วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติใน พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา

 





.แผนที่เขตไหล่ทวีปของไทย      

                           

. แผนที่ OCAใน MOU 44     


.แผนที่เขตไหล่ทวีปกัมพูชา

ภาพที่ ๑ การประกาศเขตไหล่ทวีปของไทยกับกัมพูชาที่แตกต่างกันทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

ที่มาแผนที่: >ราชกิจจานุเบกษา เล่ม๙๐ ตอนที่ ๖๐ (๑ มิ..๒๕๑๖)

              ๒> พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา,จุลสารความมั่นคงศึกษาสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

              ๓> Samharn Dairairam (2015).  Do Solutions to International  Security  Issues of Poorly Defined Maritime Boundaries Require Legal, Political, and Technical Tools, The Nippon Foundation

บทความเรื่องการรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา ฉบับนี้ เป็นความเห็นของผู้เขียนในฐานะนักวิชาการอิสระและคนไทยคนหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกองทัพเรือหรือหน่วยงานใดๆเป็นบทความวิชาการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อ่านเป็นสำคัญ จึงนำเสนอข้อเท็จจริง ประเด็นกฎหมาย หลักฐานประวัติศาสตร์ รายงานผลการศึกษาในเรื่องปัญหาเส้นเขตแดนทางทะเลประเทศไทยกับกัมพูชาจากภาควิชาการและองค์กรทั้งในและต่างประเทศ แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐด้วยสันติวิธี จึงเป็นที่มาของเอกสารฉบับนี้ การนำเสนอจะเริ่มจากอาณาเขตทางทะเลกับความมั่นคงของประเทศ ภูมิรัฐศาสตร์ทางทะเลของไทยต่อภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ปัญหาเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การตรวจสอบความถูกต้องของการกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลของประเทศไทยและของประเทศกัมพูชาที่ทำให้เกิดพื้นที่ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการฉบับนี้ของผู้เขียน และสุดท้ายเป็นข้อเสนอแนวปฏิบัติเชิงนโยบายในการรักษาความมั่นคงและคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่ OCA เพื่อการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพในการรักษาอำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การช่วยเหลือประชาชนและการป้องกันประเทศ ภายใต้กรอบกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดความตึงเครียดระหว่างรัฐที่จะนำไปสู่การใช้กำลังทางเรือระหว่างกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ระหว่างที่ฝ่ายไทยและกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมกันในปัญหาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา 

รัฐชาติ (Nation State) : ความมั่นคงและความเป็นเอกราชของประเทศ

รัฐชาติ ที่มีความเป็นเอกราช ประกอบด้วย ดินแดนหรืออาณาเขตของประเทศ ประชากร รัฐบาลและอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) อาณาเขตของประเทศมีความสำคัญเพราะเมื่อสูญเสียดินแดนไป คำว่ารัฐชาติจะหมดสิ้น ทุกประเทศจึงกำหนดให้เป็นผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญที่สุด ( Survival Interests) เพราะมีผลต่อความอยู่รอดของประเทศ สำหรับยุทธศาสตร์ชาติของไทยนิยามผลประโยชน์แห่งชาติ คือ เอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและประชาชน ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หน้าที่รัฐ คือ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ

 


ภาพที่ ๒  Maritime zones and rights under the 1982 United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS)

ที่มา: กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

อาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) เป็นที่มาของความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศ รัฐชายฝั่งสามารถกำหนดอาณาเขตทางทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ หากจะแบ่งพื้นที่ทางทะเลตามเขตอำนาจแห่งชาติของรัฐ (National Jurisdiction) สรุปได้ดังนี้

๑.  พื้นที่แสดงถึงอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ของประเทศ ได้แก่ น่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต (Territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน ๑๒ ไมล์ทะเลโดยวัดจากเส้นฐานโดยเป็นเขตที่แสดงถึงอำนาจที่รัฐสามารถบังคับใช้กฎหมายภายในของตนได้โดยสมบูรณ์ (Autonomous of State) รวมถึงห้วงอากาศ (Air Space) พื้นดินท้องทะเล (Sea-bed) และดินใต้ผิวดิน (Subsoil) ในทะเลอาณาเขต แต่เรือต่างชาติสามารถเดินเรือโดยการใช้สิทธิการผ่านโดยสุจริต (Right of Innocent Passage) ที่ไม่ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง

๒.  พื้นที่แสดงถึงสิทธิอธิปไตย  (Sovereign Right) ของประเทศ ได้แก่ เขตต่อเนื่อง (Contiguous zone) คือบริเวณถัดจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน ๒๔ ไมล์ทะเลวัดจากเส้นฐาน รัฐมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายเรื่อง ศุลกากร การคลัง การลักลอบเข้าเมือง การสุขาภิบาล การคุ้มครองวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่พบใต้ทะเล  เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone ) คือ บริเวณถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน รัฐมีอำนาจสำรวจ น้ำมัน ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแสวงประโยชน์ อนุรักษ์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ทั้งในน้ำ  ในพื้นดินไปจนถึงใต้ผิวดินของพื้นดินท้องทะเลและมีสิทธิแต่ผู้เดียว (Exclusive rights) ในการสร้างหรืออนุญาตให้สร้างเกาะเทียม สิ่งติดตั้ง และสิ่งก่อสร้าง เพื่อทำการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะแต่รัฐอื่นๆยังมีเสรีภาพในการเดินเรือ (Freedom of Navigation) การบินผ่าน การวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล ทั้งนี้การกำหนดเขตทางทะเลระหว่างรัฐที่อยู่ตรงข้ามหรือประชิด ให้ทำความตกลงกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้บรรลุผลอันเที่ยงธรรม (Equitable solution) ไหล่ทวีป (Continental shelf) คือ พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไประยะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน นั้น รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือไหล่ทวีปในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรบนไหล่ทวีปและ ทะเลหลวง (High Seas) รัฐทั้งปวงมีเสรีภาพในการเดินเรือ บินผ่าน วิจัย และทำการประมงในทะเลหลวง ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่นอกเหนือเขตอำนาจของรัฐใด และรัฐมีหน้าที่ร่วมมือกันในมาตรการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรมีชีวิตในทะเล บริเวณพื้นที่ (The Area) หมายถึง พื้นดินท้องมหาสมุทร และดินใต้ผิวดินที่อยู่นอกขอบเขตอำนาจแห่งชาติ โดยาทรัพยากรพื้นที่นี้เป็นมรดกร่วมมนุษย์ชาติ





ภาพที่ ๓ เขตอำนาจแห่งชาติของรัฐ (National Jurisdiction) และอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย

ที่มาของแผนที่: กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

เขตอำนาจแห่งชาติของรัฐ (National Jurisdiction) เป็นคำที่ปรากฏในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ มีความหมายว่าพื้นที่ทั้งหมดของรัฐชายฝั่งไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน (land) น่านน้ำภายใน (internal water) ทะเลอาณาเขต (territorial sea) เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (exclusive economic zone) และ ไหล่ทวีป (continental shelf) ซึ่งเป็นบริเวณที่รัฐสามารถใช้เขตอำนาจในการออกกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายได้ ตามสิทธิอธิปไตย (Sovereign Rights) และ อธิปไตยของรัฐ (State Sovereignty) ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันในทางกฎหมาย โดยอธิปไตยแห่งรัฐมีความหมายคือความเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐ (Autonomous of State) ที่มีอยู่กับรัฐทุกรัฐอย่างเท่าเทียมกัน ที่จะดำเนินกิจกรรมใดๆ ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองภายในอาณาเขตแห่งรัฐ สิทธิอธิปไตยแม้จะเป็นสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐแต่ก็เป็นสิทธิเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น สิทธิเหนือทรัพยากรแร่ธาตุ และสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของความตกลงร่วมกันของรัฐภาคีที่ใช้อำนาจอธิปไตยมีเป้าหมายสำคัญที่จะแสดง ๑) รับรองสิทธิและอำนาจเหนือฐานทรัพยากรเฉพาะที่ระบุไว้ในความตกลง ๒) เป็นหลักการทางกฎหมายที่จะไปสร้างข้อผูกพัน (Obligation) และหน้าที่ของรัฐ ที่จะให้ความเคารพและยึดถือปฏิบัติในทางระหว่างประเทศ สิทธิอธิปไตยที่ว่านี้เป็นสิทธิที่รับรองให้แก่รัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเพื่อเข้าไปบริหารจัดการให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจแห่งรัฐ (National Jurisdiction)

อาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ของประเทศไทยตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒  เท่ากับ ๓๒๓,๔๘๘.๓๒ ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ของอาณาเขตทางบกที่มีเนื้อที่อยู่ประมาณ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร มีความยาวของชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมทั้งสิ้น ๓๑๔๘.๒๓ กิโลเมตร ครอบคลุม ๒๓ จังหวัดชายฝั่งทะเล ดังนั้นอาณาเขตทางทะเลของไทยจึงมีความสำคัญต่อความมั่นคง ความอยู่รอด ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศไทยในเวทีโลก

สรุปว่าอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) เป็นที่มาของความมั่นคงและมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของประเทศ ได้แก่ อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและผลประโยชน์ชาติทางทะเลเพราะระบุพื้นที่อันชอบธรรมตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ ซึ่งประเทศอื่นจะมาละเมิดหรือแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยไม่ได้ หากมีการละเมิดจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ   ในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลประเทศ (Maritime Critical Infrastructure) ได้แก่ ฐานทัพ ท่าเรือ แท่นขุดเจาะ ระบบท่อน้ำมันและแก็สธรรมชาติในทะเล สายเคเบิลสื่อสารใต้ทะเล และ เศรษฐกิจภาคทะเล ได้แก่ การประมง ธุรกิจท่องเที่ยว ระบบการขนส่งทางทะเล  ทั้งนี้มูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลในปี ๒๕๕๗ พบว่าเศรษฐกิจภาคทะเลของไทยมีมูลค่าสูงถึง ๒๔ ล้านล้านบาท คิดเป็น ๓๐ % ของ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แล้วอาณาเขตทางทะเลยังเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเพราะเส้นเขตแดนทางทะเลเป็นการระบุพิกัดพื้นที่อันชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งแต่ละรัฐชายฝั่งมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย และสิทธิการใช้กำลังเพื่อป้องกันประเทศของตนของรัฐสมาชิกภายใต้ กฎบัตรสหประชาชาติ

ภูมิรัฐศาสตร์:ความสำคัญของพื้นที่ผลประโยชน์ทางทะเลต่อความมั่นคงของประเทศไทยและภูมิภาค

ภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) ทางทะเล(Maritime Zone)ของไทย ประเทศไทยมีที่ตั้งประเทศตรงจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยเป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแบ่งเขตของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเป็นพื้นที่อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ อินเดีย จีน สหรัฐ ทั้งนี้อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยทั้งด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลเข้า-ออกของประเทศ และเชื่อมต่อกับจุดยุทธศาสตร์การเดินเรือหลักของโลก ได้แก่ ทะเลจีนใต้และช่องแคบมะละกา จึงกลายเป็นพื้นที่ที่มีผลกระทบจากปมขัดแย้งทางทะเลระหว่างจีน อินเดียและสหรัฐ ไปด้วยในอนาคต จากรายงานผลการวิจัยเรื่องความมั่นคงทางทะเล ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปแนวโน้มปัญหาในทะเลของประเทศไทย ได้แก่  ๑) ปัญหาการอ้างสิทธิทับซ้อนพื้นที่ทางทะเล ๒) ปัญหาความปลอดภัยของเส้นทางการเดินเรือ  ๓) ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ๔) ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล และ ๕) ปัญหาภัยธรรมชาติทางทะเล ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้มีความซับซ้อน เชื่อมโยงกันและส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อประชาชน สังคมและความมั่นคงในทุกมิติ ดังนั้นยุทธศาสตร์ชาติและแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล จึงได้เปลี่ยนแนวคิดการรักษาความมั่นคงของประเทศเป็นความมั่นคงแบบองค์รวม (Comprehensive Security) โดยมุ่งที่จะบูรณาการพลังอำนาจแห่งชาติทุกด้านในการดำเนินการต่อภัยคุกคามทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ การทหารและการต่างประเทศ ตลอดจนการนำกรอบแนวคิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community and ASEAN Centrality) เพื่อการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาหรือสร้างอำนาจต่อรองร่วมกันต่อการขยายอิทธิพลประเทศมหาอำนาจในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้การบริหารจัดการความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จึงมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางทะเลของประเทศทั้งในสถานการณ์ปกติ,สถานการณ์วิกฤติ/ไม่ปกติและสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงถึงการขยายอำนาจเขตของประเทศไทยในฐานะรัฐชายฝั่งในการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศแล้วยังเป็นการป้องปรามต่อประเทศที่อาจจะมีความขัดแย้งในปัญหาทางทะเลในอนาคต ตลอดจนเป็นการตอบโต้ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่เป็นอย่างดี

 ปัญหาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา

ประวัติศาสตร์ปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เมื่อ ..๒๔๕๐ สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กำหนดหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ ๗๓ ..๒๔๙๖ ประเทศกัมพูชาได้รับอิสรภาพจากประเทศฝรั่งเศส พ.ศ.๒๕๐๙ ประเทศไทยประกาศทะเลอาณาเขต พ.ศ.๒๕๑๒ ประเทศไทยประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ.๒๕๑๓ ไทยกับกัมพูชาเริ่มเจรจาปัญหาเขตไหล่ทวีป พ.ศ.๒๕๑๕ ประเทศกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีป พ.ศ.๒๕๑๖ ประเทศไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีป และทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเล ประมาณ ๒๖,๐๐๐  ตารางกิโลเมตร ซึ่งในพื้นที่นี้จะมีทรัพยากรธรรมชาติทางพลังงานที่อุดมสมบูรณ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ประเทศกัมพูชาประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ พ.ศ.๒๕๒๔ ประเทศไทยประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ พ.ศ.๒๕๒๕ ประเทศกัมพูชาประกาศทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง พ.ศ.๒๕๓๘ ประเทศไทยประกาศเขตต่อเนื่อง  เมื่อ ๑๘ มิ.ย.พ.ศ.๒๕๔๔ ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔  (MOU 44) โดย นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศ กับนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสและประธานการปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 



ภาพที่ ๔  บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

ที่มา: พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา,จุลสารความมั่นคงศึกษา 

เมื่อ ๑๘ มิ.ย.พ.ศ.๒๕๔๔ ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ประกอบด้วย กลไกคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) รวมถึงกลไกย่อย ได้แก่ Sub-JTC ๒ คณะ และกำหนดหลักการให้ต้องเจรจา ๒ เรื่องควบคู่กันไปในลักษณะที่แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisible package) ได้แก่ ๑) การกำหนดเขตแดนทางทะเล (Delimitation) สำหรับทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ บริเวณเหนือเส้นละติจูดเหนือที่ ๑๑ และ ๒) การกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมสำหรับการจัดการผลประโยชน์จากทรัพยากรบริเวณใต้เส้นละติจูดเหนือที่ ๑๑

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ และไทยประกาศเขตไหล่ทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ประมาณ ๒,๖๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งในพื้นที่นี้คาดว่าจะมีแก็สธรรมชาติและน้ำมันดิบจำนวนมาก ซึ่งพลังงานเป็นต้นทุนของภาคเศรษฐกิจซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับทั้งสองประเทศได้มหาศาลอย่างยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือทั้งสองประเทศยังไม่สามารถเจรจาตกลงกันในเรื่องเขตแดนทางทะเลและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ OCA ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ ๑) การเจรจาแบบทวิภาคี ๒) การนำข้อพิพาทให้บุคคลที่สามเป็นผู้ตัดสิน (ศาลระหว่างประเทศ) หรือ ๓) การตกลงจัดทำเขตพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area) โดยเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ ประเทศไทยและกัมพูชาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (MOU 44) นอกจากนี้พื้นที่ OCA ยังมีความสำคัญต่อภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-Politic) ของโลกและภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำคัญและเป็นพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐ จีน ได้แก่ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ของจีน และยุทธศาสตร์ Indo Pacific ของสหรัฐ ทำให้สถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในพื้นที่ OCA มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนในทะเลจีนใต้ และความขัดแย้งจากการอ้างสิทธิ์เขตแดนทางทะเลของจีนที่มีผลกระทบต่อชาติอาเซียนหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยและกัมพูชา เนื่องจากพื้นที่ OCA เป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลและเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งสองประเทศ จึงมีเรือประมง และเรือสินค้าของทั้งสองประเทศและชาติที่สาม เข้าไปแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และมีกิจกรรมการกระทำผิดกฎหมาย เช่น การลักลอบขนส่ง    ยาเสพติดและของผิดกฎหมายในพื้นที่ OCA ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของทั้งสองประเทศ ดังนั้นประเทศไทยและประเทศกัมพูชา จึงมีการส่งกำลังทางเรือเข้าลาดตระเวนในพื้นที่ OCA เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของชาติตน สำหรับการปฏิบัติงานของหน่วยงานไทยในพื้นที่ OCA จะเป็นการแสดงกำลังเพื่อป้องปราม การคุ้มครองกองเรือประมงและกองเรือสินค้าเพื่อแสดงสิทธิอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยและ สิทธิการเดินเรือ (Innocent Passage and Freedom of Navigation) และ การบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิด เช่น การลักลอบจับสัตว์น้ำในพื้นที่น่านน้ำภายในบริเวณเกาะกูดซึ่งผิดกฎหมายไทยของเรือประมงประเทศกัมพูชาและการลักลอบขนส่งสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ OCA ทั้งสองประเทศยังไม่บรรลุการเจรจาตกลงเรื่องเส้นเขตแดนกัน ดังนั้นการใช้กำลังทางเรือทั้งเรือรบ เรือของหน่วยงานรัฐ (ตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร) ในการปฏิบัติการในพื้นที่ OCA จึงอาจจะนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งจะทำให้กระบวนการและกลไกในการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศในการตกลงกันในเรื่องเขตแดนทางทะเลและพื้นที่พัฒนาร่วม(Joint Development Area) ในพื้นที่ OCAประสบปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา ที่สอดคล้องกันทั้งมิติทางการทหาร การเมืองระหว่างประเทศและเศรษฐกิจและถูกต้องตามหลักกฎหมาย อีกทั้งต้องแสดงสิทธิอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยในพื้นที่ OCA เพื่อการสร้างความได้เปรียบอำนาจการต่อรองในเวทีการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชา และเป็นการปฏิบัติในฐานะสมาชิกของอาเซียนและสหประชาชาติในการร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ

ปัญหาเกาะกูดกับปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา








ภาพที่ ๕ การลากเส้นอาณาเขตทางเขตทะเลที่ใช้หลักเกณฑ์กำหนดเขตแดนทางทะเลที่แตกต่างกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ

ที่มา https://www.un.org/oceancapacity/sites/www.un.org.oceancapacity/files/sam_31dec_correction_pic24.pdf

หมายเหตุ แผนที่ประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา ตามกฤษฎีกาที่ 439/72/PRK ลง ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕ มีความแตกต่าง ดังนี้ (๑) กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาแถลงข่าวเมื่อ ๑ กรกกาคม พ..๒๕๑๕ ชี้แจงกฤษฎีกา 439/72/PRK ว่าเป็นแบบลากเส้นอาณาเขตทางทะเลจากหลักเขตที่ ๗๓ (Point A) ตัดผ่านยอดเกาะกูดแล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังจุด P (Point P) กลางอ่าวไทย (๒) แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกา439/72/PRK จะลากเส้นอาณาเขตจากหลักเขตที่ ๗๓ มาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (๓) ส่วนแผนผังแนบท้าย MOU 2544 ใช้แบบลากเส้นอาณาเขตจากหลักเขตที่ ๗๓ เมื่อถึงเกาะกูดจะเป็นเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะไปกลางอ่าวไทย

ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์การแบ่งเขตทางทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล(UNCLOS 1982 ข้อ ๑๕ ) ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ประมาณ ๒,๖๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ได้แก่ ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป และ ในส่วนของน่านน้ำภายในบริเวณรอบเกาะกูดซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยและตามกฎหมายทะเล UNCLOS 1982 ส่วนประเทศกัมพูชา อ้างอิงจากแผนที่แนบการประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี ๒๕๑๖ แผนที่ได้ลากเส้นเขตแดนจากหลักเขตที่ ๗๓ (Point A) ตัดผ่านเกาะกูดของประเทศไทย ไป Point P ทำให้น่านน้ำภายในรอบๆเกาะกูดซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ของไทยอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทางทะเลของกัมพูชาซึ่งผิดหลักเกณฑ์การกำหนดอาณาเขตทางทะเลตาม UNCLOS 1982 สำหรับประเทศไทยกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดตามหลักเกณฑ์ของ UNCLOS 1982

เอกสารประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาใช้อ้างอิงในเรื่องการปักปันเขตแดนทางบก      ที่แสดงหลักฐานว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย คือ หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งปับลีกฝรั่งเศส




ภาพที่  หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งปับลีกฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕   ข้อ ๑ ระบุว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย สัญญาแนบท้าย ข้อ ๑ การใช้ยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดในการเป็นจุดอ้างอิงในการปักปันเขตแดนทางบกของฝรั่งเศสกับไทยจึงไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดเขตแดนทางทะเลในการกำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาในปี ๒๕๑๕ ตามที่กัมพูชาใช้อ้างหลักฐานฉบับนี้)

ที่มา:หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕"ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๔,

ประเทศกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีป เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยได้ลากเส้นเขตแดนจากหลักเขตที่ ๗๓ ไปตัดผ่านยอดเกาะกูดออกไปอ่าวไทย โดยอ้างว่ายึดตามหลักฐานประวัติศาสตร์ในเอกสารสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับฝรั่งเศส ลง ๒๓ มีนาคม ร..๑๒๕ ข้อ ๑ที่ว่า เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ชายเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเปนหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน และเปนที่เข้าใจกันชัดเจนว่าฟากไหล่เขาเหล่านี้ข้างทิศตะวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้นต้องคงเปนดินแดนฝ่ายอินโดจีนของฝรั่งเศสแล้วเมื่อพิจารณาจากข้อมูลประวัติศาสตร์ฉบับนี้ซึ่งไทยกับกัมพูชาใช้อ้างอิงร่วมกันจะเห็นว่า ฝรั่งเศสใช้ยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นจุดอ้างอิงในการปักปันเขตแดนทางบกไม่ใช่หลักเกณฑ์การกำหนดเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับฝรั่งเศสตามหนังสือสัญญาฉบับนี้ ดังนั้นการที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปโดยลากเส้นเขตแดนผ่านพาดผ่านยอดเกาะกูดจึงไม่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับฝรั่งเศสฉบับนี้ ซึ่งการลากเส้นอาณาเขตไหล่ทวีปผ่านพาดผ่านยอดเกาะกูดของกัมพูชาทำให้น่านน้ำภายในของประเทศไทยเป็นพื้นที่น่านน้ำของกัมพูชาซึ่งเกินกว่าสิทธิ์ตามกฎหมายทะเลและละเมิดอำนาจอธิปไตยของไทย และเมื่อตรวจสอบกับเอกสารประวัติศาสตร์หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งปับลีกฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕(ค.ศ. ๑๙๐๗ ข้อ ๒ ระบุว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราดกับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่กรุงสยามดังนั้นเกาะกูดจึงเป็นแผ่นดินของประเทศไทยรวมถึงน่านน้ำภายในรอบเกาะกูดซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยโดยสมบูรณ์ ดังนั้นแม้ว่าในแผนที่ประกาศไหลทวีปของกัมพูชา ปี พ.ศ.๒๕๑๕ จะลากเส้นเขตแดนจากหลักเขตที่ ๗๓ ไปตัดผ่านยอดเกาะกูด และอ้างสิทธิ์น่านน้ำภายในเป็นน่านน้ำกัมพูชานั้น จึงไม่ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสซึ่งทั้งสองประเทศได้อ้างอิงและไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ (UNCLOS 1982) ซึ่งถือว่า UNCLOS 1982 ในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น รัฐธรรมนูญแห่งท้องทะเลมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ และใน พ.ศ.๒๕๕๙ มีประเทศภาคี ๑๖๘ ประเทศเข้าร่วมอนุสัญญานี้ และในฐานะที่ประเทศกัมพูชาและประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติและสมาชิกของประชาคมอาเซียน จึงควรต้องยึดถือกฎบัตรอาเซียน และกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งชาติที่เข้าเป็นสมาชิกให้สัตยาบันเข้าผูกพันกฎ หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดของสมาชิกที่ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัดในการแก้ปัญหาระหว่างรัฐอย่างสันติวิธี




ภาพที่ ๗ แผนที่แนบท้ายบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ (MOU 44)

ที่มาแผนที่แนบท้าย MOU44: Cambodia National Petroleum Authority

ที่มาแผนที่เปรียบเทียบการอ้างสิทธิ์กัมพูชา: ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับ OCAไทย-กัมพูชา,พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์

ที่มาแผนที่แปลงสัมปทานในพื้นที่ OCA : สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน

แผนที่แปลงสัมปทานในพื้นที่ OCA จากข้อมูลกรุงเทพธุรกิจ (๑๔ ก..๖๕) เรื่อง เปิดข้อมูลพื้นที่ทับซ้อนไทย กัมพูชา แหล่งพลังงานในอนาคต ระบุว่า ผู้รับสัมปทานพื้นที่ทับซ้อนจากรัฐบาลไทยเมื่อ พ.. ๒๕๑๑ แบ่งเป็น ๕ ส่วน ปัจจุบันสิทธิสัมปทานยังคงเป็นของผู้รับสัมปทาน โดยรัฐบาลไม่ได้ประกาศยกเลิกเพื่อเป็นการยืนยันว่าประเทศไทย ยังอ้างสิทธิอย่างสมบูรณ์ในพื้นที่ทับซ้อน ได้แก่ ๑.) แปลง B5 และ B6 คือ Idemitsu Oil ๕๐% , Chevron E&P ๒๐% ,Chevron ๑๐% ,Mitsui Oil Exploration ๒๐% ๒) แปลง B7,B8, B9 คือ British Gas Asia ๕๐ % Chevron Overseas ๓๓ % , Petroleum Resources ๑๖.๖๗ %         ๓) แปลง B10 และ B11 คือ Chevron Thailand E&P ๖๐ % , Mitsui Oil Exploration ๔๐ % ๔) แปลง B12 และ B13 คือ Chevron Thailand E&P ๘๐% , Mitsui Oil Exploration ๒๐% ๕ ) แปลง G9/43 และ B14 ผู้รับสิทธิ คือ บริษัท ปตท.

ข้อสังเกต แผนที่แนบท้ายบันทึกความเข้าใจ MOU 44 ไม่ตรงกับแผนที่แนบการประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ..๒๕๑๖ ตรงบริเวณเกาะกูด โดยประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเป็นการขีดเส้นอาณาเขตตัดกลางเกาะกูด แต่ในแผนที่แนบ MOU 44 มีการลากเส้นอ้อมเกาะกูด ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่ากัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่เส้นที่ลากจากหลักเขตที่ ๗๓ มายังเกาะกูดทำให้ประเทศไทยเสียน่านน้ำภายในให้กับกัมพูชาตามอ้างแผนที่แนบท้าย MOU 44 ซึ่งไม่ถูกต้องตาม UNCLOS 1982 และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งทั้งสองประเทศยอมรับในการมาอ้างอิงในการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตแดนไทยกับกัมพูชาคือ หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งปับลีกฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕ ที่กำหนดว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยดังนั้นตาม UNCLOS1982 การกำหนดเส้นฐานตรงจากเกาะกูดและชายฝั่งของประเทศไทยจะทำให้เกิดน่านน้ำภายในรอบเกาะกูด ดังนั้นตามหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศนี้ กัมพูชาไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างสิทธิ์น่านน้ำภายในบริเวณเกาะกูดของประเทศไทยเพราะเป็นอำนาจอธิปไตยเหมือนเป็นแผ่นดินไทย

แผนที่แนบท้ายบันทึก MOU 44 การลากเส้นเขตทางทะเลของกัมพูชาผ่านอ้อมเกาะกูดในลักษณะเกินสิทธิ์และไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายทะเลอันเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยเช่นนี้ ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาขึ้นในพื้นที่ OCA มีขนาด ๑๒,๓๓๑ ตารางกิโลเมตร(พื้นที่สีแดง)หรือประมาณ ๔๖.๗% ของพื้นที่ OCA ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้ควรเป็นพื้นที่อาณาเขตของประเทศไทยโดยชอบธรรมตามหลักเกณฑ์การกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลตามกฎหมายทะเล UNCLOS 1982 ส่วนพื้นที่ OCA ที่เหลือ(พื้นที่สีเขียว)จำนวน ๑๔,๐๖๙ ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่ที่แต่ละฝ่ายสามารถอ้างสิทธิ์ตามกฎหมายทะเลว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนทั้งนี้หากประเทศไทยยอมให้นำทรัพยากรได้แก่น้ำมันและแก็สธรรมชาติในพื้นที่ OCA ในพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชา(พื้นที่สีแดง)และในส่วนที่ไทยอ้างตามสิทธิ์ที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชามาแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกับกัมพูชา ย่อมจะไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายไทยเพราะกัมพูชาไม่มีสิทธิ์ในทรัพยากรธรรมชาติในส่วนพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาตามหลักเกณฑ์การกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลใน UNCLOS 1982

การตรวจสอบเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาที่ทำให้เกิดพื้นที่ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันตามหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศ

UNCLOS 1982 PART II :Territorial Sea and Contiguous Zone, Section 2 :Limits of the Territorial Sea, Article 15: Delimitation of the territorial sea between States with opposite or adjacent coasts

“Where the coasts of two States are opposite or adjacent to each other, neither of the two States is entitled, failing agreement between them to the contrary, to extend its territorial sea beyond the median line every point of which is equidistant from the nearest points on the baselines from which the breadth of the territorial seas of each of the two States is measured. The above provision does not apply, however, where it is necessary by reason of historic title or other special circumstances to delimit the territorial seas of the two States in a way which is at variance therewith.”

 UNCLOS 1982 ข้อ ๑๕ การกำหนดขอบเขตน่านน้ำอาณาเขตระหว่างรัฐที่มีฝั่งตรงข้ามหรือติดๆ กัน

      ในกรณีที่ชายฝั่งของรัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามกันหรืออยู่ติดกัน รัฐทั้งสองไม่มีสิทธิ์ที่จะขยายน่านน้ำอาณาเขตของตนออกไปเกินเส้นกึ่งกลางซึ่งจุดทุกจุดอยู่ห่างจากจุดที่ใกล้ที่สุดบนเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของน่านน้ำอาณาเขตของรัฐทั้งสองเท่ากัน หากไม่ตกลงกันเป็นอย่างอื่น บทบัญญัติข้างต้นจะไม่นำไปใช้ในกรณีที่จำเป็นต้องกำหนดขอบเขตน่านน้ำอาณาเขตของรัฐทั้งสองในลักษณะที่แตกต่างกันเนื่องจากเหตุผลทางกรรมสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์หรือสถานการณ์พิเศษอื่น

หลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.๑๙๕๘ และ UNCLOS 1982 กำหนดว่ารัฐชายฝั่งทุกรัฐมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะประกาศเขตไหล่ทวีป ๒๐๐ ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐาน โดยประเทศกัมพูชาประกาศเส้นฐาน ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการประกาศทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ จำนวน  ๓ ครั้ง ในปี ค..๑๙๕๗ (พ..๒๕๐๐),ปี ค.ศ.๑๙๗๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) และ ปี ค.ศ.๑๙๘๒ (พ.ศ.๒๕๒๕) โดยอาศัยหลักการที่ระบุเอาไว้ในอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.๑๙๕๘ และ UNCLOS 1982 แต่การประกาศเส้นฐานแต่ละครั้งของกัมพูชาใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันคือ ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ และปี พ.ศ.๒๕๑๕ ใช้เกาะที่ใกล้ชายฝั่งเป็นเกณฑ์ แต่ครั้งหลังสุดกำหนดจุดเส้นฐานตรงจากเกาะต่างๆที่อยู่ห่างชายฝั่งออกไปเป็นเกณฑ์ ส่วนประเทศไทยการประกาศทะเลอาณาเขตและไหล่ทวีปของไทยก็อาศัยหลักเกณฑ์การกำหนดเส้นฐานเช่นเดียวกัน โดยใช้วิธีกำหนดเส้นฐานตรงจากชายฝั่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้จากการประกาศเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัน ทั้งนี้ตามหลักกฎหมายทะเล พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลต้องได้รับการแบ่งปันโดยใช้หลักการของความเท่าเทียม  (Equitable Principle) และความเป็นธรรม ซึ่งต้องอาศัยการเจรจาระหว่างรัฐ ทั้งไทยและกัมพูชาร่วมกันต่อไป 

การตรวจสอบความถูกต้องของเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาที่ทำให้เกิดพื้นที่ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารทางราชการของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบเส้นเขตแดนทางทะเลที่แบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ สรุปดังนี้

๑.แผนที่อ้างอิงหลักเกณฑ์การพิจารณาตามกฎหมายทะเลUNCLOS ได้แก่

     ๑.เอกสารทางราชการของประเทศกัมพูชา ได้แก่ ๑)แผนที่แนบท้าย MOU 44 แผนที่ฯ มีการขีดเส้นอาณาเขตทางทะเลของประเทศกัมพูชาจากหลักเขตที่ ๗๓ ลากเส้นตรงมีทิศทางไปยังยอดเกาะกูด ไปบรรจบกับชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะกูด โดยขีดเส้นอ้อมพื้นที่ทางบกหรือแผ่นดินบนเกาะกูดโดยมิได้พาดผ่านกลางเกาะกูดแต่อย่างใด จากนั้นเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเริ่มต้นจากชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะกูด และต่อออกไปในทะเลจนถึงจุดที่ ๒ ของการประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา หรือสามารถสรุปได้ว่าไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย MOU 44 นั้นมิได้พาดผ่านหรือเว้นเกาะกูดไว้ แม้ว่าจะเป็นการยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทยแต่ก็ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาคือพื้นที่น่านน้ำภายในซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย และ ๒) การประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๑๕ เอกสารการประกาศไหล่ทวีปในปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยการขีดเส้นอาณาเขตของประเทศกัมพูชาตัดกลางเกาะกูด โดยกัมพูชามีเหตุผลประกอบในการอ้างสิทธิ์คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยเส้นที่ออกจากแผ่นดินพาดผ่านเกาะกูดนั้นกัมพูชาอ้างว่าเป็นไปตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากนั้นกัมพูชาใช้เส้นมัธยะโดยการต่อขยายเส้นดังกล่าวออกไปในทะเลจนถึงจุดที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกัสโรวีย์กับชายฝั่งของไทย  ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาคือเกาะกูดเป็นของกัมพูชาตลอดจนพื้นที่น่านน้ำภายในซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยอันเนื่องมาจากการใช้แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฯ ที่ส่งผลอันเป็นคุณต่อกัมพูชาแต่มิได้คำนึงถึงเนื้อหาที่มีการระบุเกี่ยวกับรายละเอียดของเส้นที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายแต่อย่างใด) และ ๓) การประกาศเส้นฐานตรงซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการประกาศทะเลอาณาเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศกัมพูชา (Cambodia’s straight baseline ..๑๙๕๗ค.ศ.๑๙๗๒, และ ค.ศ. ๑๙๘๒

    

๑.       แผนที่อ้างอิงและหลักเกณฑ์การพิจารณาตามกฎหมายทะเล UNCLOS ได้แก่

     ๑.เอกสารทางราชการของประเทศกัมพูชา ได้แก่ ๑)แผนที่แนบท้าย MOU 44 แผนที่ฯ มีการขีดเส้นอาณาเขตทางทะเลของประเทศกัมพูชาจากหลักเขตที่ ๗๓ ลากเส้นตรงมีทิศทางไปยังยอดเกาะกูด ไปบรรจบกับชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะกูด โดยขีดเส้นอ้อมพื้นที่ทางบกหรือแผ่นดินบนเกาะกูดโดยมิได้พาดผ่านกลางเกาะกูดแต่อย่างใด จากนั้นเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเริ่มต้นจากชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะกูด และต่อออกไปในทะเลจนถึงจุดที่ ๒ ของการประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา หรือสามารถสรุปได้ว่าไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย MOU 44 นั้นมิได้พาดผ่านหรือเว้นเกาะกูดไว้ แม้ว่าจะเป็นการยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทยแต่ก็ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาคือพื้นที่น่านน้ำภายในซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย และ ๒) การประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๑๕ เอกสารการประกาศไหล่ทวีปในปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยการขีดเส้นอาณาเขตของประเทศกัมพูชาตัดกลางเกาะกูด โดยกัมพูชามีเหตุผลประกอบในการอ้างสิทธิ์คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยเส้นที่ออกจากแผ่นดินพาดผ่านเกาะกูดนั้นกัมพูชาอ้างว่าเป็นไปตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากนั้นกัมพูชาใช้เส้นมัธยะโดยการต่อขยายเส้นดังกล่าวออกไปในทะเลจนถึงจุดที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกัสโรวีย์กับชายฝั่งของไทย  ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาคือเกาะกูดเป็นของกัมพูชาตลอดจนพื้นที่น่านน้ำภายในซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยอันเนื่องมาจากการใช้แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฯ ที่ส่งผลอันเป็นคุณต่อกัมพูชาแต่มิได้คำนึงถึงเนื้อหาที่มีการระบุเกี่ยวกับรายละเอียดของเส้นที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายแต่อย่างใด) และ ๓) การประกาศเส้นฐานตรงซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการประกาศทะเลอาณาเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศกัมพูชา (Cambodia’s straight baseline ..๑๙๕๗ค.ศ.๑๙๗๒, และ ค.ศ. ๑๙๘๒

๑.       แผนที่อ้างอิงและหลักเกณฑ์การพิจารณาตามกฎหมายทะเล UNCLOS ได้แก่

     ๑.เอกสารทางราชการของประเทศกัมพูชา ได้แก่ ๑)แผนที่แนบท้าย MOU 44 แผนที่ฯ มีการขีดเส้นอาณาเขตทางทะเลของประเทศกัมพูชาจากหลักเขตที่ ๗๓ ลากเส้นตรงมีทิศทางไปยังยอดเกาะกูด ไปบรรจบกับชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะกูด โดยขีดเส้นอ้อมพื้นที่ทางบกหรือแผ่นดินบนเกาะกูดโดยมิได้พาดผ่านกลางเกาะกูดแต่อย่างใด จากนั้นเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเริ่มต้นจากชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะกูด และต่อออกไปในทะเลจนถึงจุดที่ ๒ ของการประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา หรือสามารถสรุปได้ว่าไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย MOU 44 นั้นมิได้พาดผ่านหรือเว้นเกาะกูดไว้ แม้ว่าจะเป็นการยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทยแต่ก็ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาคือพื้นที่น่านน้ำภายในซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย และ ๒) การประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา พ.ศ. ๒๕๑๕ เอกสารการประกาศไหล่ทวีปในปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยการขีดเส้นอาณาเขตของประเทศกัมพูชาตัดกลางเกาะกูด โดยกัมพูชามีเหตุผลประกอบในการอ้างสิทธิ์คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยเส้นที่ออกจากแผ่นดินพาดผ่านเกาะกูดนั้นกัมพูชาอ้างว่าเป็นไปตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากนั้นกัมพูชาใช้เส้นมัธยะโดยการต่อขยายเส้นดังกล่าวออกไปในทะเลจนถึงจุดที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกัสโรวีย์กับชายฝั่งของไทย  ทำให้เกิดพื้นที่อ้างเกินสิทธิ์ของกัมพูชาคือเกาะกูดเป็นของกัมพูชาตลอดจนพื้นที่น่านน้ำภายในซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยอันเนื่องมาจากการใช้แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฯ ที่ส่งผลอันเป็นคุณต่อกัมพูชาแต่มิได้คำนึงถึงเนื้อหาที่มีการระบุเกี่ยวกับรายละเอียดของเส้นที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายแต่อย่างใด) และ ๓) การประกาศเส้นฐานตรงซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการประกาศทะเลอาณาเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศกัมพูชา (Cambodia’s straight baseline ..๑๙๕๗ค.ศ.๑๙๗๒, และ ค.ศ. ๑๙๘๒

    


    
                                              Figure 1: 1957                               

 



                                                          Figure 2: 1972                          


Figure 3:1982

ภาพที่ ๘ การประกาศเส้นฐานตรงอาณาเขตทางทะเลของประเทศกัมพูชา (Cambodia’s straight baseline)

ที่มา: วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ โดย น.อ.สมาน  ได้รายรัมย์

    ๑.เอกสารทางราชการของประเทศไทย ประเทศไทยจะใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งทั้งสองประเทศยอมรับในการมาอ้างอิงในการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตแดนไทยกับกัมพูชาคือ ๑) หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งปับลีกฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๕ ที่กำหนดว่าเกาะกูดเป็นของไทยและ ๒) การประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยประเทศไทยได้กำหนดเส้นแบ่งทะเลอาณาเขตระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณ จว.ตราด โดยใช้วิธีการที่เรียกว่าเส้นแบ่งครึ่งมุม (Bi-Sector) โดยแขนของมุมด้านฝั่งของไทยคือเส้นตรงที่เชื่อมต่อระหว่างจุดที่ ๑ (หลักเขตที่ ๗๓) ของการประกาศไหล่ทวีปของไทยไปสัมผัสกับชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะกูด แขนของมุมอีกด้านหนึ่งคือเส้นตรงที่เชื่อมต่อระหว่างจุดที่ ๑ ของการประกาศไหล่ทวีปของไทยไปสัมผัสกับชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะกง จากจุดที่ ๑ ไปยังจุดที่ ๒ ของการประกาศไหล่ทวีปของไทยคือเส้นแบ่งครึ่งมุมดังกล่าว ทั้งนี้เส้นแบ่งครึ่งมุมคือการปรับแต่งเส้นมัธยะวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เส้นมัธยะที่มีความคดเคี้ยวมีลักษณะเป็นเส้นตรง ไม่ทำให้เกิดความสลับซับซ้อนในการนำไปใช้งาน โดยทิศทางของจุดที่ ๑ ไปยังจุดที่ ๒ นั้นมีทิศทางไปในแบริ่ง ๒๑๑ การลากจากหลักเขตที่ ๗๓ ไปทางทิศแบริ่งที่ ๒๑๑ เป็นการแบ่งเขตตามหลักเกณฑ์ UNCLOS ข้อ ๑๕ และ ๓) การกำหนดเส้นฐานอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย

   ๑.๓ หลักเกณฑ์การกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนของรัฐที่มีชายแดนติดกันตามหลักเกณฑ์อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ (United Nations Convention on the Law of the Sea 1982: UNCLOS 1982) จุดประสงค์หลักในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างรัฐตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติ คือการแบ่งเขตแดนทางทะเลต้องบรรลุผลแห่งความเที่ยงธรรม (Equitable solution) และ ได้บัญญัติจุดเริ่มต้นการวัดความกว้างของเขตทางทะเลไว้ ๓ ประเภท คือ เส้นฐานปกติ เส้นฐานตรง และเส้นฐานรัฐหมู่เกาะ และใน UNCLOS 1982 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ ว่าหากปรากฏว่าพื้นที่ที่อยู่เหนือน้ำขณะน้ำลด (Low Tide Elevation: LTE) ทั้งหมดหรือบางส่วนอยู่ในบริเวณทะเลอาณาเขต ก็สามารถใช้แนวน้ำลงต่ำสุดของพื้นที่ที่อยู่เหนือน้ำขณะน้ำลดเป็นเส้นฐานหรือจุดเริ่มต้นในการวัดอาณาเขตทางทะเลก็ได้ แต่ลักษณะของภูมิประเทศบริเวณชายฝั่งหลายประเทศมีลักษณะโค้ง หรือประกอบด้วยเกาะ หิน และสิ่งปลูกสร้างที่ยื่นไปในทะเลที่ถูกสามารถนำมากำหนดเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นฐานตรงมีความคลุมเครือในการนำมาร่วมพิจารณา จึงมีการนำเสนอแนวคิดเรื่อง “The Equi–Area/Ratio” มาใช้ในการแบ่งเขตแดนทางทะเล โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านระบบภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System: GIS) ช่วยวิเคราะห์และประมวลผล สำหรับการปรับแต่งเส้นเขตแดนทางทะเลเพื่อให้บรรลุผลแห่งความเที่ยงธรรม และเกิดการยอมรับ โดยวิธีการนี้ได้ทำการทดสอบกับผลการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีขัดขัดแย้งเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างรัฐโดยผลการทดสอบพบว่า ผลที่เกิดจากวิธีการดังกล่าวใกล้เคียงกับผลการตัดสินของศาลฯ ซึ่งเป็นการพิสูจน์และยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานได้จริง นอกจากนี้ปัจจุบันพบว่าการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ต้องอาศัยการตีความนั้น ส่งผลให้เกิดการตีความที่แตกต่างกัน การยืนยันด้วยวิธีการทางที่เกิดจาการนำสภาวะแวดล้อมทางกายภาพมาพิสูจน์ที่ให้ผลเป็นรูปธรรมดูจะได้รับการยอมรับมากกว่าการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ การตีความ และการปรับแต่งเส้นมัธยะที่เกิดจากข้อมูลที่ไม่สามารถยืนยันได้ทางกายภาพเพื่อให้บรรลุผลแห่งความเที่ยงธรรม สำหรับการตรวจสอบการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชาตามหลักวิชาการ“The Equi–Area/Ratio”จะเริ่มต้นจากการใช้เส้นฐานและการประกาศเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศนำมาพิจารณากำหนดเส้นมัธยะการแบ่งเขตแดนทางทะเลบริเวณระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง Do Solutions to International  Security  Issues of Poorly Defined Maritime Boundaries Require Legal, Political, and Technical Tools โดย น.อ.สมาน  ได้รายรัมย์ ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ได้เป็นการวิจัยในเรื่องการกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเล OCA ระหว่างไทยกับกัมพูชาตามหลักเกณฑ์ของ UNCLOS 1982 โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (The Equi-Area/Ratio is a method for maritime delimitation) มาช่วยในการคำนวณโดยใช้ข้อมูลการกำหนดเส้นฐานและการประกาศเส้นไหล่ทวีปของไทยและกัมพูชามาวิจัย โดยวิธีการดังกล่าวนั้นมุ่งเน้นการพิสูจน์และการสร้างเส้นเขตแดนทางทะเลที่ให้ผลลัพธ์เชิงตัวเลขเพื่อให้เกิดการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย โดยปัจจัยที่แต่ละฝ่ายนำมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณานั้นสามารถใช้ได้ทั้งเกาะหรือหิน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของขนาดและระยะทางจากแผ่นดิน หรือการใช้เส้นฐานตรงของแต่ละฝ่ายเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาก็สามารถกระทำได้

. งานวิจัยเรื่อง การกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเล OCA ระหว่างไทยกับกัมพูชา ของ น.อ.สมาน  ได้รายรัมย์


Cambodia’s  continental shelf


                                                             Thailand’s  continental shelf  

ภาพที่ ๙ การแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา โดย น.อ.สมาน  ได้รายรัมย์

ที่มา: ผลการวิจัย:The comparison between   Cambodia’s  continental shelf, Thailand’s  continental shelf with  the Euclidean Allocation median line โดย น.อ.สมาน  ได้รายรัมย์

 

เมื่อนำเส้นฐานของกัมพูชาและเส้นฐานของไทยมาพิจารณาด้วยวิธีการ Euclidean Allocation สามารถกำหนดเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลบริเวณระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกง โดยผลการวิจัยพบว่า การกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลในแนวแบริ่งที่ ๒๑๑ ตามที่ประเทศไทยประกาศเขตไหล่ทวีปจะถูกต้องตาม UNCLOSS 1982 ข้อ ๑๕ แต่การกำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา          พ.ศ. ๒๕๑๕ ที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ Euclidean Allocation พบว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเส้นฐานตามที่ประเทศตนเองประกาศมาเป็นจุดตั้งต้นในการกำหนดเขตแดนทางทะเลของประเทศกัมพูชาประกอบการพิจารณาในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างเกาะกงของกัมพูชากับเกาะกูดของไทย อีกทั้งไม่ใช้หลักเกณฑ์ในข้อ ๑๕ ตาม UNCLOS 1982 ดังนั้นการประกาศไหล่ทวีปของกัมพูชา พ.ศ ๒๕๑๕ และแผนที่แนบท้าย MOU จึงเป็นแผนที่ที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 

 สรุปว่าเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเลระหว่างไทย(เกาะกูด)กับกัมพูชา(เกาะกง) โดยยึดหลักฐานจากเส้นฐานตรงของประเทศกัมพูชา (ค.ศ.๑๙๕๗ ค.ศ. ๑๙๗๒ ค.ศ.๑๙๘๒) และเส้นฐานตรงของประเทศไทยกับหลักเกณฑ์การกำหนดอาณาเขตทางทะเลตาม UNCLOS 1982 สรุปว่าเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาจะไม่ใช่เส้นที่ลากตรงจากหลักเขตที่ ๗๓ ตัดกลางเกาะกูดไปยังแบริ่ง ๒๗๐ กลางอ่าวไทยตามที่ประเทศกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีป พ.ศ.๒๕๑๕ และใน MOU 44 แต่จะเป็นเส้นจากหลักเขตที่ ๗๓ ไปในทิศประมาณแบริ่งที่ ๒๑๑ กลางอ่าวไทยตามที่ประเทศไทยประกาศเขตไหล่ทวีป พ.ศ.๒๕๑๖และ     เกาะกูดเป็นของไทยตามหลักเกณฑ์ใน UNCLOS 1982 และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามหนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งปับลีกฝรั่งเศส  ทั้งนี้ในอดีตการสร้างเส้นต่างๆ ของรัฐชายฝั่งยังไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการที่สามารถตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่แต่ละฝ่ายได้สร้างขึ้นมานั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ เป็นเพียงแต่การกล่าวอ้างว่าสิ่งที่ฝ่ายตนได้สร้างหรือกำหนดขึ้นมานั้นมีความเที่ยงธรรม แต่ก็เป็นเพียงมุมมองเพียงฝ่ายเดียวที่ไม่ได้รับการยอมรับจากอีกฝ่ายแต่อย่างใด ปัจจัยที่แต่ละฝ่ายนำมาเป็นเหตุในการสร้างความเที่ยงธรรมจึงก่อให้เกิดความไม่ยอมรับของอีกฝ่าย

สรุปผลการตรวจสอบเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาที่ทำให้เกิดพื้นที่ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันตามหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศ โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนของรัฐตามหลักเกณฑ์ UNCLOS 1982 และผลงานวิจัย The comparison between Cambodia’s continental shelf ,  Thailand’s  continental shelf with  the Euclidean Allocation median line ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์หนึ่งได้ว่ากัมพูชาอ้างสิทธิ์ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยบริเวณเกาะกูด (เป็นน่านน้ำภายในของไทย) ดังนั้นประเทศไทยจึงสามารถใช้สิทธิ์ตาม กฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา ๕๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ และข้อสงวนสิทธิ์ของประเทศไทยตามประกาศแนบท้ายของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ และการประกาศเขตไหล่ทวีป พ.ศ. ๒๕๑๖ ของไทย ว่าน่านน้ำภายในบริเวณเกาะกูดเป็นพื้นที่ที่ประเทศไทยที่ต้องแสดงอำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยและเขตอำนาจของรัฐของไทยเพราะเป็นพื้นที่ทางทะเลที่ชอบธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

 







ภาพที่ ๑๐  พื้นที่ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันบริเวณเกาะกูด(ซ้าย)การประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ด้านอ่าวไทย(กลาง) และการประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย(ขวา)

ที่มา: เอกสารพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของไทยและกัมพูชา,ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์กองทัพเรือ

  ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติการในพื้นที่ OCA ของหน่วยงานของไทยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญของไทยและกฎบัตรสหประชาชาติและมีความชอบธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา ในเรื่อง การกำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการที่บังคับใช้ใช้กฎหมายและการแสดงสิทธิอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยในพื้นที่ OCA จึงอ้างอิงและยึดถือตามประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทย ด้านอ่าวไทย พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นการกำหนดอาณาเขตทางทะเลที่เป็นมาตรฐานตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ (ซึ่งแตกต่างจากแผนที่แนบท้ายของ MOU 44 ซึ่งเป็นการกำหนดอาณาเขตและพื้นที่ทางทะเลที่ไม่ถูกต้องตาม UNLOS 1982)

ข้อพิจารณาหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการกำหนดแนวปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่ซึ่งมีสถานะเกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิทับซ้อน

รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ว่าหน้าที่รัฐ คือรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน กฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา ๕๑ สิทธิในการป้องกันตนเองของรัฐสมาชิก โดยระบุว่า ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบันที่จะบั่นทอนสิทธิโดยธรรมชาติในการป้องกันตนเองส่วนบุคคลหรือส่วนรวม หากเกิดการโจมตีด้วยอาวุธต่อสมาชิกสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ (UNCLOS 1982) กำหนดหน้าที่ของรัฐในเขตทางทะเล สิทธิเดินเรือ การแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ กลไกการระงับข้อพิพาท โดยประเทศกัมพูชาได้ลงนามในอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ ๑ ก.ค.พ.ศ.๒๕๒๖ แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน และประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาฯ เมื่อ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ และให้สัตยาบันเป็นภาคีของอนุสัญญาฯหรือผูกพันตามอนุสัญญาเมื่อ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ทั้งนี้ประเทศไทยได้ออกประกาศแนบท้าย จำนวน ๕ ข้อโดยมี ๓ ข้อสำคัญ ได้แก่ ข้อ ๒ รัฐบาลไทยไม่ผูกพันคำประกาศหรือแสดงท่าทีที่มีวัตถุประสงค์เปลี่ยนแปลงขอบเขตทางกฎหมายตามบทบัญญัติและไม่ผูกพันกฎหมายภายในใดๆที่ไม่สอดคลองกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓ การให้สัตยาบันของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไม่เป็นการรับรองหรือยอมรับการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ของรัฐภาคีใดๆ ข้อ ๔ รัฐบาลไทยเข้าใจว่าในเขตเศรษฐกิจจำเพาะการอุปโภคเสรีภาพในการเดินเรือที่สอดคลองกับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของอนุสัญญาฯ ไม่รวมถึงการใช้ทะเลในทางไม่สันติโดยปราศจากความยินยอมของรัฐชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกทางทหาร หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจกระทบต่อสิทธิและผลประโยชนของรัฐชายฝั่ง และไม่รวมถึงการคุกคามหรือการใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดน เอกราชทางการเมือง สันติภาพ หรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982  หลักเกณฑ์การกำหนดเขตแดนทางทะเล ภาคที่ ๒ ทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง หมวด ๒ ขอบเขตของทะเลอาณาเขต บทความที่ ๑๕ การกำหนดขอบเขตน่านน้ำอาณาเขตระหว่างรัฐที่มีฝั่งตรงข้ามหรือติดๆ กัน(Article 15 Delimitation of the territorial sea between States with opposite or adjacent coasts)  ในกรณีที่ชายฝั่งของรัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามกันหรืออยู่ติดกันรัฐทั้งสองไม่มีสิทธิ์ที่จะขยายน่านน้ำอาณาเขตของตนออกไปเกินเส้นกึ่งกลางซึ่งจุดทุกจุดอยู่ห่างจากจุดที่ใกล้ที่สุดบนเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของน่านน้ำอาณาเขตของรัฐทั้งสองเท่ากัน หากไม่ตกลงกันเป็นอย่างอื่น บทบัญญัติข้างต้นจะไม่นำไปใช้ในกรณีที่จำเป็นต้องกำหนดขอบเขตน่านน้ำอาณาเขตของรัฐทั้งสองในลักษณะที่แตกต่างกันเนื่องจากเหตุผลทางกรรมสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์หรือสถานการณ์พิเศษอื่น

แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๗๐) กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในมิติความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงทางทะเล เป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ ด้วยการบูรณาการพลังอำนาจของชาติในทุกมิติโดยมีการสร้างเสริมความมั่นคงทางทะเลอย่างเป็นองค์รวม (Comprehensive security)

สรุปหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ (UNCLOS 1982) ได้กำหนดอำนาจและสิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่งในแต่ละเขตทางทะเล (Maritime zones) โดยการอ้างสิทธิฝ่ายเดียวซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการออกกฎหมายภายใน ก่อให้เกิดหน้าที่และอำนาจที่จะบังคับใช้กฎหมายเพื่อการรักษาสิทธิในเขตอำนาจของชาติ (National jurisdiction) ทางทะเล อย่างไรก็ดี หากรัฐซึ่งมีชายฝั่งประชิดหรือตรงข้ามกันมีการอ้างสิทธิเหนือไหล่ทวีปทับซ้อนกัน UNCLOS ข้อ ๘๓ ได้ระบุว่า ให้มีการตกลงร่วมกันบนมูลฐานของกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุผลอันเที่ยงธรรม (Equitable solution) หรือใช้การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอันสันติตามภาค ๑๕ อีกทั้งเสนอแนะให้รัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำข้อตกลงชั่วคราว (Provisional arrangements) เพื่อความร่วมมือระหว่างกันและมีลักษณะปฏิบัติได้ โดยจะไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อการกำหนดเขตทางทะเลขั้นสุดท้าย ดังนั้น แนวปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนจึงสามารถกระทำได้ โดยพึงมีความสมดุลกับการรักษาบรรยากาศเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทอย่างสันติ อย่างไรก็ดี ขณะที่ UNCLOS ไม่ได้ชี้ชัดถึงรูปแบบการจัดทำข้อตกลงชั่วคราวตามข้อ ๘๓ ขึ้นกับรัฐชายฝั่งทั้งสองรัฐ จะตกลงร่วมกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นการปฏิบัติของรัฐชายฝั่งซึ่งมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตทางทะเลระหว่างกัน จึงมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ สรุปจำแนกเป็นตัวเลือกทางนโยบาย (Policy options) ของประเทศไทยได้ ๓ ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ ๑ การไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทะเลในพื้นที่ซึ่งตน   อ้างสิทธิเลย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่ออำนาจและสิทธิอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของชาติตน และทำให้เสียเปรียบอำนาจในการต่อรองในการเจรจาแก้ปัญหาระหว่างรัฐและการเจรจาในพื้นที่ที่มีการเจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติด้วยความชอบธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีของประเทศไทยซึ่งมีกำลังทางเรือได้เปรียบประเทศกัมพูชา การเลือกทางเลือกที่ ๑ เมื่อประเทศไทยอ้างสิทธิ์พื้นที่ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ขณะที่ประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิ์โดยไม่ยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทางเลือกนี้จึงไม่ควรเลือกอย่างยิ่ง

ทางเลือกที่ ๒ การใช้กำลังเพื่อรักษาความได้เปรียบในพื้นที่พิพาทในลักษณะที่มุ่งก่อให้เกิดความเสียหายของรัฐคู่ขัดแย้ง อาทิ การใช้ Grey Zone Operations เช่น กรณีพิพาทเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศจีนกับฟิลิปปินส์ ซึ่งขัดต่อหลักการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านความมั่นคงปลอดภัยต่อเส้นทางเดินเรือและผู้ใช้ประโยชน์จากทะเลบริเวณใกล้เคียง รวมถึงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือ ค่าธรรมเนียมประกันภัย และความเชื่อถือของนานาประเทศ และความมั่นคงทางทะเลของประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ทางเลือกนี้มีความเสี่ยงในการดึงประเทศมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงนโยบายและแสวงประโยชน์จากท่าทีและการดำเนินการของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ทำให้ปัญหามีความซับซ้อนยากต่อการแก้ปัญหาและอาจจะทำให้ทั้งสองประเทศสูญเสียผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไปให้กับประเทศมหาอำนาจ หรืออาจจะเกิดกรณี Proxy War ก็อาจจะเป็นไปได้ทางเลือกนี้จึงไม่ควรเลือกในสภาวะแวดล้อมการเมืองระหว่างประเทศและในสถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในปัจจุบัน

ทางเลือกที่ ๓ การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนโดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อแสดงสิทธิอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศไทย

โดยใช้เครื่องมือคือ การบังคับใช้กฎหมายทะเลของหน่วยงานความมั่นคงทางทะเลที่มีหน้าที่ ภารกิจ และความรับผิดชอบในเรื่องการบังคับใช้ตามกฎหมายและการยึดมั่นและแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของประเทศไทยตามข้อสงวนสิทธิ์ของไทยในประกาศแนบท้าย ๕ ข้อ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงและคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ตามประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย พ.ศ. ๒๕๑๖ และการประกาศอาณาเขตทางทะเลของไทย ได้แก่ ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป และ ในส่วนของน่านน้ำภายในบริเวณรอบเกาะกูดซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยและตามกฎหมายทะเล UNCLOS 1982 ซึ่งเป็นแผ่นดินไทยตามเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยและกัมพูชาและหลักการแบ่งเขตแดนทางทะเลตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นแนวทางปฏิบัติทั้งระดับนโยบายและระดับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ทั้งนี้ปัจจุบันหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามขอบเขตอำนาจกฎหมาย ในพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) กองทัพเรือ(ทร.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.) กรมประมง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ศูลกากร ตำรวจน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับนโยบาย ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ(กต.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)กระทรวงกลาโหม  (กห.) กองทัพเรือ(ทร.) และ ศรชล.และคณะทำงานบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔

ระดับนโยบาย กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) รักษาบรรยากาศระหว่างรัฐในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทอย่างสันติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และ๒) การรักษาสมดุลภูมิรัฐศาสตร์โดยใช้ความได้เปรียบของที่ตั้งของประเทศไทยในการเสริมสร้างรักษาความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันกับประเทศมหาอำนาจอย่างสร้างสรรค์และเป็นกลางทั้งจีน สหรัฐ อินเดีย และรัสเซีย และปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนตามกรอบนโยบายด้านความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน

ระดับปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองในการเจรจาแก้ปัญหาระหว่างรัฐในเรื่องเขตแดนทางทะเลเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในเขตอำนาจแห่งชาติของรัฐ(National Jurisdiction)ของประเทศไทยด้วยความชอบธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีของประเทศไทยซึ่งมีกำลังทางเรือได้เปรียบประเทศกัมพูชา จึงควรต้องยึดหลักการแสดงสิทธิอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศไทยตามหลักเกณฑ์การแบ่งเขตแดนทางทะเลตาม UNCLOS 1982 ที่ประเทศไทยได้ยึดถือและใช้ในการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลกับประเทศกัมพูชามาโดยตลอด โดยเฉพาะการยึดมั่นและแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของประเทศไทยตามข้อสงวนสิทธิ์ในประกาศแนบท้าย ๕ ข้อ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒  ได้แก่ พื้นที่อาณาเขตทางทะเลตามประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย พ.ศ. ๒๕๑๖ และประกาศเขตพื้นที่อาณาเขตทางทะเลของไทย ได้แก่ (๑) พื้นที่ทะเลบริเวณรอบเกาะกูดของไทยได้แก่ น่านน้ำภายใน,ทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง (๒) เขตเศรษฐกิจจำเพาะ และ (๓) เขตไหล่ทวีป

สรุปในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศและสถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในปัจจุบัน ประเทศไทยควรใช้ทางเลือกที่ ๓ นี้

ทั้งนี้ทางเลือกที่ ๓ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรเตรียมมีการเตรียมความพร้อมของกรอบนโยบายที่ชัดเจนในการเจรจาขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในเวทีการประชุมระดับต่างๆ เช่น การประชุม Navy Talks ของกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือกัมพูชา การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน การประชุมของคณะกรรมการ JTC ในกลไก MOU44 และการเตรียมข้อมูลหลักฐานที่สำคัญเพื่อประกอบการเจรจาแก้ไขปัญหาของคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในเวทีการเจรจากับกัมพูชา และเตรียมความพร้อมของกำลังของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ OCA และการสร้างการตระหนักรู้เท่าทันสถานการณ์ทางทะเล (Maritime Domain Awareness :MDA) เพื่อติดตามทุกกิจกรรมของกำลังทางเรือกัมพูชาและการกระทำผิดกฎหมายในพื้นที่ OCA อย่างต่อเนื่องตลอด  ๒๔ ชม. โดยใช้ระบบ Big Data ของศูนย์ยุทธการของ ศรชล. ที่เชื่อมโยงกับระบบ MISS (Maritime Information Sharing System) ของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ ระบบ Fisheries Monitoring Center หรือ FMC ของศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมาย กรมประมง และระบบควบคุมการจราจร (Vessel Traffic Management Information System; VTMIS) ของกรมเจ้าท่า โดยให้ ศรชล. เป็นหน่วยงานหลักหากมีกรณีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ตามมาตรา ๒๗ ใน พ..บ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล)ในการสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์ทางทะเลในพื้นที่ OCA และ บูรณาการกำลังของหน่วยงานภายใต้ ศรชล.ในการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานระดับนโยบายนี้ สำหรับกรณีที่มีการใช้กำลังทางเรือของกัมพูชาหรือกำลังทางเรือประเทศที่สามหรือสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตามแผนป้องกันประเทศ ให้ ทร. และ กห.เป็นหน่วยงานหลัก โดยให้ สมช. และ กต. เป็นหน่วยรับผิดชอบในระดับนโยบายในการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไข และจัดการสถานการณ์วิกฤติอันส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้แนวปฏิบัติของหน่วยงานระดับพื้นที่ ให้ยึดถือการปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายภายใน และกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อสิทธิและอำนาจหน้าที่ในแต่ละเขตทางทะเลและยืนยันการใช้และการรักษาซึ่งอำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยในเขตทางทะเลของไทย ตามที่รัฐบาลไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรื่องเขตไหล่ทวีปของไทยโดยเฉพาะการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของประเทศไทยตามข้อสงวนสิทธิ์แนบท้าย ๕ ข้อ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒และที่สำคัญควรมีการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลและความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกันและประเทศมหาอำนาจและชาติพันธมิตรซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมในอ่าวไทย เพื่อการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยได้อย่างสันติ

บทสรุป      

การรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายของทุกรัฐบาลที่ควรส่งเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในเวทีการเมืองระดับประเทศ โดยมีแนวคิดระดับยุทธศาสตร์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม (Comprehensive Security) โดยใช้กำลังอำนาจของชาติ สมุทานุภาพ และการใช้จุดได้เปรียบของภูมิรัฐศาสตร์(Geo-Politic) และสอดคล้องกับกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) และมาตรการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้กับหน่วยที่รับผิดชอบในการรักษาอำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย การป้องกันประเทศและการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในพื้นที่ OCA ได้แก่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กระทรวงการต่างประเทศ(กต.) กองทัพเรือ (ทร.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กรมเจ้าท่า (จท.) กรมประมง (กป.) กรมศุลกากร กองบังคับการตำรวจน้ำ และ จังหวัดตราด เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและลดความตึงเครียดระหว่างรัฐที่จะอาจจะนำไปสู่การขยายระดับการใช้กำลังทางเรือระหว่างกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาและเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศทางการทูตที่ดีในฐานะสมาชิกอาเซียนและลดการแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจ โดยเสนอแนวการรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา ที่สอดคล้องกับกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒  สรุปดังนี้

๑.    ยืนยันการใช้และการรักษาซึ่งอำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยในเขตทางทะเลของไทย และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน และการยึดมั่นและแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของประเทศไทยที่แจ้งไว้ตามข้อสงวนสิทธิ์ในประกาศแนบท้าย ๕ ข้อ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒ ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการตามที่รัฐบาลไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรื่องเขตไหล่ทวีปของไทยด้านอ่าวไทย พ.ศ. ๒๕๑๖ และการประกาศอาณาเขตทางทะเลของไทย ได้แก่ ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป และ ในส่วนของน่านน้ำภายในบริเวณรอบเกาะกูดซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยและตามกฎหมายทะเล UNCLOS 1982

๒.    เตรียมความพร้อมของกรอบนโยบายที่ชัดเจนในการเจรจาขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในเวทีการประชุมระดับต่างๆ การประชุมของคณะกรรมการ JTC ในกลไก MOU44 และการเตรียมข้อมูลหลักฐานที่สำคัญเพื่อประกอบการเจรจาแก้ไขปัญหาของคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในเวทีการเจรจากับกัมพูชา แนวปฏิบัติของหน่วยงานระดับพื้นที่ ให้ยึดถือการปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายภายใน และกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อสิทธิและอำนาจหน้าที่ในแต่ละเขตทางทะเลและยืนยันการใช้และการรักษาซึ่งอำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยในเขตทางทะเลของไทย ตามที่รัฐบาลไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรื่องเขตไหล่ทวีปของไทย

๓.    ในสถานการณ์ปกติจนถึงความขัดแย้งระดับต่ำ ให้เตรียมความพร้อมและใช้กำลังของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ OCA และการสร้างการตระหนักรู้เท่าทันสถานการณ์ทางทะเล(Maritime Domain Awareness :MDA) เพื่อติดตามทุกกิจกรรมของกำลังทางเรือกัมพูชาและการกระทำผิดกฎหมายในพื้นที่ OCA อย่างต่อเนื่องตลอด๒๔ ชม. โดยใช้ระบบ Big Data ของศูนย์ยุทธการของ ศรชล. ที่เชื่อมโยงกับระบบ MISS (Maritime Information Sharing System) ของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ ระบบ FMC ของกรมประมง และระบบ VTMIS ของกรมเจ้าท่า โดยให้ ศรชล. เป็นหน่วยงานหลักระดับหน่วยปฏิบัติในการรับผิดชอบสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์ทางทะเลในพื้นที่ OCA และให้ สมช.เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในระดับนโยบาย สำหรับในกรณีที่มีการใช้กำลังทางเรือของกัมพูชาหรือกำลังทางเรือประเทศที่สามหรือสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตามแผนป้องกันประเทศ ให้ ทร. และ กห.เป็นหน่วยงานหลัก โดยให้ สมช. และ กต. เป็นหน่วยรับผิดชอบในระดับนโยบายในการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไข จัดการสถานการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

๔.  การขับเคลื่อนความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่มีเขตทางทะเลติดต่อกันและประเทศมหาอำนาจและชาติพันธมิตร ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมในอ่าวไทย เพื่อการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างสันติ

บรรณานุกรม

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล,พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล,คู่มือการปฏิบัติงานด้านกฎหมาย.

สภาความมั่นคงแห่งชาติ,แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.๒๕๖๕ ๒๕๗๐)

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๔, หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์กองทัพเรือ,เอกสารพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของไทยและกัมพูชา,

พัลลภ ตมิศานนท์ , ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับ OCAไทย-กัมพูชา และแนวทางแก้ไข,

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย,กฎหมายและผลประโยชน์ของไทยในอ่าวไทย : กรณีศึกษาบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา เรื่องการเจรจาสิทธิในอ่าวไทย,หอสมุดรัฐสภา.

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย , พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา,จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๒,

ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ , การบอกเลิกบันทึกความเข้าใจ พ.ศ. 2544 (MOU 2544) เกี่ยวกับเขตทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาหรือไม่ , บทความเผยแพร่คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา เดือนธันวาคม ๒๕๕๔.

ถนอม เจริญลาภ,เขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา อำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด,หอสมุดรัฐสภา.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ,การอ้างสิทธิไหล่ทวีปในอ่าวไทยระหว่างไทย-กัมพูชา

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea 1982).

               กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (Online). Available: https://treaties.mfa.go.th

Samharn Dairairam (2015).  Do Solutions to International  Security  Issues of Poorly Defined Maritime Boundaries Require Legal, Political, and Technical Tools, The Nippon Foundation of Japan.

Pisutsak Sreechumpol (2015), ASEAN: Maritime Security for the 21st Century , National Defense University of PLA.

Robert D. Kaplan (2012), The Revenge of Geography, Random House Publishing Group.

Geoffrey Till (2022), Grey Zone Operations: The Rules of the Game:  (Online). Available:

https://rsis.edu.sg/wp-content/uploads/2022/04/IP22024.pdf.

S. Rajaratnam School of International Studies (2025), Evolving Threats to Southeast Asia’s Maritime Security:

(Online). Available: https://amti.csis.org/evolving-threats-to-southeast-asias-maritime-security/

บทความล่าสุดที่เผยแพร่

การรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติใน พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา

  ๑ . แผนที่เขตไหล่ทวีปของไทย                                   ๒ . แผนที่ OCA ใน MOU 44      ๓ . แผนที่เขตไหล่ทวีปกัมพูชา ภาพที่ ๑ การประก...

บทความที่ได้รับความนิยม