กล่าวนำ
ผมสรุปเอกสารการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย (HA/DR)การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๕๘ สามารถ Downloadที่
ใน Google ไดร์ฟ ที่ท่า่นดาว์โหลดนั้น ผมได้สรุปเอกสารอ้างอิงต่างประเทศในเรื่องการจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือมนุษยธรรมเพื่อให้ทุกท่านประหยัดเวลา และสามารถเพิ่มเติมองค์ความรู้ของตนนำไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยกองทัพเรือในภารกิจ HA/DR ทั้งในและต่างประเทศซึ่งภารกิจนี้จะทำให้กองทัพเรือสามารถบรรลุวิสัยทัศน์การเป็นกองทัพเรือชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม
ในความเห็นของผมนั้นควรให้มีการฝึก HA/DR ในช่วงสวนสนามทางเรือเฉลิมฉลองอาเซียนครบ ๕๐ ปี ในปี ๖๐ ซึ่งจะเป็นการแสดงความจริงใจในการร่วมมือกันกับกองทัพเรือประเทศเพื่อนบ้านในการร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อความมั่นคงในภูมิภาคนี้ร่วมกัน ดังเช่นกรณีพายุไหเหยียน ที่ถล่มประเทศฟิลิปปินส์ โดยอาศัยการฝึกร่วม/ผสม HA/DR นอกจากนี้จะยังเป็นการสร้างชื่อเสียง และการแสดงความพร้อมของกองทัพเรือให้กับกองทัพเรืออาเซียนได้รับทราบศักยภาพกองทัพเรือที่มีอยู่ ตามยุทธศาสตร์ป้องปรามและ Show of Force ดังนั้นเพื่อให้การฝึกที่จะมีขึ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ออกมาดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ กองทัพเรือควรต้องเตรียมการฝึกตั้งแต่ปัจจุบันโดยมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการออกแบบการฝึกและทีมที่มีประสิทธิภาพในการทำงานหลังฉากและความเป็นทีมมืออาชีพ
นอกจากนี้ในส่วนภารกิจ HA/DR ในประเทศ เช่น กรณีน้ำท่วมใหญ่ปี ๕๔ จะเห็นว่ากองทัพเรือได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยใจไม่สร้างภาพ (ลักษณะทหารเรือ ทำงานเพื่องาน ไม่สร้างภาพ) ประชาชนจึงรักทหารเรือ ซึ่งจะส่งผลทำให้กองทัพเรือบรรลุคุณค่ากองทัพที่ประชาชนเชื่อมั่นและไว้วางใจได้ ซึ่งภารกิจ HA/DR นี้ตอบโจทย์ได้เป็นรูปธรรมเพราะประชาชนจะรักและคิดถึงกองทัพเรือเมื่อเขาเดือดร้อนจากภัยพิบัติและกองทัพเรือสามารถเข้าไปช่วยเหลือทันเวลาครับ
ในเรื่องการฝึกเตรียมพร้อมกำลังพลนั้น ผมยินดีเป็นวิทยากรทุกหน่วยงานในกองทัพเรือและทุกหน่วยราชการครับ โดยความบริสุทธิ์ใจครับ ไม่ต้องเอาผลประโยชน์อะไรมาให้ผมครับ ผมต้องการทำบุญด้วยการให้ความรู้เพื่อพัฒนากองทัพและประเทศชาติครับ เนื่องจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการ กองควบคุมการฝึก สำนักวางแผนการฝึกร่วม/ผสม กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นตำแหน่งในอัตรากองทัพเรือเวียนไปช่วยงาน บก.กองทัพไทย ๓ ปี รับผิดชอบงานควบคุมการฝึก จึงได้มีโอกาสออกแบบและควบคุมการฝึกร่วม/ผสมของกองทัพไทย เช่น การฝึกร่วมกองทัพไทย และการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย เนื้องานที่ทำคือ จัดทำสถานการณ์ฝึก เป็น Facilitator คุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คุมการฝึก Table Top Ex คุมการฝึกปัญหาที่บังคับการ Command Post Ex การฝึก Field Training Ex การร่วมพัฒนาโปรแกรมการฝึก HA/DR สำหรับใช้ในการฝึกทั้งในและนอกประเทศ ร่วมวางระบบ LAN/WAN/Wifi รองรับการฝึก เขียนเอกสาร SOP ใช้สำหรับการฝึกในและต่างประเทศครับ บอกว่าเหนื่อยมากเพราะงานเยอะ เวลาน้อยและทำงานเบื้องหลังเป็นหลัก แต่ผลงานก็ออกมาดีครับได้สร้างชื่อเสียงให้กับ บก.ทท. ในอาเซียนและในประเทศ เช่น การฝึก ARF Direx 2013 จว.เพชรบุรี การฝึกบรรเทาสาธารณภัยอาเซียน AHEX15 จว.ฉะเชิงเทรา การฝึก JDMEx 2015 จว.เชียงราย การฝึกบรรเทาสาธารณภัยตามนโยบายนายกรัฐมนตรี การฝึกวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร NDC Ex58
มาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสมาช่วยงานการฝึกกองทัพเรือซึ่งเป็นความตั้งใจอย่างมากที่จะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับแก่กองทัพเรือที่ผมรักครับ ดังนั้นเรามาร่วมมือกันฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพเรือครั้งแรกและครั้งสำคัญครั้งนี้ให้ประสบผลสำเร็จไปด้วยกันนะครับ
ด้วยความเคารพครับ
นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล กองการฝึก กองเรือยุทธการ
ประสบการณ์ผมกับ HA/DR
๑. การศึกษาหลักสูตรด้าน HA/DR จาก ปภ.ออสเตรเลีย ทุนกองทัพไทย ได้แก่ หลักสูตร Emergency Management Course , Australian Emergency Management Institute: (AEMI) ออสเตรเลีย
๒. ประสบการณ์ด้าน HA/DR ผมครับ
๒.๑ เข้าร่วมฝึกตำแหน่งส่วนควบคุมการฝึก การฝึก ASEAN Defense Ministers’ Meeting-Plus Humanitarian Assistance & Disaster Relief ,Military Medicine Exercise (ADMM+ HADR & MM EX)or 2nd AHX Exercise ปี ๕๖ ซึ่งกองทัพบรูไนเป็นเจ้าภาพ ณ ประเทศบรูไน
๒.๒ ออกแบบเขียนสถานการณ์ จัดทำโปรแกรมและวางระบบฝึก ควบคุมการฝึก CPX และควบคุมการฝึก การฝึก ASEAN Regional Forum Disaster Relief Exercise (ARF DiREX 13) ปี ๕๖ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มี ๑๗ ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการฝึก ณ จว.เพชรบุรี
๒.๓ ออกแบบโปรแกรมการฝึก เขียนเอกสาร SOP ใช้ในการฝึก ควบคุมการฝึก CPX การฝึก ASEAN Humanitarian Assistance & Disaster Relief Exercise (AHEX 14) ปี ๕๖ โดยกองทัพไทยและกองทัพมาเลเซียเป็นเจ้าภาพร่วม โดยมี กองทัพไทย ส่วนราชการ พลเรือน ภาคประชาสังคม ชาติในอาเซียนและมิตรประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ชาติในอาเซียนและ องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ UNOCHA , AHA Center , IFRC เข้าร่วมการฝึก ณ จว.ฉะเชิงเทรา
๒.๔ หน.กลุ่มวางแผน PKO/็็HA/DR และ NEO Staff Planning Workshop (MAP TE-25) ปี ๕๗ ประเทศมาเลเซีย
๒.๕ ออกแบบการฝึก สร้างสถานการณ์ ทำโปรแกรมการฝึกและวางระบบการฝึก ทำเอกสารส่วนควบคุมการฝึก และควบคุมการฝึก CPX การฝึกบรรเทาสาธารณภัยร่วมตามนโยบายนายกฯ ปี ๕๗
๒.๖ ออกแบบการฝึก สร้างสถานการณ์ ทำโปรแกรมและวางระบบการฝึก ทำเอกสารส่วนควบคุมการฝึกและควบคุมการฝึก CPX การฝึกบรรเทาสาธารณภัยร่วม JDMEx 2015 โดยมีกองทัพไทย ภาคราชการ มูลนิธิ พลเรือน ภาคประชาสังคม ปี ๕๘ จว.เชียงราย
๒.๗ เข้าร่วมการฝึก ในตำแหน่งส่วนควบคุมการฝึก CPX การฝึกซ้อมบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ (Crisis Management Exercise : CMEX 13) สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นที่ จว.ระยอง
๓. การเขียนบทความเผยแพร่ด้าน HA/DR และการรักษาสันติภาพ
ท่านใดสนใจดูที่ เวปไซด์ http://ache-pko.blogspot.com/
- วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เรื่อง กองทัพไทยกับการบรรเทาสาธารณภัย
- วารสารนาวิกาธิปัตย์สาร เรื่อง แนวทางการเพิ่มบทบาทกองทัพเรือชั้นนำในประชาคมอาเซียน
- วารสารหลักเมือง เรื่อง บทบาทของกองทัพเรือในประชาคมอาเซียน
- วารสารหลักเมือง เรื่อง แนวทางพัฒนาการปฏิบัติการทางทหารร่วมกับอาเซียนในภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR) ของกองทัพไทย
- วารสารนาวิกศาสตร์ เรื่อง ทหารเรือไทยภารกิจผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพในอาเจะห์
๔. ประสบการณ์ในภาคสนามจริงในการเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ที่สำคัญได้แก่ ประสบการณ์ในการเป็นชุดเจรจาผู้ประท้วง ๒๐๐๐ คน เหตุการณ์ถูกปิดล้อมสถานี ภารกิจรักษาสันติภาพใน จว อาเจ็ะ อินโดนีเซีย และประสบการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สรุปที่ผ่านมาประสบการณ์ส่วนใหญ่จะเป็นคนออกแบบและควบคุมการฝึกครับ ซึ่งก่อนฝึกผมต้องอ่านเอกสารทั้งในและต่างประเทศเพื่อเวลาคุมการฝึกจะได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีกำหนดไว้ในเอกสารทั้งในประเทศและนอกประเทศครับ โดยเฉพาะการฝึกกับองค์กรระหว่างประเทศซึ่งผู้รับการฝึกเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา เช่น UN IFRC ICRC WFO AHA Center และทหารที่เป็นพันธมิตรเราครับ หากเราไม่รู้หลักการปฏิบัติที่เป็นหลักสากล หรือแนวทางปฏิบัติของเขาครับ เวลาคุมฝึกเขาจะไม่เชื่อถือเราครับ ซึ่งอาจจะทำให้การฝึกล้มเหลวก็ได้ครับ ดังนั้นการควบคุมการฝึกจึงสำคัญมากครับแต่เป็นงานปิดทองหลังพระไม่มีคนอยากทำ ทั้งที่ความสำเร็จของการฝึกที่สามารถแสดงความเป็นมืออาชีพมาจากการเตรียมการของส่วนควบคุมการฝึกครับเตรียมงานดีก็สำเร็จไปแล้ว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ครับ เอกสารสำหรับการฝึกกองทัพเรือด้านการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย ผมรวบรวมไว็ให้ครับ ประกอบด้วย
๑. เอกสารของ ASEAN
๒. เอกสารของ Incident Command System: ICS
๓. เอกสารของ International Humanitarian Organization
๔. เอกสาร Multi National Force Standard Operating Procedure
๕. เอกสารของ UN
๖. หลักสูตร Emergency Management ของ ปภ.ชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
๗. เอกสารที่ใช้ในการฝึก ARF DiReX
๘. เอกสารที่ใช้ในการฝึก AHEx14
๙. เอกสารที่ใช้ในการฝึก JDMEX15
๑๐. แผนควบคุมการฝึกกองทัพเรือ ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการบรรเทาสาธารณภัย
ด้วยความเคารพครับ นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล E-Mail: royalelephant@yahoo.com
การออกแบบการฝึกด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย(HA/DR)
“ดาบของชาติเล่มนี้ คือ ชีวิตเรา ถึงจะคมอยู่ดี ลับไว้ ”
การฝึกกองทัพเรือด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย(HA/DR)
กล่าวนำ ภัยพิบัติได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิต ทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่แนวภูเขาไฟ (Ring of Fire) รอยเลื่อนแผ่นดินไหวทั้งบนบกและในทะเล และแนวพายุ จึงเกิดภัยพิบัติได้ง่ายและจากสภาวะโลกร้อนทำให้มีแนวโน้มการเกิดและความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น พายุไซโคลนนาร์กิสในพม่า การระเบิดของภูเขาไฟ "เมอราปิ" (Merapi) และแผ่นดินไหวในเมืองยอคยาการ์ต้า อินโดนีเซีย พายุไห่เหยียนที่พัดเข้าสู่ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยเห็นได้ชัดถึงผลกระทบของ ๒ มหาภัยพิบัติ ได้แก่ ๑. การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในปี ๔๗ มีผู้เสียชีวิตถึง ๕,๓๙๖ คน สูญหาย ๒๙๕๑ คน และบาดเจ็บ ๘๔๕๗ ราย กว่าครึ่งเป็นชาวต่างชาติ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายพันล้านบาทอีกทั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกด้วย ๒.เหตุการณ์มหาอุทกภัย ปี ๕๔ เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบสิบปี ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า ๑๓ ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง ๑.๔๔ ล้านล้านบาท และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งสร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก ด้วยแนวโน้มของภัยพิบัติขนาดใหญ่มีโอกาสสถิติการเกิดสูงรวมทั้งผลกระทบที่รุนแรงดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยและกองทัพเรือควรต้องเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติรวมทั้งการเสริมสร้างความร่วมมือชาติในอาเซียนในเรื่อง HA/DR
เหตุผลและความจำเป็นที่กองทัพเรือต้องฝึกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลและยุทโธปกรณ์ มี ๓ ประการ ได้แก่
๑. กรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นในประเทศไทย ภารกิจบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพเรือได้ ถูกระบุไว้ใน ๑. รัฐธรรมนูญ (การพัฒนาประเทศ) ๒. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม มาตรา๘ อำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหม ข้อ ๓ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติและการช่วยเหลือประชาชน ๓. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (๕๘-๖๒) ๔. แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และ ๕. แผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม
๒. กรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน กองทัพประเทศสมาชิกอาเซียนถูกระบุให้เป็นหน่วยงานสำคัญในความร่วมมือกันจัดการภัยพิบัติร่วมกัน โดยระบุว่ามีผลผูกพัน(ต้องปฏิบัติ)ตามข้อตกลง อาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response, AADMER) ซึ่ง AADMER เป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกและฉบับเดียวในโลกที่มีผลผูกพันประเทศที่เป็นภาคีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และกำหนด แนวทางการปฏิบัติร่วมกัน (SOP) ไว้ในเอกสาร SASOP ซึ่งกองทัพประเทศอาเซียนได้นำมาบรรจุไว้ในแผนงานความร่วมมือทางทหารในที่ประชุม รมว.กห.อาเซียน เพื่อการปฏิบัติอันเป็นรูปธรรม
๓.ภัยพิบัติธรรมชาติมีแนวโน้มการเกิดที่ถี่ขึ้นรุนแรงและมีผลกระทบต่อหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมธรรมชาติและทำนายการเกิดภัยพิบัติได้อย่างชัดเจน จึงนับว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศและความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญดังนั้นการเตรียมความพร้อมของกำลังของกองทัพเรือตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยเฉพาะการฝึกทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ทั้งนี้จากเหตุผล ๓ ข้อข้างต้น กองทัพเรือจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในภารกิจบรรเทาสาธารณภัย (Disaster Relief: DR) และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Assistance :HA)ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อตกลงของอาเซียน ทั้งนี้บทบาทในเรื่องการบรรเทาภัยพิบัตินี้หากกองทัพเรือสามารถปฏิบัติภารกิจ HA/DR ทั้งในประเทศและในอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างเป็นผู้นำแล้ว จะสามารถทำให้กองทัพเรือบรรลุวิสัยทัศน์หน่วยงานความมั่นคงที่มีบทบาทนำในภูมิภาคและบรรลุคุณค่าที่ประชาชน(คนไทยและประชาคมอาเซียน)เชื่อมั่นและภาคภูมิใจได้เป็นรูปธรรมมากที่สุด
ขีดความสามารถกองทัพเรือที่ควรต้องมีในภารกิจการบรรเทาภัยพิบัติทั้งในประเทศและนอกประเทศ
ตามแผนบรรเทาและสาธารณภัยแห่งชาติ ปี ๕๘ ในภาวะฉุกเฉินได้กำหนด ส่วนงานสนับสนุนการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน สปฉ. ๑๘ ด้าน ซึ่งในส่วน กห.รับผิดชอบ ๒ สปฉ. ได้แก่ สปฉ.๗ ส่วนการสนับสนุนทรัพยากรทหาร และ สปฉ.๙ การค้นหาและช่วยชีวิต กห. ร่วมกับ มท. นอกนี้กองทัพเรือยังสามารถใช้ขีดความสามารถทางทหารอื่นๆที่มีอยู่นอกจาก สปฉ. ๒ ข้อข้างต้นเข้าสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการจังหวัด/อำเภอ บก.ปภ.ปภ.ชาติ ตามระดับของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นซึ่งกำหนดไว้แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติได้ โดยสำหรับขีดความสามารถที่กองทัพเรือมีอยู่ในปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (ศบภ.ทร.) ขีดความสามารถในการวางแผนและอำนวยการในการเผชิญสถานการณ์วิกฤติเมื่อเกิดภัยพิบัติเกิดขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยความสำเร็จของภารกิจบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพเรือคือ คุณลักษณะเฉพาะของกำลังทางเรือที่สามารถเข้าปฏิบัติการและดำรงขีดความสามารถของหน่วยโดยไม่มีผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมของโรคระบาด ความเสียหาย พายุ แผ่นดินไหวในช่วงระหว่างการเกิดภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเป็นฐานบัญชาการเหตุการณ์ได้ดี ทั้งนี้ผลสำเร็จของภารกิจ HA/DR นั้น ทร. ควนต้องเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังพลให้มีองค์ความรู้ในเรื่องการวางแผนและการทำงานร่วมกับพลเรือน หน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม มูลนิธิ จนรวมไปถึงขีดความสามารถในการวางแผนและทำงานร่วมกับนานาชาติในกรณีเกิดภัยพิบัติระดับ ๔ ในประเทศในกรณีรัฐบาลยอมรับความช่วยเหลือจากอาเซียนและนานาชาติ และการไปปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ
กองเรือยุทธการ ขีดความสามารถในการ
- การเตรียมความพร้อมของเรือ เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ การมีหลักสูตรการอบรมและการฝึกด้าน HA/DR การจัดตั้ง มบภ.ทร. การมีระบบของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์พื้นที่ภัยพิบัติ (ICC) บนเรือธง
- การเคลื่อนย้ายกำลัง มว.เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ มบภ.ทร. จากที่ตั้งปกติไปสู่พื้นที่ภัยพิบัติ
- การลำเลียงกำลังพล ยุทโธปกรณ์ สิ่งของช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การส่งกำลังบำรุงการลำเลียงเข้าสู่พื้นที่ภัยพิบัติด้วยกำลังทางบก กำลังทางเรือและอากาศนาวี
- การจัดตั้งระบบสื่อสาร/ระบบส่งกำลังบำรุง/ระบบการแพทย์/ระบบการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่ประสบภัยพิบัติวิกฤติที่ ทร.รับผิดชอบ ซึ่งแผนควรจะต้องมีที่ตั้งและการซักซ้อมแผนอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- เมื่อเกิดภัยพิบัติความรุนแรงในระดับ ๓-๔ เช่น พายุไต้ฝุ่น ซึ่งจังหวัดไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้และรัฐบาลได้สั่งการให้กองทัพเรือรับผิดชอบเป็น ผบ.เหตุการณ์ (Incident Commander) ในพื้นที่เกาะกองทัพเรือต้องสถาปนาเรือธงใน มบภ.ทร.เป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วิกฤติ (Incident Command Center :ICC) ในการบัญชาการ วางแผน และสั่งการในการแก้ปัญหาในพื้นที่ภัยพิบัติบนบก รวมทั้งการจัดตั้งฐานส่งกำลังบำรุง พื้นที่รวบรวมผู้ป่วยเพื่อการส่งกลับสายแพทย์ ฐานสื่อสาร ศูนย์ผู้ประสบภัย/ศูนย์อพยพ รพ.สนาม ในพื้นที่ภัยพิบัติ เป็นต้น
- สนับสนุนการปฏิบัติการบนบกของกองทัพไทย ได้แก่ ขีดความสามารถในการเป็นฐานส่งกำลัง เป็นฐานรับ-ส่ง ฮ. และการลำเลียงกำลังพล สิ่งของ ยุทโธปกรณ์ขึ้นฝั่ง
- การจัดการทีม NDAT (Navy Disaster Assessment Team) ชุดผู้เชี่ยวชาญการประเมิน/วิเคราะห์ความเสียหาย/ขีดความสามารถและความต้องการของผู้ประสบภัยในพื้นที่วิกฤติเพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนในการค้นหาช่วยชีวิต การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วิกฤติบนเรือ/บก.มบภ.ทร.
- หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ขีดความสามารถการค้นหาและช่วยชีวิตในทะเล (Maritime SAR)
กรมแพทย์ทหารเรือ ขีดความสามารถในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบนเรือ การส่งกลับสายแพทย์ด้วยอากาศยานและเรือ (MEDVAC, CASVAC) การควบคุมโรคระบาดบนเรือ และบนบกในพื้นที่ปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตสุขภาพจิต และการบริการทางการแพทย์อื่นๆที่เกี่ยวกับHA/DR
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ขีดความสามารถการค้นหาและช่วยชีวิตบนบก (USAR) การอพยพประชาชนจากเกาะขึ้นสู่เรือ (HA/DR NEO) การรักษาความปลอดภัย (Force Protection)
ฐานทัพเรือสัตหีบ ขีดความสามารถในการสร้างระบบสาธารณูปโภค สุขาภิบาล การปรับพื้นที่
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ขีดความสามารถการซ่อมสร้าง
กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ขีดความสามารถการแก้ไขปัญหาสารเคมีรั่วไหล
การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๕๘ กองทัพเรือได้อนุมัติแนวทางการจัดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๕๘ โดยเป็นการฝึกในลักษณะบูรณาการการฝึกร่วมกันระหว่างหน่วยต่างๆ โดยมีกรมยุทธการทหารเรือ รับผิดชอบการฝึกและกองเรือยุทธการเป็นหน่วยควบคุมและประเมินผลการฝึก ทั้งนี้ในปีนี้ผู้บัญชาการทหารเรือได้บรรจุการฝึกด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๕๘
วัตถุประสงค์การฝึกเพื่อทดสอบขีดความสามารถกองทัพเรือ ๒ ระดับ ได้แก่ ๑.ระดับศูนย์บัญชาการ คือ ศบภ.ทร. หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (มบภ.ทร.)-กยพ.กร.(ผู้รับการฝึก) และ หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก (ศบภ.ทรภ.๒)
๒. ระดับปฏิบัติการ คือ บก.มบภ.ทร. ศูนย์ประสานงานเกาะสมุย มบภ.ทร. และหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ ชุดประเมินสถานการณ์/ความเสียหายและความต้องการในพื้นที่ (Navy Damage Assessment Team: NDAT) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางบกและทางทะเล (นสร. นย. ) หน่วยซ่อมสร้าง (กสพ.ฐท.สส.) หน่วย ชุดแพทย์เคลื่อนที่และ รพ.สนาม ศูนย์พักพิง หน่วยชำระล้างสารเคมี (วศ.ทร.) การส่งกำลังบำรุง(มบภ.ทร.) และการสื่อสาร(สสท.ทร.) ชุดประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา(มบภ.ทร.) ในสถานการณ์ภัยจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ในภัยพิบัติระดับ ๓ อันจะเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของกองทัพเรือทั้งในและนอกประเทศต่อไป
ประโยชน์และผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑ บรรลุเจตนารมณ์ของ ผบ.ทร. และ ทร.ในการฝึกทดสอบขีดความสามารถด้าน HA/DR เพื่อนำผลการฝึกไปเตรียมความพร้อมในการจัดกำลัง ทร.ในภารกิจ HA/DR ทั้งในและนอกประเทศต่อไป
๒ บทเรียนจากการฝึกจะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการปรับปรุงแผนบรรเทาสาธารณภัยของ ทร. และแผนรองรับในแต่ละหน่วยให้ประสานสอดคล้องกัน อีกทั้งสามารถเป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารกองทัพเรือ(อทร.) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของกองทัพเรือ เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้กำลังพลโดยเฉพาะหลักการวางแผนด้าน HA/DR ร่วมกับทหาร ตปท.และองค์กรระหว่างประเทศ
๓ หน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตนในการบริหารจัดการภัยพิบัติ ตามระดับความรุนแรงของภัยพิบัติ
๔ เป็นแนวทางการพัฒนาการฝึกด้าน HA/DR ในการฝึกกองทัพเรือปีต่อไป
๕ HA/DR เป็นเรื่องสำคัญที่ ทร.อาเซียนและ ที่ประชุม รมว.กห. (ADMM) ให้ความสำคัญแต่ในระดับการฝึกร่วมของกองทัพเรืออาเซียนนั้น ยังไม่เคยมีการฝึกพหุภาคีของกองทัพเรืออาเซียนด้านการฝึก HA/DR มาก่อนเลย ดังนั้นหาก ทร.ต้องการสร้างบทบาทนำ (วิสัยทัศน์ของกองทัพเรือ) ในเรื่องนโยบายเตรียมกำลังความพร้อมทางเรือเป็นกองกำลังอาเซียนด้านHA/DRในการไปปฏิบัติภารกิจทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียนในอนาคต ก็สมควรจัดการฝึกผสมกำลังทางเรือเรื่อง HA/DR ในโอกาสที่กองทัพเรือของชาติอาเซียนมาประเทศไทยเพื่อสวนสนามทางเรือในโอกาสฉลองการจัดตั้งอาเซียนครบ ๖๐ ปี
๖ ประชาสัมพันธ์หน่วยและภารกิจของ ทร.ด้าน HA/DR ในพื้นที่เกาะสมุยซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายที่อาจจะเกิดภัยพิบัติขึ้นจริงและเป็นพื้นที่รับผิดชอบของ ทร.ตามแผนบรรเทาฯของ กห. ทำให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐในพื้นที่เกิดความเชื่อมั่นในทหารเรือ(คุณค่าของกองทัพเรือ)
สถานการณ์การฝึก:เกิดภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่กลางอ่าวไทยส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหลายจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่างจนทำให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัดไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ รัฐบาล/บก.ปภ.ชาติ (ศูนย์บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) ได้ประกาศยกระดับภัยพิบัติขึ้นเป็นระดับ ๓ และได้ร้องขอให้กองทัพไทยเข้าสนับสนุน ทั้งนี้ นรม.ได้สั่งการให้กองทัพเรือเป็น ผบ.เหตุการณ์ในการควบคุมการปฏิบัติและรับผิดชอบพื้นที่เกาะสมุย และเกาะพงัน จว.สุราษฎธานี ซึ่งเป็นจุดพื้นที่ที่พายุเข้าโดยตรงมีความเสียหายมากที่สุดและยังไม่มีหน่วยงานใดที่สามารถเข้าพื้นที่ได้เนื่องจากสภาวะคลื่นลมแรงและยังมีผลกระทบพายุรุนแรงอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติทั้งสองเกาะ ทั้งนี้ในการฝึกกองทัพเรือด้าน HA/DR จะเน้นหนักในการฝึก 2 Phase ได้แก่ Phase SAR+MED และ Phase HA/DR
ภาพแสดงแนวคิดในการใช้กำลังทหารในประเทศ (First Response) ในการปฏิบัติภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิตและงานการแพทย์ในช่วงวิกฤติของภัยพิบัติ (Catastrophe) ซึ่งจะมีผู้เสียชีวิตมากซึ่งจะเป็นช่วง๓ วันแรกหลังเกิดภัยพิบัติ โดยแนวคิดเดียวกับการใช้กำลังทหาร (Last Resort) จากนอกประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในการเข้าให้ความช่วยเหลือในการตอบสนองต่อภัยพิบัติระดับ ๔ ในประเทศไทย
รูปแบบการฝึก เป็นการฝึกแบบเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise) ได้แก่
๑. การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ
๒. การประชุม Workshop แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของหน่วยเข้ารับการฝึก
๓. การฝึก Staff Ex เป็นการจำลองสถานการณ์ภัยพิบัติระดับ ๓ เพื่อทำการฝึกกระบวนการวางแผนและการเผชิญสถานการณ์วิกฤติในการบรรเทาภัยพิบัติตามแนวคิดการใช้เรือบัญชาการเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วิกฤติ หรือศูนย์บรรเทาสาธารณภัยส่วนหน้า (ศบภ.ทร.ส่วนหน้า) ให้ ศบภ.ทร. โดยในการฝึกจะฝึกการทำแผนและคำสั่งยุทธการ มบภ.ทร. ก่อนจะนำไปฝึกทดสอบแผน/คำสั่งปฏิบัติการ และการทดสอบขีดความสามารถของหน่วยยุทธวิธีในภารกิจการบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพเรือ
๔. การฝึก FTX ณ เกาะสมุย ฝึกทดสอบแผนและขีดความสามารถการปฏิบัติงานจริงของหน่วยกำลังกองทัพเรือ ดังนั้นจึงนับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของกองทัพเรือในการพัฒนาขีดความสามารถในเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ ทร. มีความพร้อมสามารถปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์/ภารกิจที่ได้รับมอบจากรัฐบาล
การประเมินผลการฝึก สคฝ.จัดผู้ประเมินการฝึก HA/DR จาก กทบ.กร. และหน่วยเทคนิค เพื่อประเมินการฝึกทดสอบขีดความสามารถของหน่วยตามรายละเอียดข้างต้นทั้งในระหว่างการฝึกและหลังการฝึกเพื่อที่จะสามารถระบุได้ว่ากองทัพเรือมีขีดความสามารถด้าน HA/DR ในระดับใดเพื่อทำรายงานเสนอ ทร.เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากำลังพล ยุทโธปกรณ์ในการเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกร่วม/ผสมด้าน HA/DR และภารกิจด้าน HA/DR ทั้งในและนอกประเทศตามที่รัฐบาลและหน่วยเหนือมอบหมาย
กำหนดการฝึก Staff Ex
๑. ขั้นการวางแผน ได้แก่ บรรยายของผู้เชี่ยวชาญ และการประชุม Workshop ด้าน HA/DR และ การฝึกทำแผน/คำสั่งปฏิบัติการ มบภ.ทร.และแผนของหน่วยบรรเทาสาธารณภัย โดย สคฝ.ฯ ตามสถานการณ์การฝึกภัยพิบัติระดับ ๓ โดยเป็นการฝึกทำแผนยุทธการของหมวดเรือบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ในภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนเกาะสมุยและเกาะพงันโดย ผบ.มว.เรือจะทำหน้าที่ ผบ.บก.มบภ.ทร. รับผิดชอบในภารกิจดังกล่าว
ทั้งนี้จะทำการฝึก ๒ ระดับ ได้แก่
๑. การฝึกทำแผนยุทธการของ มบภ.ทร. (แผนการเคลื่อนย้ายกำลัง แผนปฏิบัติการในพื้นที่ แผนส่งมอบภารกิจให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จว.สุราษฎร์ธานี หลังเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ)
๒. แผนในระดับยุทธวิธีของหน่วยเทคนิค (Functional Exercise : FEX ) เช่น แผนด้านการแพทย์ของ พร. แผนอพยพประชาชน (NEO) ของ นย. แผนการค้นหาและช่วยชีวิตทางทะเลของ นสร. และทางบกของ นย. โดยจะถอดแผนปฏิบัติการออกมาเป็นตารางประสานสอดคล้องของภารกิจ Operational Synchronization Matrix ตามห้วงเวลา (วัน ว เวลา น) การกำหนด ผบ.เหตุการณ์ เพื่อฝึกการสั่งการ การรายงาน การบริหารทรัพยากรในสถานการณ์วิกฤต เพื่อประเมินขีดความสามารถในเรื่องการบังคับบัญชาและทดสอบแผน ทั้งนี้ในช่วงการฝึกจะมีการทำแผน FTX เพื่อใช้ฝึก ณ เกาะสมุย โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์การฝึกอ้างอิงจากการฝึก Staff Ex
๒ แถลงแผนการปฏิบัติ FTX ให้กับ ผบ.มบภ.ทร. รับทราบ
๓ การฝึก Staff Ex ด้วยโปรแกรมการฝึกด้านการจัดการภัยพิบัติ ชื่อ Crisis Information Management System (CIMS) ได้แก่
๓.๑ การฝึกทดสอบขีดความสามารถของ ทร. ในเรื่อง HA/DR โดยจะนำแผนจากการวางแผนการฝึก ข้อ ๑. มาทดสอบด้วยสถานการณ์การฝึกข้างต้น ทั้งนี้เป็นการฝึกปิดจังหวะตามสถานการณ์ความรุนแรงของภัยพิบัติไล่จากระดับ ๑-๓ โดยใช้โปรแกรม CIMS เป็นเครื่องมือการฝึก
๓.๒ การฝึกเพื่อซักซ้อมแผนสำหรับการฝึก FTX บนเกาะสมุย ได้แก่ การจัดตั้ง บก.หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (บก.มบภ.ทร.) ศูนย์ประสานงานในพื้นที่ภัยพิบัติ มบภ.ทร. และหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ ชุดประเมินสถานการณ์/ความเสียหายและความต้องการในพื้นที่ของกองทัพเรือ (Navy Damage Assessment Team: NDAT) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางบกและทางทะเล (นสร. นย.) หน่วยซ่อมสร้าง (ฐท.สส.) หน่วย ชุดแพทย์เคลื่อนที่และ รพ.สนาม ศูนย์พักพิง หน่วยชำระล้างสารเคมี (วศ.ทร.) การส่งกำลังบำรุง(กร.) และการสื่อสาร(สสท.ทร.) ชุดประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา(กร.) และซักซ้อมความเข้าใจต่อขั้นตอนการประสานงาน การรายงาน การสั่งการ การเคลื่อนย้าย การเข้าช่วยเหลือ/กู้ภัย การแพทย์ การสื่อสาร การสนับสนุน การส่งความช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัย และงาน IO ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่เกาะสมุย โดยการฝึกแบบ Dry Run/TEWT เพื่อให้แต่ละหน่วยมีความเข้าใจขั้นตอนการฝึก FTX
๔ การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) เป็นการฝึกการบริหารจัดการและฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามที่ได้วางแผนไว้แล้วข้างต้น
เอกสารอ้างอิงสำหรับการฝึก
๑. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐
๒. แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี ๕๘
๓. แผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม
๔.แผนแม่บทบรรเทาสาธารณภัยและแผนปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลกองทัพเรือ
๕.MNF SOP 2.9 HA/DR
๖.คู่มือ ICS-400, คู่มือ ICS-300,คู่มือ ICS-200FEMA
๗.คู่มือค้นหาและช่วยชีวิต INSARAG , UNOCHA
๘.คู่มือ UN Disaster Assessment and Coordination: UNDAC Field Handbook, UN
๙.คู่มือ Guidance for Coordinated Assessments in Humanitarian Crises, IASC
หน้าที่ของส่วนควบคุมการฝึก(สคฝ.)
ดำเนินการทั้งปวงเพื่อให้ผู้รับการฝึกได้รับปัญหาฝึกและได้รับการฝึกตามสถานการณ์ที่กำหนดเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์การฝึก ได้แก่ ๑. ทำหน้าที่หน่วยสมมุติให้กับผู้รับการฝึก ได้แก่ หน่วยเหนือ หน่วยรอง หน่วยกองกำลัง ผู้แจ้งเหตุ ๒. จัดทำโปรแกรมการฝึก แผน คำสั่ง ข่าวสารและรายงานในบทบาทหน่วยสมมุติ ๓.สร้างความเชื่อมโยงของการฝึก Staff Ex (ฝึกทำ Crisis Action Planและทดสอบแผน) กับการฝึก FTX (วัดขีดความสามารถของหน่วย HA/DR ทร. การทดสอบแผน CAP การสั่งการและรายงานของ บก.มบภ.ทร.)
การควบคุม/บังคับวิถีการฝึก Staff EX เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การฝึก
๑. บทบาทของ สคฝ. หน่วยเหนือ/หน่วยข้างเคียง/หน่วยรอง ได้แก่ บก.บกปภ.ชาติ ศบภ.บก.ทท. ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสุราษฎรธานี ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอเกาะสมุย
๒. การฝึกมุ่งทดสอบขีดความสามารถกองทัพเรือ ๒ ระดับ ได้แก่
· ระดับศูนย์บัญชาการ คือ ศบภ.ทร. หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (มบภ.ทร.) และหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก (ศบภ.ทรภ.๒)
·ระดับหน่วยปฏิบัติการ คือ บก.มบภ.ทร. ศูนย์ประสานงานในพื้นที่ภัยพิบัติ มบภ.ทร. และหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ ชุดประเมินสถานการณ์/ความเสียหายและความต้องการในพื้นที่ (Navy Damage Assessment Team: NDAT) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางบก(USAR- นย.) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางทะเล (Maritime SAR - นสร. สพ.ทร.) หน่วยซ่อมสร้าง (ฐท.สส.) หน่วยแพทย์และ รพ.สนาม(พร.) ศูนย์พักพิง(นย.) หน่วยชำระล้างสารเคมี (วศ.ทร.) การส่งกำลังบำรุง(กร.) และการสื่อสาร(กร.) ชุดประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา (กร.) ในการเผชิญสถานการณ์ภัยจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่
๓. โปรแกรมการฝึกชื่อ Crisis Information Management System (CIMS) โดยโปรแกรมนี้พัฒนาบนพื้นฐานของระบบบัญชาการเหตุการณ์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ( Incident Command System) ของ FEMA ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งได้เคยใช้ในการฝึก ARF Direx 2013 จว.เพชรบุรี, การฝึก AHEx 2014 จว.ฉะเชิงเทราการฝึกบรรเทาสาธารณภัยนโยบายนายกรัฐมนตรี ปี ๕๗ และการฝึก CMEX จว.ระยอง
ภาพตัวอย่างโปรแกรมการฝึกด้านบรรรเทาสาธารณภัย CIMS
ภาพตัวอย่างการใช้โปรแกรม CIMS ในการติดตามการตอบ MSEL
การออกแบบการควบคุมฝึก Staff Ex
การประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop)
การประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop)เป็นรูปแบบของการฝึกอบรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมีอิสระในการคิดและปฏิบัติงานกลุ่มเกิดการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการประชุมไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานของตนและใช้ในการฝึก Staff Ex ต่อไป
วัตถุประสงค์ ให้ความรู้/สร้างความเข้าใจในแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย และแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ โครงสร้างและระบบสั่งการ/ประสานงานของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจระดับจังหวัด และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย และกระบวนการวางแผนในเรื่อง HA/DR เพื่อความเข้าใจของผู้รับการฝึกได้เข้าใจกลไกการทำงานของกองทัพเรือกับภาคราชการ ภาคประชาสังคม มูลนิธิ หน่วยงานต่างประเทศ เมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่
ลักษณะการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีดังนี้
๑ เป็นการให้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกในเรื่องแผนบรรเทาสาธารณภัย การพัฒนากองทัพเรือด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติและกระบวนการวางแผนและการบัญชาการของศูนย์เผชิญสถานการณ์วิกฤติ (ICS) ในภารกิจ HA/DR เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถนำไปใช้ในการฝึกและการปฏิบัติงานจริงต่อไป
๒. การประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้เข้ารับการอบรมที่จะหารือ อภิปราย ให้ได้แนวทางแก้ปัญหาหรือวิธีการ ปฏิบัติงาน โดยดำเนินการทั้งกลุ่มใหญ่ในการฝึกวางแผนของฝ่ายอำนวยการของ กร. และฝึกวางแผนของหน่วยเทคนิคและหน่วยยุทธวิธี เช่น พร. วศ.ทร. ฐท.สส. นย. สอ.รฝ. ซึ่งการดำเนินการของทั้งสองกลุ่มจะอาศัยเอกสารจากการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญมาประกอบเป็นแนวทางร่วมกับประสบการณ์ของผู้รับการฝึก
วิธีการฝึกและวัตถุประสงค์ แบ่งกลุ่มร่วมกันการแก้ปัญหา (Functional Ex) เพื่อนำความรู้จากการบรรยายและนำแผนของหน่วยมาซักซ้อมความเข้าใจและทบทวนองค์ความรู้ของผู้รับการฝึกก่อนการฝึกแผนปฏิบัติการใน Staff Ex
การแบ่งกลุ่ม
· ระดับศูนย์บัญชาการ คือ ศบภ.ทร. หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (มบภ.ทร.) และหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก (ศบภ.ทรภ.๒)
· ระดับหน่วยปฏิบัติการ คือ บก.มบภ.ทร. ศูนย์ประสานงานในพื้นที่ภัยพิบัติ มบภ.ทร. และหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ ชุดประเมินสถานการณ์/ความเสียหายและความต้องการในพื้นที่ (Navy Damage Assessment Team: NDAT) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางบก(USAR- นย.) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางทะเล (Maritime SAR - นสร. สพ.ทร.) หน่วยซ่อมสร้าง (ฐท.สส.) หน่วยแพทย์และ รพ.สนาม(พร.) ศูนย์พักพิง(นย.) หน่วยชำระล้างสารเคมี (วศ.ทร.) การส่งกำลังบำรุง(กร.) และการสื่อสาร(กร.) ชุดประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา (กร.) คำถามสำหรับการฝึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ๑. ภารกิจบรรเทาภัยพิบัติของกองทัพเรือในประเทศ
คำถามที่ ๑ การปฏิบัติงานร่วมระหว่างศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในระดับอำเภอจังหวัดกับ ศบภ.ทร. ศบภ.ทรภ. และหน่วยทหารในพื้นที่เมื่อเกิดภัยพิบัติพายุในระดับ๑-๒-๓ มี รปจ.การปฏิบัติงาน วิธีการขั้นตอน รวมถึงบทเรียนและข้อเสนอแนะอย่างไร ? พื้นที่รับผิดชอบของ ทร.ตามแผนบรรเทาสาธารณภัย กห. อยู่ที่ไหน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ ศบภ.ทร. ศบภ.ทรภ.๑ ๒ ๓ ศบภ.ฐท.กท. ศบภ. กปช.จต. ศบภ.นรข. ศบภ.นย.ภต. มีการทำ MOU กับทางจังหวัดหรือไม่ และข้อเสนอแนะ บทเรียนจากเหตุการณ์ที่ผ่นมาอย่างไร? คำถามที่ ๒ เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่น การปฏิบัติตาม รปจ.ศบภ.ทร. ศบภ.ทรภ. หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (มบภ.ทร.) และ หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก (ศบภ.ทรภ.๒) มีการปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนเกิดเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุการณ์และหลังเกิดเหตุการณ์อย่างไร ? ครงสร้างหน่วยในช่วงการเกิดเหตุการณ์มีการจัดหน่วยอย่างไร? การปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์บัญชาการจังหวัด หน่วยงานพลเรือน ภาคประชาสังคมมีปัญหาหรือไม่ ศูนย์ประสานงานควรมีหน้าที่อย่างไร?
คำถามที่ ๓ เมื่อพิจารณาในประเด็นเรื่องกฎหมายที่มอบอำนาจและ/หรือใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร พลเรือน อาสาสมัครและมูลนิธิในการเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยพิบัติในระดับ ๓ ตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติปี ๕๘ และแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือนั้นมีข้อเสนอแนะ ข้อปรับปรุงในเรื่องกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติประจำอย่างไร เพื่อให้การปฏิบัติงานของเข้าหน้าที่ในภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร?
คำถามที่ ๔ รปจ.ศบภ ทร. และ รปจ. ศบภ.ทรภ. มีขั้นตอนหรือ กลไกการประสานงานร่วมกัน ระหว่างทหาร พลเรือน และภาคประชาสังคม รวมถึงกระบวนการในการร้องขอ การส่งและรับความช่วยเหลือ เมื่อเกิดภัยพิบัติในระดับ ๓ ในแต่ละระดับของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ปภ.เขต อย่างไร ?คำถามที่ ๕ การอำนวยการของศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ ศบภ.ทร. ศบภ.ทรภ. ในการสนับสนุนศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัดตามระดับสถานการณ์ภัยพิบัติเป็นอย่างไร
คำถามที่ ๖ แผนฟื้นฟูกรณีการเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ของจังหวัด ทร.จะเข้าไปสนับสนุนได้อย่างไร?
คำถามที่ ๗ การปฏิบัติของ ศบภ.ทร. หน่วยเตรียมกำลัง กร. นย. สอ.รฝ. และหน่วยเทคนิคในแต่ละขั้น(ขั้นเตรียมการ ขั้นเกิดเหตุการณ์และ ขั้นการฟื้นฟู) เมื่อเกิดสถานการณ์พายุไต้ฝุ่นขนาดใหญในทะเลในภัยพิบัติระดับ ๓ มีอะไรบ้าง
คำถามที่ ๘ โครงสร้างของ มบภ.ทร.ควรเป็นอย่างไร ๒ ภารกิจบรรเทาภัยพิบัติของกองทัพเรือนอกประเทศ และภัยพิบัติระดับ ๔ เมื่อประเทศไทยยอมรับความช่วยเหลือจากอาเซียน สหประชาชาติ ชาติอื่นๆ คำถามที่ ๑ การเตรียมความพร้อมของกองทัพเรือในปัจจุบันมีระบบอย่างไร ควรปรับปรุงอะไร
คำถามที่ ๒ กระบวนการทำงานของศูนย์ประสานการปฏิบัตินานาชาติหรือ MNCC และศูนย์ประสานงานพลเรือน-ทหาร CMOC เป็นอย่างไร
คำถามที่ ๓ หลักการวางแผนทางทหารด้าน HA/DR เป็นอย่างไร
คำถามที่ ๔ บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานสหประชาชาติ NGO และหน่วยงานมนุษยธรรมต่างประเทศมีหน่วยงานอะไรบ้างและเราจะไปทำงานร่วมกับพลเรือนเหล่านี้อย่างไร
คำถามที่ ๕ บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลประเทศที่ประสบภัย และประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างไร
คำถามที่ ๖ SOFA มีความสำคัญอย่างไร กฎหมายที่ใช้ในภารกิจ HA/DR นอกประเทศเป็นอย่างไร
หมายเหตุ
๑. เอกสาร แผนและคู่มือที่ใช้ในการฝึกตามรายการเอกสารอ้างอิงข้างต้น(อยู่ในโปรแกรมการฝึกฯ)
๒. ทุกกลุ่ม จัด หน.กลุ่ม เลขา เสร็จแล้วแถลงผลงานกลุ่มสัมมนา ตามเวลาที่กำหนด สคฝ.จัดผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ ในแต่ละกลุ่ม
๓. มุ่งผลการฝึกให้ผู้รับการฝึกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยตนและการทำงานเป็นทีม อีกทั้ง สคฝ.ต้องการตรวจสอบ/ปูพื้นฐานองค์ความรู้ให้ผู้รับการฝึกให้มีความเข้าใจในเรื่องกระบวนการวางแผนด้าน HA/DR เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกการวางแผน Staff Ex ในขั้นการฝึกในวันต่อไป
การฝึก Staff Ex ตอนที่ ๑ การทำแผนยุทธการ
การฝึกทำแผนและคำสั่งปฏิบัติการการฝึก Staff Ex กองทัพเรือด้าน HA/DR
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อฝึกการทำ CAP ในการเผชิญสถานการณ์เหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ในภัยพิบัติระดับ ๓ พื้นที่ ๕ จังหวัดภาคใต้
๒. ทำแผนยุทธการ มบภ.ทร. และแผนการฝึก FTX ของแต่ละหน่วย
๓. ประเมินบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยในการตอบโต้สถานการณ์ภัยพิบัติที่สมมติขึ้น
๔. ประเมินการบริหารจัดการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ของกองทัพเรือ
๕. ตรวจสอบความเหมาะสมและความเพียงพอของทรัพยากรและขีดความสามารถกองทัพเรือที่มีอยู่ในปัจจุบันในการรองรับภัยพิบัติในระดับ ๓
รายละเอียดการฝึก
๑. เมื่อเริ่มการฝึก สคฝ.ฯ จะเปิด VDO Road to Crisis และสรุปสถานการณ์การฝึกกรณีการเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ ภัยพิบัติระดับ ๓ ให้หน่วยหรือกลุ่มที่มีภารกิจเดียวกันชี้แจงการดำเนินการและร่วมกันแก้ปัญหาแบบบูรณการโดยมีศูนย์บัญชาการ ICC บน ร.ล.อ่างทอง/เรือธงเป็น ผบ.เหตุการณ์รับผิดชอบภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาทุกข์บนเกาะสมุย (FTX)และเกาะพงัน โดยใช้โปรแกรม CIMS เป็นเครื่องมือการฝึก โดยมีภาพจำลองสถานการณ์ฝึกภัยพิบัติระดับ ๓ ในพื้นที่ เกาะสมุย เพื่อฝึกให้ใกล้เคียงความเป็นจริง
ผู้รับการฝึกที่จะแบ่งกลุ่ม ๒ กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ ๑ คือ กลุ่มวางแผน (Staff) ของ กร. เน้นการทำแผนและการอำนวยการของ ICC เรือธง
กลุ่มที่ ๒ คือ กลุ่มหน่วยปฏิบัติการ ได้แก่
การปฏิบัติงานของกลุ่มงานค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางบก
การปฏิบัติงานของกลุ่มงานค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางทะเล
การปฏิบัติงานของศูนย์ประสานงานในพื้นที่ภัยพิบัติเกาะสมุย
การปฏิบัติงานของกลุ่มงานระบบสื่อสารและระบบสาธารณูปโภค
การปฏิบัติงานของกลุ่มงานสายแพทย์
การปฏิบัติงานบรรเทาทุกข์และสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
กลุ่มงานรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
กลุ่มงานอพยพผู้ประสบภัย
การฝึกการทำแผนเผชิญเหตุของ มบภ.ทร.
เมื่อเริ่มต้น สคฝ.ชี้แจงสาระสำคัญของแผนของหน่วยเหนือ โดยเน้นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการหน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางบกและทางทะเลของกองทัพเรือซึ่งเป็น Deliberate Plan กับมอบภารกิจที่ได้รับมอบจาก บก.ปภ.ชาติ และ นโยบาย ผบ.ทร. มาเป็นข้อมูลในการกำหนดภารกิจ Mission +End State โดยมีสถานการณ์การฝึกมาเป็นข้อมูลสภาวะแวดล้อมในการฝึกทำแผนเผชิญเหตุ CAP เพื่อให้ได้ OPLAN คำสั่งปฏิบัติการ มบภ.ทร. นำไปใช้ในการฝึก FTX ต่อไป และ สคฝ.จะจัดทำ Start Ex Data ได้แก่ ข้อมูลขีดความสามารถ กำลังและยุทโธปกรณ์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการฝึกการบริหารทรัพยากรในสถานการณ์วิกฤติ โจทย์และสถานการณ์ฝึก MSEL, สถานการณ์ผลเสียหายของภัยพิบัติ และ VDO Road to Crisis จำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงเมื่อเกิดภัยพิบัติให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อที่สามารถวัดขีดความสามารถออกมาได้ใกล้เคียงมากที่สุดซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยในการนำไปพัฒนาหน่วยต่อไป
สาระสำคัญในการวางแผน HA/DR ได้แก่
ก). การออกแบบโครงสร้างหน่วย มบภ.ทร. และการจัดกำลังตามภารกิจ HA/DR ที่ได้รับ
โครงสร้างในแผน ปภ.ชาติปี ๕๘ ภาพล่าง คือโครงสร้าง ศบภ.ทท.สน.
ข). การวิเคราะห์ Damage Assessment /Need Analysis (DA+NA) ของกลุ่มประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติ NDAT และชุดวางแผน เครื่องมือได้แก่ ฟอร์ม TA-ICS01 + โปรแกรม CIMS
ค). การทำ Troop List การจัดกำลังและขีดความสามารถที่ต้องการ
ง). การทำ Capability + Resource Requirement ภารกิจ
จ). การวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงของภารกิจ
ภาพการบริการความเสี่ยง มา: หลักสูตร EMS ปภ.ออสเตรเลีย
ฉ) การทำ Operational Design, Line of Operation, HA/DR Phasing
ตัวอย่าง HA/DR Operational Design / Line of Operation: LOO
ช) การแปลง LOO มาทำเป็นตารางประสานสอดคล้องการปฏิบัติการ
ภาพการแปลง LOO มาเป็นตารางประสานสอดคล้องการปฏิบัติการ
ซ) กำหนด ผบ.เหตุการณ์/การทำตารางประสานสอดคล้องกิจ
การ Set Condition เพื่อตรวจสอบความพร้อมก่อนการส่งมอบภารกิจ มบภ.ทร.ให้กับ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จว.สุราษฎรธานี
กำหนด Condition เตรียมความพร้อมก่อนส่งมอบภารกิจ : AHEx 2014
แผนในการตรวจสอบความพร้อมก่อนการส่งมอบกิจและการจัดทำแผนงานประสานสอดคล้องในการส่งมอบภารกิจระหว่าง มบภ.ทร. กับ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จว.สุราษฎรธานี
การส่งมอบภารกิจให้กับศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จว.สุราษฎรธานี
ภาพตัวอย่างตารางการส่งมอบภารกิจ ที่มา: การฝึก AHEx 2014
สรุปแผนปฏิบัติการ มบภ.ทร. เสนอ บก.ปภ.ชาติ
การฝึก Staff Ex ตอนที่ ๒ การทดสอบแผนและคำสั่งปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการบัญชาการของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ Incident Command Center บนเรือธงโดยเป็นการฝึกในภัยพิบัติระดับ ๓ กรณีภัยจากพายุขนาดใหญ่ เน้นการประเมินและวิเคราะห์ภัยพิบัติ การฝึกศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ การทดสอบขีดความสามารถด้าน HA/DR ของหน่วยยุทธวิธี
สถานการณ์การฝึก เกิดภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ ในพื้นที่ ๔ จว.ภาคใต้ของประเทศ เป็นผลทำให้มีโคลนถล่ม อาคารทรุดตัว บ้านเรือนเสียหายจากพายุ เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด ระบบการติดต่อสื่อสารใช้การไม่ได้เป็นบริเวณกว้าง มีโรคระบาด ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก รัฐบาลประกาศยกระดับภัยพิบัติเป็นระดับ ๓ มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการ บก.ปภ.ชาติ ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์อำนวยการสนับสนุนจากส่วนกลาง สำหรับกองทัพไทยได้สั่งให้จัดตั้ง ศบภ.บก.ทท.ส่วนหน้า ในพื้นที่ จว.ชุมพร สำหรับพื้นที่ที่มีความเสียหายมากที่สุดและยังไม่มีหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าไปในพื้นที่ได้ คือ เกาะสมุยและเกาะพงันนั้น รัฐบาลได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็น ผบ.เหตุการณ์เข้าควบคุมพื้นที่ทั้ง ๒ เกาะในภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิต การบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
วิธีการควบคุมการฝึก บรรยายสรุปก่อนเริ่มสถานการณ์ฝึกโดย สคฝ. และการใช้โปรแกรมการฝึก CIMS ประกอบด้วยภาพสถานการณ์ภัยพิบัติเพื่อให้ผู้รับการฝึกใช้ในการวางแผน และส่วนการให้ปัญหา MSEL
ขีดความสามารถที่ต้องการทดสอบตามขีดความสามารถกองทัพเรือที่ควรต้องมีในภารกิจการบรรเทาภัยพิบัติทั้งในประเทศและนอกประเทศ
การกำหนดความเสียหายในภัยพิบัติระดับ ๓ ได้แก่ ประชาชนขาดปัจจัย ๔ และประชาชนตื่นตระหนก หวาดผวาภัยพิบัติ บ้านเรือน โรงแรม โรงพยาบาล อาคารขนาดใหญ่ ถล่มและถูกทำลาย ดินโคลนถล่มหมู่บ้าน ปั้มน้ำมันระเบิด-อัคคีภัยขนาดใหญ่ ถนนและสะพานตัดขาด เกิดอุบัติเหตุขนาดใหญ่ โรคระบาดในหมู่บ้าน/ศูนย์อพยพ/โรคระบาดจากศพ ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา ระบบสื่อสาร ถูกทำลาย
การกำหนด Need Analysis and Capability Requirement ได้แก่ การจัดการศพและพิสูจน์อัตลักษณ์ การแพทย์ เช่น การส่งกลับสายแพทย์ การตั้งโรงพยาบาลสนาม การควบคุมโรคระบาดในเรือ การจัดตั้งและบริหารศูนย์พักพิง ศูนย์อพยพ ศูนย์แจกจ่ายของบรรเทาทุกข์ การค้นหาและช่วยชีวิตทางบก และทางทะเล การจัดการระบบสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน กรณีภัยพิบัติขนาดใหญ่ การสนับสนุนระบบสาธารณูปโภคในภาวะฉุกเฉิน เช่น ถนน สุขา ไฟฟ้า ระบบการส่งกำลังบำรุงในพื้นที่ภัยพิบัติ การรักษาความปลอดภัย การจัดการสารเคมีรั่วไหลขนาดใหญ่ การประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา
การฝึก FTX กองทัพเรือด้าน HA/DR ณ เกาะสมุย
วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการบัญชาการของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ Incident Command Center บนเรือธงโดยเป็นการฝึกในภัยพิบัติระดับ ๓ กรณีภัยจากพายุขนาดใหญ่ เน้นการประเมินและวิเคราะห์ภัยพิบัติ การฝึกศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ การทดสอบขีดความสามารถด้าน HA/DR ของหน่วยยุทธวิธี
สถานการณ์การฝึกหลัก การเกิดภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ ในพื้นที่ ๔ จว.ภาคใต้ของประเทศ เป็นผลทำให้มีโคลนถล่ม อาคารทรุดตัว บ้านเรือนเสียหายจากพายุ เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด ระบบการติดต่อสื่อสารใช้การไม่ได้เป็นบริเวณกว้าง มีโรคระบาด ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก รัฐบาลประกาศยกระดับภัยพิบัติเป็นระดับ ๓ มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการ บก.ปภ.ชาติ ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์อำนวยการสนับสนุนจากส่วนกลาง สำหรับกองทัพไทยได้สั่งให้จัดตั้งศบภ.บก.ทท.ส่วนหน้า ในพื้นที่ จว.ชุมพร สำหรับพื้นที่ที่มีความเสียหายมากที่สุดและยังไม่มีหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าไปในพื้นที่ได้ คือ เกาะสมุยและเกาะพงันนั้น รัฐบาลได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็น ผบ.เหตุการณ์เข้าควบคุมพื้นที่ทั้ง ๒ เกาะในภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิต การบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยการฝึก FTX จะใช้สถานการณ์การฝึกบนเกาะสมุยเท่านั้น
วิธีการควบคุมการฝึก สคฝ. เป็นหน่วยเหนือ/หน่วยข้างเคียง ได้แก่ บก.ปภ.ชาติ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จว.สุราษฎรธานี ศบภ.กห.และ หน่วยในพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจอำเภอเกาะสมุยและนายอำเภอเกาะสมุย เมื่อเริ่มการฝึก สคฝ. จะใช้ VDO และการบรรยายสรุปก่อนเริ่มสถานการณ์ฝึกบนเรือหลวงอ่างทอง ระหว่างการฝึก สคฝ.จะควบคุมการฝึก FTX อยู่ที่ศูนย์ประสานงานในพื้นที่เกาะสมุย โดยจะใช้การ VTC ในการให้ มบภ.ทร. รายงานสรุปสถานการณ์ในห้วง ๑๐๐๐ และ ๑๕๐๐ และใช้โปรแกรม CIMS ปล่อยโจทย์สถานการณ์ MSEL ทดสอบการสั่งการ การวางแผนของ บก.มบภ.ทร. สำหรับการฝึก FTX ของหน่วยยุทธวิธีในพื้นที่เกาะสมุยนั้น สคฝ.จะส่งชุดควบคุมการฝึกที่จัดมาจากหน่วยที่ฝึก FTX ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง Procedure การปฏิบัติของหน่วยเทคนิค เช่น เรื่องการแพทย์ การค้นหาและช่วยชีวิตฯ เป็นหน่วยควบคุมฝึก โดยผู้รับการฝึก FTX พื้นที่ จะมีการรายงานการปฏิบัติ(วิทยุ) มาที่ศูนย์ประสานงานในพื้นที่และ บก.มบภ.ทร.
ขีดความสามารถ ที่ต้องการทดสอบตามวัตถุประสงค์เฉพาะของหน่วย ได้แก่
มบภ.ทร. ขีดความสามารถในเรื่อง การเคลื่อนย้ายกำลัง มว.เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากที่ตั้งปกติไปสู่พื้นที่ภัยพิบัติ การลำเลียงกำลังพล ยุทโธปกรณ์ สิ่งของช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การส่งกำลังบำรุงสู่พื้นที่ภัยพิบัติด้วยกำลังทางบก กำลังทางเรือและอากาศนาวีการจัดตั้งระบบสื่อสารฉุกเฉินในพื้นที่วิกฤติที่ประสบภัย การสถาปนาเรือธงเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อการบัญชาการ วางแผน และสั่งการในการแก้ปัญหาในพื้นที่ภัยพิบัติบนบก การจัดตั้งฐานส่งกำลังบำรุงส่วนหน้าในพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อเป็นพื้นที่รวบรวม ผู้ป่วยเพื่อการส่งกลับสายแพทย์ ฐานสื่อสาร ศูนย์ผู้ประสบภัยส่วนหน้า ในพื้นที่ภัยพิบัติ ฐานรับ-ส่ง ฮ. การลำเลียงกำลังพล สิ่งของ ยุทโธปกรณ์ขึ้นฝั่ง การวิเคราะห์ความเสียหายพื้นที่ของทีม NAST (Navy Assessment Team) ประกอบด้วยชุดผู้เชี่ยวชาญการประเมิน/เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนในการค้นหาช่วยชีวิต การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วิกฤติ การจัดตั้งศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติเกาะสมุย นสร.กร.ขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในทะเล
พร. ขีดความสามารถในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบนเรือ การส่งกลับสายแพทย์ (MEDVAC, CASVAC) การควบคุมโรคระบาดบนเรือ และบนบกในพื้นที่ปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตสุขภาพจิต และการบริการทางการแพทย์อื่นๆที่เกี่ยวกับภารกิจ HA/DR
นย. ขีดความสามารถการค้นหาและช่วยชีวิตบนบก (USAR) การอพยพประชาชนจากเกาะขึ้นสู่เรือ (HA/DR NEO) การรักษาความปลอดภัย (Force Protection) และการบริหารงานในศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติ
ฐท.สส. ขีดความสามารถในการสร้างระบบสาธารณูปโภค สุขาภิบาล การปรับพื้นที่เพื่อทำลานเฮลิคอปเตอร์
สอ.รฝ ขีดความสามารถในการซ่อมสร้าง
วศ.ทร. ขีดความสามารถในเรื่องการแก้ไขปัญหาสารเคมีรั่วไหล
งานของ บก.มบภ.ทร.
ขั้นการวางแผนร่วม
๑. การรายงานตัวของทุกหน่วย
๒. โครงสร้างศูนย์บริหารเหตุการณ์ (ผู้บริหาร ส่วนแผน ส่วนปฏิบัติการ ส่วนสนับสนุน) โครงสร้างทีมค้นหา/ช่วยชีวิต ทีมแพทย์สนับสนุน
๓. การประเมินสถานการณ์ (Access Incident Situation) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการกับเหตุการณ์ (Guidance/Directive- การควบคุมสถานการณ์ ความปลอดภัยชีวิต ทรัพย์สิน การจัดทำแผนเผชิญเหตุ การวางแผนร่วม การจัดทำ รปจ. การจัดทำระบบเครื่องมือยุทโธปกรณ์ร่วมเน้นการค้นหาและกู้ภัย ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารศูนย์อพยพ การควบคุมโรค การสื่อสาร ระบบแจ้งเตือนเหตุการณ์และข่าวสารให้ประชาชนประสบเหตุ และการวางระบบสื่อสารในพื้นที่เกิดเหตุ
๔. การวางแผนใช้พื้นที่(กำหนดจุดรับผู้ประสบภัย ศูนย์อพยพ โรงพยาบาลสนาม เส้นทางหลัก/ฉุกเฉิน ศูนย์สื่อสาร ศูนย์อาหาร คลังประสบภัย ศูนย์ Media การจัดการศพ-พิสูจน์ทราบ การศพ การแจ้ง การบริการคลังทรัพยากรสิ่งของช่วยเหลือ ระบบขนส่งของช่วยเหลือ อาหาร ยา ปัจจัย ๔) การเงิน
๕. การพิจารณาการบริหารความเสี่ยง การจัดลำดับความเร่งด่วน การพิจารณาประเด็นกฎหมาย อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ การกำกับติดตามการดำเนินการ ประเมิน ห้วงเวลาปฏิบัติ
๖. การตัดสินใจของทีมวางแผนและการตัดสินใจของ ผบ.เหตุการณ์
ขั้นการปฏิบัติ
๑. การรับแจ้งและระบบการรายงานสถานการณ์
๒. การวางแผนขั้นต้น(ขั้นเดินทาง ขั้นปฏิบัติการ ขั้นส่งมอบ/ฟื้นฟู)
๓. การค้นหา/เข้าสู่พื้นที่ Locate(บก-รถยนต์ เดิน Fast Rope เรือ-เรือยาง เรือท้องแบน อากาศ-ฮ ร่ม)
๔. การเข้าถึงผู้ประสบภัยในพื้นที่เกิดเหตุ(ทรัพยากร/เครื่องมือ/ทักษะ/วิธีการ-การเจาะเข้าที่เกิดเหตุ)
๕. การช่วยเหลือพยาบาล การเคลื่อนย้าย Stabilize
๖. การนำส่งพื้นที่รองรับ/ส่งต่อสายแพทย์หรือพื้นที่พยาบาลโรงพยาบาลสนาม(เช่น นำส่งผู้บาดเจ็บจาก พท.เกิดเหตุ/พ.ท. อันตราย ไปสนาม ฮ ส่งไปโรงพยาบาลหลัก )
ขั้นหลังการปฏิบัติ
๑. การรายงานสรุปสถานการณ์เสนอ ศบภ.ทร. ศอร.จังหวัด/หน่วยเหนือ
๒. แผนการส่งมอบภารกิจของ ICC ให้กับจังหวัด
๓. แผนการสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่เมื่อได้รับการร้องขอ
สถานการณ์การฝึก
สถานการณ์ กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบขีดความสามารถกองทัพเรือในการวางแผน การอำนวยการ/สั่งการ ในภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย(HA/DR) กรณีการเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่จากพายุไต้ฝุ่นในเกณฑ์ระดับภัยพิบัติระดับ ๓
หน่วยที่ต้องการทดสอบ มี ๒ ระดับ ได้แก่
๑. ระดับศูนย์บัญชาการ คือ ศบภ.ทร. หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (มบภ.ทร.)หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก(ศบภ.ทรภ.๒)
๒. ระดับหน่วยปฏิบัติ/ระดับยุทธวิธีคือ บก.มบภ.ทร. (ร.ล.อ่างทอง) ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติในพื้นที่เกาะสมุย มบภ.ทร. และหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ ชุดประเมินสถานการณ์/ความเสียหายและความต้องการในพื้นที่ (Navy Damage Assessment Team: NDAT) หน่วยค้นหาและช่วยชีวิตทางบกและทางทะเล (นสร. นย.) หน่วยซ่อมสร้างระบบสาธารณูปโภคและระบบสนับสนุน (ฐท.สส. สอ.รฝ.) หน่วยงานด้านการแพทย์และ รพ.สนาม (พร.) ศูนย์พักพิง(นย.) หน่วยชำระล้าง/ควบคุมสารเคมีและ CBRN (วศ.ทร.) การส่งกำลังบำรุง(กร.) และการสื่อสาร(กร.) ชุดประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา(กร.) ชุดรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย(นย.)
สถานการณ์หลักที่ ๑ ภัยพิบัติระดับ ๒ พายุโซนร้อนผลกระทบน้ำท่วมหนักภาคใต้ตอนล่าง
ในห้วงกลางเดือน เม.ย. ๕๘ (FTX และ CPX)
ได้เกิดพายุโซนร้อน จำนวน ๓ ลูก ในพื้นที่ภาคใต้ ได้ทำให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มใน ๕ จังหวัด ได้แก่ จว.ชุมพร จว.สุราษฎรธานี จว.นครศรีธรรมราช จว.พัทลุง จว.สงขลา โดย ปภ.เขต ๑๑ และ ปภ.เขต ๑๒ ได้สรุปรายงานสถานการณ์ล่าสุด เสนอ บกปภ.ชาติ ดังนี้
จว.ชุมพร จากกรณีฝนที่ตกอย่างหนักในพื้นที่ อ.ปะทิว ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.๕๘ ได้ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในอำเภอปะทิว จ.ชุมพร และน้ำท่วมในพื้นที่ หมู่ ๑๐ และ หมู่ ๒ ต.ชุมโค ถนนที่เป็นเส้นทางเข้าสู่ท่าอากาศยานชุมพรถูกตัดขาด น้ำได้เข้าท่วมสถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ประกอบด้วย ต.สะพลี หมู่ที่ ๒,๔,๖, ๗, ๑๑ ต.บางสน หมู่ที่ ๖ ต.ชุมโค หมู่ที่ ๒, ๔, ๗, ๙ ต.เขาไชยราช หมู่ที่ ๑-๑๑ ต.ดอนยางทั้งตำบล ต.ทะเลทรัพย์ หมู่ที่ ๒, ๖, ๗ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ประสานไปยังจังหวัดทหารบก (จทบ.) ชุมพร ในการขอสนับสนุนกำลังพลในการเข้ามาช่วยเคลื่อนย้ายทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยงของราษฎรขึ้นไปไว้ในที่ปลอดภัย และขณะนี้จังหวัดชุมพรได้ประกาศให้ อ.ปะทิวทั้งอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว
จว.สุราษฎร์ธานี เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๕ เม.ย. ๕๘ ที่ผ่านมา โดยกรมบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย ได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่ราบเชิงเขาให้ระวังน้ำป่าไหล หลากและน้ำท่วมขังฉับพลัน และดินโคลนถล่ม และคลื่นลมในทะเลแรงลงชาวประมงไม่ควรนำเรือออกจากฝั่ง
จว.นครศรีธรรมราช เกิดน้ำท่วมฉับพลัน บนถนน สวนยางพารา และบ้านเรือนประชาชนในหลายอำเภอ และในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีการประกาศเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือกับฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน สวนยางพารา และถนน สูงกว่า ๕๐ เซนติเมตร เตือนระวังดินโคลนถล่ม
จว.พัทลุง มีรายงานว่าฝนยังคงตกหนักในพื้นที่ริมเทือกเขาบรรทัด ทั้ง อ.ป่าพะยอม อ.ศรีบรรพต อ.ตะโหมด อ.กงหรา ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ได้ไหลลงสู่ฝายชลประทานท่าแนะจนล้นสปิลเวย์ ทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ อ.ศรีบรรพต อ.ควนขนุน อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้ไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตรใน ต.ชุมพล ต.อ่างทอง ต.บางนา อ.ศรีนครินทร์ ท่วมสูงกว่า ๕๐ เซนติเมตร โดยน้ำมีสีแดงขุ่น ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เร่งเก็บของย้ายขึ้นที่สูง และน้ำยังได้ไหลเข้าท่วมถนนเพชรเกษมหลายจุด สูงกว่า ๔๐ เซนติเมตร โดยบางจุดน้ำท่วมหนักทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ และต้องมีการปิดถนนวิ่งได้ฝั่งเดียว ทำชาวบ้านเดือดร้อน ๒๗ ตำบล มีบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมแล้วกว่า ๕๐๐ ครัวเรือน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดพัทลุง ได้สรุปความเสียหาย พบว่า มีถนนเสียหาย ๕๐ สาย สะพาน ๑๐ แห่ง คอสะพาน ๒๒ แห่ง ฝาย ๑๕ แห่ง ส่วนด้านเกษตร พืชไร่ พืชผักเสียหาย ๕๐๐๐ ไร่ สวนยางพารา ๒๐๐๐ ไร่ นาข้าว ๔๗๐๐๐ ไร่ พืชสวน,ไม้ผล ๒๗๐๐๐ ไร่ ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ เป็ด/ไก่ ๑๗๐๐๐๐ ตัว และด้านประมง บ่อปลา บ่อกุ้ง ๑๕๐๐ บ่อ กระชัง ๓๒๒ กระชัง และเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัดพัทลุง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว ๘๐ คน
จว.สงขลา เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมสงขลา ๘ อำเภอ หลังฝนตกหนักทั่วจังหวัด มวลน้ำจ่อทะลักเข้าท่วมตัวเมืองหาดใหญ่ ทั้งนี้น้ำได้เริ่มท่วมในเขตเทศบาลเมืองควนลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ชานเมืองหาดใหญ่แล้ว โดยระดับน้ำสูงกว่า ๕๐ เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้มีระดับ อำเภอสทิงพระ สิงหนคร ระโนด กระแสสินธุ์ และบางส่วนของอำเภอเมืองยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง โดยมีบ้านเรือนของประชาชน อย่างน้อย ๘๐๐๐ หลัง ที่ถูกพายุพัดได้รับความเสียหาย ระบบไฟฟ้า ประปา และการสื่อสาร ถูกตัดขาด ๓ วันแล้ว บางพื้นที่ยังถูกน้ำท่วมและประชาชนบางส่วนยังไร้ที่อยู่อาศัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดสงขลา รายงานวว่ามีพื้นที่ประสบภัย รวม ๑๖ อำเภอ ๑๐๐๐ หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ๓๐๐๐๐๐ คน อพยพไปอยู่ที่ปลอดภัยแล้ว ๕๐๐๐ คน มีผู้เสียชีวิต ๔๐ คน ผู้บาดเจ็บ ๒๐๐๐ คน ความเสียหายทางด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง ๘๐๐ หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๒๐๐๐๐ ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น รวมกว่า ๑๗๐๐ ล้านบาท
{ใน ….. เม.ย. ๕๘ FTX)/CPX ……..เม.ย.๕๘}
เวลา ๐๙๐๐ ผู้ว่าราชการทั้ง ๔ จังหวัด ได้รายงานสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยให้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ทราบเพื่อขอรับการสนับสนุนทรัพยากรจากส่วนกลางในการเข้าควบคุมสถานการณ์ภัยพิบัติในระดับ ๒
เวลา ๐๙๐๐ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติได้รับรายงานจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติถึงแนวโน้มโอกาสในการเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่กลางอ่าวไทยขึ้น จึงได้จัดตั้ง บก.ปภ.ชาติขึ้นโดยมี รมว.มท. เป็น ผบ.ปภ.ชาติ และ อธิบดี ปภ.เป็น ผอ.กลาง โดยมีที่ตั้ง ณ ปภ. กรุงเทพฯ เพื่อเป็นศูนย์สั่งการ และให้ ปภ.เขต ๑๑ และ ปภ.เขต ๑๒ ส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์สนับสนุน ปภ.ทั้ง ๕ จังหวัดที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยเรียบร้อยแล้ว
เวลา ๑๕๐๐ หลังการประชุม ครม. วาระเร่งด่วน โดย นรม.ได้ประชุมทางไกล VTC กับ ผวจ.ทั้ง ๕ จังหวัด ได้สรุปสถานการณ์ในพื้นที่ ๕ จังหวัด ซึ่งได้ประกาศยกระดับภัยพิบัติในพื้นที่ ๕ จังหวัดเป็นภัยพิบัติระดับ ๒ เรียบร้อย โดย ผวจ.ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัดขึ้นเพื่อทำหน้าที่อำนวยการ ประสานงานหน่วยงานต่างๆจากส่วนกลางที่เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ทั้งนี้หน่วยทหารในพื้นที่แต่ละจังหวัดได้ทำหน้าที่สนับสนุนตามที่จังหวัดร้องขอตามข้อตกลง (MOU) ที่ทำไว้กับจังหวัด โดย ทภ.๔ และ ทรภ.๒ ได้ส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมเข้าไปในพื้นที่รับผิดชอบเรียบร้อย และรายงานให้ ศบภ. เหล่าทัพและ ศบภ.บก.ทท. รับทราบเพื่อเตรียมการให้การสนับสนุนหากเกินขีดความสามารถของหน่วยในพื้นที่ต่อไป
ศบภ.ทท. ศบภ.เหล่าทัพ ปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัย กห. และแผนบรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพ โดยพื้นที่ทางบกในความรับผิดชอบนั้น ศบภ.ทบ.ได้ให้ ทภ.๔ รับผิดชอบตามแผนในการส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์เข้าพื้นที่ประสบภัยทั้ง ๕ จังหวัด เช่นเดียวกับ ศบภ.ทร. ได้สั่งการให้ ศบภ.ทรภ.๒/หน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางบกกองทัพเรือ รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ จว.สงขลา และพื้นที่ชายฝั่งตามที่กำหนดพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพเรือไว้ในแผนบรรเทาสาธารณภัย กห.
{ใน ……เม.ย. ๕๘ FTX)/CPX …..เม.ย.๕๘}
เวลา ๐๖๐๐ ศูนย์ประสานและสนับสนุนข้อมูลการแจ้งเตือนภัย ศบภ.ทร.(อศ.) ได้แจ้งประมาณสถานการณ์โอกาสการเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่กลางอ่าวไทย มีแนวโน้มเป็นไต้ฝุ่นในระดับเดียวกับพายุไหเหยียนที่พัดถล่มฟิลิปปินส์
เวลา ๐๙๐๐ ผบ.ทร. ได้สั่งการให้ หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลกองทัพเรือที่จัดตั้งขึ้นโดย กร. ตั้งแต่ ๒๐ เม.ย.๕๘ ให้ขึ้นตรงทางยุทธการกับ ศบภ.ทร. เตรียมกำลังพลเครื่องมือและสิ่งของบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย ให้หมู่เรือพร้อมลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติภารกิจใน ๒๕ เม.ย.๕๘
สถานการณ์หลักที่ ๒ ภัยพิบัติระดับ ๓ พายุไต้ฝุ่นกลางอ่าวไทย(พายุระดับเดียวกับพายุไหเหยียน ฟิลิปปินส์)
{ใน …… เม.ย. ๕๘ FTX)/CPX ….. เม.ย.๕๘}
เวลา ๐๘๐๐ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งเตือนการก่อตัวของพายุไต้ฝุ่นชื่อ รามสูร ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ๑๑๙ กม./ชม. กลางอ่าวไทย มีทิศทางการเคลื่อนตัวไปสู่พื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง ศูนย์กลางพายุคาดว่าทิศทางจะเข้าสู่ จว.สุราษฎร์ธานี จว. และ จว.นครศรีธรรมราช ซึ่งพายุรามสูรคาดว่าจะถึงพื้นที่เกาะสมุยและ เกาะพงัน จว.สุราษฎร์ธานี ประมาณ ๒๖ เม.ย.๕๘
เวลา ๐๙๐๐ กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
(บก.ปภ.ช.) ประเมินว่าพายุไต้ฝุ่นนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินประชาชน เขตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมภาคใต้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ จึงได้จัดตั้ง บก.ปภ.ชาติส่วนหน้าขึ้น โดยมี ผอ.ปภ.เขต ๑๑ เป็น ผบ.ศูนย์ฯ ที่ตั้งศูนย์ที่ อ.เมือง จว.สุราษฎรธานี รับผิดชอบในพื้นที่ ปภ.เขต ๑๑ และ จว.สงขลา โดยมี ปภ.เขต ๑๒ ให้การสนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์
เวลา ๑๐๐๐ นรม. สั่งการให้ บก.กปภ.ช. ติดตาม/รายงานสถานการณ์ให้ทราบ และสั่งการให้ บก.ปภ.ชาติส่วนหน้า จว.สุราษฎรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะมีผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นรามสูร เตรียมการรับสถานการณ์ทั้งนี้ นรม.ได้ สั่งการโดยตรง รมว.กห.ให้กองทัพไทยส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทหารเข้าสนับสนุน บก.ปภ.ชาติส่วนหน้า ในพื้นที่ที่กำลังประสบภัยอย่างเร่งด่วน ศบภ.บก.ทท. ศบภ.เหล่าทัพ ปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัย กห. และ เหล่าทัพ โดยกองทัพไทยได้จัดตั้ง ศบภ.บก.ทท.ส่วนหน้า ขึ้นที่ จว.นครศรีธรรมราช รับผิดชอบในการวางแผน และอำนวยการการใช้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ของ บก.ทท. ในการเข้าปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาภัยพิบัติในพื้นที่โดยประสานกับศูนย์บัญชาการจังหวัด อย่างใกล้ชิดและสนับสนุนงานของ ทภ.๔ และ ทรภ.๒
{ใน …..เม.ย. ๕๘ FTX)/CPX ……. เม.ย.๕๘}
เวลา ๐๑๐๐ พายุไต้ฝุ่นรามสูร พัดเข้าถล่ม จว.สุราษฎร์ธานี และ จว.นครศรีธรรมราช ซึ่งจะทำให้สถานการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่มในทั้งสองจังหวัดยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น พายุไต้ฝุ่นได้ทำลาย บ้านเรือน ระบบสาธารณูปโภคทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า ถนนหลักและการติดต่อสื่อสาร ได้รับความเสียหาย พื้นที่หลายแห่งถูกตัดขาดจากพื้นที่ภายนอก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และบางส่วนยังคงติดในซากปรักหักพัง ความเสียหายมีผลกระทบเป็นวงกว้าง โดย ศูนย์บัญชาการ จว.สุราษฎร์ธานี ได้รายงาน บก.ปภ.ชาติ ว่าพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก ได้แก่ อ.ดอนสัก อ.เกาะสมุย อ.เมือง ศูนย์บัญชาการ จว.นครศรีธรรมราช รายงานพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายได้แก่ อ.ขนอม อ.สิชล อ.ท่าศาลา จำเป็นต้องมีการจัดการต่อสถานการณ์ภัยพิบัติขนาดใหญ่เร่งด่วน
เวลา ๑๘๐๐ ผบ.ทร.ได้สั่งการให้ มบภ.ทร.ออกเรือเพื่อปฏิบัติภารกิจในการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ พื้นที่เกาะสมุย
{ใน …… เม.ย. ๕๘ FTX)/CPX …….. เม.ย.๕๘}
เวลา ๐๙๐๐ ผบ.บก.ปภ.ชาติ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณภัยร้ายแรงจากพายุไต้ฝุ่นระดับ ๓ ในพื้นที่ จว.สุราษฎร์ธานี และ จว.นครศรีธรรมราช รายงานสรุปสถานการณ์ของ จว.สุราษฎร์ธานี แจ้งว่าพายุไต้ฝุ่นได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ในจังหวัดอย่างรุนแรง ทางจังหวัดได้ขอรับการสนับสนุนกำลังพล เครื่องมือ ทีมค้นหาและช่วยชีวิตจาก บก.ปภ.ชาติ และกองทัพไทยเข้าพื้นที่เพื่อช่วยคลี่คลายสถานการณ์ สำหรับเรื่องเร่งด่วน ได้แก่ สถานการณ์วิกฤติบนเกาะสมุย เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของพายุที่เข้าปะทะโดยตรง เนื่องจากศูนย์บัญชาการ จว.สุราษฎร์ธานี มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องระดมกำลังพล เครื่องมือและทรัพยากร ในการช่วยผู้ประสบภัยเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตที่ติดในอาคารและความเสียหายจากพายุที่เกิดขึ้นรุนแรงเขตในเขตจังหวัดบนบก และเหตุผลที่คลื่นลมในทะเลยังแรงทำให้ทาง ศูนย์บัญชาการ จว.สุราษฎร์ฯ ไม่มีขีดความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพงันเพื่อไปควบคุมสถานการณ์ภัยพิบัติได้ สำหรับกรณีเกาะพงันนั้น ศูนย์บัญชาการ จว.สุราษฎร์ฯ ร่วมกับ ศบภ.ทรภ.๒ สามารถอพยพประชาชนส่วนใหญ่ออกจากเกาะได้เรียบร้อยก่อนพายุจะเข้าเกาะ ผลกระทบจึงไม่รุนแรงมากนัก จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือจาก บก.ปภ.ชาติ ให้เข้าควบคุมสถานการณ์บนเกาะสมุย ทั้งนี้จากรายงานด่วนล่าสุดของนายอำเภอเกาะสมุย สรุปสถานการณ์บนเกาะเข้าสู่สภาวะวิกฤต ระบบสาธารณูปโภค สนามบินถูกทำลาย ระบบไฟฟ้าดับทั้งสองเกาะอันเนื่องมาจากสายเมนเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินเส้นใหญ่ที่จ่ายไฟเลี้ยง ทั้งเกาะ เกิดระเบิด น้ำประปาในพื้นที่เกาะสมุย มีปัญหาน้ำไม่ไหล โรงผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล (RO) ที่บ้านปลายแหลม ต.บ่อผุด เกาะสมุย หยุดผลิตเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้า อาหาร น้ำดื่มขาดแคลน ถนน ดินโคลนถล่มหลายพื้นที่ คลื่นลมแรงมาก ชายฝั่งมีผลกระทบของ Storm Surge ทำให้รีสอร์ดหลายแห่งพังทลายลง นักท่องเที่ยวต่างประเทศตาย และบาดเจ็บจำนวนมาก นรม. ได้สั่งการให้กองทัพเรือในฐานะหน่วยรับผิดชอบพื้นที่เกาะตามแผนบรรเทาสาธารณภัย กห. และมีเรือขนาดใหญ่ที่สามารถฝ่าพายุเข้าไปปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาภัยพิบัติบนเกาะสมุยอย่างเร่งด่วน โดยมอบหมายหมายให้เป็น ผบ.เหตุการณ์รับผิดชอบพื้นที่เกาะสมุย
เวลา ๑๓๐๐ หมู่เรือบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือเข้าถึง เกาะสมุย เพื่อปฏิบัติภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาภัยพิบัติ โดย ผบ.มบภ.ทร. ทำหน้าที่ ผบ.ศบภ.ทร.ส่วนหน้ารับผิดชอบพื้นที่เกาะสมุย
จบสถานการณ์ภัยพิบัติจากพายุ Road to Crisis ก่อนเรือเข้าพื้นที่เกาะสมุย
ข้อมูลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อมูลพื้นฐานเกาะสมุยเป็นเกาะที่อยู่ในฝั่งทะเลอ่าวไทยเป็นอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีประชากร ๖๒,๕๙๒ คน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด ห่างจากชายฝั่งสุราษฎร์ธานี โดยวัดจากท่าเรือดอนสักประมาณ ๓๕ กิโลเมตร แต่ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ ๘๔ กิโลเมตร ตัวเกาะมีเนื้อที่ประมาณ ๒๔๗ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ตและเกาะช้างพื้นที่ถึง ๑ ใน ๓ ของเกาะสมุยเป็นที่ราบ มีท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ๑ แห่ง ในปี ๕๖ มีจำนวนเที่ยวบินถึง ๒๐,๐๐๐ เที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสารมากกว่า ๒ ล้านคนต่อปี นอกจากนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิง ให้กับการท่องเที่ยว รอบเกาะจะเป็นพื้นที่ราบที่เป็นชายหาดอยู่รอบเกาะ ส่วนกลางของเกาะส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา มีหาดทรายธรรมชาติสวยงามที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น หาดเฉวง หาดละไม หาดตลิ่งงาม และหาดนาเทียน และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้และแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สร้างเสน่ห์ให้กับเกาะแห่งนี้เป็นอย่างมาก
การปกครอง อำเภอเกาะสมุยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๗ ตำบล ๓๙ หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลอ่างทอง ลิปะน้อย ตลิ่งงาม หน้าเมือง มะเร็ต บ่อผุด มีเทศบาลนครเกาะสมุย ดูแลพื้นที่อำเภอเกาะสมุยทั้งเกาะ
คลองที่สำคัญ ได้แก่ ๑. คลองลิปะน้อย มีการสร้างฝายน้ำล้นเพื่อให้ชาวบ้านตำบลลิปะน้อยใช้ประโยชน์ในการเกษตร ๒. คลองสระเกศ เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับเกษตรกรบ้านตลิ่งงาม ๓. คลองละไม หรือ คลองท่าศก มีต้นน้ำสองสาย คือ คลองท่าศกและคลองวังกลั้งไหลมารวมกันในบริเวณที่เรียกว่า “พังลุงนก” นอกจากคลองท่าศกแล้วชาวบ้านตำบลมะเร็ตยังได้ประโยชน์จากคลองมะเร็ตอีกแห่งหนึ่ง ๔. คลองท่าสียา เป็นคลองขนาดใหญ่ มีต้นกำเนิดจากภูเขาใหญ่กลางเกาะไหลผ่านเทือกเขาสูงลงสู่ที่ราบของตำบลหน้าเมือง ผ่านหน้าผาสูงทำให้เกิด “น้ำตกหน้าเมือง” ที่สวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเกาะสมุย มีการสร้างฝายน้ำล้น ๖ แห่ง ๕. คลองท่าจีน มีต้นกำเนิดจากภูเขาตำบลแม่น้ำ มีฝายน้ำล้น ๒ แห่ง ในระยะที่ผ่านมาพื้นที่เกาะสมุยได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งเพื่อการอุปโภคและเพื่อการเกษตรบางส่วนกระจายอยู่บริเวณรอบเกาะ ได้แก่ ฝายคลองน้ำจืด เขื่อนท่าสัก ฝายวังเสาธง ฝายน้ำตกหน้าเมือง ฝายวังหินลาด ฝายคลองแม่น้ำ ฝายคลองพังเพ และฝายคลองละไม เป็นต้น แต่สภาพเหมืองฝายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและกระจายตัวไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะการขยายตัวของการพัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะสมุยที่รวดเร็วยิ่งทำให้น้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะฤดูแล้ง
ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า พื้นที่ป่าถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นสวนมะพร้าวและสวนผลไม้เป็นสวนใหญ่ทำให้สภาพป่าดั้งเดิมเหลืออยู่น้อย โดยคงหลงเหลืออยู่ตามภูเขาสูงหน้าผาที่ลาดชันและบริเวณน้ำตก ๒ แห่ง คือ น้ำตกหินลาด ตั้งอยู่ห่างจากตลาดหน้าทอน ๓๔ กิโลเมตร ซึ่งไม่มีสภาพเป็นน้ำตกอย่างแท้จริง แต่เป็นทางน้ำไหลมาจากเขาพลู ผ่านหน้าผาสูงประมาณ ๒๐ เมตร ไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างของเกาะ กรมป่าไม้ได้จัดให้เป็นวนอุทยานน้ำตกหน้าเมือง (ผาหลวง) มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ นอกจากนี้ได้กำหนดให้น้ำตกหินลาดในท้องที่ตำบลอ่างทอง ตำบลแม่น้ำ และตำบลลิปะน้อย มีเนื้อที่ ๗๐๐๐ ไร่ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗
ทรัพยากรท่องเที่ยว เกาะสมุยมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการพัฒนาซึ่งแบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ ได้แก่หาดทราย น้ำตก และแนวปะการัง ประเภทประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ประเภทศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมท้องถิ่นโดยสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่สำคัญของเกาะสมุย คือ เป็นสถานที่ตากอากาศในภูมิภาคเขตร้อนที่มีแสงแดด ทะเล หาดทราย ปะการังที่สวยงาม และมีความเงียบสงบ ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่รวมถึงอัธยาศัยไมตรีของชาวพื้นเมืองในท้องถิ่น
พื้นที่และการใช้ประโยชน์ การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พื้นที่เกาะสมุยประมาณ ๒๒๗ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๔๒,๐๐๐ ไร่นั้น เป็นพื้นที่ที่ใช้เพื่อการเกษตรมากที่สุดพื้นที่ทำสวนส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว มีพื้นที่ปลูก ๘๔,๓๑๐ ไร่ รองลงมาคือ ทุเรียน มีพื้นที่ปลูก ๑๑,๐๐๐ ไร่ โดยพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญมีเพียงป่าสงวน ๒ แห่ง คือบริเวณน้ำตกหินลาดและบริเวณอุทยานน้ำตกหน้าเมือง การใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ส่วนการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและ พาณิชยกรรมมีกระจายอยู่รอบชายฝั่งทะเลรอบเกาะมีศูนย์กลางการปกครองและศูนย์รวมบริการหลักของธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่บริเวณตลาดหน้าทอนบนฝั่งทะเลด้านตะวันตกของเกาะมีกลุ่มธุรกิจประเภทที่พัก ร้านอาหารและเครื่องดื่มกระจายทั่วไปรอบเกาะปัจจุบันมีหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้าน ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลแม่น้ำ ตำบลบ่อผุด และตำบลมะเร็ต
การคมนาคมทางถนน เกาะสมุย มีถนนสายรอบเกาะ (ถนนทวีราษฎร์ภักดี) ซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ความยาวประมาณ ๕๐ กิโลเมตร มีซอยแยกจากถนนหลักเข้าหมู่บ้านต่าง ๆ อีก ๙ สาย ระยะทางยาวประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ดังนี้- ทางหลวงแผ่นดิน No. 4169 ถนนรอบเกาะสมุย ระยะทาง ๕๐กิโลเมตร มีปริมาณการจราจรมากที่สุด- ทางหลวงแผ่นดิน No. 4170 ถนนเชื่อมสายบ้านสระเกศ – หัวถนน ระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร- ทางหลวงแผ่นดิน No. 4171 ถนนสายจากแยกบ่อผุด – หาดเฉวง ระยะทาง ๕ กิโลเมตร มีปริมาณการจราจรมากเป็นอันดับสอง- ทางหลวงแผ่นดิน No. 4173 ถนนเชื่อมสายรอบเกาะกับทางหลวงหมายเลข 4170 ระยะทาง ๓ กิโลเมตร- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4174 ถนนแยกลิปะน้อย – ท่าเรือเฟอร์รี่ ระยะทาง ๔ กิโลเมตร มีปริมาณการจราจรมากเป็นอันดับสาม- ทางหลวงชนบท สายวัดสมุทราราม – ทางแยกเข้าโรงพยาบาล ระยะทาง ๒ กิโลเมตร- ทางหลวงชนบท สายท้องโตนด – บ้านพังกา ระยะทาง ๒ กิโลเมตร- ทางหลวงชนบท สายพรุกำ – บ้านแม่น้ำ ระยะทาง ๑ กิโลเมตร การเดินทางบนเกาะสมุย มีรถโดยสารบริการ โดยแบ่งเป็นรถที่สังกัดสหกรณ์เดินรถ ซึ่งให้บริการรถสองแถวทั้งในเวลากลาง วันกลางคืน และรถแท็กซี่มิเตอร์ ให้บริการทั้งกลางวันและกลางคืน และรถตู้
การคมนาคมทางเรือ มีท่าเรือ ๒ แห่ง คือ ๑. ท่าเรือหน้าทอน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๓ ตำบลอ่างทอง โดยมีบริการเรือด่วนและเรือนอนกลางคืน เพื่อการเดินทางระหว่างท่าเรือหน้าทอน เกาะสมุย – ท่าเรือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ การให้บริการเรือเฟอร์รี่โดยบริษัทซีทรานเฟอร์รี่ เดินทางระหว่างเกาะสมุยกับอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒. ท่าเรือบริษัทราชาเฟอร์รี่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลลิปะน้อย บริการเรือเฟอร์รี่เพื่อการเดินทางระหว่างเกาะสมุยกับอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๓. ท่าเรือบางรักษ์ ตำบลบ่อผุด ให้บริการเรือเฟอร์รี่ เพื่อการเดินทางเกาะสมุย – เกาะพงัน – เกาะเต่า – ชุมพร ๔. ท่าเรือลมพระ ตำบลแม่น้ำ ให้บริการเรือเร็ว (เรือลมพระยา) เพื่อการเดินทางระหว่างเกาะสมุย – เกาะพงัน – เกาะเต่า – ชุมพร – กรุงเทพมหานคร ๕. ท่าเรือเรือ สปีดโบท บ้านปลายแหลม และตลาดบ่อผุด ตำบลบ่อผุดเดินทางระหว่างเกาะ สมุย – เกาะพงัน
การคมนาคมทางอากาศ มีสนามบินเอกชนบริษัทการบินกรุงเทพฯ (BANGKOK AIRWAY) อยู่ ๑ แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๔ ตำบลบ่อผุด ซึ่งมีการให้บริการเส้นทาง กรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา กระบี่ เชียงใหม่ ฮ่องกง
สิงคโปร์ ลังกาวี เมดาน กัวลาลัมเปอร์ และ บริษัทการบินไทย มีการให้บริการทุกวัน เดินทางระหว่างเกาะสมุย–กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) วันละ ๒ เที่ยว
การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้ให้บริการด้านไปรษณีย์และ สื่อสารโทรศัพท์ ให้บริการโดย บริษัท ทศท.คอปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลอ่างทอง บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด มหาชน ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่น้ำ
การสาธารณูปโภค การไฟฟ้า การจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะสมุย โดยมีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน ๓ แห่ง คือ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย สถานีบริการผู้ใช้ไฟฟ้าตำบลแม่น้ำ และสถานีบริการผู้ใช้ไฟฟ้าตำบลตลิ่งงาม ซึ่งสามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้ทุกตำบล ทุกหมู่บ้านของเกาะสมุย นอกจากนี้ กฟภ. ยังมีโครงการที่จะขยายไฟฟ้าโดยสายเคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มขึ้นอีก เพื่อสำรองในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้อำเภอเกาะสมุย การประปา ในเกาะสมุย มีกำลังการผลิตน้ำประปารวม ๘๒๕ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง น้ำที่ผลิตได้ ๗ ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี มีจำนวนผู้ใช้น้ำ ๑๑,๕๐๐ ราย มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบประปาขนาดใหญ่โดยใช้แหล่งน้ำดิบในพื้นที่ เช่น พรุเฉวง ๔๐๐ ไร่ พรุหน้าเมือง ๒๐๐ ไร่ และพรุกระจูดมีพื้นที่ ๔๒ ไร่ และมีการก่อสร้างระบบผลิตน้ำเพิ่มที่พรุหน้าเมืองโดยวางท่อน้ำจากพรุหน้า เมืองไปยังบริเวณหาดเฉวงและหาดละไม มีระบบ RO เริ่มผลิต ๑ เมษายน ปี ๔๗ มีกำลังการผลิตน้ำประปารวม ๒๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีหน่วยการให้บริการประปาระดับอำเภอ ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย จำนวน ๑ แห่ง
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอำเภอเกาะสมุย ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและการผลิตสาขาเกษตรกรรมเป็นหลักการพาณิชย์กรรมและบริการประเภทกิจการค้าส่วนใหญ่เป็นประเภทที่เกี่ยวข้องกับ การท่องเที่ยวได้แก่ การบริการที่พักร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว การขายของที่ระลึก การรับจ้างแรงงานในพื้นที่
การเกษตรแบ่งเป็น สวนผลไม้ประมาณ ๑๘๐๐๐ ไร่ และสวนมะพร้าวประมาณ ๘๔๓๑๐ ไร่ ซึ่งผลไม้ที่นิยมปลูกและมีชื่อเสียง ได้แก่ ลางสาด ทุเรียน เงาะ มังคุด ตามลำดับ
การอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ใช้แรงงานในครอบครัว เช่น โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานผลิตน้ำดื่ม โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการประเภทซ่อมเครื่องยนต์สภาพด้านอาชีพของประชากรได้ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนในระดับต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพและความพร้อมของทรัพยากร
ตัวอย่าง บ่งการหลักสำหรับการฝึก บก.มบภ.ทร. บนเรือหลวงอ่างทอง
บ่งการหลักที่ ๑ (MSEL: 01)
วัตถุประสงค์ ทดสอบขีดความสามารถ กร. ในการทำแผนยุทธการด้าน HA/DR
จาก ศบภ.ทร. ถึง มบภ.ทร. ผู้รับทราบ สคฝ. , กร.
วัน/เวลาปล่อย MSEL :
สถานการณ์ ศบภ.ทร. สั่งการให้ กร. เสนอแผนยุทธการ มบภ.ทร. ในภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทา สาธารณภัยบนเกาะสมุย
สิ่งที่คาดหวัง (Expected Action) แผนยุทธการที่มีรายละเอียดของภารกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ (IPB) แผนเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่ภัยพิบัติ แผนปฏิบัติการ การจัดกำลัง โครงสร้าง ผนวกสาขาการปฏิบัติการ เช่น แผนสื่อสาร
แผนเคลื่อนย้ายขึ้นฝั่ง/ลงเรือ แผนค้นหาและช่วยชีวิต แผนอพยพผู้ประสบภัย
ตำบลที่: ร.ล.อ่างทอง/ เรือธง จอดเรือหน้าเกาะสมุย
ผู้รับผิดชอบ สคฝ.
บ่งการหลักที่ ๒ (MSEL: 02)
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบขีดความสามารถของชุดประเมินสถานการณ์ NAST
จาก ศบภ.ทร. ถึง มบภ.ทร. ผู้รับทราบ ศบภ.บก.ทท ,ศูนย์บัญชาการ จว.สุราษฎรฯ , กร.
วัน-เวลาปล่อย MSEL
สถานการณ์ ขอให้ มบภ.ทร. สรุปผลการวิเคราะห์ความเสียหายบนเกาะสมุยอย่างละเอียด เพื่อเสนอ บก.ปภ.ชาติเตรียมการในการสนับสนุน มบภ.ทร. ในภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาสาธารณภัยบนเกาะสมุย ภายใน ๑๔๐๐ เช่น ด้านความเสียหายด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญ ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา ท่าเรือ สนามบิน สถานที่ราชการที่สำคัญ ได้แก่ โรงพยาบาล และโรงแรม/สถานที่พักของนักท่องเที่ยวที่สำคัญ และการประมาณการ คนเจ็บ คนตาย ในพื้นที่ พื้นที่ที่ถูกตัดขาด ความต้องการอาหารปัจจัย ๔ เพื่อรัฐบาลได้เตรียมสนับสนุน
สิ่งที่คาดหวัง (Expected Action) การวิเคราะ DA/NA
ตำบลที่: ร.ล.อ่างทอง/ เรือธง จอดเรือหน้าเกาะสมุย
ผู้รับผิดชอบ สคฝ. (กยพ.กร.)
บ่งการเฉพาะ นสร.กร MSEL: 46
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบ ขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในทะเล (Maritime SAR)
จาก สมาคมกลุ่มเรือประมง อ.เกาะสมุย ถึง มบภ.ทร. ผู้รับทราบ ศบภ.ทร.
วัน-เวลาปล่อย MSEL
สถานการณ์ ใน ๒๐ เม.ย.๕๘ เวลา ๑๔๐๐ ได้รับแจ้งว่าสมาคมฯว่าเรือประมงโชคนาวา ๑๑ ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดใหญ่ มีคนบนเรือประมาณ ๒๐ นาย ได้จมลงจากสภาพคลื่นลมแรง ในตำบลที่ …………..ขอให้ มบภ.ทร ช่วยเหลือเร่งด่วน
สิ่งที่คาดหวัง (Expected Action) การ
ตำบลที่:
ผู้รับผิดชอบ สคฝ. (นสร.กร.)
_________________________________________________________
ขอให้โชคดีครับ
ด้วยความเคารพครับ
นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล
E-Mail royalelephant@yahoo.com