วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

สรุปเอกสารอ้างอิงต่างประเทศในเรื่องการจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม HA+DR




ผมสรุปเอกสารอ้างอิงต่างประเทศในเรื่องการจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม HA+DR ประกอบด้วย 
1.เอกสารของ ASEAN 
2.เอกสาร Incident Command System: ICS
3.เอกสาร International Humanitarian Organization
4.เอกสาร Multi National Force Standard Operating Procedure
5.เอกสารของ UN 
6 เอกสารหลักสูตร HADR+Emergency Management ของ ปภ.ชาติออสเตรเลีย พร้อมแผ่นพับสอนเรื่องการเตรียมการรับมือภัยพิบัติครับสามารถพิมพ์ไปเผยแพร่ ให้เด็กๆได้ครับ
  เอกสารทั้งหมดกระผมได้รวบรวมให้ผู้สนใจสามารถ Down Load ได้ที่ 


https://drive.google.com/folderview?id=0B7UIPM14QKxQRlFnUDJodnpJQjA&usp=sharing
          
    ผมยินดีเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่องการจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามเอกสารต่างประเทศข้างต้น เช่น ICS  รวม ทั้งในเรื่องแผนบรรเทาสาธารณภัยของประเทศไทย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ เป็นการทำบุญครับ ผมว่าเรามาร่วมมือกันจากจุดเล็กๆ หัดที่จะเสียสละและการให้นะครับแล้วเราจะเข้าใจกับพระบรมราโชวาทในหลวงที่ ว่า ปิดทองหลังพระ
    ประเทศไทยเราภัยพิบัติเริ่มมากขึ้น และเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่เฉพาะหน่วยงานรัฐบาล ทหาร ภาคประชาสังคม อาสาสมัคร มูลนิธิ และประชาชนต้องตระหนักรู้และร่วมมือกันครับ ตย สึนามิที่ภูเก็ต หากเราเริ่มที่เตรียมความรู้ เริ่มฝึกเริ่มทำงานร่วมกัน สามัคคีกัน แก้ปัญหาร่วมกันบนพื้นฐานความเข้าใจ ยอมรับความแตกต่างกันมุ่งไปสู่ผลประโยชน์และความอยู่รอดของประเทศไทย เราจะทำงานสำเร็จทุกเรื่องครับ ข้อมูลผมจะมี Action Plan สามารถโหลดไปทำเป็นแผ่นพับให้กับเด็กๆ สถานศึกษานำไปสอนนักเรียนให้เข้าใจภัยพิบัติครับ ผมนำมาจากศูนย์ป้องบรรเทาสาธารณภัยออสเตรเลียที่สอนผมครับ ต้องขอบคุณครูฝรั่งผมด้วยครับ 
    ประสบการณ์ของกระผมในการศึกษาในด้านการบริหารสถานการณ์วิกฤต การจัดการภับพิบัติ, การออกแบบและทำหน้าที่ส่วนควบคุมการฝึกการฝึกด้าน HADR  มีดังนี้ครับ
    การศึกษาหลักสูตร Emergency Management Course(HA/DR) , Australian Emergency Management Institute: (AEMI)- ศูนย์ ปภ ชาติออสเตรเลีย, Mt Macedon, Victory ,ออสเตรเลีย
  ประสบการณ์ผู้เขียนในการเข้าร่วมและออกแบบการฝึกด้าน HA/DR
1เข้าร่วมการฝึกในตำแหน่งส่วนควบคุมการฝึก การฝึก ASEAN Defense Ministers’ Meeting-Plus Humanitarian Assistance & Disaster Relief ,Military Medicine Exercise (ADMM+ HADR & MM EX) or 2nd AHX Exercise  ปี ๕๖ ซึ่งกองทัพบรูไนเป็นเจ้าภาพ ณ ประเทศบรูไน
2 ออกแบบการฝึก CPX (สร้างสถานการณ์ จัดทำโปรแกรมและวางระบบฝึก) และเป็น Facilitator ควบคุมการฝึก CPX การฝึก ASEAN Regional Forum Disaster Relief Exercise (ARF DiREX 13) ปี ๕๖ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มี ๑๗ ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการฝึก ณ จว.เพชรบุรี
3 ออกแบบการฝึก CPX (สร้างสถานการณ์ จัดทำโปรแกรมและวางระบบฝึก จัดทำเอกสาร SOP) และเป็น Facilitator ควบคุมการฝึก CPX การฝึก ASEAN Humanitarian Assistance & Disaster Relief Exercise (AHEX 14) ปี ๕๖ โดยกองทัพไทยและกองทัพมาเลเซียเป็นเจ้าภาพร่วม โดยมี กองทัพไทย ส่วนราชการ พลเรือน ภาคประชาสังคม   ชาติในอาเซียนและมิตรประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ชาติในอาเซียนและ องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ UNOCHA , AHA Center , IFRC เข้าร่วมการฝึก ณ จว.ฉะเชิงเทรา
4 หน.กลุ่มวางแผน PKO และ NEO Staff Planning Workshop (TE-25) ปี ๕๗ ณ ประเทศมาเลเซีย
5ออกแบบการฝึก CPX (สร้างสถานการณ์ จัดทำโปรแกรมและวางระบบฝึก จัดทำเอกสาร SOP ) และเป็น Facilitator ควบคุมการฝึก CPX การฝึกบรรเทาสาธารณภัยร่วมตามนโยบายนายกฯ ปี ๕๗ กองทัพไทย เป็นเจ้าภาพ โดยมีหน่วยงานรัฐบาล พลเรือน ทหาร ร่วมฝึก ณ บก.ทท.และการฝึกบรรเทาสาธารณภัยร่วม JDMEx 2015 โดยกองทัพไทยร่วมกับ ปภ. เป็นเจ้าภาพร่วม ปี ๕๘  ณ จว.เชียงราย
6 เข้าร่วมในตำแหน่งส่วนควบคุมการฝึก CPXการฝึกซ้อมบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ (Crisis Management Exercise : CMEX 13) สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นที่ จว.ระยอง
7 การเขียนบทความเผยแพร่ด้าน HA/DR และการรักษาสันติภาพ
· วารสารสถาบันวิชการป้องกันประเทศ เรื่อง กองทัพไทยกับการบรรเทาสาธารณภัย
· วารสารนาวิกาธิปัตย์สาร เรื่องกองทัพเรือกับแนวทางการเพิ่มบทบาทกองทัพเรือชั้นนำในประชาคมอาเซียน
· วารสารหลักเมือง เรื่อง บทบาทของกองทัพเรือในประชาคมอาเซียน
· วารสารหลักเมือง เรื่อง แนวทางพัฒนาการปฏิบัติการทางทหารร่วมกับอาเซียนในภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR) ของกองทัพไทย
· วารสารนาวิกศาสตร์ เรื่อง ทหารเรือไทยภารกิจผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพในอาเจะห์
8 ประสบการณ์จริงในการแก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤติ ที่สำคัญได้แก่
  1 ประสบการณ์ในการเป็นชุดเจรจา ภารกิจรักษาสันติภาพใน จว อาเจ็ะ อินโดนีเซีย ลองอ่านในบทความผมครับ (เกือบตายครั้งที่ 1)
  2 ประสบการณ์ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เกือบตายครั้งที่ 2)
    ผมว่าจากที่ผมได้ประสบการณ์เฉียดตาย ได้สอนให้เราละความอยาก รู้จักคำว่าความตายที่ทุกคนต้องเจอไม่รู้เวลานั้นจะมาเมื่อไหร่ หากเราทำบุญมากๆ ผมเชื่อว่าผมตายเมื่อไร ไม่สำคัญเพราะผมรู้ว่าหากผมตายไปเวลานี้บุญน่าจะพาผมไปเกิดที่ดีๆในดินแดน พุทธศาสนาครับ
    สรุปว่าเรามาร่วมมือกัน ช่วยกันให้ความรู้เผยแพร่ในเรื่ององค์ความรู้ในเรื่อง HADR กันนะครับ เพื่อลูกหลานเราจะได้มีความเข้าใจและสามารถเผชิญภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ถี่ขึ้น รุนแรงมากขึ้นในประเทศไทย เช่น กรณีสำนามิ ภูเก็ต และน้ำท่วมใหญ่ปี ๕๔ จะได้ไม่สูญเสียเช่นที่ผ่านมานะครับ
   เขียนขึ้นในระหว่างการฝึกบรรเทาสาธารณภัยร่วม JDMEx15 จว เชียงราย
          พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล E-Mail: royalelephant@yahoo.com

บทความล่าสุดที่เผยแพร่

การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องด้วยหลักการอิทธิบาทสี่

  การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องที่แขวนประจำตัวด้วยหลักการอิทธิบาทสี่ นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา ความนอบน้อมของข้าฯ จ...

บทความที่ได้รับความนิยม