที่ ๑ ภารกิจป้องกันปากน้ำ (น่านน้ำภายใน)
ก.      พื้นที่ปฏิบัติการ ได้แก่ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง และแม่กลอง
ข.      แผนเสริมสร้างกำลังรบทางเรือ กองทัพที่ ๑ ต้องการเรือ ๓ ประเภท เรือมีอาวุธปืนใหญ่ขนาด   ๖ นิ้ว หรือ ๔.๗ นิ้ว กับปืนขนาด ๖ ปอน์ด ทำการในที่แคบหรือแม่น้ำ จำนวน ๘ลำ เรือวางทุ่นระเบิดที่บรรทุกทุ่นระเบิดได้ ๒๐ ลูก กับมีอาวุธปืนกลติดเรือจำนวน ๙ลำ และเรือสืบเหตุในแม่น้ำมีหน้าที่สอดแนมจนถึงนอกปากน้ำ จำนวน ๒๔ ลำ
ค.        กำลังรบทางเรือที่มี คือ เรือพิฆาตขนาดเล็ก ๒ ลำ เรือตอร์ปิโดขนดเล็ก ๔ ลำ
        กองทัพเรือที่ ๒ เป็นเรือลาดตระเวนทางทะเล ภารกิจลาดตระเวนและโจมตีเรือข้าศึก
ก.       พื้นที่ปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น ๕ ชั้น
-       ชั้นที่ ๑ ป้องกันแนวระหว่างช่องแสมสารกับสามร้อยยอด
-       ชั้นที่ ๒ ป้องกันแนวระหว่างเกาะกูตกับเกาะสมุย
-       ชั้นที่ ๓ ป้องกันแนวระหว่างแหลม เขมรกับสงขลา (ใช้เรือพิฆาตใหญ่ ๔ ลำ เรือพิฆาตเล็ก ๑๖ ลำ เรือตอร์ปิโดชั้นที่สอง ๘ ลำ และเรือลำเลียง ๔ ลำ)
-       ชั้นที่ ๔ ป้องกันแนวระหว่างปากน้ำไข่ง่อนกับเกาะเรดัง
-       ชั้นที่ ๕ ป้องกันแนวระหว่างปากน้ำไซ่ง่อนกับสิงคโปร์
ข.      แผนเสริมสร้างกำลังรบทางเรือ กองทัพที่ ๒ นี้ต้องการเรือ ๖ ประเภท
-       เป็นเรือพิฆาตขนาดใหญ่ ออกไปลาดตระเวนได้ถึงปากน้ำไซง่อน จำนวน ๒๙ลำ
-       เรือพิฆาตขนาดเล็ก ใช้ ลว.ภายในและระหว่างเกาะต่าง ๆ จำนวน ๘๒ ลำ
-       เรือตอร์ปิโดชั้นที่ ๒ ขนาดที่มีอยู่แล้ว สำหรับต่อสู้กับเรือลาดตระเวนของข้าศึกบริเวณเกาะสีชังในเวลากลางคืนจำนวน ๓๔ ลำ
-       เรือ ส. (เรือดำน้ำ) สำหรับลอบทำลายเรือใหญ่ข้าศึกจำนวน ๖ ลำ
-       เรือลำเลียง เป็นกองเสบียงจำนวน ๑๔ ลำ
-    เรือช่วยรบ เช่น เรือจูง เรือ ค้าขายใช้ราชการเมื่อเกิดศึกสงคราม
ผลการศึกษาแนวคิดระดับยุทธการ (Operational Concept) โครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ 
ผลการวิเคราะห์แนวคิดพระราชทานกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ในการใช้กำลังป้องกันประเทศทางทะเลเป็นรูปแบบการป้องกันเชิงลึก(Defense in Depth) ในสถานการณ์ปกติถึงขั้นขัดแย้งระดับสูง และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นการใช้การป้องกันเชิงรุก(Active Defense) ในช่วงสถานการณ์วิกฤติจนถึงขั้นป้องกันประเทศซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ประเทศและภัยคุกคามของประเทศไทย ซึ่งตรงกับหลักนิยมทหารในยุทธศาสตร์ทหารในปัจจุบัน ทั้งนี้แนวคิดพระราชทานฯนี้มีแกนสงครามหรือทิศทางการเคลื่อนที่ของภัยคุกคามที่มาจากทางทะเลจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือโดยแบ่งพื้นที่ป้องกันทางทะเลออกเป็นชั้น ๆแบบ Defense In-depth โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการตามโครงสร้างกำลังรบเป็นก้นอ่าว กลางอ่าว ปากอ่าว โพ้นอ่าวตามลำดับ โดยมุ่งวางกำลังทางเรือเพื่อป้องกันจุดยุทธศาสตร์ประเทศ คือ เมืองหลวง ได้แก่ กรุงเทพฯ (เช่นเดียวกับกองทัพบกที่ใช้แนวคิดป้องกันเชิงรุก(บทเรียนสงครามเก้าทัพ) ในการป้องกันเมืองหลวงคือกรุงเทพฯในการป้องกันประเทศเช่นกัน) ซึ่งแนวคิดนี้แตกต่างจากการจัดโครงสร้างกำลังของกองทัพเรือในปัจจุบันที่นำเอาแนวคิดการวางกำลังทางบกเพื่อป้องกันการรุกรานทางบกจากภัยคุกคามประเทศเพื่อนบ้านตามแผนป้องกันประเทศมาจัดเป็น  ๓ ทัพเรือภาค คือ ทัพเรือภาคที่ ๑ และทัพเรือภาคที่ ๒ รับผิดชอบด้านอ่าวไทยและมหาสมุทรแปซิฟิกโดยมีเส้นแบ่งความรับผิดชอบของทัพเรือภาคทั้งสองบริเวณเกาะสมุย  จว.สุราษฎรธานี และ ทรภ.๓ รับผิดชอบด้านทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย โดยมี    ทิศทางการเคลื่อนที่ของภัยคุกคามที่มาจากทางทะเลจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกและทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกซึ่งการจัดลักษณะนี้จะเอื้อต่อกิจสนับสนุนการป้องกันประเทศทางบกของกองทัพไทย แต่ไม่ได้สร้างความได้เปรียบในการป้องกันประเทศทางทะเล ที่ต้องพิจารณาจากภูมิยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่ภาคใต้มีลักษณะเป็นแผ่นดินยื่นไปในทะเลโดยแบ่งพื้นที่โลกทางทะเลเป็น ๒ มหาสมุทรคือมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก คือเป็นแกนเหนือ-ใต้และแบ่งพื้นที่ออกเป็นชั้น ๆในการป้องกันประเทศซึ่งแนวคิดแกนของสงครามจากจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือตรงกับแนวคิดในการวางระบบป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ



ภาพที่ ๗ แสดง Map axis expansion in the Pacific สงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝ่ายญี่ปุ่นจะเห็นชัดเจนว่าแกนของสงครามมาจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก คือจากสหรัฐ (เกาะฮาวายหรือภาพขวายุทธวิธี Island Hopping สหรัฐรุกคืบทีละเกาะจนถึงญี่ปุ่น)
ที่มา: https://slideplayer.com/slide/2531946/
อธิบายความสำคัญของการพิจารณาทิศทางหรือแกนในการรบ (Direction/Axis)  ในการวางแผนการป้องกันประเทศ ใน อทร.๘๓๐๗ การใช้ยุทธศิลป์วาดภาพการรบ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการได้มาซึ่งการชนะสงคราม คือ  การออกแบบการรบระดับยุทธการ (Operational Design) ซึ่งนอกจากองค์ประกอบ ได้แก่ คำสั่ง/นโยบายของหน่วยเหนือ วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุ ความปรารถนาในบั้นปลาย (Desired End-State) พิสูจน์ทราบปัจจัยวิกฤติ (Critical factors ) ของข้าศึก จุดศูนย์ดุล และแผนทางยุทธการ (Operational scheme or idea) ทั้งนี้ความเข้าใจในเรื่องทิศทางหรือแกนในการรบ (Direction/Axis)  ก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการวางกำลังทางเรือและการพิจารณาผลประทบด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยคำว่าทิศทางหรือแกนการรบ หมายถึง ช่องทาง ทั้งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ ที่แผ่ขยายออกจากฐานปฏิบัติการฝ่ายเราไปยังสิ่งที่มุ่งทางวัตถุ (Physical objective) ซึ่งประกอบด้วยจุดเด็ดขาดทางการรบ (Decisive Point )โดยในแต่ละทิศทางหรือแกนการรบยังบรรจุเส้นทางปฏิบัติการ (Lines of Operation) การกำหนดทิศทางการรบต่อสิ่งที่มุ่งทางวัตถุเป็นการประสานปฏิบัติการต่างๆของกำลังรบที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันหรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น แกนของความพยายามหลักของข้าศึก
ความเห็นเรื่อง เรือ ส โดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก



ภาพที่ ๘ ความเห็นเรื่อง เรือ ส และการพัฒนาของโครงการเรือดำน้ำของกองทัพเรือ
ที่มา: เอกสารสำเนาความเห็นเรื่อง เรือ ส ,กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
  กองทัพเรือได้เริ่มความสนใจในการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๖  ตามเอกสารโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.๒๔๕๓ โดยในเอกสารนั้นกำหนดให้มีเรือ ส. (สับมะรีน หรือเรือดำน้ำ) จำนวน ๖ ลำ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นนายเรือโท สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ได้เสด็จกลับประเทศไทยหลังพระองค์จบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือเยอรมันที่ Imperial German Naval College โดยระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ทรงสอบได้เป็นที่ ๑ และในปีสุดท้ายของการศึกษา ทรงชนะการประกวดการออกแบบเรือดำน้ำ พระองค์ทรงสนพระทัยและเชี่ยวชาญทางเรือดำน้ำและเรือตอร์บิโดรักษาฝั่งซึ่งทรงศึกษามาจากประเทศเยอรมัน เมื่อทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ พระองค์ได้ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับกำลังเรือดำน้ำ ซึ่งทรงใช้ชื่อว่า "ความเห็นเกี่ยวกับเรือ ส." (เหตุที่ทรงใช้คำแทนเรือดำน้ำว่า "เรือ ส." ก็เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการเดิม ที่ทูลเกล้าถวายไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓) เสนอต่อเสนาธิการทหารเรือในเวลานั้นคือ นายพลเรือโท พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรม  เกรียงไกร เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๘ โครงการนี้มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ที่สุดเกี่ยวกับ ขนาดและคุณสมบัติของเรือดำน้ำที่กองทัพเรือควรจะมี เรือพี่เลี้ยง อู่ และโรงงานที่ต้องการ กำลังพลประจำเรือ การฝึกและการสวัสดิการของคนประจำเรือ การปกครองบังคับบัญชา ตลอดจนงบประมาณ ต้องใช้ในโครงการการนี้ทั้งหมด โดยพระองค์ได้ทรงอธิบายประโยชน์ของ       "เรือ ส." หรือ "เรือดำน้ำ" ไว้ว่า "…ข้าศึกจะคอยคิดถึงเรือ ส.ของเราในเวลาที่เขาจะจัดกองทัพเรือเข้ามาตีกรุงสยาม.. เพื่อจะหนีอันตรายจากเรือ ส. ข้าศึกคงจะไม่ส่งเรือใหญ่เข้ามาเพื่อให้มาเป็นเป้าแก่เรือ ส.ได้.. ข้าศึกคงจะส่งเรือขนาดเล็กแล่นเร็ว เพราะฉะนั้นต้องส่งหลายลำทำให้การจับจ่ายใช้สอยแพงเงินขึ้น การขนทหารด้วยเรือเล็กจะต้องมากกว่าเรือใหญ่ การส่งเสบียงอาหารจะเป็นการลำบากมากเพราะจะต้องมีเรือรบคุมเสมอ.. ถ้าเรือที่ส่งเข้ามาเป็นเรือเล็กแล้ว จะมีช่องให้เรือพิฆาตและเรือปืนของเราต่อสู้ได้โดยไม่เสียเปรียบมากนัก.. ถ้าเรามีเรือ ส.แล้ว ข้าศึก จะต้องระวังอยู่เสมอ ไม่ให้เรือ ส.เข้าโจมตีโดยไม่รู้ตัวได้ การระวังอันนี้ทำให้คนประจำเรือได้รับความลำบากมาก..." ทั้งนี้สมเด็จพระบรมราชชนก ได้ทรงจัดทำเอกสารรายงานความเห็นเรื่องเรือ ส. ระบุถึงข้อมูลแนวทางการจัดหาเรือดำน้ำ การใช้งานเรือดำน้ำสำหรับประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญเป็นสำนวนของพระองค์ท่าน) ดังนี้
๑. กล่าวถึงการมีเรือ ส ในเมืองไทย ถามว่าเรือ ส จะมีในเมืองไทยได้หรือไม่แล้วต้องขอตอบว่าได้เป็นแน่ ถ้าเรามีเรือ ส แล้ว ๑) ข้าศึกจะต้องคิดถึงเรือ ส ของเราด้วยในเวลาที่เขาจะจัดกองทัพเข้ามาตีกรุงสยาม สงครามคราวนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรือ ส เพราะฉะนั้นเพื่อจะหนีอันตรายเรื่อง เรือ ส ข้าศึกจะไม่ส่งเรือใหญ่เข้ามาเป็นเป้าแก่เรือ ส ได้แลคงจะไม่ส่งเรือที่แล่นช้าเข้ามาเป็นแน่  ๒) การสืบข่าวในทะเลใหญ่จะใช้เรือ ส ได้แต่ถ้าใช้เรือพิฆาตแล้วจะเห็นได้ไกลกว่าแต่เรือ ส ดีกว่าเพราะดำน้ำหนีได้ด้วย ๓) ถ้าเรามีเรือ ส แล้ว ในเขตร์ท้องทะเลเป็นเขตร์ที่มีอันตรายได้จากเรือ ส ของเราได้ (Sphere of Submarine Danger) เพราะฉะนั้นเวลาข้าศึกเข้ามาในเขตร์นี้แล้วจะต้องระวังตัวอยู่เสมอไม่ให้เรือ ส เข้าโจมตีในเมื่อไม่รู้ตัวได้การระวังอันนี้และทำให้คนประจำได้ความลำบากมาก ๔) ถ้าข้าศึกจะขึ้นบกที่ไหนจะต้องตั้งกองรักษาการด้วยเรือพิฆาตให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้เรือ ส ดำเข้าไปทำลายเรือบรรทุกของได้ในเวลาที่ขนทหารขึ้นบก เรือลำเลียงก็ต้องมีเรือควบคุม (Convoy)
๒.  การใช้งานเรือ ส ใช้ได้ ๔ ประเภท คือ ๑) สำหรับป้องกันท่าเรือ (Harbor Defense)  ๒) ป้องกันฝั่งที่สำคัญซึ่งข้าศึกอาจขึ้นบก (Coast Defense) ๓) ออกไปเข้าช่วยรบในกระบวนทัพเรือคู่กับเรือพิฆาตหรือปฏิบัติการอิสระในการโจมตีกองทัพเรือข้าศึก ๔) ใช้เข้าไปสืบข่าวที่ฝั่งข้าศึกหรือทำลายเรือรบที่จอดอยู่ที่ท่าเรือหรือปิดการเดินเรือและการค้าของข้าศึก (Military Blockade)
๓. ความมุ่งหมายของเรือ ส ในเวลาสงครามนั้นจะรักษาทะเลใหญ่ไว้นานที่สุดที่จะนานได้แลถ้าเห็นเรือข้าศึกแล้วจะเข้าโจมตีโดยไม่คิดเสียดายลูกตอร์ปิโดหรือลำเรือเองเพราะแม้ถึงเรือจะเสียแต่ถ้า ข้าศึกเสียเรือด้วยก็คุ้มกัน ความตกใจของข้าศึกนั้นสำคัญมากถ้าทำอย่างนั้นได้แล้วข้าศึกจะต้องระวังตัว เราจะรักษาปากน้ำทั้งสี่แลเกาะสีชังด้วยเรือ ส ได้ ตอน ๑ จะรักษาท้องทะเลเหนือเส้นเกาะจวน เกาะกูดสามร้อยยอดได้ ตอน ๒ จะรักษาได้ถึงเกาะสมุย ตอน ๒ ใหญ่อาจทำ Offensive ออกไปถึงสิงคโปร์
ผลการศึกษาแนวคิดระดับยุทธการ (Operational Concept) จากเอกสารความเห็นเรื่องเรือ ส
พบว่าพระองค์ได้มีการศึกษาโครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ โดยได้ใช้ชื่อ เรือ ส ตามเดิม ทั้งนี้แนวความคิดของพระองค์ได้เป็นการพัฒนาหลักการแนวคิดการรบทางเรือแบบชาติตะวันตกซึ่งตรงกับ จูเลียน เอส คอร์เบตต์ นักยุทธศาสตร์ทางเรือชาวอังกฤษ ซึ่งกำหนดพันธกิจกองทัพเรือคือ การพิทักษ์บ้านเกิด (Homeland) การสนับสนุนการส่งกำลังรบภาคพื้นเข้าสู่ที่หมายโพ้นทะเล(Power Projection from the Sea) การควบคุมทะเล (Sea Control) และการรบแตกหักทางเรือ(Decisive Naval Battle) ซึ่งทฤษฎีของคอร์เบตต์ ก็มีความใกล้เคียงกับหลักนิยมทางเรือของสหรัฐในปัจจุบันซึ่งนอกจากประเทศไทยแล้ว สหรัฐฯก็ใช้แนวคิดระดับยุทธการในการป้องกันประเทศแบบเชิงลึกหรือ Defense in Depth ในการป้องกันประเทศด้วยเช่นกัน แสดงได้ตามภาพ





ภาพที่ ๙ U.S. Global Defense Posture, 1783–2011
ที่มา: Stacie L.Pettyjohn , “U.S. Global Defense Posture, 1783–2011” ,Rand Cooperation Research,2012.(Sponsored by the US Air Forces ,Contract FA7014-06-C-0001).
 สิ่งที่น่าสังเกต คือ แนวความคิดของพระองค์ในการวางกำลังทางเรือตามเอกสารการใช้งานเรือ ส ยังคงสอดคล้องกับแนวความคิดระดับยุทธการในโครงการเสริมสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ คือ ในสถานการณ์ปกติถึงความขัดแย้งระดับต่ำเป็นการป้องกันเชิงลึก(Defense in Depth) และเมื่อในสถานการณ์ปกติถึงขั้นขัดแย้งระดับสูง และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นการใช้การป้องกันเชิงรุก (Active Defense) โดยพระองค์ได้มีความคิดเห็นเพิ่มเติมเรื่องการใช้เรือ ส ในการทำสงครามเชิงรุก (Offensive) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการรบกับเรือผิวน้ำและการทำสงครามแบบแตกหัก(Decisive Battle) เพื่อการป้องกันประเทศและรักษาอำนาจและสิทธิอธิปไตย ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของแผนการรบในการกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
           ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางภูมิศาสตร์ ที่มีต่อพฤติกรรมการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิยุทธศาสตร์ (Geostrategic) คือ สาขาย่อยภูมิรัฐศาสตร์ เป็นประเภทของนโยบายต่างประเทศที่นำโดยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเมืองและการทหาร
   



ภาพที่ ๑๐ พื้นที่ทะเลอาณาเขตของประเทศไทยถูกปิดล้อมจากประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มา: คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. กฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของไทย. http://mrpolicy.trf.or.th/Default.aspx?TabId=78 (สืบค้นเมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒).

            ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ตาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ เท่ากับ ๓๒๓,๔๘๘.๓๒ ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ ๖๐ ของอาณาเขตทางบกที่มีเนื้อที่อยู่ประมาณ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตรโดยมีความยาวชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้น ๓,๑๔๘.๒๓ กิโลเมตร ครอบคลุม ๒๓ จังหวัด ลักษณะของประเทศไทยมีแผ่นดินติดกับทะเล ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตกเป็นทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา ด้านตะวันออกเป็นอ่าวไทยเมื่อพิจารณาที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแล้วจะเห็นได้ว่าน่านน้ำอ่าวไทยมีลักษณะเป็นกึ่งปิด(Semi Enclosed Sea)ที่ห้อมล้อมด้วยน่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศต่าง ๆ ถึง ๒ ชั้น ด้านอ่าวไทยชั้นใน คือ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย และชั้นนอก คือ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ด้านตะวันตก พื้นที่ตอนเหนือของช่องแคบมะละกาถูกล้อมด้วยน่านน้ำของมาเลเซียและอินโดนีเซีย พื้นที่ตอนบนในส่วนของทะเลอันดามันถูกล้อมด้วยน่านน้ำของอินเดียและเมียนมาร์ ข้อได้เปรียบคือประเทศไทยสามารถมีศักยภาพในการเป็นจุดศูนย์กลางในการเดินเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้หากมีการพัฒนาสมุทานุภาพอย่างจริงจังทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมชายฝั่งที่มีระบบเชื่อมต่อระบบคมนาคมทางทะเลกับทางบกหรือทางอากาศ เช่น โครงการ “ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก”หรือ Eastern Economic Corridor อันจะเป็นโครงการที่มีความสำคัญยิ่งกับอนาคตของประเทศไทยและอาเซียน ข้อเสียเปรียบประเทศไทย คือ ข้อจำกัดในการเคลื่อนกำลังทางเรือจากอ่าวไทยไปทะเลอันดามันและการที่อาจจะถูกปิดอ่าวไทยได้ง่ายซึ่งทำให้เรือสินค้าและเรือน้ำมันที่นำเข้า-ส่งออกประเทศไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ส่งผลทำให้ประเทศขาดแคลนพลังงานซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
การกำหนดขนาดขีดความสามารถกำลังทางเรือของกองทัพเรือในอนาคต
          ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการกำหนดขนาดขีดความสามารถกำลังทางเรือของกองทัพเรือในห้วง ๒๐ปีได้แก่ ภารกิจและขนาดพื้นที่ปฏิบัติการที่กองทัพเรือได้รับผิดชอบและภัยคุกคามซึ่งเกิดจากการประเมินสภาพแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลในยุทธศาสตร์กองทัพเรือในห้วง ๒๐ปีข้างหน้า จากเอกสารแนวคิดในระดับยุทธการของ ทร.สหรัฐ(US 2010 Naval Operations Concept) ได้แบ่งสภาพภูมิศาสตร์ของทะเล (Maritime Geography) ไว้ ๓ ประเภทได้แก่  Blue Water คือ Open Ocean, Green Water คือ Coastal Waters, Ports and Harbors และBrown Water คือ Navigable rivers , their estuaries and bay ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในการกำหนดขนาดขีดความสามารถและใช้ในการแบ่งประเภทของกองทัพเรือ สรุปได้ดังนี้
๑.  Brown-Water Navy คือ กองทัพเรือที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการในลำน้ำหรือชายฝั่งมีระยะพื้นที่ปฏิบัติการจากแนวชายฝั่งไปจนถึงจุดสิ้นสุดของไหล่ทวีป กองทัพเรือ Brown-Water นี้จะมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานชายฝั่งและส่วนใหญ่มีบทบาทในเชิงป้องกัน
๒.  Green-Water Navy คือ กองทัพเรือที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการขยายระยะต่อจากBrown-Water Navy จากไหล่ทวีป(continental shelves) หมู่เกาะ(archipelagos)และเกาะต่าง ๆซึ่งบางครั้งมีระยะถึง ๒๐๐-๓๐๐ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ทางทะเลที่สำคัญเพราะเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลชายฝั่งและเป็นน่านน้ำภายในของประเทศซึ่งจะเกี่ยวข้องกับงานศุลกากร งานของตำรวจน้ำ งานสิ่งแวดล้อมและระบบทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกองทัพเรือประเภทนี้ต้องมีขีดความสามารถในการป้องกันประเทศทางลึก(Defense in Depth) และขีดความสามารถในการป้องกันเชิงรุกในอาณาเขตของตน (Offensive force within its territory)
๓.      Blue-Water Navy คือ กองทัพเรือที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการขยายระยะต่อจาก Green-Water Navy ไปจนถึงมหาสมุทร โดยกองทัพเรือประเภทนี้สามารถขยายสมุทานุภาพออกไปได้ทั่วโลก (Project its nation's power throughout the world) โดยปกติแล้วกองทัพเรือที่เป็น Blue-water navy นั้นจะประจำการเรือบรรทุกอากาศยานอย่างน้อยหนึ่งลำในกองเรือที่ประจำการนอกประเทศ ทั้งนี้จำนวนเรือและระยะเวลาประจำการก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพในมิติต่างๆของประเทศนั้นๆด้วย ในปัจจุบัน ประเทศที่จัดได้ว่ามีกำลังกองทัพเรือเป็น Blue-water navy นั้น ก็เช่น สหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังพัฒนากองทัพเรือของตนให้เป็น Blue-water navy เช่น เกาหลีใต้ อินเดีย และจีนโดยทั่วไปแล้วจุดประสงค์ของกองกำลังทะเลลึกนั้นไม่ได้พิจารณาเพียงแค่รับรองว่าประเทศใดประเทศหนึ่งได้รับการคุ้มครอง แต่เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยและเสถียรภาพของโลกรวมถึงการปกป้องเส้นทางการค้าโลก
การกำหนดขนาดขีดความสามารถกำลังทางเรือของกองทัพเรือในห้วง ๒๐ ปี เมื่อพิจารณาภารกิจ,บทบาท,หน้าที่ตามกฎหมายและขีดความสามารถของกองทัพเรือที่กระทำได้บนพื้นฐานงบประมาณที่ได้รับในการเสริมสร้างกองทัพเรือในห้วง๒๐ปีข้างหน้าต่อภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจริงจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องอาณาเขตทางทะเลและการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในทะเลคือประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตทางทะเลติดกับไทย ทั้งนี้จากนิยามหลักการในการกำหนดขนาดขีดความสามารถกำลังทางเรือของสหรัฐฯข้างต้น จึงสรุปได้ว่าด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ประเทศไทยเป็นแบบทะเลกึ่งปิด (Semi-Close) และภารกิจที่กองทัพเรือได้รับตามกฎหมาย กองทัพเรือไทยจึงเป็นกองทัพเรือแบบ “Green-Water Navy” ด้วยลักษณะธรรมชาติ ที่มีพื้นที่ปฏิบัติการในการควบคุมทะเล ป้องกันการถูกปิดอ่าว การรักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเลและคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในระยะอาณาเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล  ดังนั้นแนวคิดในการใช้กำลังในการป้องกันประเทศทางทะเล สามารถใช้ข้อได้เปรียบในลักษณะทะเลกึ่งปิดในการตั้งรับหรือต่อต้านการเข้าถึงพื้นที่ผลประโยชน์ประเทศของฝ่ายตรงข้าม(Anti-Access) ได้ด้วยการจัดตั้งระบบตรวจการณ์และแจ้งเตือนทางทะเลสนับสนุนระบบการรับรู้เท่าทันสถานการณ์ทางทะเล (Maritime. Domain Awareness: MDA) และการจัดตั้งฐานขีปนาวุธ/อาวุธปล่อยนำวีโจมตีจากฝั่งสู่ทะเลไปยังเป้าหมายเรือฝ่ายตรงข้ามได้ร่วมกับการปฏิบัติการทางเรือในการควบคุมทะเลในพื้นที่ทะเลเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

ประเด็นพิจารณาแนวโน้มความขัดแย้งระหว่างรัฐทางทะเลในศตวรรษที่ ๒๑
สรุปผลการประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในห้วง ๒๐ ปีข้างหน้า(พ..๒๕๘๐) พบว่า ปัญหาจากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาความมั่นคงทางทะเลปัญหาความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและความขัดแย้งด้านการเมือง การแพร่ขยายแนวคิดแบบสุดโต่งจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ อาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงาน สภาวะโลกร้อน ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัจจัยภายนอกประเทศพิจารณาในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ของไทยพบว่าที่ตั้งทางภูมิศาสตร์น่านน้ำไทยมีลักษณะเป็นกึ่งปิด (Semi Enclosed Sea) ที่ห้อมล้อมด้วยน่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ อ่าวไทยชั้นใน คือ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ชั้นนอก คือ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนทางด้านตะวันตกอันดามัน คือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อินเดียและเมียนมาร์ โดยประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการอ้างสิทธิ์เขตแดนทางทะเลและการแย่งชิงน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในพื้นที่เหลื่อมทับในทะเลอันเนื่องมาจากปัญหาความต้องการน้ำมันและแก้สธรรมชาติในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยและการที่ปริมาณสำรองน้ำมันและแก้สธรรมชาติของแหล่งผลิตในอ่าวไทยจะหมดภายใน ๑๐ปี อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกับประเทศกัมพูชาที่จะมีความต้องการน้ำมันและแก้สธรรมชาติมาใช้ในการพัฒนาประเทศที่จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจากการลงทุนของประเทศจีนสำหรับผลกระทบจากชาติมหาอำนาจประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งของทรัพยากรทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตโดยเฉพาะแก๊สธรรมชาติและน้ำมันในทะเล และเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและระบบพลังงานของโลก มหาอำนาจจึงมุ่งที่จะแผ่ขยายอิทธิพลทั้งการเมือง การทหารและด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทยและในประเทศในภูมิภาคนี้ ดุลยภาพและพลวัตด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงขึ้นอยู่กับบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจทั้ง จีน อินเดียและสหรัฐ




ภาพที่ ๑๑ พื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและแหล่งน้ำมัน,แก้สธรรมชาติอ่าวไทย
ที่มา: https://pantip.com/topic/35424020

ผลการวิเคราะห์ลักษณะการทำสงครามทางเรือในการเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐ  พบว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับการปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนในห้วง ๒๐ ปีข้างหน้ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด คือ สงครามจำกัดทางทะเล(Limited War) โดยกองทัพไทยจะมีวัตถุประสงค์ ทางทหารเพื่อสนับสนุนการสร้างอำนาจต่อรองในการรักษาความมั่นคงและการรักษาผลประโยชน์ของชาติในการเจรจายุติความขัดแย้งในระดับรัฐบาล ซึ่งเป้าหมายทางทหารของฝ่ายตรงข้าม คือ การเข้ายึดจุดศูนย์ดุลในระดับยุทธศาสตร์ของประเทศ ได้แก่ การเข้ายึดครองอาณาเขตทางทะเลโดยเฉพาะพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลกับไทย และการปฏิบัติการทางทหารในลักษณะการยึดครองและทำลายผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญซึ่งเป็นจุดศูนย์ดุลของประเทศทางทะเล หมายถึง ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศไทย แบ่งออกได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับที่ ๑  Survival National Interest  จะเกิดขึ้นเมื่อการดำรงอยู่ของชาติตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของการโจมตี คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่รัฐต้องรักษาความเป็นเอกราช อธิปไตย สิทธิอธิปไตย โดยเป็นแนวคิดเดียวกับแผนป้องกันชายแดนของ ทบ.  ระดับที่ ๒ คือ Vital National interest คือ เป็นสถานการณ์ที่จะมีภัยร้ายแรงเกิดขึ้นกับประเทศถ้าไม่ใช้มาตรการรุนแรงซึ่งก็รวมถึงการใช้กำลังเข้าปกป้องผลประโยชน์ได้แก่ เส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเล และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทางทะเล
ข้อเสนอในการปรับปรุงแผนการป้องกันประเทศทางทะเลจากผลการศึกษาโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ และความเห็นเกี่ยวกับเรือ ส. 
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ โดยกรมหลวงชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์นี้ถือว่าเป็นแผนการทัพ (Campaign Plan) หรือแผนป้องกันประเทศทางทะเลฉบับแรกของกองทัพเรือและของประเทศไทย ที่เป็นรากฐานในการพัฒนากำลังทางเรือยุคใหม่ต่อมาเช่น พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ ๒๔๗๗ โดยโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ เป็นการพัฒนากองเรือใกล้ฝั่ง (Coastal Fleet) จากกองทัพเรือที่มีขีดความสามารถในลักษณะ Brown Water Navy ไปเป็นกองทัพเรือที่เริ่มมีขีดความสามารถในลักษณะ Green Water Navy ทำให้ได้เรือปืน เรือสลุป เรือตอร์ปิโด เรือวางทุ่นระเบิด เรือดำน้ำ เรือลำเลียง รวม ๒๕ ลำ และมีเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล เข้าประจำการในปี พ.ศ ๒๔๘๑ ซึ่งกองเรือนี้ได้ใช้ในการรบกับฝรั่งเศสที่เกาะช้าง พ.ศ ๒๔๘๔ และปฏิบัติการในการรักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเลทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ การส่งกำลังทางเรือเข้าร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีในปี พ..๒๔๙๓ และสงครามเวียดนาม ต่อมาสหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศไทยด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ การให้ทุนการฝึกและศึกษาในประเทศสหรัฐ ทร.จึงได้นำวิธีการประเมินยุทธศาสตร์และการกำหนดโครงสร้างกำลังรบมาใช้ทำให้กองทัพเรือมีการจัดหายุทโธปกรณ์โดยเฉพาะเรือรบอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องกับภัยคุกคามและสภาพแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเห็นได้จากการพัฒนาแนวคิดโครงสร้างกำลังรบทางเรือของกองทัพเรือจาก Brown Water Navy ไปเป็น Green Water Navy ที่มีขีดความสามารถในการควบคุมทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลในปัจจุบันและอาจจะก้าวไปสู่การพัฒนา Blue Water Navy (มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการในทะเลหลวงในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติในทะเลหลวง (High Sea)และน่านน้ำสากลในอนาคต
ข้อเสนอในการปรับปรุงแผนการป้องกันประเทศทางทะเลจากผลการศึกษาโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ และความเห็นเกี่ยวกับเรือ ส.  มีดังนี้
๑.      โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ระบุแนวคิดการใช้กำลังทางเรือและแผนการเสริมสร้างกำลังรบทางเรือตามแผนป้องกันประเทศไว้ชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออังกฤษ แนวคิดของพระองค์จึงเป็นแนวคิดแบบนักยุทธศาสตร์ทะเลที่มีความเหมาะสมตามลักษณะภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทย คือ การมองเขตแดนทางทะเลเป็นเสมือนแผ่นดินที่ต้องมีอำนาจอธิปไตย และการที่ประเทศต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเช่นเดียวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางเศรษฐกิจบนบกและข้อเท็จจริงที่ว่าความขัดแย้งระหว่างรัฐที่จะมีใช้กำลังทางทหารจะไม่เริ่มเกิดขึ้นก่อนเฉพาะจากการรุกล้ำเขตแดนทางบกเท่านั้นแต่ภัยคุกคามสามารถเริ่มจากการเคลื่อนกำลังมาจากทางทะเลได้ด้วยเช่นกัน โดยแนวความคิดของกรมหลวงชุมพรฯ ในการใช้กำลังทางเรือและการวางตำบลที่กำลังตามพื้นที่แบ่งพื้นที่การป้องกันประเทศทางทะเลเป็น ๕ ชั้น จากเขาสามร้อยยอดจนถึงสิงคโปร์ทั้งนี้แนวคิดในการใช้กำลังของทั้งสองพระองค์เป็นการกำหนดแนวทางการใช้กำลังทางเรือตามระดับสถานการณ์ความขัดแย้งหรือ Spectrum of Conflict ได้แก่ ในสถานการณ์ปกติถึงความขัดแย้งระดับต่ำจะใช้แนวความคิดในการป้องกันทางลึกแบบ Defense in Depth ในระดับความขัดแย้งระดับสูงจะใช้แนวคิดการป้องกันเชิงรุก Active Defense และเมื่อเกิดสงครามจำกัดทางทะเลจะใช้แนวคิดการรบแบบ Decisive Battle ทั้งนี้เมื่อนำมาปรับใช้ตามสภาพแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลและการพัฒนาเทคโนโลยีสงครามทางเรือที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบัน สามารถปรับใช้กับแนวความคิดระดับยุทธการตามหลักนิยมทางเรือของกองทัพเรือ สรุปได้ดังนี้คือ
แนวคิดการป้องกันทางลึก(Defensein Depth) ตามหลักนิยมทางทะเลของกองทัพเรือ (อทร.๘๐๐๑) ได้แก่ การปฏิเสธการใช้ทะเลเพื่อต่อต้านการถูกปิดอ่าวระยะไกล การคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล และการป้องกันที่หมายสำคัญในทะเลและชายฝั่งที่ ทร.รับผิดชอบ และการควบคุมทะเลในอ่าวประวัติศาสตร์และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย
     แนวคิดการป้องกันเชิงรุก(Active Defense ) เป็นแนวความคิดระดับระดับยุทธการในการป้องกันประเทศในสงครามจำกัดทางทะเลที่มีจุดมุ่งในการใช้กำลังทางเรือภายใต้อำนาจเต็มของ ผบ.ทร.ตามกฎหมายเพื่อยุติสงคราม/ความขัดแย้งกับคู่สงครามได้ในห้วงระดับความขัดแย้งระดับสูงในสงครามจำกัด(Limited War)ทางทะเลเพื่อลดความสูญเสียของประเทศไม่ให้สถานการณ์รุกลามไปจนถึงขั้นสงครามเบ็ดเสร็จ(Total War) โดยมีแนวคิดเพื่อป้องกันเขตแดนทางทะเลและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในลักษณะ Preemptive Self-Defense ในพื้นที่เขตแดนทางทะเลของไทยและในพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลเพื่อให้ยุติการรบได้ในลักษณะที่ฝ่ายเราเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยการใช้กำลังทางเรือปฏิบัติการตอบโต้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว  (Quick Response) ให้สามารถมีอำนาจเหนือพื้นที่การรบ (Battle space Dominance) มีความต่อเนื่องในการปฏิบัติการ (Sustained Operations) และเป็นหน่วยกำลังที่เป็นเครือข่ายและมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนภารกิจและเข้าใจภาพสถานการณ์ทางทะเล (Net and Agile Force, Maritime Domain Understanding) รวมทั้งการใช้กำลังอำนาจด้านอื่นที่มิใช่ทางทหาร (Soft Power) สนับสนุนการใช้กำลังป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทั้งในมิติของทะเลและองค์รวมของทั้งประเทศโดยมีการปฏิบัติการทางเรือตามหลักนิยมทางทะเลของกองทัพเรือ ได้แก่
ก.      การควบคุมทะเลเพื่อต่อต้านการถูกปิดอ่าวระยะไกล
ข.    การประกาศ MEZ เพื่อรักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเลและได้เปรียบในการใช้กำลังทางเรือ
ค.      การป้องกันที่หมายสำคัญในทะเลและชายฝั่งที่ ทร.รับผิดชอบ
ง.       การควบคุมทะเลในอ่าวประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
จ.    การโจมตีที่หมายสำคัญตามระดับกฎการใช้กำลัง (ROE) 
ฉ.  การควบคุมทะเลในพื้นที่สำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและที่เป็นจุดชี้ขาดทางการรบหรือจุดโช้คพอย์ Chock Point สำคัญของไทย
ช.      การปฏิเสธการใช้ทะเลของฝ่ายข้าศึก
เมื่อเกิดสงครามจำกัดทางทะเลจะใช้แนวคิดการรบแบบ Decisive Battle โดยจะเป็นการปฏิบัติการในพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลตลอดจนในพื้นที่การรบของประเทศคู่สงครามโดยมีแนวคิดการควบคุมทะเล (Sea Control) เพื่อการป้องกันการขยายอำนาจจากทะเลเข้าสู่ฝั่งไทยของฝ่ายข้าศึกและการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก (Power Projection from the Sea) เพื่อขยายอำนาจจากทะเลขึ้นสู่ฝั่งข้าศึกของฝ่ายเราหรือการแย่งยึดคืนพื้นที่ของฝ่ายเรา ประกอบด้วย
ก.      การรบแตกหักทางเรือในพื้นที่ที่เราได้เปรียบการรบ
ข.      การควบคุมทะเลในพื้นที่สำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ค.      การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกเมื่อถูกฝ่ายตรงข้ามยึดพื้นที่เกาะหรือพื้นที่ชายฝั่งหรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางบก
ง.       การปฏิบัติการร่วม ทร.-ทอ. และการปฏิบัติการร่วม ทร.-ทบ.
                    เมื่อยุติสงคราม จะใช้แนวคิดการป้องกันเชิงรุกและการควบคุมทะเลในพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลและวางกำลังในจุดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจรจายุติสงครามและเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างต่อเนื่อง
๒. ข้อพิจารณาประเด็นกฎหมายเรื่องแนวทางการใช้กำลังของรัฐตามกฎบัตรสหประชาชาติ หลักการห้ามใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ใน มาตรา ๒ อนุ ๔ กฎบัตรสหประชาชาติกล่าวว่า “ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกทั้งปวงจะต้องละเว้นการคุกคามหรือการใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งอาณาเขตหรือเอกราชทางการเมืองของรัฐใด ๆหรือการกระทำการในลักษณะการอื่นใดที่ไม่สอดคล้องต่อความมุ่งประสงค์ของสหประชาชาติ” อย่างไรก็ตามในเรื่อง หลักการห้ามใช้กำลังในกฎบัตรสหประชาชาติ มิใช่ห้ามใช้กำลังในทุกกรณี โดยมีข้อยกเว้น  ได้แก่
๒.๑  การใช้สิทธิในการป้องกันตนเองตามมาตรา ๕๑ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
๒.๒  การดำเนินการเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศตามหมวด ๗ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
๒.๓  กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น มาตรการตอบโต้(Counter-Measure)  การใช้กำลังแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม(HumanitarianIntervention)การต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเอง(Self Determination) และสงครามปลดแอกการกดขี่ของต่างชาติ เป็นต้น
การดำเนินการภายใต้ข้อตกลงขององค์การส่วนภูมิภาคตามหมวด ๘ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา ๕๑ แห่ง     กฎบัตรสหประชาชาติ กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดในกฎบัตรปัจจุบันที่จะทำลายสิทธิดั่งเดิม (Inherent Right) ของการป้องกันตนเดี่ยวหรือการป้องกันร่วมกัน (Individual or Collective Self-Defense) ถ้ามีการใช้อาวุธเกิดขึ้น (An armed attack occurs) ที่กระทบต่อสมาชิกสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกมาตรการเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการทั้งหลายที่รัฐสมาชิกใช้เพื่อป้องกันตนเองจะต้องแจ้งคณะมนตรีความมั่นคงฯโดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิในการป้องกันตนเองของรัฐ มีดังนี้
-    สิทธิป้องกันตนเองเป็นสิทธิโดยธรรมชาติของรัฐ(Inherent Right) ในการใช้กำลังเพื่อป้องกันตนเองโดยรัฐอาจใช้สิทธิโดยลำพัง(Individual Self-Defense) หรือโดยร่วมกัน(Collective Self-Defense) เช่น การกระทำของอังกฤษในกรณีสงครามฟอร์คแลนด์
-  สิทธิป้องกันตนเองต้องใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นอันยิ่งยวด (Necessity) ต้องได้สัดส่วนกับการโจมตี(Proportionality)และต้องเป็นไปอย่างฉับพลันโดยไม่รีรอ(Immediacy)ทั้งนี้การที่รัฐใช้สิทธิป้องกันตนเองย่อมถือว่าชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อพิจารณา “แม้ในบางกรณียังไม่ได้มีการใช้มาตรการสันติวิธีเพื่อระงับยับยั้งการโจมตีนั้นก็ตาม” 
- สิทธิป้องกันตนเองเป็นสิทธิชั่วคราวของรัฐในการใช้กำลังเพื่อป้องกันตนเองตามมาตร ๕๑ กฎบัตรสหประชาชาติ “จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้กำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ”
-    การใช้สิทธิป้องกันตนเองสามารถกระทำได้เมื่อมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเกิดขึ้น(Armed Attack Occurs ) ผลการศึกษา สิทธิป้องกันตนเองซึ่งถือว่าเป็นข้อยกเว้นของมาตรา๒(๔) ในเรื่องหลักการห้ามใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามที่กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา๕๑ ได้บัญญัติไว้นั้น เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่ถูกใช้ในมาตรา๕๑ คือ การโจมตีด้วยกำลังอาวุธ(Armed Attack) นั้นมีขอบเขตความหมายที่แตกต่างจากถ้อยคำที่ใช้ในมาตรา๒ อนุ ๔ ที่ว่า การคุกคามหรือการใช้กำลัง (Threat or Use of Force) ซึ่งในประเด็นนี้แล้วในกรณีการใช้สิทธิการป้องกันตนเองแบบการป้องกันตนเองล่วงหน้า (Anticipatory Self-Defence หรือ Pre-emptive Self-Defence) ยังเป็นหลักเกณฑ์ที่ยังไม่ชัดเจนในกฎบัตรสหประชาติทั้งนี้ประเทศที่นำหลักการนี้มาใช้ได้แก่ประเทศมหาอำนาจที่อยู่ในคณะมนตรีความมั่นคงคือสหรัฐและจีน ดังนั้นประเทศไทยแล้วควรใช้หลักการใช้สิทธิป้องกันตนเองสามารถกระทำได้เมื่อมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเกิดขึ้นเท่านั้น ยกเว้นกรณีที่เป็นเหตุฉุกเฉินที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจุดศูนย์ดุลประเทศทางทะเลในระดับยุทธศาสตร์ เช่น ทำลายแท่นขุดเจาะ/เรือน้ำมัน ทำให้ประเทศไม่มีน้ำมันและแก้สธรรมชาติส่งผลถึงระบบเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ประชาชนอย่างรุนแรง แม้ในกรณีฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ใช้กำลังโดยตรงต่อกำลังทางเรือของฝ่ายเราแต่ถือว่ามีการใช้กำลังต่อจุดศูนย์ดุลที่เป็นผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญในระดับ Survival หรือ Vital National Interests ดังนั้น ทร.จึงควรใช้สิทธิในการป้องกันตนเองของรัฐตามมาตรา ๕๑ ในกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งรวมถึงการป้องกันตนเองล่วงหน้าแบบ Preemptive Self Defense ในการป้องกันประเทศทางทะเล
๓. ผลการศึกษาแนวคิดการบังคับบัญชาแบบพื้นที่(Area Command Concept)
การจัดทัพเรือภาคเป็น ๓ ทัพเรือภาคในปัจจุบันนี้แตกต่างจากแนวคิดการจัดเป็น ๒ ทัพเรือภาคของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่มีการกำหนดแกนสงครามหรือทิศทางการเคลื่อนกำลังของภัยคุกคามทางทะเลจะมาจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ(เพื่อโจมตีจุดศูนย์ดุลคือเมืองหลวงของประเทศ) ทั้งนี้ธรรมชาติการรบทางเรือเป็น Maneuvering Warfare พื้นที่ทางทะเลไม่สามารถแบ่งเป็นพื้นที่เป็นเขตหน้าเขตหลังแบบแนวคิดของแผนทางบกการรบในทะเลแต่การรบทางเรือจะใช้ทุกพื้นที่ทะเลตั้งแต่ห้วงอากาศ (Air Warfare) ผิวน้ำ (Surface Warfare) ใต้น้ำ (Sub Surface Warfare) ไปจนถึงท้องทะเล(Seabed Warfare) เมื่อพิจารณาหลักการภูมิยุทธศาสตร์(Geo-Strategy)กับลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศที่มีลักษณะคล้ายกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศอินเดียซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ไหล่ทวีปที่ที่ทอดยาวลงทิศใต้ไปในมหาสมุทรอินเดีย จะมีการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชากองทัพเรือแบบแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ (Area Command) เป็นทัพเรือภาคประกอบด้วย ๔ ทัพเรือภาคได้แก่ ทัพเรือภาคตะวันออก (Eastern Naval Command) ทัพเรือภาคตะวันตก (Western Naval Command) ทัพเรือภาคทางใต้ (Southern Naval Command) และทัพเรือที่ตั้งอยู่ที่จุดยุทธศาสตร์ ได้แก่ ทัพเรือภาค  อันดามันและเกาะนิโคบาร์ (Andaman and Nicobar Command) และประเทศเกาหลีใต้ซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ไหล่ทวีปที่ที่ทอดยาวลงทิศใต้ไปในมหาสมุทรแปซิฟิก จะมีการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชากองทัพเรือแบบแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ  (Area Command) เป็นทัพเรือภาค ประกอบด้วย ๓ ทัพเรือภาคได้แก่ ทัพเรือภาคตะวันออก (Eastern Naval Command) ทัพเรือภาคตะวันตก (Western Naval Command) ทัพเรือภาคทางใต้ (Southern Naval Command) และทัพเรือที่ตั้งอยู่ที่จุดยุทธศาสตร์ ได้แก่ Inchon Naval Sector Defense Command ดังแสดงได้ตามภาพ

ภาพที่ ๑๒  โครงสร้างกองทัพเรืออินเดียและเกาหลีใต้แบบ Area Command Concept
ที่มา: เอกสารประจำภาค วทร. เรื่อง การพัฒนาแนวทางการใช้กำลังในการป้องกันประเทศทางทะเลของกองทัพเรือ
ผลการศึกษาแนวคิดการบังคับบัญชาแบบพื้นที่
             เมื่อนำภารกิจของกองทัพเรืออินเดียและประเทศเกาหลีใต้ พื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลและลักษณะภัยคุกคามของประเทศอินเดียและประเทศเกาหลีใต้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกองทัพเรือไทย พบว่าการแบ่งกองทัพเรือเป็นทัพเรือภาคตะวันออกและทัพเรือภาคตะวันตก มีความเหมาะสมในทั้งในเชิงแนวคิดทางยุทธศาสตร์ในการป้องปราม การป้องกันแบบเชิงรุก(Active Defense) และโจมตีอย่างเด็ดขาด (Decisive Operation) ต่อประเทศคู่สงครามทั้งในยามปกติและยามสงคราม คือ การแสดงกำลังด้วยที่ตั้งของศูนย์บัญชาการและฐานทัพที่มีกำลังทางเรือที่มีประสิทธิภาพ สามารถบังคับบัญชากำลังทางเรือในการปฏิบัติการทางทหาร โดยสามารถเข้าถึงพื้นที่ขัดแย้งทางการทหารได้อย่างรวดเร็วและได้เปรียบทางการรบตามสภาวะระดับความขัดแย้งที่เรียกว่า Spectrum of Conflict ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับแนวคิดโครงการกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ ของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และโครงการเรือ ส โดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยมีความเหมาะสมกับภูมิยุทธศาสตร์ประเทศไทยที่มีที่ตั้งของจุดศูนย์ดุลระดับยุทธศาสตร์ประเทศ คือเมืองหลวงตั้งอยู่กลางประเทศ(ตรงกับแนวคิดในแผนป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพไทย)สรุปได้ว่ากองทัพเรือควรแบ่งพื้นที่รับผิดชอบของทัพเรือภาคเป็น ๒ พื้นที่ คือ พื้นที่ด้านตะวันออกรับผิดชอบการป้องกันประเทศทางทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและพื้นที่ด้านตะวันตก ด้านมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งแนวคิดนี้จะเป็นการปรับโครงสร้างกองทัพเรือใหม่ที่แตกต่างจากปัจจุบันโดยสรุปการแบ่งเป็น        ๒ ทัพเรือภาค คือ
๑.      ทัพเรือภาคตะวันออก รับผิดชอบอ่าวไทย ช่องแคบมะละกามหาสมุทรแปซิฟิก
๒.      ทัพเรือภาคตะวันตก รับผิดชอบด้านทะเลอันดามันต่อไปจนถึงมหาสมุทรอินเดีย
การจะทำให้ทัพเรือภาคมีความพร้อมสูงสุดในภารกิจการป้องกันประเทศนั้น การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของทัพเรือภาคควรเป็นหน่วยทั้งในเรื่องการเตรียมกำลังเพื่อฝึกให้มีความคุ้นเคยในพื้นที่ปฏิบัติการจริง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์การรบทางเรือ/ปฏิบัติการทางเรือขึ้นจริงจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นหน่วยในการใช้กำลังทางเรือ เพื่อให้ทัพเรือภาคมีความพร้อมสูงสุดในภารกิจการป้องกันประเทศทางทะเล ในส่วนภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบ ศรชล. ครอบคลุมพื้นที่เขตแดนทางทะเล ทะเลหลวงแล้วยังต่อเนื่องเข้ามาถึงเกาะ ชายฝั่งและจังหวัดชายฝั่งทะเลซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานดังนั้นรูปแบบโครงสร้างของ  ศรชล. พิจารณาตามภารกิจและความรับผิดชอบทางกฎหมายแล้วโครงสร้างของ ศรชล.ควรแบ่งเป็น ศรชล.เขตเช่นเดิม

บทสรุปข้อเสนอเชิงนโยบาย
 ภาพกองทัพเรือในอนาคต (Future Navy) ในห้วง ๒๐ ปี คือ “กองทัพเรือจะเป็นกองทัพ Green-Water Navy ที่มีขีดสมรรถนะสูงในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศทางทะเลและการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยจะเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงทางทะเลที่ประชาชนเชื่อมั่นภาคภูมิใจและเป็นกองทัพเรือชั้นนำในภูมิภาคที่มีบทบาทนำในการรักษาความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การสนับสนุนและส่งเสริมการรักษาสันติภาพและความมั่นคงทางทะเลภายใต้กรอบสหประชาชาติในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” โดยมียุทธศาสตร์กองทัพเรือ ๒๐ ปี เป็นเอกสารหลักหรือแผนแม่บทกองทัพเรือในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยในวัตถุประสงค์มูลฐานในการป้องกันประเทศนั้นจะมีการระบุแนวความคิดระดับยุทธศาสตร์Double O Triple A” โดยมีความหมายดังนี้ คือ Double O หรือ Two Ocean คือ การให้ความสำคัญของกองทัพเรือในภารกิจการป้องกันประเทศทางทะเลโดยมีหน่วยรับผิดชอบในระดับพื้นที่ ได้แก่  ทัพเรือภาคตะวันออกรับผิดชอบมหาสมุทรแปซิฟิก และ ทัพเรือภาคตะวันตกรับผิดชอบมหาสมุทรอินเดีย  ส่วน Triple A หรือ Three Area of Operation หมายถึง สามพื้นที่ปฏิบัติการของ ศรชล. (ศรชล.เขต ๑ ศรชล.๒ และ ศรชล.เขต ๓) ในภารกิจการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศไทย
แนวคิดระดับยุทธการ (Operational Concept) ในยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ๒๐ ปีตามระดับสถานการณ์หรือ Spectrum of Conflict ได้แก่ ในสถานการณ์ปกติจนถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐระดับต่ำ ใช้หลักการการป้องกันเชิงลึก(Defense in Depth) ในห้วงสถานการณ์วิกฤตใช้หลักการการป้องกันเชิงรุก (Active Defense) และการทำสงครามจำกัดในทะเลแบบ Decisive Battle ในการป้องกันประเทศทางทะเล และการควบคุมทะเล(Sea Control) ในพื้นที่ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในห้วงการเจรจายุติสงคราม โดยในสถานการณ์ปกติ-ขัดแย้งระดับต่ำ สามารถใช้ขีดความสามารถทางเรือที่มีอยู่ในปัจจุบันในภารกิจการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษาสันติภาพและความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการสนับสนุนความมั่นคงทางทะเลภายใต้กรอบสหประชาชาติในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
เอกสารอ้างอิง (Reference)
Rudiger Wolfrum and Christians Philipp, United Nations: Law Policies and Practice ( Michigan Law Review, 1984):1635-1637
อริศรา ตั้งเทียมยา. “สิทธิป้องกันตนเองปัญหาชอบธรรมด้วยกฎหมายของการป้องกันตนเองล่วงหน้าภายใต้มาตร ๕๑ กฎบัตรสหประชาชาติ”. สารนิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๘.
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ ร.ศ.๑๒๙ ของนายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ความเห็นเรื่อง เรือ ส โดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
หลักนิยมทางทะเลของกองทัพเรือ (อทร.๘๐๐๑)
แชน ปัจจุสานนท์ และ สวัสดิ์ จันทนี. กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา สมัย ร.ศ.๑๑๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๑๙.
นิยามศัพท์สำคัญ
๑.   การป้องกันทางลึก (Defense In Depth) ใน อทร.๘๓๐๗ หมายถึงการป้องกันกองเรือด้วยการป้องกันภัยทางอากาศ การสงครามปราบเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำ แต่ความหมายของ กห. สหรัฐฯ Defence in Depth  Strategy ซึ่งหมายถึง To delay rather than prevent the advance of an attacker. The more layers of defence you have, the attack will lose momentum and you’ll have more time to respond appropriately.
๒.   แผนความมั่นคงแหงชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๔ นิยาม “อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)หมายถึง อำนาจสูงสุดของรัฐในการปกครองประเทศที่จะดำเนินกิจกรรมในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภายในอาณาเขตแหงรัฐ ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ” และ สิทธิอธิปไตย (Sovereign Rights) หมายถึง สิทธิในการสำรวจ แสวง       ประโยชน อนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตหรือไมมีชีวิตในน้ำเหนือพื้นดินทองทะเล ในพื้นดินทองทะเลกับ    ใต้ดินทองทะเลและมีสิทธิในส่วนกิจกรรมอื่นเพื่อการแสวงประโยชนและการสำรวจทางเศรษฐกิจ เช่น การผลิตพลังงานจากน้ำและลมในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหลทวีป

บทความล่าสุดที่เผยแพร่

การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องด้วยหลักการอิทธิบาทสี่

  การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องที่แขวนประจำตัวด้วยหลักการอิทธิบาทสี่ นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา ความนอบน้อมของข้าฯ จ...

บทความที่ได้รับความนิยม