โดย นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล ตำแหน่ง รอง ผอ.กคฝ.สวฝ.ยก.ทหาร
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of Southeast
Asian Nations หรือASEAN)ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อ ๘ ส.ค.๒๕๑๐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
ในปี ๕๘ อาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศจะรวมกลุ่มกันเป็นประชาคม (ASEAN Community) ตามคำขวัญของอาเซียนในกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ "วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว”(One Vision, One
Identity, One Community) โดยได้กำหนดเสาหลัก(Pillar) คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
และประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ทั้งนี้กองทัพไทยได้รับผิดชอบเรื่องความร่วมมือในเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ภาพการประชุม ADMM-Plus เมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๖
สภาวะแวดล้อมความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ได้แก่
๑. กำลังอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) แล้วจะพบว่าภูมิภาคอาเซียนตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์โลกเป็นที่รวมผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจของโลกอันได้แก่สหรัฐและชาติพันธมิตรที่พยายามรักษาอิทธิพล/ผลประโยชน์และบทบาทนำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศต่อจีน
รัสเซียและกลุ่มประเทศตะวันออกกลางรวมทั้งพยายามกำจัดกลุ่มก่อการร้ายที่มองสหรัฐและพันธมิตร คือเป้าหมายในการทำลาย
สำหรับอาเซียนแล้วต้องคงปรับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศให้สมดุลทั้งสหรัฐและจีนโดยใช้กลไกความร่วมมือประชาคมอาเซียนในการแก้ปัญหาและสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ
เช่น การประชุม รมว.กห.อาเซียนกับคู่เจรจารวมทั้งต้องวางมาตรการป้องกันไม่ให้เครือข่ายก่อการร้ายเข้ามาใช้พื้นที่ในประเทศเพื่อทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐและพันธมิตรในประเทศตนซึ่งจะเป็นการทำให้ถูกกดดันจากสหรัฐและเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในการเมืองระหว่างประเทศ
๒. ปัญหาความมั่นคงภายในระหว่างประเทศในอาเซียน ได้แก่ ปัญหาการขัดแย้งในเรื่องพรมแดนระหว่างประเทศ ปัญหาทะเลจีนใต้ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน เช่น
ปัญหาแรงงานอพยพ การค้ามนุษย์ ปัญหาชนกลุ่มน้อย ปัญหาก่อการร้าย
ซึ่งปัญหาเหล่านี้กระทบไม่เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้นแต่ยังมีผลต่อความมั่นคงภายในของประเทศที่มีอาณาเขตติดกันอีกด้วยซึ่งจำเป็นที่ทุกชาติควรต้องร่วมมือกันจัดการปัญหาข้ามพรมแดนเหล่านี้
เช่น การสร้างความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย
ในกรอบความริเริ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative :LMI )
๓. ปัญหาภัยพิบัติของอาเซียน รายงานสถานการณภัยพิบัติประจําปีที่จัดทําโดยโครงการ International Strategy for Disaster Reduction ขององค์การสหประชาชาติ
ระบุว่าทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีประชากรได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุดโดยเฉพาะภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิในไทยและอินโดนีเซียเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๔๗ พายุไซโคลนนาร์กิสในพม่า มหาอุทกภัยในประเทศไทยเมื่อปี
๕๔ และพายุไห่เหยียนในฟิลิปปินส์ปี ๕๖ ซึ่งจากสภาวะโลกร้อนได้ทำให้ภัยพิบัติมีความรุนแรงและความถี่การเกิดมากขึ้นอีกทั้งการขยายตัวของประชากรและการเติบโตของเมืองในอาเซียนมีการขยายพื้นที่การตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าไปในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทำให้แนวโน้มความสูญเสียและการรับมือกับภัยพิบัติของอาเซียนมีความซับซ้อนและรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยซึ่งภัยพิบัติจะสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิต
ทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองดีขึ้น
นอกจากนี้ หากการจัดการภัยพิบัติของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของประชาชนได้แล้ว
เสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลย่อมถูกกระทบกระเทือนไปด้วย
สำหรับภัยคุกคามจากภัยพิบัติธรรมชาติซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีแนวโน้มการเกิด สูงขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นภัยคุกคามร่วมกันของประชาคมอาเซียนหรือ
Common Threat นั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับภัยความมั่นคงอื่นๆของอาเซียนอีกทั้งการที่อาเซียนร่วมมือกันในการจัดการภัยพิบัติจะสามารถสร้างสภาวะความไว้เนื้อเชื่อใจกันในระหว่างชาติอาเซียนซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาการแข่งขันกันซื้ออาวุธทางการทหาร(Armed
Race)ตามแนวคิด Balancing Power ได้และยังจะนำไปสู่การรวมกันเป็นกองกำลังอาเซียนเพื่อใช้ในการต่อรองและแก้ปัญหาจากอิทธิพลชาติมหาอำนาจและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆที่เกิดจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนได้เช่นกัน
และในโอกาสที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้๑๐ประเทศรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมอาเซียน(ASEANCommunity)ในปี
๕๘ เพื่อการส่งเสริมสันติภาพสันติสุขและความมั่นคงในภูมิภาคความตระหนักถึงผลกระทบของภัยพิบัติขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ของประชาคมอาเซียนนำไปสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน(ASEAN Agreement on Disaster
Management and Emergency Response, AADMER) เมื่อ ๒๖
มิถุนายน ๒๕๔๘ ซึ่ง AADMER เป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกและฉบับเดียวในโลกที่มีผลผูกพันประเทศที่เป็นภาคีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมโดยมีศูนย์ประสานงานการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียนหรือAHACentreทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานกลางในการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้นและเอกสารมาตรฐานวิธีการปฏิบัติและระบบเตรียมความพร้อมด้านการประสานงานการบรรเทาทุกข์และการตอบโต้สถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินของอาเซียนหรือSASOP(Standard Operating Procedure for
Regional Standby Arrangements and Coordination of Joint Disaster Relief and
Emergency Response Operations) เป็นแนวทางปฏิบัติ
แนวทางการปฏิบัติของชาติสมาชิกเมื่อเกิดภัยพิบัติ
ความร่วมมือทางทหารในการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน
สำหรับความร่วมมือทางทหารของอาเซียนด้านการบรรเทาภัยพิบัติ
ถือว่ามีความสำคัญโดยเป็นหัวข้อหลักในกรอบความร่วมมือกันด้านการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN
Political-Security Community)ซึ่งได้บรรจุไว้ในเวทีการประชุมรัฐมนตรี
การฝึกของกองทัพไทยในภารกิจด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR)
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเตรียมความพร้อมทั้งองค์วัตถุและองค์บุคคลของกองทัพไทยในการสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยและจัดการภัยพิบัติของรัฐบาลและภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงทั้งระดับอาเซียนและความร่วมมือกับนานาชาติ สำนักวางแผนการฝึกร่วมและผสม กรมยุทธการทหาร ซึ่งเป็นหน่วยหลักในระดับนโยบายด้านการฝึกของกองทัพไทย จึงได้นำแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย ระเบียบปฏิบัติ และหลักปฏิบัติประจำ (SOP) ภายใต้กรอบความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ นำมาใช้ในการจัดการฝึกและการเข้าร่วมการฝึกการบรรเทาสาธารณภัยและจัดการภัยพิบัติทั้งในและนอกประเทศซึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจประสบการณ์และเตรียมความพร้อมของกำลังพล เครื่องมือและยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ใช้ในการบรรเทาสาธารณภัยอันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันกับภาคพลเรือน รัฐบาล มูลนิธิ องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งจะเป็นการลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหากเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงเกิดขึ้นจริงดังจะเห็นได้จากการพัฒนาและยกระดับการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอาเซียนจากระดับทวิภาคีเป็นพหุภาคีโดยการฝึกเป็นการทบทวนขั้นตอน/วิธีการปฏิบัติในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของอาเซียนและมิตรประเทศ การทดสอบการใช้ขีดความสามารถทางทหารในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนด้านจัดการภัยพิบัติและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ AADMER การบูรณาการทรัพยากรและเครื่องมือที่มีอยู่ให้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมี กองทัพไทย ส่วนราชการ พลเรือน ภาคประชาสังคม ชาติในอาเซียน มิตรประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ UNOCHA , AHA Center , IFRC เข้าร่วมการฝึก เช่น การฝึกซ้อมการบรรเทาภัยพิบัติ ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี๕๖ (2013 ASEAN Regional Forum Disaster Relief Exercise :ARF DiRex) จ.เพชรบุรี การฝึกด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัยของอาเซียน ปี ๕๗ (ASEAN HADR Multilateral Exercise ) จ. ฉะเชิงเทรา และการฝึกทางทหารอาเซียนด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของอาเซียนและการฝึกแพทรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา(ASEAN
Defense Ministers Meeting: ADMM
– Plus) โดยล่าสุดได้มีการให้ความเห็นชอบการเป็นประธานร่วมของคณะทำงาน
ADMM – Plus ในวงรอบปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ ดังนี้
๑) ความมั่นคงทางทะเล (บรูไน, นิวซีแลนด์) ๒)
การแพทย์ทางทหาร (ไทย, สหพันธรัฐรัสเซีย) ๓) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
(กัมพูชา, สาธารณรัฐเกาหลี) ๔) การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ
(สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,ญี่ปุ่น)๕)การต่อต้านการก่อการร้าย(สิงคโปร์,ออสเตรเลีย)
และ ๖) ด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม,
สาธารณรัฐอินเดีย)ซึ่งจากแนวโน้มจากความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาภัยพิบัติที่ทุกชาติในอาเซียนเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้ทำให้กองทัพของประเทศสมาชิกอาเซียนต้องปรับบทบาทจากการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาอำนาจอธิปไตยมาสู่ความเป็นองค์กรสนับสนุนในการพิทักษ์รักษาชีวิต/ทรัพย์สินของประชาชนจากภัยธรรมชาติด้วยย์ทหาร(ASEAN Defense Ministers’ Meeting-Plus Humanitarian Assistance & Disaster Relief and Military Medicine Exercise (ADMM-PLUS HADR &
MM EX) ณ ประเทศบรูไน ทั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมของกองทัพชาติสมาชิกอาเซียนในการบรรเทาภัยพิบัติร่วมกันเมื่อเกิดสถานการณ์จริงซึ่งจะพัฒนาไปสู่การรวมกลุ่มเป็นกองกำลังอาเซียนด้าน HA/DR ในอนาคต
ภาพการฝึก ASEAN Defense
Ministers’ Meeting-Plus Humanitarian Assistance & Disaster Relief, Military Medicine Exercise (ADMM+ HADR & MM EX) or 2nd AHX Exercise ปี ๕๖ ณ ประเทศบรูไน
การเพิ่มบทบาทของกองทัพไทยในการปฏิบัติการร่วมนานาชาติเรื่อง HA/DR
กองทัพไทยส่งกำลังทางทหารในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติร่วมกับทหารมิตรประเทศและประเทศในอาเซียนเมื่อได้รับการร้องขอจากรัฐบาล
มี ๓ กรณีได้แก่
๑.ภัยพิบัติเกิดขึ้นในประเทศไทย
ในระดับ ๓-๔ ในกรณีที่รัฐบาลไทยตอบรับการให้ความช่วยเหลือของประเทศอาเซียน ชาติพันธมิตร
สหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศตามพันธกรณีและข้อตกลง
๒. ภัยพิบัติเกิดขึ้นในประเทศภูมิภาคอาเซียนโดยปฏิบัติตามข้อตกลง ADMEER
๓.
ภัยพิบัติเกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นและรัฐบาลสั่งการเช่นกรณีภารกิจด้านมนุษยธรรมในอิหร่าน
แนวทางการสร้างความร่วมมือทางทหารเพื่อนำไปสู่การเป็น HA/DR ASEAN Combined
Task Force[1]
นั้น
มีแนวคิดเริ่มจากการพัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างความสัมพันธ์เพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างกันในกลุ่มประชาคมอาเซียนก่อนโดยเริ่มจากการแลกเปลี่ยนการศึกษา
การแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกัน
การฝึกร่วม/ผสมทางทหารของกลุ่มประเทศอาเซียนไปจนถึงการปฏิบัติการทางทหารของชาติอาเซียนร่วมกันในพื้นที่เขตแดนของประเทศตนหรือพื้นที่รับผิดชอบ
เช่น การลาดตระเวนร่วมทางทะเล/ชายแดน การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
อันจะนำมาซึ่งความไว้วางใจกันจนเพิ่มระดับความร่วมมือจนนำไปสู่การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางทหารในกลุ่มประชาคมอาเซียนเพื่อการจัดตั้งกำลังเฉพาะกิจอาเซียนซึ่งควรจะเริ่มจากด้านHA/DRก่อนเนื่องจากเป็นภัยคุกคามร่วม (Common Threat) ของทุกประเทศและเพื่อการลดความหวาดระแวงระหว่างกันจนพัฒนาไปสู่กองกำลังเฉพาะกิจอาเซียนในการไปปฏิบัติภารกิจในด้านมนุษยธรรมการบรรเทาภัยพิบัติและการรักษาผลประโยชน์ของประชาคมอาเซียนเพื่อเพิ่มบทบาทการเมืองระหว่างประเทศของอาเซียนในเวทีโลกในอนาคต
ASEAN Combined Task Force ASEAN Combined Task Force
ภาพการสร้างความร่วมมือทางทหารเพื่อพัฒนาไปสู่ ASEAN
Combined Task Force
หลักพื้นฐานในการใช้กำลังทหารในภารกิจด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ[2]
หลักการในการใช้กำลังทหารในภารกิจ
HA/DR
เมื่อประเทศผู้ประสบภัยพิบัติ (Affected State)
ได้ตอบรับความช่วยเหลือประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ (Assisting State) โดยทั้งสองประเทศจะทำข้อตกลงในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติรวมทั้งจะจัดทำสถานะของกองกำลังในประเทศผู้ประสบภัยหรือ
SOFA สำหรับชาติในอาเซียนจะปฏิบัติตามข้อตกลง AADMER และแนวทางปฏิบัติใน SASOP
ทั้งนี้ทหารของชาติในอาเซียนมีบทบาทนำหลักในเรื่อง HA/DR โดยเป็นกลไกที่ทุกชาติในอาเซียนยอมรับความสำคัญ
เมื่อกองกำลัง
HA/DR
ของประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเข้าพื้นที่ภัยพิบัติ นอกจากปฏิบัติตามสถานะกองกำลังตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วยังต้องเคารพวัฒนธรรม
อำนาจอธิปไตย และปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายมนุษยธรรม กฎหมายและแผนบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติของประเทศที่ประสบภัย
โดยยึดถือหลักปฏิบัติพื้นฐานด้านมนุษยธรรม ได้แก่ หลักมนุษยธรรม
(Humanity) ความไม่ลำเอียง
(Impartiality) ความเป็นกลาง (Neutrality) และหลักพื้นฐาน Do Not Harm อย่างเคร่งครัด ตัวอย่างเช่นในเรื่อง การใช้ Force
Protection จะใช้ตำรวจหรือทหารของประเทศประสบภัยพิบัติรับผิดชอบดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของรถขนส่งยุทโธปกรณ์รวมทั้งท่าเรือ
ที่พักหรือแค้มป์ของประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อเข้าพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เรื่องการตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ประสบภัยต้องอยู่ในมาตรฐานสากลแล้วการใช้ยาต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยแพทย์ประเทศผู้ประสบภัยก่อนนำไปใช้กับผู้ประสบภัยสำหรับประเทศผู้ประสบภัยควรให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่กองกำลังของประเทศที่ให้ความช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดการสูญเสียชีวิตของผู้ประสบภัยซึ่งจะอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกหลังภัยพิบัติเกิดขึ้น
เช่น มาตรการศุลกากร(Custom) การเข้าเมือง (Immigration) การงดเว้นภาษี การสนับสนุนระบบขนส่ง การจัดตั้งศูนย์ประสานงานนานาชาติทั้งศูนย์ประสานงานทหาร-ทหารหรือ
MNCC (Multi National Coordination
Center) และศูนย์ประสานงานทหาร-พลเรือน Civil-Military
Coordination Center
(CMOC) เพื่อการประสานงานระหว่างประเทศผู้ประสบภัย
ประเทศให้ความช่วยเหลือ องค์กรระหว่างประเทศการทำแผนร่วม (Joint Plan) ในภารกิจช่วยผู้ประสบภัย งานมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติ
สำหรับทหารจะถูกกำหนดออกมาเป็นคำสั่งปฏิบัติการซึ่งจะมีแนวคิดการปฏิบัติแยกออกเป็นขั้นตั้งแต่ขั้นการเข้าประเทศผู้ประสบภัย ขั้นการเคลื่อนย้ายกำลังเข้าพื้นที่ภัยพิบัติ ขั้นปฏิบัติการ
ขั้นการส่งมอบภารกิจและขั้นกลับประเทศ
รูปแบบการปฏิบัติการของทหารในภารกิจด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ
ทหารควรจะปฏิบัติในลักษณะ Indirect
Support เช่น การส่งมอบอาหารและยาให้กับองค์กร UN หรือองค์กรช่วยเหลือของประเทศผู้ประสบภัยเพื่อนำส่งต่อผู้ประสบภัยพิบัติและการสนับสนุนในเรื่องการสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐาน(InfrastructureSupport)
สำหรับการช่วยในลักษณะ Direct Support เช่น การส่งมอบอาหารและยาผู้ประสบภัยโดยตรงนั้นจะขัดกับหลักการในเรื่อง Last Resort ทั้งนี้อาจจะกระทำได้หากเป็นการปฏิบัติร่วมกับทหารชาติที่ประสบภัยหรือได้รับการร้องขอการช่วยเหลือจากประเทศประสบภัย
ขีดความสามารถของกองทัพไทยในการปฏิบัติการร่วมกับนานาชาติในภารกิจ
HA/DR
กองทัพบก ด้านการสนับสนุนของทหารช่าง (Infrastructure
Support) เช่น สร้างสะพาน ถนน การค้นหาและช่วยชีวิตแบบ Urban
SAR และ Jungle SAR และภัยพิบัติที่มาจากสารเคมีรั่วไหล (Chemical Leakage)
กองทัพเรือ ในการปฏิบัติการนอกประเทศนั้น
กองทัพเรือมีเรือขนาดใหญ่ที่สามารถใช้เป็นฐานบัญชาการในการควบคุมบังคับบัญชาและการสื่อสาร
ขีดความสามารถด้านการเป็นเรือพยาบาล การอพยพและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เป็นฐานบินของเฮลิคอปเตอร์ และเป็นเรือขนส่งยุทโธปกรณ์ลำเลียงอาหารและเวชภัณฑ์สนับสนุนหน่วยช่วยเหลือด้านบรรเทาภัยพิบัติและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของกำลังกองทัพบกที่ไปปฏิบัติการบนบกได้เป็นอย่างดีทั้งนี้จากการที่เรือสามารถปฏิบัติการในทะเลได้นานทำให้กองทัพเรือมีขีดความสามารถในการดำรงอยู่ในสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติการที่ประสบภัยพิบัติในห้วงวิกฤติหลังภัยพิบัติซึ่งมีโรคระบาดและผลกระทบต่อเนื่องของภัยพิบัติ
เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ฝนตกหนัก พายุถล่มในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น ภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ
ในปี ๔๗ ทั้งนี้ล่าสุดกองทัพเรือได้ขึ้นระวางประจำการเรือหลวงอ่างทองในปี ๕๕ ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการช่วยเหลือประชาชนในการบรรเทาสาธารณภัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การขนส่งลำเลียงทางทะเล
เรือบัญชาการและฐานปฏิบัติการในทะเล
จึงเป็นเครื่องยืนยันขีดความสามารถรองรับภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัยนอกประเทศในภูมิภาคอาเซียนของกองทัพเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นแนวคิดการใช้กำลังทางเรือเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ทางเรือของสหรัฐ
จีน รวมไปถึงหลายชาติในอาเซียนซึ่งเห็นได้ชัดเจนในการที่สหรัฐ จีน สิงคโปร์ และมาเลเซียได้นำเรือเข้าร่วมการฝึกทางทหารอาเซียนด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติของอาเซียนที่ประเทศบรูไนในปี ๕๗ ที่ผ่านมา
กองทัพอากาศ ด้านการขนส่งลำเลียงทางอากาศ การแพทย์ทหาร การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ
นทพ.บก.ทท.ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากตึกถล่ม
การสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค
ภาพการฝึกซ้อมบรรเทาภัยพิบัติ
ทั้งนี้การปฏิบัติการในภารกิจ HA/DR ในการเข้าช่วยเหลือชาติในอาเซียน
ด้วยสภาวะแวดล้อมภัยพิบัติที่ต้องการการควบคุมในลักษณะ Secure and Control จากโรคติดต่อในพื้นที่ปฏิบัติการนั้น เห็นควรใช้ศักยภาพของทุกกองทัพให้เต็มที่โดยกองทัพบกเป็นกองกำลังหลักสนับสนุนด้วยกองทัพเรือ กองทัพอากาศในการลำเลียงหรือเป็นฐาน/ศูนย์บังคับบัญชา จึงจะสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงควรริเริ่มเน้นการฝึกHA/DR
ในเวทีการฝึกร่วมกองทัพไทยและการเข้าร่วมการฝึกร่วมนานาชาติเพื่อเตรียมความพร้อมกองทัพไทย
รูปแบบในการจัดตั้งกองกำลังอาเซียนด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ
(ASEAN
HA/DR Task Forces)
ด้วยแนวโน้มภัยพิบัติขนาดใหญ่ส่งกระทบต่อทุกชาติในอาเซียนดังนั้นทุกชาติในอาเซียนควรต้องปกป้องผลประโยชน์ร่วมโดยการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาถึงจะอยู่รอดและลดความสูญเสียต่อชีวิตผู้ประสบภัย
และผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมหภาคของอาเซียน จนไปถึงผลกระทบต่อผลประโยชน์หรือตลาดการค้าและฐานการผลิตของประเทศมหาอำนาจเช่น
จีน ญี่ปุ่น สหรัฐซึ่งเป็นคู่ค้าใหญ่ของอาเซียนซึ่งได้ทำให้ประเทศเหล่านี้ได้กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ในการให้ความช่วยเหลือด้าน HADR แก่ประเทศอาเซียน ทั้งนี้หากจะพิจารณาขีดความสามารถของกองทัพทุกชาติในอาเซียนโดยนำมารวมเป็นกองทัพอาเซียน
(ASEAN
Combined Task Force) เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาคมอาเซียนเองแล้ว
จะพบว่ากองทัพอาเซียนมีขีดความสามารถสูงในทุกมิติทั้งกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศอาเซียน
ซึ่งเพียงพอกับพื้นที่ปฏิบัติการในภูมิภาคและสามารถนำมาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ
การป้องปราม และต่อต้านภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆได้โดยเฉพาะภารกิจด้าน HA/DR
ได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันอาเซียนได้บรรจุความร่วมมือระหว่างกองทัพอาเซียนในเรื่อง
HA/DR ไว้ในการประชุม ASEAN Defense
Ministers’ Meeting-Plus (ADMM Plus) ซึ่งได้มีการพัฒนาการใช้ขีดความสามารถทางทหารร่วมกันผ่านการฝึกร่วมของอาเซียนเช่น
การฝึก Humanitarian Assistance & Disaster Relief ณ ประเทศบรูไน
และการฝึก
AHX14
ณ จว.ฉะเชิงเทราประเทศไทยซึ่งอันจะนำไปสู่การจัดตั้งระบบASEAN Stand- by Arrangement System และต่อยอดเป็น
ASEAN HA/DR Combined Task Forceในอนาคต
ความสำเร็จของการฝึกด้านการบรรเทาและจัดการภัยพิบัติ
AHX14
ณ ประเทศไทย
สรุปได้ว่าปัจจุบันกองทัพไทยมีความพร้อมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการรองรับภารกิจด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามกองทัพไทยควรต้องพัฒนากำลังพลที่จะเข้าไปปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศให้มีความเป็นมืออาชีพซึ่งหมายถึง
๑.
ทีมระดับยุทธวิธีมีประสบการณ์และขีดความสามารถในภารกิจ HA/DR
๒. ทีมวางแผนร่วมมีทักษะและความรู้ในการทำงานภายในศูนย์ประสานงานนานาชาติ (Multi
-National Coordination Center: MNCC) ซึ่งเน้นการปฏิบัติการร่วมทหาร
- ทหาร และงานการประสานการปฏิบัติร่วมกับศูนย์ประสานงานพลเรือน
- ทหาร (Civil-Military Coordination Center: CMCC) ซึ่งต้องมีความรู้ในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายด้านมนุษยธรรม เอกสารหลักปฏิบัติการร่วมนานาชาติที่กองทัพในอาเซียน
องค์กรระหว่างประเทศใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ASEAN SASOP, MNF SOP APC MADRO และ Oslo Guidelines ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายคือเครื่องมือ
ยุทโธปกรณ์และการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้กำลังพล
อ้างอิง
[1]
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.ทสส. กล่าวในพิธีเปิดการประชุม ผบ.ทร.อาเซียนครั้งที่ ๘ ว่าการประชุมในวันนี้
ถือเป็นส่วนหนึ่งในภาพรวมของกองทัพในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอนาคตจะมีการตั้งเป็นกองกำลังอาเซียนและการส่งกำลังไปรักษาสันติภาพแทนที่จะไปประเทศใดประเทศหนึ่งแต่เราจะรวมกันไป
ใครที่มีศักยภาพในด้านใดก็ส่งไปพร้อมกับตั้งเป็นหน่วยเฉพาะกิจอาเซียน
ซึ่งเราได้มีข้อตกลงกันระหว่างกองทัพในอาเซียน[2] เอกสารอ้างอิง
Asia-Pacific Regional
Guidelines For The Use Of Foreign Military Assets In Natural Disaster Response
Operations
Guidelines On The Use of Foreign Military and
Civil Defence Assets In Disaster Relief - “Oslo Guidelines”