วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรักษาดุลยภาพอิทธิพลทางทะเลของประเทศมหาอำนาจและประชาคมอาเซียนเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยในศตวรรษที่ ๒๑


   แม้หวังตั้งสงบ  จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์  ศัตรูกล้ามาประจัญ    ก็จะสู้ริปูสลาย” 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

      

 ภาพที่ ๑ ภาพประวัติศาสตร์ ร.๕ กับ ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ภาพจากปกหนังสือพิมพ์ ฝรั่งเศส L'ILLUSTRATION ฉบับวันที่ ๑๑ กันยายน ค..๑๘๙๗
ที่มา: https://mgronline.com/onlinesection/photo-gallery/9600000108384

ประวัติศาสตร์อิทธิพลของชาติมหาอำนาจที่มีต่อเอกราชและอธิปไตยของประเทศไทย

เบื้องหลังภาพประวัติศาสตร์! ภาพที่สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ ช่วยสยามรอดพ้นวิกฤติ!!
โดย: โรม บุนนาค (https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000108384)

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นยุคที่ราชอาณาจักรสยามต้องเผชิญวิกฤตการณ์หนัก จากการล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจจากยุโรป จนยึดประเทศเพื่อนบ้านไปโดยรอบ โดยอังกฤษยึดพม่า ฝรั่งเศสยึดญวน แล้วต่างก็มีเป้าหมายที่จะเข้ายึดครองไทย ถึงขนาดจะใช้แม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งเขตอิทธิพลกัน โดยอังกฤษมุ่งที่แหล่งอุดมด้วยป่าไม้สักในภาคเหนือที่ติดกับพม่าและจุดที่เหมาะแก่การตั้งสถานีการค้าทางทะเลในแหลมมลายูส่วนฝรั่งเศสมุ่งมายึดครองที่ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรของลุ่มแม่น้ำทั้ง ๕ คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำแดงในตังเกี๋ย

เหตุการณ์ที่สะเทือนพระราชหฤทัยสมเด็จพระปิยะมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และได้สร้างความโกรธแค้นให้ประชาชนคนไทยอย่างมาก ก็คือเหตุการณ์ใน ร.ศ.๑๑๒ ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ หรือ ร.ศ.๑๑๒ ฝรั่งเศสส่งเรือรบ ๒ ลำฝ่าแนวป้องกันของป้อมพระจุลฯ เข้ามาจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ ซึ่งมีเรือรบฝรั่งเศสจอดอยู่ ๑ ลำแล้ว ขู่ว่าจะจมเรือพระที่นั่ง   มหาจักรีที่จอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และจะระดมยิงพระบรมมหาราชวัง หากไทยไม่ยอมจ่ายค่าทำขวัญบุตรภรรยาทหารเรือฝรั่งเศสที่บาดเจ็บล้มตายจากการปะทะครั้งนี้ เป็นเงิน ๓ ล้านฟรังก์ นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังเรียกเรือรบจากไซ่ง่อนมาอีก ๑๒ ลำปิดอ่าวไทย และส่งทหารขึ้นยึดเกาะสีชัง ยื่นเงื่อนไขให้ไทยถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงภายใน ๑ เดือน แม้ไทยจะยอมรับตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสทุกข้อ เพราะไม่มีทางปฏิเสธได้ ฝรั่งเศสก็ยังขอยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนกว่าการปักปันดินแดนที่ไทยจะมอบให้นี้เสร็จสิ้น

การกระทำของฝรั่งเศสทำให้พระพุทธเจ้าหลวงทรงเสียพระราชหฤทัยอย่างหนักถึงกับทรงประชวรเพราะความเสียพระราชหฤทัยที่ต้องเสียแผ่นดินไทยในรัชสมัยของพระองค์ แต่ในที่สุดก็ทรงตระหนักว่า การยอมสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตนี้ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะนักล่าอาณานิคมจะย่ามใจเรียกร้องเอาไม่สิ้นสุด ชาติที่ล่าเมืองขึ้นนั้นจะอ้างว่าเอเชียยังไม่เจริญ ดังนั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีการพัฒนาบ้านเมืองในแนวทางของยุโรปอย่างรวดเร็ว ทรงจ้างฝรั่งเข้ามารับราชการ และส่งคนไทยไปศึกษาในยุโรปเป็นจำนวนมาก และในวันที่ ๗ เมษายน .. ๒๔๔๐ การเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปเพื่อดำเนินนโยบายทางการทูตเชิงรุกนี้ก็เริ่มขึ้นโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี มีเป้าหมายที่จะเยือน ๑๒ ประเทศในยุโรป คือ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย สวีเดน เดนมาร์ค อังกฤษ เบลเยี่ยม เยอรมัน ฮอลแลนด์ ฝรั่งเศส และสเปน มีกำหนดเวลาประมาณ ๙ เดือน โดยประเทศที่สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงมุ่งหวังมากที่สุด ก็คือ รัสเซีย ซึ่งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ได้มีความสัมพันธ์สนิทสนมกันมาก่อนพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยในปี พ.. ๒๔๓๖ ขณะที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ พระองค์นี้ยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเยือนภาคตะวันออกและเสด็จแวะมาสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงต้อนรับอย่าง  สมพระเกียรติ จัดพระราชวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับ ซึ่งมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียประทับพระราชหฤทัยมากโดยเฉพาะม่านหน้าต่างโปร่งที่ร้อยด้วยดอกไม้และเปลี่ยนถวายทุกวัน ซึ่งการเสด็จฯ ยุโรปครั้งนี้ จึงทรงนำเจ้าฟ้าจักรพงษ์  ภูวนารถไปศึกษาวิชาทหารที่รัสเซียด้วย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จรถไฟจากกรุงเบอร์ลินถึงกรุงเซ็นต์ปิเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม เวลา ๒๑.๓๐ น. พระซาร์เสด็จฯมารับที่สถานีรถไฟ ทั้งสองพระองค์ประทับรถพระที่นั่งไปสู่พระราชวังปีเตอร์ฮอฟซึ่งจัดเป็นที่ประทับในการเสวยพระกระยาการค่ำร่วมกันในวันที่ ๔ กรกฎาคม สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงถือโอกาสปรับทุกข์ถึงการรุกรานของมหาอำนาจจากยุโรป โดยในเช้าวันรุ่งขึ้น พระเจ้าซาร์จึงจัดให้มีการฉายพระรูปร่วมกันที่พระราชวังปีเตอร์ฮอฟอีกทั้งยังทรงรับสั่งให้ราชสำนักรัสเซียนำภาพที่คิงจุฬาลงกรณ์จากสยามประทับคู่กับพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย ส่งไปยังหนังสือพิมพ์ที่ออกในเมืองหลวงของทุกประเทศในยุโรปทุกฉบับ ทั้งยังทรงเขียนคำอธิบายภาพด้วยพระองค์เองว่า สยามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หาใช่ประเทศล้าหลังซึ่งมหาประเทศจะอาศัยเป็นมูลเหตุเข้ายึดครองมิได้”ซึ่งก็เป็นผลดีแก่ราชอาณาจักรสยามอย่างมหาศาล


 ความสำคัญของทะเลกับความมั่นคงของโลกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความสำคัญของทะเลกับความมั่นคงของโลกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่๒๑การใช้ประโยชน์จากทะเลจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของทุกประเทศเนื่องจากประชากรของโลกที่มีเพิ่มขึ้นได้ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติทางบกขาดแคลนขณะที่แหล่งอุตสาหกรรมใหญ่ๆหรือเขตพัฒนาเศรษฐกิจของทุกประเทศจะมีที่ตั้งที่ติดกับทะเลเพื่อการใช้ประโยชน์ในระบบขนส่งทางทะเลซึ่งจะมีราคาถูกกว่าและคุ้มค่ามากกว่าระบบขนส่งทางบกและระบบขนส่งทางอากาศและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลโดยเฉพาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในทะเลซึ่งได้ส่งผลทำให้มีการเคลื่อนย้ายของประชากรโลกจากในเขตกลางทวีปลงสู่เขตชายฝั่งทะเลหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่สถิติของการเติบโตของเมืองท่าสำคัญของโลกและความหนาแน่นของเรือสินค้าเรือน้ำมันในเส้นทางขนส่งทางทะเลหลักของโลกที่สูงขึ้นเช่น ปริมาณเรือสินค้าที่ผ่านช่องแคบมะละกาและในทะเลจีนใต้ 



ภาพที่ ๒ เส้นทางขนส่งทางทะเลกับระบบเศรษฐกิจโลกและภัยคุกคามทางทะเล
ที่มาภาพบน: บทบรรยายของ พล.ร.ท. Bob Clark, USN Director, Maritime Partnership Programs US Naval Forces Europe and Africa ณ  US Sixth Fleet Command เมื่อ ๑๑ ก..๒๕๕๑
ที่มาภาพล่าง https://tamilnation.org/intframe/jp/index.htm

สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ประชากรอาเซียนกว่า ๕๗๐ ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลและเมืองหลวงของเกือบทุกประเทศ เช่น บันดาร์เสรีเบกาวัน (บรูไน) สิงคโปร์ จาการ์ตา มะนิลา กัวลาลัมเปอร์ และกรุงเทพฯ ล้วนอยู่ติดหรือใกล้ทะเล สำหรับประเทศที่เมืองหลวงไม่ติดทะเลจะมีเมืองท่าขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณชายฝั่ง เช่น โฮจิมินห์ (เวียดนาม) จึงอาจกล่าวได้ว่า ๗ เมืองที่มีประชากรสูงสุดของอาเซียนทุกเมืองล้วนอยู่ใกล้ทะเล ข้อมูลนี้ได้ชี้ชัดถึงการใช้ประโยชน์จากชายฝั่งและท้องทะเลในเรื่องการเศรษฐกิจได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดของภูมิภาคอาเซียนอยู่ติดชายฝั่ง การพัฒนาและลงทุนในอุตสาหกรรมการขุดเจาะแก้สธรรมชาติและน้ำมันในทะเลที่เพิ่มขึ้นได้แก่ แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและในทะเลอันดามันของประเทศเมียนมาร์ตลอดจนในพื้นที่เขตพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียและแหล่งน้ำมันดิบในทะเลของบรูไนและในอินโดนีเซีย ทั้งนี้การเติบโตของเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนที่มุ่งเน้นการส่งออกสินค้าเพื่อนำรายได้เข้าประเทศนั้น การส่งออกเกือบทั้งหมดใช้ระบบการขนส่งทางทะเล จึงสรุปได้ว่าเส้นทางขนส่งทางทะเลในภูมิภาคอาเซียนจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังมีทวีความสำคัญมากขึ้นในระบบขนส่งทางทะเลของโลก เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันดิบและสินค้าหลักไปยังประเทศที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของโลก ได้แก่ สหรัฐ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งทำให้ภูมิภาคอาเซียนมีเมืองท่าหลักของโลกและภูมิภาคที่สำคัญได้แก่ ท่าเรือสิงคโปร์ ท่าเรือแหลมฉบังของไทย และท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม เป็นต้น

ความสำคัญของทะเลกับประเทศไทย ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ตาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ เท่ากับ ๓๒๓,๔๘๘.๓๒ ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ ๖๐ ของอาณาเขตทางบกที่มีเนื้อที่อยู่ประมาณ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตรโดยมีความยาวชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้น ๓,๑๔๘.๒๓ กิโลเมตร ครอบคลุม ๒๓ จังหวัด ลักษณะของประเทศไทยมีแผ่นดินติดกับทะเล ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตกเป็นทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกาติดกับมหาสมุทรอินเดียด้านตะวันออกเป็นอ่าวไทยติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ กำหนดว่าทุกประเทศยังสามารถใช้ประโยชน์จากทะเลหลวง(High Seas)ได้อีกด้วย ทะเลไทยเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคนไทย อีกทั้งยังมีทรัพยากรทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุ และใช้เป็นเส้นทางหลักในการลำเลียงขนส่งสินค้าประมาณร้อยละ ๙๐ ของการค้าระหว่างประเทศของไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าพลังงานอันได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ที่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก จากยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ๒๐ ปีและแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ..๒๕๕๘-๒๕๖๔ มีการประเมินว่าผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยมีมูลค่า  ๒๔ ล้านล้านบาทในปี พ..๒๕๕๗ และยังมีแนวโน้มมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากทะเลซึ่งหมายถึงการรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีเครื่องมือของรัฐที่สำคัญคือสมุทานุภาพ (Sea Power)ซึ่งเป็นกำลังอำนาจแห่งชาติอันหนึ่ง โดยองค์ประกอบของสมุทานุภาพที่สำคัญคือกำลังทางเรือของกองทัพเรือในการคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้จากการที่ประเทศไทยมีที่ตั้งทางบกอยู่จุดศูนย์กลางของอาเซียนทำให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศในระดับอาเซียนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นหลังจากประเทศจีนได้มีการพัฒนากำลังอำนาจทางเศรษฐกิจและกำลังทางทหารโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road-OBOR) หรือโครงการสายไหมศตวรรษที่ ๒๑ โดยได้มีการพัฒนาระบบขนส่งทั้งทางบกและทางทะเลและประเทศสหรัฐได้ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก(A Free and Open Indo-Pacific : Advancing a Shared Vision) ได้ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งอยู่เป็นเขตแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกหรือถือว่าเป็นศูนย์กลางของเขตอินโด-แปซิฟิกทวีบทบาทและความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจทั้งประเทศจีน สหรัฐ อินเดีย ประเทศอาเซียนไปจนถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี ดังนั้นการกำหนดนโยบายทางทะเลหรือการดำเนินนโยบายต่างประเทศในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลต่อประเทศมหาอำนาจและพันธมิตรและประชาคมอาเซียนที่ถูกต้องจะช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถแสวงประโยชน์ร่วมและสร้างดุลยภาพอำนาจทางทะเลกับทุกชาติได้หรือเป็นการเสริมสร้างความมีเกียรติและศักดิ์ศรีของประเทสไทยในเวทีประชาคมโลกและในระดับภูมิภาค

ภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทย

ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางภูมิศาสตร์ ที่มีต่อพฤติกรรมการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

ภูมิยุทธศาสตร์ (Geostrategic) คือ สาขาย่อยภูมิรัฐศาสตร์ เป็นประเภทของนโยบายต่างประเทศที่นำโดยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเมืองและการทหาร หากเราจะนำแนวคิดทั้งสองนี้มาใช้ในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลผลกระทบต่อประเทศไทย จะสามารถสรุปได้ดังนี้

ผลการวิเคราะห์เขตแดนทางทะเลของประเทศไทยว่ามีผลกระทบจากประเทศที่มีเขตแดนทางทะเลติดกับเขตแดนทางทะเลของประเทศไทยได้แก่ชาติในภูมิภาคอาเซียน,ประเทศจีนและประเทศอินเดีย” เมื่อพิจารณาที่ตั้งภูมิศาสตร์ของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าด้านทิศตะวันออกที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกหรืออ่าวไทยนั้นมีลักษณะกึ่งปิด(Semi Enclosed Sea) ที่ห้อมล้อมด้วยน่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศต่างๆ ถึง ๒ ชั้น ได้แก่ ด้านอ่าวไทยชั้นใน คือ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย และอ่าวไทยชั้นนอก คือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และจีน (จากการอ้างสิทธิ์เขตแดนทางทะเลในปัญหาทะเลจีนใต้ในเรื่องประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนได้กำหนดเส้น Nine dot line ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาทะเลจีนใต้กับชาติในอาเซียนแล้วยังอาจจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางขนส่งทางทะเลที่เข้า-ออกประเทศไทยบริเวณปากอ่าวไทยในอนาคตดังแสดงในภาพที่ ๔) ด้านทิศตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันนั้น น่านน้ำของประเทศไทยตอนเหนือช่องแคบมะละกาถูกล้อมด้วยน่านน้ำของมาเลเซียและอินโดนีเซียและพื้นที่ตอนบนทะเลอันดามันจะถูกล้อมด้วยน่านน้ำของประเทศอินเดียและประเทศเมียนมา


ภาพที่ ๓ พื้นที่ทะเลอาณาเขตของประเทศไทยถูกปิดล้อมจากประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : http://mrpolicy.trf.or.th/Default.aspx?TabId=78



ภาพที่ ๔ ปัญหาเรื่องเขตแดนทางทะเลในทะเลจีนใต้
ที่มา : ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน http://www.vijaichina.com/articles/1286
อธิบายเส้น ๙ จุด” (Nine-dotted-line) คือ เส้นที่ลากขึ้นเพื่อกำหนดอาณาเขตของจีนในทะเลจีนใต้ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐบาลชุด ก๊กมินตั๋งของจีนคณะชาติซึ่งยังครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ในขณะนั้นได้จัดทำขึ้นโดยเป็นแนวเส้นเขตแดนทางทะเลของจีนที่ลากลงมาจากเกาะไหหนานของจีนบริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนานกับชายฝั่งเวียดนามมาจนถึงเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับเลียบชายฝั่งบรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ เข้าไปในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เลาะชายฝั่งของจังหวัดปาเลาจนถึงเกาะลูซอนไปสิ้นสุดที่เกาะไต้หวัน

ข้อได้เปรียบของที่ตั้งประเทศไทยคือ ประเทศไทยมีตำบลที่ตั้งทางบกที่มีศักยภาพสูงในการจะเป็นจุดศูนย์กลางของระบบขนส่งทางอากาศ ระบบขนส่งทางถนนและระบบราง(รถไฟ)ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แต่ก็มีข้อเสียเปรียบของที่ตั้งประเทศไทย ในเรื่องระบบการขนส่งทางทะเล ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มีลักษณะแผ่นดินยื่นกั้นขวางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกทำให้เกิดข้อจำกัดในการเคลื่อนกำลังทางเรือจากอ่าวไทยไปทะเลอันดามันและความเสี่ยงของการที่อาจจะถูกปิดอ่าวไทยโดยประเทศที่เป็นฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เรือสินค้าและเรือน้ำมันที่เข้า-ออกประเทศไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทำให้ประเทศขาดแคลนพลังงานซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและระบบเศรษฐกิจของประเทศอีกทั้งการที่มีอาณาเขตทางทะเลที่ถูกห้อมล้อมด้วยน่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีโอกาสเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดกับไทยหรือมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลได้ง่ายในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุในทะเลซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาทางการทูตในระดับรัฐบาลได้แล้วก็อาจจะนำไปสู่การใช้กำลังทางทหารในการเข้าแก้ไขปัญหาซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นได้


 การแก้ไขในเรื่องข้อเสียเปรียบในเรื่องระบบการขนส่งทางทะเล

อันเนื่องจากลักษณะที่ตั้งของประเทศไทยนั้นคือการพัฒนาสมุทานุภาพอย่างจริงจังโดยเฉพาะการเชื่อมต่อของระบบขนส่งทางทะเลและการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักประเทศทางทะเล(MaritimeCriticalInfrastructure)ทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมชายฝั่งที่มีระบบเชื่อมต่อระบบคมนาคมทางทะเลกับทางบกหรือทางอากาศ เช่น การเชื่อมโยงโครงการ “ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก” Eastern Economic Corridor(EEC) กับโครงการการจัดตั้งสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) เชื่อมโยงท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาค อันจะเป็นโครงการที่มีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนแต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้ประเทศมหาอำนาจจะเข้ามามีนโยบายกดดันหรือพยายามมีมีอิทธิพลต่อประเทศไทยเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติตนเองและพันธมิตร

ภาพที่ ๕ การเชื่อมโยงโครงการ “ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก”หรือ Eastern Economic Corridor(EEC) กับโครงการการจัดตั้งสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) เชื่อมโยงท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน

ที่มา : https://inlps.com/2021/03/10/land-bridge-eec/

ผลกระทบจากชาติมหาอำนาจ”ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ติดมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยทะเลเป็นแหล่งของทรัพยากรทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตโดยเฉพาะมีแก๊สธรรมชาติและน้ำมันในทะเล อีกทั้งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะเส้นทางที่ผ่านช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้ ดังนั้นมหาอำนาจทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคจึงมุ่งที่จะรักษาและแผ่ขยายอิทธิพลของตนเองต่อประเทศไทยดุลยภาพและพลวัตด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งตำบลที่ของประเทศอยู่จุดศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน สรุปดังนี้


ภาพที่ ๖ อินโด-แปซิฟิก: มุมมองผลประโยชน์ต่อภูมิภาค
ที่มา : คลังปัญญา http://www.klangpanya.in.th/2019/05/21/

สหรัฐฯ มีนโยบายและยุทธศาสตร์“Rebalancing”ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ขยายความร่วมมือในรูปแบบ “Soft and Hard Power” เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ กลุ่มพันธมิตร และเพื่อการถ่วงดุลอำนาจกับจีนและรัสเซีย โดยสหรัฐฯมีการปรับกำลังทางทหารและแสวงหาพันธมิตรในการคงพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ และพัฒนาความร่วมมือกับนานาประเทศในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติทั้งนี้สหรัฐฯให้ความสำคัญต่อไทยในฐานะพันธมิตรนอกนาโต้(Non-NATO Allied) ที่เป็นประเทศที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อผลประโยชน์สหรัฐฯทั้งในแง่มิติความมั่นคงและมิติเศรษฐกิจ โดยล่าสุดสหรัฐได้ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก(A Free and Open Indo-Pacific : Advancing a Shared Vision) เพื่อพยายามรักษาผลประโยชน์ของชาติตนและพันธมิตรและสร้างอิทธิพลในฐานะประเทศมหาอำนาจโลกให้เหนือกว่าประเทศจีน ซึ่งจะยิ่งทำให้ประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งอยู่เป็นเขตแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกหรือถือว่าเป็นศูนย์กลางของเขตอินโด-แปซิฟิกและยังเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตรที่ดีกับสหรัฐมาโดยตลอด ต้องกลับมาทบทวนในเรื่องนโยบายการเมืองระหว่างประเทศในด้านทะเล เพื่อรักษาดุลยภาพของอิทธิพลของสหรัฐกับจีนที่มีต่อประเทศไทย


ภาพที่ ๗ Is China's Belt and Road Working? March 28, 2018, By Go Yamada and Stefania Palma
ที่มา: https://reconnectingasia.csis.org/analysis/entries/is-china-belt-and-road-working/

    ๒. จีน มีการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพและพัฒนายุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีระดับสูงรองรับสงครามยุคใหม่ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ China Dream เพื่อก้าวขึ้นสู่ประเทศมหาอำนาจหนึ่งของโลก โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมกับชาติในเอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง และชาติในแอฟริกา โดยมีธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) สนับสนุนเรื่องการลงทุนสร้างระบบขนส่งทั้งทางบกและทางทะเลที่จะเชื่อมโลกกับประเทศจีนซึ่งจะทำให้จีนสามารถควบคุมระบบเศรษฐกิจโลกได้ในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้จีนพยายามมุ่งสร้างศักยภาพด้านกองทัพเรือเพื่อการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของชาติจีน โดยเฉพาะทะเลจีนใต้โดยจีนอ้างประวัติศาสตร์โดยถือว่าเป็นเขตแดนทางทะเลของตนตามแนวเส้น Nine-dotted-line โดยจีนได้สร้างเกาะเทียมและพัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในทะเลจีนใต้ที่จีนมีข้อพิพาทกับประเทศในอาเซียนและประเทศสหรัฐส่งผลให้สถานการณ์ในทะเลจีนใต้มีความตึงเครียดมากขึ้นในปัจจุบัน  สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีนได้ให้ความสำคัญโดยพัฒนาเครือข่ายถนนทางบกในเขตพัฒนาเศรษฐกิจจีนทางใต้และตะวันตกให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งทางบกของประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อให้สามารถออกสู่ทะเลได้โดยเรือน้ำมันของจีนกว่าร้อยละ ๘๐ จะใช้เส้นทางขนส่งทางทะเลผ่านมหาสมุทรอินเดียผ่านช่องแคบมะละกาและผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี ค..๒๐๑๗ ข้อมูลจากศูนย์ธุรกิจไทยในจีน (https://thaibizchina.com/)ระบุว่าประเทศจีนเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๑ ของไทย การค้าไทย-จีนมีมูลค่า USD 73,745.23 ล้าน (ไทยขาดดุลการค้า USD 14,733.21 ล้าน) และประเทศจีนเป็นนักลงทุนอันดับ ๓ ของไทย รองจากญี่ปุ่น และสิงคโปร์

   ๓. รัสเซีย มีนโยบายต่อต้านนโยบายสหรัฐฯและพันธมิตรที่มุ่งปิดล้อมประเทศตนเพื่อลดบทบาทของการเป็นประเทศมหาอำนาจของรัสเซีย โดยรัสเซียมีนโยบายในการคงอิทธิพลของการเป็นชาติมหาอำนาจโดยเสริมสร้างฐานรากของระบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจของประเทศและเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายสำคัญของโลกและเสริมสร้างกำลังทางทหารให้เข้มแข็งทำให้เป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ขีปนาวุธระบบอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย โดยปัจจุบันรัสเซียได้มีนโยบายเสริมสร้างความร่วมมือกับชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นเพื่อเสริมสร้างอิทธิพลและการพยายามสร้างบทบาทในการดำเนินนโยบายต่างประเทศในเขตภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเช่นเดียวกับสหรัฐ


ภาพที่ ๘ นโยบาย “ปฏิบัติตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย
ที่มา : https://www.indiavsdisinformation.com/20210318/connectivity-an-important-element-of-india-s-act-east-policy

. อินเดีย เปลี่ยนนโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) สู่นโยบาย “ปฏิบัติตะวันออก” (Act East) เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางการค้า ความร่วมมือทางทะเล ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อร้ายกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียกลาง ซึ่งสหรัฐฯสนับสนุนอินเดียในการลดอิทธิพลของจีนด้วยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยในเรื่องความมั่นคงด้านฝั่งทะเลอันดามัน                                                                   ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ โดยเป็นแหล่งทรัพยากร แหล่งลงทุน ฐานการผลิต และตลาดที่สำคัญ จึงทำให้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องพยายามแข่งขันกับจีนในการรักษาอิทธิพลทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาคนี้มากขึ้น 


ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interests)

ผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะกำหนดนิยามขึ้นโดยเห็นว่าผลประโยชน์เหล่านั้นสำคัญต่อความอยู่รอด ความเป็นเอกราช บูรณภาพแห่งอาณาเขตความมั่นคงปลอดภัยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ( USAWC , An Aid to Formulating A US National and Military Strategy.,p.32) อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ของชาติที่กำหนดขึ้นนั้น ก็จะต้องสอดคล้องกับความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยไม่เช่นนั้นแล้วรัฐบาลก็จะไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เพราะขาดการสนับสนุนจากประชาชน ( หลักยุทธศาสตร์ :พลตรีพจน์ พงศ์สุวรรณ, ๒๕๓๖) ผลประโยชน์แห่งชาติ คือ เป้าหมายแห่งชาติ เป็นแนวความคิดที่ได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบที่สุด จากบรรดาองค์ประกอบต่าง ๆ ประมวลขึ้นเป็นความต้องการที่สำคัญที่สุดที่ชาติจะขาดเสียมิได้ ทั้งนี้ รวมถึงการคุ้มครองตนเอง ความเป็นเอกราชบูรณภาพแห่งชาติ ความมั่นคงทางทหาร เสถียรภาพทางเศรษฐกิจกับบรรดาความมั่งคั่งทั้งหลายที่จะพึงมี (เอกสาร๐๐๙ วปอ. )

Donald E. Nuechterlein ได้ให้แนวความคิดระดับความสำคัญของผลประโยชน์ของชาติ (Intensity of Interest) ว่าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใน แต่สิ่งที่สำคัญพื้นฐานของผลประโยชน์ของชาติที่มีผู้มีอำนาจตัดสินใจมิอาจเปลี่ยนแปลงได้คือ ( ชนิดา พันธุ์วิวัฒนธนา ๒๕๓๖ : ๘-๙ ) ๑) การปกป้องดินแดน หมายถึง การปกป้องพลเมือง ดินแดน และสถาบันสำคัญต่างๆ จากภัยคุกคามจากต่างประเทศ ๒) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึง การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการปกป้องผลประโยชน์ของชาติในต่างประเทศ ๓) ความมั่นคงระหว่างประเทศ หมายถึง การพยายามสร้างความสันติหรือยุติข้อขัดแย้งระหว่างประเทศโดยปราศจากการทำสงครามซึ่งรัฐต่างๆจะรวมตัวขึ้นเป็นระบบพันธมิตรในการรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศ


       ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ได้กำหนดไว้ว่า“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี

      ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและจุดศูนย์ดุลของประเทศทางทะเล


เอกสารกองทัพเรือ อทร.๘๐๐๑ หลักนิยมทางทะเล ได้มีการแบ่งผลประโยชน์ของชาติ ไว้ดังนี้คือ

 ๑. ผลประโยชน์สำคัญยิ่งของชาติ แบ่งเป็น “ผลประโยชน์เพื่อความอยู่รอดของชาติ” (Survival Interests; Existence in Jeopardy, will fight for survival at all cost) และ “ผลประโยชน์สำคัญของชาติ” (Vital Interests; Serious harm likely, cannot tolerate)

๒. ผลประโยชน์ระดับรองของชาติ (Secondary Interests) แบ่งเป็น “ผลประโยชน์หลักของชาติ” (Major Interests; Maybe adversary affected, should compromise) และ “ผลประโยชน์รองของชาติ” (Peripheral Interests; Not adversary affected, harm may be sustained) ซึ่งประเทศจะตัดสินใจที่จะใช้กำลังอำนาจทางทหารเข้าทำการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ Vital Interests ตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไปถูกคุกคามและสงครามมักเกิดขึ้นเมื่อ Vital และ/หรือ Survival Interests ตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไปถูกคุกคาม

๑. ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้นิยาม“ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” หมายความว่า ผลประโยชน์ของประเทศไทยอันพึงได้รับจากกิจกรรมทางทะเล หรือประโยชน์อื่นใดในเขตทางทะเล ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านทรัพยากร หรือด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสามารถแบ่งประเภทของผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้ ดังนี้

๑.๑ ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่วัดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงทางระบบเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ การประมง การเดินเรือ ท่าเรือพาณิชย์ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในทะเล ตลอดจนระบบขนส่งสินค้าและน้ำมันทางทะเลที่เป็นวัตถุดิบและการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเพื่อการสร้างรายได้เข้าประเทศอีกด้วย

๑.๒ ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่มีความสำคัญ คือ ความอยู่รอดของประเทศชาติ คือ อำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน สิทธิอธิปไตย เขตอำนาจของชาติทางทะเล ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย มีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อใช้ประโยชน์ทะเล การมีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับในประชาคมระหว่างประเทศด้านกิจการทางทะเล

๒. การกำหนดจุดศูนย์ดุลของประเทศทางทะเลในแผนป้องกันประเทศ

จากแนวคิดในเรื่องการแบ่งผลประโยชน์แห่งชาติของ Donald E. Nuechterlein และการกำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ในเอกสารยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี ตลอดจนแนวทางในการแบ่งระดับความสำคัญของการแบ่งผลประโยชน์แห่งชาติของชาติต่างๆ เช่น ประเทศสหรัฐ ได้ให้แนวความคิดการแบ่งระดับความสำคัญของผลประโยชน์ของชาติ (Intensity of Interest) ในระดับยุทธศาสตร์ชาติซึ่งในระดับกองทัพไทย กองทัพเรือ สามารถนำมาพิจารณาในระดับยุทธศาสตร์ทหารในเรื่องการกำหนดจุดศูนย์ดุลระดับยุทธศาสตร์ของประเทศทางทะเล สรุปได้ดังนี้

๒.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ หน้าที่รัฐ คือรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน

๒.๒ จุดศูนย์ดุล (Center of Gravity: COG) หมายถึง ศูนย์รวมของพลังงานและความเคลื่อนไหวทั้งมวลซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพามักเป็นที่มีมวลของกำลังอยู่มากที่สุด ซึ่งเป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยที่จะต้องมีปัจจัยวิกฤติ (Critical Factors)เพื่อให้จุดศูนย์ดุลดำรงสภาพอยู่ได้ ในกระบวนการวางแผนทางทหารและการอำนวยการยุทธ์ในการป้องกันประเทศทางทะเล การวิเคราะห์ยุทธศิลป์ในเรื่องจุดศูนย์ดุลจะมีความสำคัญมากในเรื่องการออกแบบการรบทั้งนี้หากฝ่ายเราไม่สามารถปกป้องจุดศูนย์ดุลของฝ่ายเราหรือไม่สามารถโจมตีจุดศูนย์ดุลของข้าศึกได้จะทำให้มีผลต่อการแพ้ชนะในการทำสงครามนั้น

๒.๓ จุดศูนย์ดุลระดับยุทธศาสตร์ของประเทศทางทะเลหมายถึง ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศแบ่งออกได้ ๒ ระดับ ได้แก่

       ๒.๓.๑ ระดับที่ ๑ Survival National Interest ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อการดำรงอยู่ของชาติตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของการโจมตี ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ขั้นสำคัญที่สุดของชาติเพราะถ้าชาติไม่สามารถดำรงความอยู่รอดได้แล้วผลประโยชน์ที่เหลือก็ไม่มีความหมาย จึงสรุปว่าจุดศูนย์ดุลของประเทศทางทะเลในระดับ Survival National Interest นี้คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่รัฐต้องรักษาความเป็นเอกราช อธิปไตย สิทธิอธิปไตย โดยต้องไม่ให้ศัตรูเข้ามาล่วงล้ำหรือยึดครองโดยเป็นแนวคิดเดียวกับแผนป้องกันชายแดนของกองทัพบกในการวางกำลังทางบกป้องกันเขตแดนทางบก

       ๒.๓.๒ ระดับที่ ๒ คือ Vital National interest คือ เป็นสถานการณ์ที่จะมีภัยร้ายแรงเกิดขึ้นกับประเทศถ้าไม่ใช้มาตรการรุนแรงซึ่งก็รวมถึงการใช้กำลังเข้าปกป้องผลประโยชน์นั้น โดยผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์ดุลของประเทศในระดับ Vital National interest ได้แก่ เส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเล (SLOC) (เพราะมีผลต่อความอยู่รอดของประเทศไทยที่ใช้การขนส่งสินค้าทางทะเลในการนำเข้าและส่งออกสินค้ามากกว่าร้อยละ ๘๐ ของระบบขนส่งทั้งหมด)ฐานขุดเจาะน้ำมันและแก็สธรรมชาติในทะเลรวมไปถึงเรือขนส่งน้ำมันในทะเลและโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศทางทะเล (Maritime Critical Infrastructure) ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก อู่ต่อเรือ ฐานทัพเรือ เรือลำเลียงขนส่งน้ำมันดิบ ฐานขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในทะเล ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล ทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในทะเล อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน/ปิโตรเคมี เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายฝั่งทะเล(โครงการ EEC) ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติที่มีความสำคัญซึ่งเป็นภารกิจสำคัญยิ่งอันหนึ่งของกองทัพเรือ

๓. อำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่งตามกฎหมายทะเล

อำนาจอธิปไตย (Sovereign)” หมายถึงความเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐ (Autonomous of State) ที่จะทำกิจกรรมใดๆ ในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองภายในประเทศไทย ซึ่งเป็นยอมรับกันโดยทั่วไปในทางกฎหมายระหว่างประเทศ

"สิทธิอธิปไตย (Sovereign right)" หมายถึง สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐแต่ก็เป็นสิทธิสูงสุดที่ ครอบคลุมเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น สิทธิเหนือทรัพยากรแร่ธาตุ ความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุกรรมที่สำคัญ “เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของความตกลงร่วมกันของรัฐภาคีที่ใช้อำนาจอธิปไตย” และเพื่อรับรองให้แก่รัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเข้าไปบริหารจัดการให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจแห่งรัฐ (National Jurisdiction)

"กฎหมายทะเล (Law of the Sea)" การจัดการเกี่ยวกับ “มหาสมุทร” อยู่ภายใต้หลักการเสรีภาพทางทะเล (Freedom of the Seas) เป็นหลักการตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ที่จำกัดสิทธิทางธรรมชาติ (National Rights) ของรัฐเอาไว้ให้เฉพาะบริเวณใกล้ชายฝั่งของตน ดังนั้น บริเวณนอกเหนือจากที่ดังกล่าวก็เปิดเสรีให้กับรัฐทั่วไป (กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและคดีอาญา, กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์ ,๒๐๐๖.) นับแต่ศตวรรษที่ ๒๐ ประเทศต่างๆเริ่มมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเลจำนวนมากซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เช่น การรั่วของน้ำมันจากการเดินเรือทะเล และขยะจากเรือ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลของรัฐชายฝั่งต่อสิทธิของตนในการใช้ทรัพยากร และอำนาจทางทะเล ต่อมาในปี ค.ศ.๑๙๔๕ จากความต้องการใช้น้ำมันของประเทศสหรัฐที่เพิ่มขึ้น สหรัฐจึงได้ขยายเขตอำนาจทางทะเลของประเทศตนออกไปเหนือทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณไหล่ทวีป (continental shelf) เพื่อใช้แกส น้ำมัน แร่ธาตุ ต่างๆ ซึ่งเป็นการท้าทายหลักการเสรีภาพทางทะเลเป็นครั้งแรก หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศอื่นๆ ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย เวเนซูเอลา ก็ได้ปฏิบัติตามสหรัฐ ในการประกาศเขตทะเลอาณาเขต ๑๒ ไมล์ทะเล รวมถึงประเทศหมู่เกาะ (Archipelagic Nation) ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ก็ได้ประกาศสิทธิบริเวณทะเลที่แยกเกาะต่างๆ ของประเทศตนออกจากกัน ในปี ค.ศ. ๑๙๕๘ สหประชาชาติก็ได้มีการประชุมเรื่องกฎหมายทะเลครั้งแรกขึ้น (First United Nations Conference on the Law of the Sea [UNCLOS I]) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีผู้แทนจาก ๘๖ ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยได้ตราสนธิสัญญาเจนีวาขึ้น ๔ ฉบับ ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๘๒ สหประชาชาติได้มีการประชุมเรื่องกฎหมายทะเลครั้งที่ ๓ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งสำคัญโดยมีผู้แทนจาก ๑๕๙ ประเทศเข้าร่วม โดยได้มีการตรากฎหมายทะเลฉบับสำคัญคือ United Nations Convention on the Law of the Sea [UNCLOS 1982] โดยประเทศไทยได้ลงนามรับรองในอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อนุสัญญานี้ได้วางหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประทศเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และเขตอำนาจของรัฐเกี่ยวกับการใช้ทะเลของประเทศสมาชิก สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้




ภาพที่ ๙ เส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล (Maritime Boundary Line)

ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/blog/content/61956

๓.๑ น่านน้ำภายใน (Internal Water) ประกอบด้วย ท่าเรือ ทะเลสาบ แม่น้ำ คลอง น้ำในดินแดน รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยในบริเวณนี้รวมทั้งอากาศเหนือบริเวณน้ำนั้นและใต้ดิน โดยประเทศไทยจะรวมถึงอ่าวประวัติศาสตร์หรืออ่าวไทยรูปตัว ก โดยรัฐมีสิทธิ เช่น มีสิทธิห้ามเรือรบต่างชาติเข้ามาในท่าเรือ (แต่เมื่อเรื่อรบต่างชาติได้เข้ามาแล้วก็จะมีความคุ้มกัน (sovereign immunity)) - กรณีเรือพาณิชย์ เขตอำนาจศาลในบริเวณนี้ซ้ำซ้อนกันระหว่างรัฐชายฝั่ง และรัฐเจ้าของสัญชาติเรือ (flag state) แต่กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศให้เป็นสิทธิของรัฐเจ้าของสัญชาติเรือถ้าอาชญกรรมที่กระทำนั้นไม่กระทบรัฐชายฝั่ง

๓.๒ ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ระยะทะเลอาณาเขตที่ ๑๒ ไมล์ทะเลนับจาก เส้นฐาน (baselines) ซึ่งรัฐชายฝั่งเป็นผู้กำหนดขึ้นตามหลักเกณฑ์ใน UNCLOS 1982 โดย“รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยรวมไปถึงห้วงอากาศ (air space) พื้นดินท้องทะเล (sea-bed) และดินใต้ผิวดิน (subsoil) แห่งทะเลอาณาเขตด้วย” สิทธิอธิปไตยรวมถึง สิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการทำประมง และแสวงประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนี้

- รัฐชายฝั่งสามารถออกกฎหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ สุขาภิบาล ศุลกากร คนเข้าเมือง ที่เรือต่างชาติต้องเคารพ โดยรัฐชายฝั่งสามารถจำกุมเรือพาณิชย์ต่างชาติที่ใช้สิทธิการผ่านโดยสุจริต (innocent passage) และคนที่อยู่บนเรือพาณิชย์นั้นหากกระทำผิด แต่ไม่สามารถจับกุมเรือรบต่างชาติได้แต่สามารถขอให้เรือรบออกไปได้ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐชายฝั่ง

- สิทธิการผ่านโดยสุจริต (right of innocent passage) เป็นข้อจำกัดสิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่งเฉพาะกับเรือเท่านั้นไม่รวมอากาศยาน กล่าวคือ เป็นกรณีที่เรือต่างชาติสามารถผ่านในทะเลอาณาเขต นี้ได้ โดยการผ่านนั้นจะต้องไม่มีการทำการประมง ไม่มีการสำรวจใดๆ ไม่มีกิจกรรมทางทหาร ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อ และสามารถหยุดหรือทอดสมอได้เพื่อความจำเป็น และ“สุจริต” หมายถึงการกระทำที่ไม่กระทบต่อความสงบ ความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง โดยสิทธิการผ่านฯ นี้อาจถูกระงับชั่วคราวถ้ารัฐชายฝั่งเห็นว่าจำเป็นต่อการดูแลความมั่นคง และเป็นสิทธิที่เกิดเฉพาะในทะเลอาณาเขตเท่านั้น เรือดำน้ำจะต้องลอยเรือให้เหนือน้ำในขณะที่ผ่านทะเลอาณาเขต

๓.๓ เขตต่อเนื่อง (Contiguous Zone) เป็นบริเวณที่อยู่ประชิดกับทะเลอาณาเขต และต้องไม่เกิน ๒๔ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน รัฐชายฝั่งอาจใช้สิทธิควบคุมที่จำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันและลงโทษการกระทำผิดด้านศุลกากร การลักลอบเข้าเมือง การสุขาภิบาล รวมถึงคุ้มครองวัตถุโบราณ หรือวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่พบใต้ทะเลด้วย

๓.๔ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone – EEZ) เป็นบริเวณเลยจากทะเลอาณาเขต แต่ไปเกิน ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน รัฐชายฝั่งมีอำนาจในการสำรวจ น้ำมัน และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแสวงประโยชน์ อนุรักษ์ หรือ จัดการได้ ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ทั้งในน้ำ เหนือพื้นดินท้องทะเล ในพื้นดินท้องทะเล ไปจนถึงใต้ผิวดินของพื้นดินท้องทะเลนั้นและมีสิทธิอธิปไตยสำรวจทางเศรษฐกิจในเขต เช่น การผลิตพลังงานจากกระแสน้ำ (currents) และลม (winds) โดยมีสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive rights) ในการสร้างหรืออนุญาตให้สร้าง ควบคุมการสร้างเกาะเทียม (artificial islands) สิ่งติดตั้ง (installations) และสิ่งก่อสร้าง (structures) เพื่อทำการสำรวจ และแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือควบคุมการใช้สิ่งติดตั้งหรือสิ่งก่อสร้างอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิของรัฐชายฝั่งในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ทั้งนี้รัฐอื่นๆ ย่อมมีเสรีภาพในการเดินเรือบินผ่าน การวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล ที่ทุกรัฐสามารถกระทำได้ในบริเวณทะเลหลวง

๓.๕ ทะเลหลวง (High Seas) พื้นที่ห่างจากฝั่งมากกว่า ๒๐๐ ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นทุกส่วนของทะเลแต่ไม่ได้รวมอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (exclusive economic zone) ทั้งนี้ห้วงน้ำ (water column) และผิวน้ำเหนือไหล่ทวีปที่อยู่นอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะยังคงเป็นเขตทะเลหลวง ถึงแม้ไหล่ทวีปและทรัพยากรบนไหล่ทวีปจะตกอยู่ภายใต้สิทธิอธิปไตย (sovereign rights) ของรัฐชายฝั่งก็ตาม โดยเสรีภาพในการใช้ประโยชน์ในทะเลหลวงตามอนุสัญญา UNCLOS 1982 ได้เปิดโอกาสให้แก่รัฐทั้งปวง ไม่ว่ารัฐชายฝั่ง (coastal state) หรือรัฐไร้ฝั่งทะเล (landlocked states) ใช้ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น เสรีภาพในการเดินเรือ (freedom of navigation) เสรีภาพในการบินผ่าน (freedom of overflight) เสรีภาพในการทำประมง (freedom of fishing) โดยรัฐต่างๆที่ทำการประมงในทะเลหลวง ต้องร่วมมือกันเพื่อกำหนดมาตรการในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเล โดยการปฏิบัติในการใช้ประโยชน์ในทะเลหลวงเหมือนกับสนธิสัญญาเจนีวา คือ รัฐเจ้าของธงชาติที่เรือนั้นใช้ (the flag state) มีเขตอำนาจศาลเหนือเรือในทะเลหลวง ได้แก่ ๑) เรือรบมีสิทธิที่เข้าตรวจเยี่ยม (a right of visit or right of approach) เรือพาณิชย์ที่จดทะเบียนตามกฎหมายตน (รัฐเจ้าของเรือรบ) หรือเรือพาณิชย์ใดๆ ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าเรือพาณิชย์นั้นกำลังกระทำผิดกฎหมาย ๒) เรือรบมีสิทธิที่เข้าตรวจเยี่ยม (a right of visit or right of approach) เรือใดๆที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ร่วมกระทำการโจรสลัด การค้าทาส การก่อการร้าย


ภาพที่ ๑๐ การปฏิบัติภารกิจการปราบปรามโจรสลัดในอ่าวเอเดนและชายฝั่งโซมาเลียของกองทัพเรือ

๔. การแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย

ผลการศึกษาแนวคิดการกำหนดยุทธศาสตร์ทางเรือแบบ Ring-Fenced Strategy ของประเทศนิวซีแลนด์ (การปฏิรูปยุทธศาสตร์ทางเรือ, พล.ร.อ.คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ) ซึ่งจะเป็นการกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่และแผนการวางกำลังทางเรือในลักษณะเป็นวงแหวนซ้อนกันตามพื้นที่ผลประโยชน์ของชาติและนโยบายการเมืองระหว่างประเทศของประเทศตนที่มีต่อภูมิภาคและประเทศมหาอำนาจในแต่ละวงนั้น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดในเรื่องจุดศูนย์ดุลระดับยุทธศาสตร์ของประเทศทางทะเลที่หมายถึงการกำหนดผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศไทย, เป้าหมายประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี และประเด็นในเรื่องอำนาจตามกฎหมายได้แก่ อำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่งตามกฎหมายทะเล UNCLOS 1982 และ กฎหมายสงคราม(Law of war) กฎหมายการขัดกันด้วยอาวุธ(Law of Armed Conflict) รัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในประเทศของไทย สรุปการแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยออกเป็น ๔ วงพื้นที่ยุทธศาสตร์ (Ring-Fenced Strategy) ได้แก่

วงที่ ๑ วงในสุดสำคัญอันดับที่ ๑ คือ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและพื้นที่ เหลื่อมทับทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน

วงที่ ๒
สำคัญอันดับที่ ๒ คือ พื้นที่ทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วงที่ ๓ สำคัญอันดับที่ ๓ คือ พื้นที่ทางทะเลภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

วงที่ ๔ วงนอกสุด คือ ทะเลหลวงที่บริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจสามารถใช้ประโยชน์จากทะเลในการแสวงหาแร่ธาตุ น้ำมัน ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การประมงนอกน่านน้ำไทย และเส้นทางขนส่งสินค้าและขนส่งน้ำมันทางทะเลในภูมิภาคตะวันออกกลาง
 

ภาพที่ ๑๑ การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ที่มา: เอกสารประจำภาค วิทยาลัยการทัพเรือ เรื่อง การพัฒนาแนวทางการใช้กำลังในการป้องกันประเทศทางทะเลของกองทัพเรือโดย น.อ. พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล

การแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยออกเป็น ๔ วงพื้นที่ยุทธศาสตร์ พิจารณาจากแนวความคิดในการดำเนินบทบาทในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในระดับกองทัพเรือ กองทัพไทยและนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลในการนำไปพิจารณาในการกำหนดยุทธศาสตร์ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (Thai Maritime Enforcement Command Center)หรือ ศรชล. และการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plans) ของกองทัพไทยและกองทัพเรือซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการคุ้มครอง รักษา และปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลของไทย

ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลในการนำไปพิจารณาในเรื่องการกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการในการป้องกันประเทศทางทะเลในระดับยุทธศาสตร์ทหารหรือยุทธศาสตร์ทางเรือ ได้แก่ การกำหนดให้วงแหวนพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลของไทยในวงที่ ๑ และวงที่ ๒ ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ(Area of Operation) ในการป้องกันประเทศทางทะเลโดยพิจารณาจากภารกิจของกองทัพเรือในการคุ้มครองพื้นที่ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศ วงที่ ๓ พื้นที่ทางทะเลในภูมิภาค อินโด-แปซิฟิกให้เป็นพื้นที่สนใจ (Area of Interest) โดยพิจารณาจากปัจจัยในเรื่องอิทธิพลของนโยบายประเทศมหาอำนาจ วงที่ ๔ ทะเลหลวงมีความสำคัญน้อยที่สุดเพราะเป็นผลประโยชน์ระดับรองของชาติ (Major Interests และPeripheral Interests)

ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลในการนำไปพิจารณาในเรื่องการแบ่ง/จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มประเทศตามแนวคิดยุทธศาสตร์ทางเรือแบบ Ring-Fenced Strategy ของประเทศไทย เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศหรือในระดับกองทัพเรือคือ นโยบายการทูตทางเรือแบบเชิงรุก แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ 
๑) กลุ่มประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับไทย 
๒) กลุ่มประเทศอาเซียน 
๓) กลุ่มประเทศมหาอำนาจ และ
๔) กลุ่มมิตรประเทศ 
     ทั้งนี้แนวคิดนี้เป็นแนวคิดยุทธศาสตร์ทะเล (Maritime Strategy) ของ ศรชล. ที่ต้องมีการใช้กำลังอำนาจแห่งชาติและสมุทานุภาพของประเทศในการเป็นเครื่องมือรัฐในการรักษา คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยหลังจากการกำหนดแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์เป็นวงแหวนยุทธศาสตร์แล้วควรจะต้องมีการกำหนดนโยบายความร่วมมือด้านความมั่นคงที่สอดคล้องกันตั้งแต่ระดับรัฐบาลซึ่ง ศรชล.ต้องดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์และกำหนดออกมาเป็นแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และสอดคล้องกับแผนอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทะเลของประเทศไทย ทั้งนี้ในระดับกองทัพเรือการแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็น ๔ วงนี้ จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมกำลังและการใช้กำลังทั้งในยามสงบ คือ แผนในการลาดตระเวนในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและในยามสงครามคือการกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ พื้นที่สนใจและการกำหนดแนวคิดในการใช้กำลังในแผนป้องกันประเทศ และประโยชน์ในเรื่องการกำหนดนโยบายการทูตทางเรือที่สามารถบูรณาการแผนทุกกระทรวงเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปีซึ่งเป็นแนวคิด Comprehensive Security หรือความมั่นคงแบบองค์รวมได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น วงที่ ๒ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้นโยบายในกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนในการปฏิบัติการในการรักษาอำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นต้น

ผลการวิเคราะห์การทำสงครามทางเรือในการเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐห้วง ๒๐ ปี


การประเมินสภาพแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลในยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ๒๐ ปี แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๔และ ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงของโลกจนถึงปี ค.ศ. ๒๐๓๕ ในเอกสาร Global Trends : Paradox of Progress ของ สำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ(US National Council) ชี้ให้เห็นถึงปัญหาความมั่นคงทางทะเลในระดับโลกและทุกภูมิภาคที่มีเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นตลอดจนแนวโน้มการเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐในทะเลอันเนื่องมาจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในทะเลและความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจที่สำคัญระหว่างจีนกับสหรัฐซึ่งจะใช้ทะเลในการทำสงครามจำกัดโนทะเลจีนใต้ ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาความมั่นคงทางทะเลของประเทศไทยที่มีแนวโน้มความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการแย่งชิงน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในพื้นที่เหลื่อมทับในอ่าวไทย ซึ่งผลการพิจารณาขีดความสามารถของการปฏิบัติการทางเรือที่กระทำได้ของประเทศที่อาจจะเป็นประเทศ คู่สงครามในการป้องกันประเทศทางทะเล พบว่ามีขีดความสามารถที่จะยึดครอง/ปฏิเสธการใช้พื้นที่อาณาเขตทางทะเลเพื่อเข้าควบคุมเส้นทางขนส่งทางทะเลหลักที่ไทยใช้ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าและน้ำมัน การปิดอ่าวไทย การเข้ายึด/ทำลายแท่นขุดเจาะและระบบท่อขนส่งน้ำมันในทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของไทยเพื่อการบีบบังคับและสร้างความได้เปรียบในการเจรจาในการยุติสงครามหรือความขัดแย้งหรือเพื่อการต่อรองให้ได้ผลประโยชน์ทางทะเลที่เหนือกว่าประเทศไทยในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งนี้แม้ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับการปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ (Major Operation) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนในห้วง ๒๐ ปีข้างหน้าจะมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อย แต่หากเกิดขึ้นกองทัพทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุประสงค์ทางทหารในการปฏิบัติการทางทหารให้ได้เปรียบ/กดดันฝ่ายตรงข้ามเพื่อมุ่งประสงค์ต่ออำนาจต่อรองในการเจรจาในระดับรัฐบาลเพื่อยุติสงคราม โดยฝ่ายตรงข้ามจะทำสงครามจำกัดที่มีเป้าหมายเข้ายึดจุดศูนย์ดุล(Center Of Gravity) ในระดับยุทธศาสตร์ของประเทศของไทย ดังนี้

๑. การปฏิบัติการทางทหารในการเข้ายึดครองอาณาเขตของประเทศไทยทั้งทางบกและทางทะเล โดยการปฏิบัติการทางทหารบนบก ได้แก่ การที่ฝ่ายตรงข้ามเข้ายึดครองพื้นที่สำคัญทางบก สำหรับการปฏิบัติการในทะเล ได้แก่ การประกาศเขต Maritime Exclusion Zone: MEZ หรือ Sea Control ในพื้นที่ Chock Point พื้นที่สำคัญหรือพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลที่ไทยมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่ารัฐมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตแดนที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิประเทศ ดังนั้นเมื่ออาณาเขตซึ่งเป็นผลประโยชน์ของชาติในระดับ Survival National Interest ถูกครอบครองโดยรัฐฝ่ายตรงข้าม ในกรณีที่รัฐไม่สามารถใช้การทูตและกำลังอำนาจแห่งชาติด้านอื่น ๆในการแก้ไขปัญหานี้ การใช้กำลังทหารตามแผนป้องกันประเทศจะเป็นเครื่องมือสุดท้ายของการเมืองในการแก้ปัญหาสำคัญของชาตินี้




ภาพที่ ๑๒ พื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา: https://thaiforgetit.blogspot.com/2014/11/21_25.html

๑. การปฏิบัติการทางทหารในลักษณะการยึดครอง/ทำลายผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญยิ่ง ของประเทศไทยทั้งทางบกและทางทะเล ทั้งนี้เนื่องจากเขตอุตสาหกรรม พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่สำคัญ ทางบกที่เป็นผลประโยชน์สำคัญของประเทศจะอยู่ในเขตแดนภายในของไทยที่มีระบบการป้องกันที่ดีจึงเป็นการยากที่ข้าศึกจะเข้ายึดหรือทำลาย แต่สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานประเทศทางทะเล เช่น ระบบพลังงานของประเทศในทะเล(เรือขนส่งน้ำมัน ฐานขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ)ที่เป็นต้นทุนหลักในระบบการผลิตในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม และเป็นรายได้หลักจากการเก็บภาษีของรัฐและเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติในทะเลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องทะเล ซึ่งทั้งหมดนี้คือผลประโยชน์ของชาติทางทะเลซึ่งมีมูลค่ามหาศาลมีความเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันพื้นที่สำคัญในทะเลเหล่านี้ได้ ๑๐๐ % เนื่องจากเหตุผลจากปัจจัยสภาพอากาศ คลื่นลมและสภาพแวดล้อมทางทะเล และข้อจำกัดของจำนวนเรือรบที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจในการรักษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ ในเขตน่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องและ การรักษาสิทธิอธิปไตย ในการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปและการแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศไทยในทะเลหลวง (เช่น กองเรือประมงไทยที่ทำธุรกิจร่วมทุนกับต่างชาติในน่านน้ำต่างประเทศ) ดังนั้นจึงถือว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานประเทศทางทะเลและผลประโยชน์ของชาติในทะเลเป็นผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญ (Vital National Interest) ที่ต้องใช้กำลังทหารในการรักษาจุดศูนย์ดุลของประเทศไทยนี้ไว้เทียบเท่ากับความสำคัญของพื้นที่สำคัญทางบก ดังนั้นกองทัพไทยจึงควรระบุว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานประเทศทางทะเลและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นเงื่อนไขสำคัญเช่นเดียวกับเส้นเขตแดนทางบกในการเสนอรัฐบาลให้ประกาศใช้แผนป้องกันประเทศในกรณีถูกยึดครองดินแดนหรือเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่สำคัญโดยใช้สิทธิในการป้องกันตนเองของประเทศตามมาตรา ๕๑ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติและตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การรักษาความมั่นคงทางทะเลของกองทัพเรือในศตวรรษที่ ๒๑

หลักการระงับข้อขัดแย้งและการจัดการวิกฤติการณ์ระหว่างประเทศด้วยดำเนินการทางการทูตและการทหาร พบว่า นโยบายต่างประเทศ คือ แนวทางที่รัฐจะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับตัวแสดงอื่นทั้งที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญได้แก่ การทหาร เศรษฐกิจ การทูตและการเมือง โดยการทูตเป็น Soft Power ในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อยับยั้งข้อพิพาทระหว่างรัฐ เช่น มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การแก้ไขความขัดแย้ง การป้องกันความขัดแย้ง สำหรับกองทัพเรือเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลในการใช้กำลังทหารเพื่อกดดันฝ่ายตรงข้ามให้กระทำตามวัตถุประสงค์ทางการเมืองของรัฐบาลไทยและการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลทั้งยามสงบและยามสงคราม

กองทัพเรือแม้จะมีหน้าที่หลักในการป้องกันประเทศตามรัฐธรรมนูญและตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาไหม พ.ศ.๒๕๕๑ กห. มีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชนแหงชาติ มาตรา ๒๐ ให้กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลัง กองทัพเรือ ป้องกันราชอาณาจักรและการใช้กำลัง กองทัพเรือ โดยมี ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชา นั้น แต่บทบาทหนึ่งที่สำคัญในเรื่องความมั่นคงทางทะเลนั้นคือ บทบาทและหน้าที่ในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตาม พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่วางแผนและสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและการประเมินสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.ศรชล. และ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็น รอง ผอ.ศรชล. ซึ่งบทบาทนี้คือ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลตามแนวคิดการแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศไทยเป็น ๔ วงซึ่งเป็นข้อเสนอในการกำหนดยุทธศาสตร์ ศรชล.ในข้อ ๓ ข้างต้น โดยการรักษาความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกองทัพเรือในสภาพแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลในยุคศตวรรษที่ ๒๑ นั้นมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องของผลประโยชน์ทั้งผลประโยชน์ของประเทศตน ของภูมิภาคอีกทั้งยังกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหาของกองทัพเรือในบทบาทและหน้าที่ของ ศรชล.คือความพยายามในการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐโดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย การสร้างความร่วมมือกันในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมทางทะเลของอาเซียน และการขจัดภัยคุกคามทางทะเลร่วมกันของอาเซียน และที่สำคัญคือการรักษาดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจในภาพของประชาคมอาเซียนบนพื้นที่ผลประโยชน์ร่วมของประเทศไทย เช่น กรณีเกิดวิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้กำลังทางเรือระหว่างสหรัฐฯกับจีนในทะเลจีนใต้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของไทย โดยการแก้ปัญหาของรัฐบาลในเรื่องความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่เรือสินค้าไทยใช้เส้นทางนี้ในการส่งออกสินค้าของไทยไปสู่จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีให้ คือ การเจรจาทางการทูตของรัฐบาลในส่วนภารกิจกองทัพเรือ คือการคุ้มกันคอนวอยกระบวนกองเรือสินค้าของไทยที่ผ่านเข้าไปในเขตพื้นที่ขัดแย้งทางทหารสหรัฐ-จีน จึงจะเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเลตามบทบาท ศรชล.ซึ่งกองทัพเรือเป็นหน่วยงานหลักนี้ด้วย

การสร้างดุลยภาพอำนาจทางทะเลของประเทศไทยต่อประเทศมหาอำนาจและอาเซียน


จากข้อสรุปในหัวข้อที่ ๒ ในเรื่องการกำหนดจุดศูนย์ดุลระดับยุทธศาสตร์ของประเทศทางทะเลซึ่งหมายถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศไทยแบ่งออกได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับที่ ๑ Survival National Interest คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่รัฐต้องรักษาความเป็นเอกราช อธิปไตย สิทธิอธิปไตย โดยต้องไม่ให้ศัตรูเข้ามาล่วงล้ำหรือยึดครองโดยเป็นแนวคิดเดียวกับแผนป้องกันชายแดนของกองทัพบกในการวางกำลังทางบกป้องกันเขตแดนทางบก และระดับที่ ๒ คือ Vital National interest คือ เส้นทางขนส่งทางทะเลและโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศทางทะเล (Maritime Critical Infrastructure) สามารถนำมาพิจารณาแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยออกเป็น ๔ วงพื้นที่ยุทธศาสตร์ (Ring-Fenced Strategy of Thailand ) ตามการจัดลำดับความสำคัญของจุดศูนย์ดุลของประเทศทางทะเลจากวงที่สำคัญที่สุดคือวงที่ ๑ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย ไปจนถึงน้อยที่สุดคือวงที่ ๔ ทะเลหลวง ทั้งนี้ข้อเสนอ เชิงนโยบายในการนำไปพิจารณาในเรื่องการแบ่ง/จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มประเทศตามแนวคิดยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced Strategy of Thailand เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศในระดับรัฐบาลหรือในระดับกองทัพเรือคือ นโยบายการทูตทางเรือแบบเชิงรุก แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับไทย ๒) กลุ่มประเทศอาเซียน ๓) กลุ่มประเทศมหาอำนาจ และ ๔) กลุ่มมิตรประเทศ สรุปได้ดังนี้

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๑ 

วงในสุดสำคัญอันดับที่ ๑ คือ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน

ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยในพื้นที่นี้จะให้ความสำคัญต่อประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดกับประเทศไทย ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินเดียและรวมถึงจีนด้วย(ปากอ่าวไทยจะมีผลกระทบจากเส้นประ 9 เส้น ของจีน)

ยุทธศาสตร์ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทย(ยุทธศาสตร์ทะเล-Maritime Strategy ของ ศร.ชล.) ได้แก่ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสมุทานุภาพของประเทศไทยให้เข้มแข็งโดยเฉพาะการเสริมสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศทางทะเล (Maritime Critical Infrastructure) ทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทยให้เข้มแข็ง ได้แก่ การพัฒนาระบบความมั่นคงทางพลังงานในทะเล (น้ำมันดิบและแก้สธรรมชาติในทะเล) การพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมชายฝั่งที่มีระบบเชื่อมต่อระบบคมนาคมทางทะเลกับทางบกหรือทางอากาศ เช่น การเชื่อมโยงโครงการ “ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก”หรือ Eastern Economic Corridor(EEC) กับโครงการการจัดตั้งสะพานเศรษฐกิจ (LAND BRIDGE) เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาค และที่สำคัญคือการมีกำลังทางเรือทั้งของกองทัพเรือและกำลังทางเรือในการบังคับใช้กฎหมายของ ศรชล.ที่เข้มแข็งสามารถปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศทางทะเลและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์ทางเรือ(Naval Strategy)ของกองทัพเรือ ได้แก่ การป้องปราม การคุ้มครอง/รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและการป้องกันประเทศ และการเสริมสร้างความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค ตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยในวงที่ ๑ มีดังนี้

กรณีศึกษาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา จำนวน ๒๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งผลประโยชน์อันมหาศาลในพื้นที่นี้ คือจำนวนน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติซึ่งมีการคาดคะเนว่าจะมีแหล่งน้ำมันดิบสำรองเป็นอับดับ ๓ ของภูมิภาคนี้ โดยในปี ๒๕๔๓ รัฐบาลทั้งสองประเทศจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็น ๒ ส่วน คือ พื้นที่เหนือเส้นละติจูด ๑๑ องศาเหนือ กำหนดให้การทำการแบ่งเขตทางทะเลและพื้นที่ใต้เส้นละติจูด ๑๑ องศาเหนือ ลงมากำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกันโดยการเจรจาตอนนั้น ประเทศไทยเคยเสนอขอแบ่งผลประโยชน์ในสัดส่วน ไทย ๖๐% กัมพูชา ๔๐% แต่กัมพูชาได้มีการต่อรองให้เหลือสัดส่วน ๕๐:๕๐ หลังจากนั้นท่าทีของกัมพูชาก็เปลี่ยนไปขอเพิ่มเป็น ๙๐% ที่เหลืออีก ๑๐% เป็นของไทย ซึ่งหลายฝ่ายของไทยมองว่าไม่สมเหตุสมผล จึงยุติการเจรจา



ภาพที่ ๑๓ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาจำนวน ๒๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งผลประโยชน์อันมหาศาลในพื้นที่นี้ คือจำนวนน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติซึ่งมีการคาดคะเนว่าจะมีแหล่งน้ำมันดิบสำรองเป็นอับดับ ๓ ของภูมิภาคนี้

ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/slaonark/2009/09/25/entry-1

เงื่อนไขข้อจำกัดในเรื่องปริมาณน้ำมันและแก้สธรรมชาติสำรองของประเทศไทย

ข้อมูลกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน พบว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทยรวมทั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ณ สิ้นปี ๒๕๖๒ มีดังนี้

ปริมาณสำรอง

พิสูจน์แล้ว(P1)

ยังไม่ได้พิสูจน์(P2)

ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว

ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ

ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ

ก๊าซธรรมชาติ (พันล้านลบ.ฟุต)

๔๘๘๒.๒๓

๔๒๐๒.๙๓

๒๐๖๔.๓๕

ก๊าธรรมชาติเหลว (ล้านบาร์เรล)

๑๒๗.๒๑

๑๔๕.๖๕

๑๐๑.๒๓

น้ำมันดิบ (ล้านบาร์เรล)

๑๒๕.๕๔

๙๒.๒๒

๕๖.๗๔


ปรับปรุงเมื่อ : วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓

หมายเหตุ สัญญาขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Authority)โดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๓๗โดยสัญญามีอายุ ๓๕ ปี โดยจะสิ้นสุดในปี พ.ศ.๒๕๗๒

ที่มา: กระทรวงพลังงาน https://dmf.go.th/public/reserve/data/index/menu/943

จากข้อมูล ณ ปี ๒๕๖๐ พบว่าประเทศไทยมีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ ๑.๒๙ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ซึ่งหากเรายังคงมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติในปริมาณนี้ไปเรื่อย ๆ โดยที่ยังไม่มีการดำเนินการสำรวจหรือผลิตเพิ่มเติม เราจะมีก๊าซธรรมชาติใช้ได้อีกประมาณ ๕ ปีเท่านั้น แต่ถ้านำปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว (P1) มารวมกับปริมาณสำรองที่น่าจะพบ (P2) ซึ่งจะเรียกว่า 2P นำมาหารด้วยอัตราการผลิตในช่วงเวลาเดียวกันกับปริมาณสำรอง (ปี ๒๕๖๐) เราจะมีก๊าซธรรมชาติใช้ได้อีกประมาณ ๙ ปี

ปัญหาเรื่องความมั่นคงของพลังงาน (https://www.prachachat.net/economy/news-637805 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ หัวข้อหวั่นก๊าซขาดแคลนรอบใหม่ พม่า-เอราวัณทำค่าไฟแพง ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๔) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับวิกฤตการณ์ก๊าซธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นจาก ๒ สาเหตุคือ ๑) การผลิตก๊าซจากแหล่งก๊าซหลักในอ่าวไทยคือ “แหล่งเอราวัณ” ในช่วงรอยต่อระหว่างการเปลี่ยนระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี ๒๕๖๕ ไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ (PTTEP ED) ในฐานะคู่สัญญาในระบบแบ่งปันผลผลิตรายใหม่ ไม่สามารถเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณ (แปลง G1/61) ของผู้รับสัมปทานรายเดิมคือ บริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิตได้ ส่งผลให้การ “คงปริมาณ” การผลิตก๊าซขั้นต่ำไว้ที่วันละ ๘๐๐ ล้าน ลบ.ฟุต/วัน อาจจะไม่เป็นไปตามแผนและกระทบกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จะใช้โดยรวมได้ ๒) ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเมียนมา ขณะนี้ก่อให้เกิด “ความเสี่ยง” ต่อการรับ-ส่งก๊าซจากแหล่งผลิตสำคัญ 3 แหล่งคือ “ยาดานา-เยตากุน-ซอติก้า” ที่ใช้อยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้าน ลบ.ฟุต/วัน อาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตกของประเทศไทย

สรุปได้ว่าความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทยเป็นปัจจัยการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยที่กำลังเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ทั้งนี้พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งคาดว่าจะมีน้ำมันดิบและแก้สธรรมชาติจำนวนมากนั้นอยู่ในวงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๑ ซึ่งถือว่าอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่เหลื่อมทับมีความสำคัญอันดับที่ ๑

ทั้งนี้จะขออธิบายในเทอมของยุทธศาสตร์ (Lykke’s Formula, US Army War College: Strategy = Ends + Ways + Means.” แปลความหมายได้ว่า ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย เป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (ends-objectives toward which one strives) บวกกับวิธีการ แนวทาง หรือสิ่งที่ต้องดำเนินการ (ways-courses of action) บวกกับเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็น (instruments by which some ends can be achieved)) กล่าวคือรัฐบาลและกองทัพเรือต้องให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ เพราะมีผลต่อเป้าหมาย(Ends or Purpose) ความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี ของประเทศกล่าวคือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยวิธีการ(Ways) ที่จะบรรลุเป้าหมายวงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๑ นี้คือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสมุทานุภาพของประเทศไทยให้เข้มแข็งโดยเฉพาะการเสริมสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศทางทะเล ได้แก่ การได้มาซึ่งน้ำมันดิบและแก้สธรรมชาติในทะเลในพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลตามสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในการแสดงสิทธิ์อำนาจอธิปไตย (Sovereign)ที่ถูกต้องในการกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญา UNCLOS1982 จึงถือว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย และมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในเป้าหมายความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ(ประเทศไทยได้กำหนดเส้นฐานที่ถูกต้องโดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศ) ซึ่งเครื่องมือ(Means)ที่สำคัญคือกำลังทางเรือของกองทัพเรือโดยจะเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการแสดงกำลัง กดดัน คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่สำคัญนี้ไว้เพื่อประโยชน์ทางด้านความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและการกินดีอยู่ดีของประชาชนจากความมั่นคงทางพลังงาน น้ำมันและแก้สธรรมชาติในทะเลของไทย
 ข้อเสนอแนะในการวางยุทธศาสตร์ทางเรือของกองทัพเรือตามแนวคิดนี้คือการใช้อำนาจสมุทานุภาพที่เข้มแข็งของประเทศไทยโดยเฉพาะกำลังทางเรือซึ่งได้เปรียบกว่ากำลังทางเรือของกัมพูชาร่วมกับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศของรัฐบาลประเทศไทยที่ชัดเจน โดยเริ่มจากการใช้ยุทธศาสตร์ ทางเรือนำหน้าระหว่างการดำเนินนโยบายทางการทูตต่อประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กัมพูชาหันมาเจรจาบนพื้นฐานการใช้กฎหมายระหว่างประเทศ UNCLOS1982 เป็นหลักในการกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลร่วมกันหรือการพันมาเจรจาในจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมแบบเดียวกับพื้นที่ JDA ระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยกองทัพเรือจะแสดงกำลังทางเรือในพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเล ได้แก่ การลาดตระเวนคุ้มครองเรือประมงที่ทำการประมงในพื้นที่นี้ตลอดจนการคุ้มครองเรือสำรวจแหล่งน้ำมันและการคุ้มครอง/รักษาและป้องกันการสร้างฐานขุดเจาะน้ำมันดิบของไทยในพื้นที่(เหลื่อมทับระหว่างไทยกับกัมพูชา)ทางทะเลของไทยเพราะการกำหนดเส้นเขตแดนของไทยถูกต้องตามหลักการการกำหนดเส้นฐานตามอนุสัญญา UNCLOS1982 ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดเขตแดนทางทะเลของกัมพูชาซึ่งทำให้เกิดเขตเหลื่อมทับทางทะเลกับไทย ซึ่งกัมพูชากำหนดไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้น จึงถือว่าเป็นความชอบธรรมของประเทศไทยในการแสดงสิทธิ์อำนาจอธิปไตย (Sovereign)ที่ถูกต้องตามอนุสัญญา UNCLOS1982 ในการสำรวจและสร้างขุดเจาะน้ำมันดิบในพื้นที่ทางทะเลของประเทศไทยเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ผู้อ่านที่สนใจในเรื่องการอ้างสิทธิ์เส้นเขตแดนทางทะเลของกัมพูชาสามารถอ่านได้จากจุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับมิถุนายน ๒๕๕๕ ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดย พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ




ภาพที่ ๑๔ เรือหลวง ตากสิน ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ HARPOON ในระยะ ๕๕ไมล์ทะเล
ที่มา: กองทัพเรือ

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๒ 

สำคัญอันดับที่ ๒ คือ พื้นที่ทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยในพื้นที่นี้จะให้ความสำคัญต่อกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ

ยุทธศาสตร์ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศ(ยุทธศาสตร์ทะเล-Maritime Strategy ของ ศร.ชล.) ได้แก่ยุทธศาสตร์ในการสร้างความมั่นคงร่วมกันของหน่วยงานด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียน (ASEAN Cooperative Security Concept) เป็นข้อเสนอในการกำหนดนโยบายทางทะเลของประเทศไทย ซึ่งกองทัพไทย กองทัพเรือและ ศรชล. ต้องทำแผนสนับสนุนในการสร้างความร่วมมือกับทุกชาติสมาชิกอาเซียนในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกัน(Common Maritime Interests of ASEAN Community) (เน้นในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยเขตพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน และในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวคิดการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ของไทย หรือ Ring-Fenced Strategy of Thailand) ทั้งนี้จากผลการวิจัยเอกสารวิจัย วปอ. เรื่อง บทบาทกองทัพเรือกับความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดย พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ พล.ร.อ.โสภณ วัฒนมงคล และ พล.ร.อ.นฤดม แป้นเจริญ พบว่าประชาคมอาเซียนทำให้ภูมิรัฐศาสตร์และ ภูมิยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อบทบาทกองทัพเรือในด้านการป้องกันประเทศ ภัยคุกคามซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีอยู่ขณะที่มีการเกิดขึ้นของกลไกระงับความขัดแย้งระหว่างชาติอาเซียน ดังนั้น กองทัพเรือควรกำหนดนโยบายตามบทบาทใหม่โดยผลักดันให้เกิดการฝึกร่วมกันระหว่างกองกำลังทางเรืออาเซียนและกองกำลังทางเรือของจีน และการพัฒนาขีดความสามารถกำลังทางเรือ ให้สามารถดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยข้อเสนอแนวคิดการสร้างความมั่นคงร่วมกันของประชาคมอาเซียนควรต้องอยู่บนหลักการของอาเซียน (ASEAN Charter) คือ การมีคุณค่าและผลประโยชน์ร่วมกันผ่านกรอบความร่วมมือบนเสาหลักได้แก่ เสาประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยเป็นหลักการบรรลุจุดมุ่งร่วมกันของทุกฝ่ายโดยผ่านความยินยอม (Consent) และหลีกเลี่ยงที่จะใช้กำลังระหว่างกัน หรือ Cooperative Security Concept เป็นแนวคิดการหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่อาจนำไปสู่สงครามและการสร้างความมั่งคงร่วมกันโดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures) การทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) และการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management) โดยกำหนดเป็นนโยบาย“วงแหวนแห่งความร่วมมือด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียน” ดังนี้:

วงแหวนอาเซียนที่ ๑ การรักษาความมั่นคงระดับประเทศ (Individual Security) เป็นการปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน ในการเคารพอำนาจอธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน เอกลักษณ์ประจำชาติของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน

วงแหวนอาเซียนที่ ๒ ความมั่นคงร่วมกันในภูมิภาค (Collective Security) เป็นการปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน ในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงภายในขอบเขตพื้นที่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านและความรับผิดชอบร่วมกันในการเสริมสร้างสันติภาพในภูมิภาคความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง




ภาพที่ ๑๕ แนวคิดการสร้างความมั่นคงร่วมกันของอาเซียน (ASEAN Cooperative Security)

ที่มา: พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล. “ASEAN Maritime Security for 21st Century” รางวัลบทความดีเด่นการประชุมวิชาการความมั่นคงนานาชาติ มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศจีน (International Security Symposium, National Defense University of PLA),๒๕๕๘

วงแหวนอาเซียนที่ ๓ การป้องกันร่วมกัน (Collective Defense) ประชาคมอาเซียนจะใช้กำลังเพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันการป้องปรามและป้องกันภัยคุกคามร่วมกันของอาเซียนโดยพยายามไม่ให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงมีอิทธิพลในจุดยุทธศาสตร์ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผลประโยชน์ร่วมของทุกชาติในอาเซียน เช่น การลาดตระเวน ๔ ชาติร่วมกันในช่องแคบมะละกาเพื่อแก้ปัญหาโจรสลัดและการจัดตั้งกองกำลังอาเซียนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติ (ASEAN Militaries Ready Group on HADR) และภารกิจร่วมกันในการเสริมสร้างความมั่นคงและการรักษาสันติภาพในนามกองกำลังทางเรืออาเซียนในอนาคตและการคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและระบบเศรษฐกิจทางทะเลของอาเซียน

วงแหวนอาเซียนที่ ๔
การส่งเสริมเสถียรภาพความมั่นคงทางทะเล (Promoting Maritime Security Stability)ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของโลก ตามแนวคิด Cooperative Security โดยอาเซียนจะเน้นความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศ ในการควบคุมอาวุธและป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธ ซึ่งรวมถึงอาวุธธรรมดาและอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง การสร้างเสถียรภาพความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทวีปเอเชียและพื้นที่ทะเลในสองมหาสมุทรคือมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียโดยเน้นหนักที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของ สหรัฐ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ด้วยการรักษาความมั่นคงทางทะเลร่วมกันนามสหประชาชาติและอาเซียน เช่น การส่งกองเรือเฉพาะกิจไปภารกิจปราบปรามโจรสลัดในอ่าวเอเดน เป็นต้น

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๓ 

สำคัญอันดับที่ ๓ คือ พื้นที่ทางทะเลภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยในพื้นที่นี้จะให้ความสำคัญต่อกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี สรุปได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศ(ยุทธศาสตร์ทะเล-Maritime Strategy ของ ศร.ชล.) ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงทางทะเลของไทยต่อประเทศมหาอำนาจ โดยพิจารณาในเรื่องภูมิยุทธศาสตร์ของไทยกับประเทศมหาอำนาจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการวางกำลังทางทหาร(ฐานทัพ,ท่าเรือและกิจกรรมทางทหาร) โดยกำหนดเป็นข้อเสนอในการกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศไทย ซึ่งกองทัพไทยและกองทัพเรือต้องทำแผนสนับสนุนในการร่วมมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศไทยในพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศมหาอำนาจ(เน้นที่นอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย) จากผลการศึกษาเอกสารวิจัย วปอ.เรื่อง ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของไทย รองรับการขยายอิทธิพลทางทะเลของจีนในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย ของ พล.ร.อ. ช่อฉัตร กระเทศ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีการนำเอาหลักการภูมิรัฐศาสตร์ของไทยที่ประเทศมีลักษณะทะเลชายฝั่งยาวเป็นศูนย์กลางระบบขนส่งทางทะเลอาเซียนและระบบขนส่งทางทะเลโลกที่แบ่งเขตตะวันออก(แปซิฟิก)และตะวันตก (มหาสมุทรอินเดีย) พบว่า ทั้งจีน สหรัฐฯ อินเดียได้ดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายทางการทหารที่ให้ความสำคัญแก่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกโดยเสริมสร้างกำลังทางเรือเช่นการเคลื่อนกำลังจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออก การเสริมสร้างฐานทัพหน้าของ จีน อินเดีย สหรัฐฯ และการฝึกร่วมกับประเทศไทยและชาติอาเซียนในมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลจีนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้จากตำบลที่ตั้งของประเทศไทยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศมหาอำนาจซึ่งมีศักย์สงครามที่สูงกว่าไทย ดังนั้นประเทศไทยต้องร่วมมือกับทุกชาติในอาเซียนในการสร้างพลังอำนาจต่อรองกับ สหรัฐฯ จีน และอินเดีย เพื่อเป็นอำนาจในการต่อรองในลักษณะอาเซียนต่อประเทศมหาอำนาจในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีการใช้กำลังทหารของประเทศมหาอำนาจในพื้นที่ผลประโยชน์ร่วมของอาเซียน โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ทางเรือแบบเชิงรุกของไทยต่อประเทศมหาอำนาจ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ทางเรือที่ ๑ การเพิ่มขีดความสามารถกองทัพเรือในการปฏิบัติการร่วมกับชาติในอาเซียนเพื่อคุ้มครองเส้นทางขนส่งทางทะเลและผลประโยชน์ร่วมในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย

ยุทธศาสตร์ทางเรือที่ ๒ การทูตทางเรือ Naval Diplomacy แบบเชิงรุก เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงของจีน สหรัฐฯ อินเดียและชาติอาเซียน โดยพยายามมีส่วนร่วมในการเข้าไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคแบบสร้างสรรค์ เช่น การลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกา

ยุทธศาสตร์ทางเรือที่ ๓ ยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลกับอาเซียนในการรักษาผลประโยชน์ร่วมทางทะเลและการรักษาดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจ เช่น การจัดตั้งกองกำลังทางเรือของอาเซียนเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์หรือต่อต้านภัยคุกคามร่วมกันของอาเซียน

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๔ 

วงนอกสุด คือ ทะเลหลวง

ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยจะให้ความสำคัญต่อกลุ่มประเทศพันธมิตรของไทยที่มีอิทธิพลต่อเขตพื้นที่ทะเลหลวงซึ่งกองเรือประมง,กองเรือขนส่งสินค้า,กองเรือขนส่ง น้ำมันดิบและแก้สธรรมชาติแล่นผ่านพื้นที่หรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในพื้นที่นั้นๆตลอดจนการปฏิบัติการทางเรือในการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลร่วมกับนานาชาติในกรอบสหประชาชาติ

ยุทธศาสตร์ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศ(ยุทธศาสตร์ทะเล-Maritime Strategy ของ ศร.ชล.) ได้แก่ ยุทธศาสตร์ในการเจรจาต่อรองตามหลักการ Five Principles of Peaceful Coexistence เพื่อการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของไทย,ชาติอาเซียนต่อประเทศมหาอำนาจ

เป็นข้อเสนอในการกำหนดนโยบายพื้นฐานในการเจรจาต่อรองเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศไทยกับประชาคมอาเซียนและประเทศมหาอำนาจ ซึ่งกองทัพเรือ (คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล) และ ศรชล. (การใช้ประโยชน์จากทะเล) ต้องทำแผนสนับสนุนในการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลและด้านเศรษฐกิจในการแสวงหาผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกันของประชาคมอาเซียนและประเทศมหาอำนาจ โดยใช้การเจรจาต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของไทยตามหลักการ Five Principles of Peaceful Coexistence (หลักการอยู่ร่วมกันของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ ริเริ่มจากนายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล ของจีน นายกรัฐมนตรี ชวาหระลาล เนห์รู ของอินเดีย และนายกรัฐมนตรี อู นุ ของเมียนม่าร์โดยมีการลงนามร่วมกันที่กรุงปักกิ่งในปี ค.ศ.๑๙๕๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) โดยหลักการนี้ประเทศจีนได้ใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งในเรื่องการเศรษฐกิจและความมั่นคงกับประเทศกำลังพัฒนาจนถึงปัจจุบัน) โดยหลักการนี้มี ๕ ประการ ได้แก่

๑) การเคารพซึ่งกันและกันในเรื่องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน (Mutual respect for sovereignty and territorial integrity)

๒) ไม่รุกรานซึ่งกันและกัน (Mutual Non-Aggression)

๓) ไม่แทรกแซงกิจการภายใน (Non-interference in each other's internal affairs

๔) ความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน (Equality and Mutual Benefit) และ

๕) การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Peaceful Coexistence)

บทสรุป ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลเพื่อรักษาดุลยภาพอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจและประชาคมอาเซียนเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยในศตวรรษที่ ๒๑

      เป็นแนวคิดการการสร้างดุลภาพอำนาจทางทะเลของประเทศไทยต่อประเทศมหาอำนาจและต่อประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยการใช้สมุทานุภาพและการใช้แนวคิดทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) กับ ภูมิยุทธศาสตร์ (Geostrategy) ในการสร้างอำนาจต่อรองของประเทศไทยในการมีที่ตั้งอยู่จุดยุทธศาสตร์ทางทะเลของโลกและการกำหนดพื้นที่ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลแบบ Ring Fence Strategy พิจารณากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ทางเรือและนโยบายด้านความมั่นคงทางทะเลต่อประเทศมหาอำนาจได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินเดียเพื่อลดผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจที่อาจจะมีการใช้กำลังทางทหารในพื้นที่ทางทะเลในทะเลจีนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรอินเดีย และการดำเนินนโยบายด้านการทหารและการสร้างความมั่นคงทางทะเลร่วมกับอาเซียน สรุปได้ดังนี้

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๑ สำคัญอันดับที่ ๑ คือ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะให้ความสำคัญกับประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดกับไทย ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินเดียและจีน โดยยุทธศาสตร์ทางเรือ(Naval Strategy) กองทัพเรือ ได้แก่ การป้องปราม การป้องกันประเทศ และการเสริมสร้างความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๒
สำคัญอันดับที่ ๒ คือ พื้นที่ทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยในพื้นที่นี้จะให้ความสำคัญต่อกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ โดย ศรชล.กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความมั่นคงร่วมกันของหน่วยงานด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียนตามแนวคิด Cooperative Security คือ หลักการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางทะเลให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้เอื้อต่อระบบขนส่งและระบบเศรษฐกิจทางทะเลของอาเซียนบนพื้นฐานคือการเคารพซึ่งกันและกันต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนการไม่รุกรานซึ่งกันและกันการไม่แทรกแซงกิจการภายในความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๓ สำคัญอันดับที่ ๓ คือ พื้นที่ทางทะเลภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยในพื้นที่นี้จะให้ความสำคัญต่อกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ทางเรือแบบเชิงรุกของไทยต่อประเทศมหาอำนาจ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ทางเรือที่ ๑ การเพิ่มขีดความสามารถกองทัพเรือในการปฏิบัติการร่วมกับชาติในอาเซียนเพื่อคุ้มครองเส้นทางขนส่งทางทะเลและผลประโยชน์ร่วมในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย

ยุทธศาสตร์ทางเรือที่ ๒ การทูตทางเรือ Naval Diplomacy แบบเชิงรุก เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงของจีน สหรัฐฯ อินเดียและการมีส่วนร่วมในการเข้าไปแก้ไขปัญหาและร่วมมือกับชาติอาเซียน เช่น การลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกาเป็นต้น

ยุทธศาสตร์ทางเรือที่ ๓ ยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลกับอาเซียนในการรักษาผลประโยชน์ร่วมทางทะเลและการรักษาดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจ เช่น การจัดตั้งกองกำลังทางเรือของอาเซียนเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์หรือต่อต้านภัยคุกคามร่วมกันของอาเซียน

วงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยวงที่ ๔ สำคัญน้อยสุด พื้นที่คือ ทะเลหลวง

ข้อเสนอเชิงนโยบายทางทะเลของประเทศไทยจะให้ความสำคัญต่อประเทศพันธมิตรที่มีอิทธิพลต่อเขตพื้นที่ทะเลหลวงซึ่งกองเรือประมง,กองเรือขนส่งสินค้า,กองเรือขนส่ง น้ำมันดิบและแก้สธรรมชาติแล่นผ่านพื้นที่หรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในพื้นที่นั้นๆตลอดจนการปฏิบัติการทางเรือในการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลร่วมกับนานาชาติในกรอบสหประชาชาติ

โดยสรุปแล้วในวงพื้นที่ยุทธศาสตร์แบบ Ring-Fenced ของประเทศไทยในวงที่ ๒ ถึง วงที่ ๔ เป็นการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของ ศรชล. ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศโดยใช้การเจรจาต่อรองตามหลักการ Five Principles of Peaceful Coexistence เพื่อการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศไทย,ชาติในอาเซียนต่อประเทศมหาอำนาจ โดยในระดับกองทัพของชาติอาเซียนควรนำแนวคิดนี้ไปขยายผลผ่านเวทีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defense Ministers' Meeting: ADMM) การประชุม ผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน( ASEAN Navy Chiefs' Meeting) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องเขตแดนทางทะเลและปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในทะเล การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคบนพื้นฐานการคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกัน การร่วมกันป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามร่วมกัน(Collective Security)และที่สำคัญคือการลดอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ โดยรวมตัวกันตามแนวคิดการป้องกันร่วมกัน (Collective Defense) คือการจัดตั้งกองกำลังทางเรืออาเซียนเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัยของกิจกรรมทางทะเลและปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกันของประชาคมอาเซียนซึ่งจะนำความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอาเซียน

นิยามศัพท์สำคัญ

สมุททานุภาพ (Sea Power) นิยามโดย พลเรือเอก สุนทร กระเทศ (ที่มา:โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล http://mrpolicy.trf.or.th/Default.aspx?TabId=81)

สมุททานุภาพ (Sea Power) เป็นส่วนหนึ่งของกำลังอำนาจแห่งชาติ ดังนั้นสมุททานุภาพ ก็คือ ขีดความสามารถของรัฐที่จะสามารถดำเนินการเอาสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์จากทะเลมาใช้ให้เกิดเป็นพลังส่วนหนึ่งของกำลังอำนาจแห่งชาติ โดยปัจจัยแห่งสมุททานุภาพ (The Elements of the Sea Power) ได้แก่ ๑. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ๒. ลักษณะเกื้อกูลทางธรรมชาติ ๓. ขอบเขตของดินแดน ๔. จำนวนและคุณลักษณะของประชากร ๕. คุณลักษณะของรัฐบาล และเครื่องมือแห่งสมุทรทานุภาพ ได้แก่ ๖. เครื่องมือการทำสงครามทางทะเล (Seagoing Instruments of War) (หรือกองเรือทั้งเรือรบและกองเรือสินค้า) ๗. ฐานทัพต่างๆเพื่อการสนับสนุน (Supporting Bases) ๘. พาณิชย์นาวี (A Merchant Marine) และ๙. ท่าเรือที่เหมาะสม (Suitable Harbours)

หมายเหตุ ผลของการพัฒนาแนวคิดในเรื่องยุทธศาสตร์และการวางแผนทางทหารในปัจจุบันจึงได้รวมโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศทางทะเล (Maritime Critical Infrastructure) ไว้ในความหมายของ สมุททานุภาพด้วย

เอกสารอ้างอิง (Reference)

กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและคดีอาญา.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๙.

กองทัพเรือ. ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ๒๐ ปี. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ,๒๕๖๒.

คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ. การปฏิรูปยุทธศาสตร์ทางเรือ .วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร,๒๕๕๘.

ช่อฉัตร กระเทศ. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของไทยรองรับการขยายอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร,๒๕๖๑.

พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล, การพัฒนาแนวทางการใช้กำลังในการป้องกันประเทศทางทะเลของกองทัพเรือ,๒๕๖๒

นฤดม แป้นเจริญ, ลือชัย รุดดิษฐ์ ,โสภณ วัฒนมงคล , บทบาทกองทัพเรือกับความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร,๒๕๕๕.

กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ.อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS 1982) ,๒๕๔๘

Lund, Michael S. Preventing Violent Conflicts: A Strategy for Preventive Diplomacy In Strategy and Force Planning. Naval War College Press, (2004).

Pisutsak Sreechumpol. ASEAN Maritime Security for 21st Century. Excellent Research Paper in International Security Symposium, National Defense University of PLA, (2015).

U.S. Senate. Report to the Chairman, Committee on Commerce, Science, and Transportation. Maritime Critical Infrastructure Protection, June (2014).

U.S. Department of Homeland Security. The Maritime Infrastructure Recovery Plan for The National Strategy for Maritime Security, April (2006)

บทความล่าสุดที่เผยแพร่

การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องด้วยหลักการอิทธิบาทสี่

  การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องที่แขวนประจำตัวด้วยหลักการอิทธิบาทสี่ นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา ความนอบน้อมของข้าฯ จ...

บทความที่ได้รับความนิยม