วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กองทัพไทยกับการบรรเทาสาธารณภัย





กองทัพไทยกับการบรรเทาสาธารณภัย

โดย นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์  ศรีชุมพล



 ·    สถานการณ์และแนวโน้มภัยพิบัติ

         ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ภัยพิบัติขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ภัยพิบัติเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์ดีขึ้น นอกจากนี้ หากการจัดการภัยพิบัติของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของประชาชนได้แล้ว เสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลย่อมถูกกระทบกระเทือน

        แนวโน้มในอนาคต การเกิดภัยพิบัติและผลกระทบต่างๆ จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน นอกจากนั้นการขยายตัวของประชากรและการเติบโต    ของเมืองในช่วงที่ผ่านมา เป็นการขยายพื้นที่การตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจเข้าไปในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ ทำให้แนวโน้มความสูญเสียและการรับมือกับภัยพิบัติมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งในโลกเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิในไทยและอินโดนีเซียเมื่อปี ..2547 พายุไซโคลนนาร์กิสในพม่า การระเบิดของภูเขาไฟ "เมอราปิ" (Merapi) และแผ่นดินไหวในเมืองยอคยาการ์ต้าและบันดุงของอินโดนีเซีย พายุไต้ฝุ่นในเวียดนามและฟิลิปปินส์  สำหรับประเทศไทยในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาต้องประสบกับภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้นที่สำคัญ ได้แก่

ก)  กรณีการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ ปี ๒๕๔๗ พิบัติภัยจากคลื่นสึนามิเมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ถือเป็นภัยธรรมชาติร้ายแรงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยได้รับ โดยมีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ รองจากประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา และอินเดีย โดยมีผู้เสียชีวิต ,๓๐๙ คน สร้างความเสียหายกับทรัพย์สินต่างๆ ทั้งอาคาร โรงแรมขนาดใหญ่ ที่พักนักท่องเที่ยวประเภทบังกะโลและเกสต์เฮาส์ ร้านค้าและร้านอาหาร บริเวณชายหาด บ้านเรือนของราษฎรที่มีอาชีพทางการประมง ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่ประสบภัย ยานพาหนะ เรือประมง และเรือของหน่วยงานราชการ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคของท้องถิ่น เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และถนน คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท และยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนชายฝั่งเป็นวงกว้าง ได้แก่ ปะการังใต้น้ำ ป่าชายเลน แนวชายหาด และบริเวณปากแม่น้ำ

ข)  กรณีสถานการณ์มหาอุทกภัย   อุทกภัยในประเทศไทยเมื่อ ๒๕๕๔ เป็นเหตุการณ์เกิดน้ำท่วมในประเทศไทยหนักที่สุดในรอบสิบปี เนื่องจากมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่ามีพื้นที่ประสบอุทกภัย มีจังหวัดประสบภัย ๓๙ จังหวัด ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ,๐๓๘,๒๔๘ คน ผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย ๑๘๐ ราย ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการราว ,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ล้านบาท พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า . ล้านไร่

·         ความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน

         ในโอกาสที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๑๐ ประเทศ จะรวมกลุ่มกันเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี ๕๘ เพื่อการส่งเสริมสันติภาพ สันติสุขและความมั่นคงในภูมิภาค ความตระหนักถึงผลกระทบของภัยพิบัติขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ของประชาคมอาเซียน ภายหลังจากที่ภูมิภาคอาเซียนได้ถูกคลื่นสึนามิในปี .. ๒๕๔๘ ซึ่งสร้างความเสียหายและความสูญเสียอย่างร้ายแรงในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ประเทศไทยและพม่า นำไปสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response, AADMER) เมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ ซึ่ง AADMER เป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกและฉบับเดียวในโลกที่มีผลผูกพันประเทศที่เป็นภาคีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม สาระสำคัญของ AADMER คือการกำหนดกรอบความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียนในลักษณะครบวงจรของการบริหารจัดการภัยพิบัติครอบคลุมทั้งในยามปกติ ก่อนเกิดภัย (การกำหนดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การป้องกัน การเตรียมความพร้อม) ในขณะเกิดภัย (การตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์) ภายหลังเกิดภัย (เช่นการบูรณะฟื้นฟู) ตลอดจนความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถ โดยมีศูนย์ประสานงานการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียนหรือ AHA Centre ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานกลางในการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้น และเอกสารมาตรฐานวิธีการปฏิบัติและระบบเตรียมความพร้อมด้านการประสานงานการบรรเทาทุกข์และการตอบโต้สถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินของอาเซียน หรือ SASOP (Standard Operating Procedure for Regional Standby Arrangements and Coordination of Joint Disaster Relief and Emergency Response Operations) เป็นแนวทางการปฏิบัติของชาติสมาชิกเมื่อเกิดภัยพิบัติ

·    ความร่วมมือทางทหารในการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน

            สำหรับความร่วมมือทางทหารของอาเซียนด้านการบรรเทาภัยพิบัติ ถือว่ามีความสำคัญโดยเป็นหัวข้อหลักในกรอบความร่วมมือกันด้านการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community) ซึ่งได้บรรจุไว้ในเวทีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน" หรือ ADMM (ASEAN Defense Ministers Meeting) และ "การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา" หรือ ADMM-Plus 8 ประเทศ คือ สหรัฐฯ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย ทั้งนี้ผลการประชุม ADMM – Plus ล่าสุดได้มีการให้ความเห็นชอบการเป็นประธานร่วมของคณะทำงาน ADMM – Plus ในวงรอบปี ๒๕๕๗ ๒๕๕๙ ดังต่อไป ) ความมั่นคงทางทะเล (บรูไน, นิวซีแลนด์) ) การแพทย์ทางทหาร (ไทย, สหพันธรัฐรัสเซีย) ) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (กัมพูชา, สาธารณรัฐเกาหลี) ) การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ญี่ปุ่น) ) การต่อต้านการก่อการร้าย (สิงคโปร์, ออสเตรเลีย) และ ) ด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, สาธารณรัฐอินเดีย) ซึ่งเห็นได้ว่าการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief - HADR) ยังคงมีความสำคัญโดยเป็น ใน ของความร่วมมือหลัก

         จากแนวโน้มจากความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาภัยพิบัติที่ทุกชาติในอาเซียนเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้ทำให้กองทัพของประเทศสมาชิกอาเซียนปรับบทบาทจากการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาอำนาจอธิปไตย มาสู่ความเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากภัยธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาและยกระดับการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอาเซียนจากระดับทวิภาคีเป็นพหุภาคี เช่น การฝึกร่วมผสมกองทัพไทยและกองทัพมาเลเซีย (Joint Combined Exercise Thailand and Malaysia การฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยไทย-กัมพูชา การฝึกร่วมบรรเทา        สาธารณภัยของกองทัพอาเซียน ประเทศบรูไน และการฝึกด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัยของอาเซียน (ASEAN  HADR Multilateral Exercise)  ประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมของกองทัพชาติสมาชิกอาเซียนในการบรรเทาภัยพิบัติร่วมกันเมื่อเกิดสถานการณ์จริง ซึ่งจะพัฒนาไปสู่แนวคิดการรวมกลุ่มเป็นกองกำลังอาเซียนด้าน HA/DR ในอนาคต ซึ่งหลายชาติได้ริเริ่มนำเสนอแนวคิดนี้แล้วในเวทีการประชุมต่างๆ เช่น กองทัพอินโดนีเซียนำเสนอแนวคิดการใช้ทรัพยากรและศักยภาพทางทหารอาเซียนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ

·    การจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย

จากแนวโน้มของการเกิดสาธารณภัยมีความถี่ความรุนแรงและซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความสูญเสียจากสาธารณภัยน้อยที่สุด โดยมุ่งสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน ทำให้การบริหารจัดการสาธารณภัยเปลี่ยนทิศทางจากเดิมที่เน้นเรื่อง บรรเทาและปฏิบัติการ (Relief and Response)” ไปเป็น ลดผลกระทบและเตรียมพร้อม (Mitigation and Preparedness)” การพัฒนาการจัดการสาธารณภัยจึงปรับเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติการในเชิงรุก (Proactive Approach) กล่าวคือจะต้องปฏิบัติการอย่างครบวงจร โดยเน้นไปที่การป้องกัน/การลดผลกระทบ (Prevention and Mitigation)และการเตรียมความพร้อม (Preparedness) ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาก่อนการเกิดสาธารณภัยควบคู่ไปกับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเกิดสาธารณภัย และการฟื้นฟูบูรณะ (Rehabilitation and Reconstruction) ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาหลังการเกิดสาธารณภัย ทั้งนี้แนวคิดนี้ได้บรรจุอยู่ในนโยบายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติโดยเชื่อมโยงกับแผนอื่นๆ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งภายใต้แผนและนโยบายจะมีความสัมพันธ์กัน

·    บทบาททหารในการบรรเทาสาธารณภัย

       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..๒๕๕๐ มาตรา๗๗รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เอกราชอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งเขตอํานาจรัฐและต้องจัดให้มีกําลังทหารอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจําเป็นและเพียงพอเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นทหารจึงมีหน้าที่ในการสนับสนุนรัฐบาลในเรื่องการจัดการภัยพิบัติและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งแผนต่างๆของกองทัพไทยนอกจากจะกำหนดตามแนวคิดการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยข้างต้นแล้วยังยึดถือ ...ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ..๒๕๕๐ และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  ..๒๕๕๓ ๒๕๕๗  ซึ่ง มี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักซึ่งได้กำหนดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยออกเป็น

ระดับ ภัยทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก : ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยท้องถิ่น รับผิดชอบ

ระดับ ภัยขนาดกลาง : ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด รับผิดชอบ

ระดับ   ภัยรุนแรงกว้างขวาง/ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ  : ผู้อำนวยการกลาง หรือ ผู้บัญชาการ

ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (รมว.มท.) รับผิดชอบ

ระดับ ภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ

โครงสร้างการจัดการสาธารณภัยกองทัพไทยสนับสนุนแผนบริหารจัดการสาธารณภัยไทย


   ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ  จะทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการในเรื่องการสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยและจัดการภัยพิบัติ โดยสั่งการใช้กำลังทหารของหน่วยกำลังในพื้นที่ ได้แก่ ทัพภาค ทัพเรือภาค และหน่วยบิน ทั้งนี้แผนระดับปฏิบัติจะยึดถือแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม พศ.๒๕๕๔ ซึ่งจัดทำขึ้นในกรอบยุทธศาสตร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติและบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดและ ผู้บัญชาการทหารในพื้นที่ ซึ่งได้แบ่งการปฏิบัติออกเป็น ขั้น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
๑)   การปฏิบัติของหน่วยทหารก่อนเกิดภัย เตรียมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยการการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวัง การฝึกอบรมและฝึกร่วมกับฝ่ายราชการและพลเรือน การทบทวนแผนการปฏิบัติซึ่งรวมไปถึงการประสานกับฝ่ายพลเรือนในการจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการอพยพและการจัดเตรียมกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ระบบสื่อสารในยามฉุกเฉิน
๒) การปฏิบัติของหน่วยทหารในขณะเกิดภัย โดยมีการปฏิบัติตามระดับความรุนแรงดังนี้
          .) การปฏิบัติในระดับความรุนแรงของภัยพิบัติขั้น - เป็นการสนับสนุนหน่วยงานราชการและฝ่ายพลเรือนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของกองทัพไทยจะมีการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมกำลังพลยุทโธปกรณ์ให้พร้อมสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีเมื่อระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น และประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยใกล้ชิด
           .) การปฏิบัติในระดับความรุนแรงของภัยพิบัติขั้น กองทัพไทยและเหล่าทัพจะสั่งการให้หน่วยในพื้นที่ที่จัดกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และเครื่องมือต่าง เข้าปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องโดยประสานการปฏิบัติและทำงานร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและมูลนิธิเอกชนในพื้นที่และรายงานให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของกองทัพไทยรับทราบเพื่อเตรียมการสนับสนุนหากทรัพยากรและ    กำลังพลไม่เพียงพอ
           .) การปฏิบัติในระดับความรุนแรงของภัยพิบัติขั้น ภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง   ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี) จะออกคำสั่งจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยซึ่งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของกองทัพไทยจะทำหน้าที่สนับสนุนอย่างใกล้ชิด โดยจะสั่งการแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบให้กับหน่วยขึ้นตรงในการเข้าช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยให้กับประชาชนในพื้นที่วิกฤติอย่างรวดเร็วซึ่งจะลดการสูญเสียชีวิตของประชาชนในช่วงภัยพิบัติรุนแรงได้อย่างมากรวมทั้งการปฏิบัติงานร่วมกับฝ่ายทหารต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่รัฐบาลอนุมัติให้เข้ามาปฏิบัติการทางด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในประเทศไทย
๓) การปฏิบัติของหน่วยทหารหลังเกิดภัยพิบัติ  การฟื้นฟูบูรณะผู้ประสบภัยและโครงสร้างพื้นฐานเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายพลเรือน โดยมีกรมบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยปฏิบัติ สำหรับทหารให้การสนับสนุนส่วนราชการตามที่ได้รับการร้องขอ

·    การฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมของกองทัพไทย

      เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเตรียมความพร้อมทั้งองค์วัตถุและองค์บุคคลของกองทัพไทยในการสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยและจัดการภัยพิบัติของรัฐบาล และภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงทั้งระดับอาเซียนและความร่วมมือกับนานาชาติ สำนักวางแผนการฝึกร่วมและผสม กรมยุทธการทหาร ซึ่งเป็นหน่วยหลักในระดับนโยบายด้านการฝึกของกองทัพไทย จึงได้นำแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย ระเบียบปฏิบัติ และหลักปฏิบัติประจำ (SOP) ภายใต้กรอบความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ นำมาใช้ในการจัดการฝึกและการเข้าร่วมการฝึกการบรรเทาสาธารณภัยและจัดการภัยพิบัติทั้งในและนอกประเทศซึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์และเตรียมความพร้อมของกำลังพล เครื่องมือและยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ใช้ในการบรรเทาสาธารณภัยอันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันกับภาคพลเรือน รัฐบาล มูลนิธิ องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหากเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงเกิดขึ้นจริง สรุปการฝึกของกองทัพไทยในปีงป. ๕๖-๕๗ ในด้านการบรรเทาสาธารณภัย ได้ดังนี้

๑)   การฝึกซ้อมบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ (Crisis Management Exercise : CMEX 13)สภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบ จัดขึ้นที่ .ระยอง โดยการฝึกเป็นการทดสอบแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวง ๑๗ ด้าน แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ในการบริหารวิกฤตการณ์ และทดสอบศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
๒)การฝึกบรรเทาสาธารณภัยร่วม  นายกรัฐมนตรี ได้กรุณาสั่งการให้กองบัญชาการกองทัพไทยรับผิดชอบจัดการฝึกการบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับส่วนราชการ พลเรือนและภาคประชาสังคม โดยการฝึกเป็นการบูรณาการแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยต่างๆ การฝึกเน้นทดสอบขีดความสามารถความพร้อมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางทหารในการสนับสนุนรัฐบาลในภัยพิบัติความรุนแรงระดับ -  
๓)  การฝึกซ้อมการบรรเทาภัยพิบัติ ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum Disaster Relief Exercise 2013) ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีกองทัพไทยรับผิดชอบการฝึก FTX และ CPX การฝึกมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติและการบูรณาการเครื่องมือที่มีอยู่ให้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันพัฒนาระเบียบปฏิบัติประจำสำหรับการประสานงานการบรรเทาภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินร่วมกันในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดย ๑๗ ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการฝึก
๔) การฝึก ASEAN  HADR Multilateral Exercise  (AHEx 14)  จัดขึ้นที่ .ฉะเชิงเทรา โดยกองทัพไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับกองทัพมาเลเซีย การฝึกนี้เป็นการขยายกรอบจากการฝึกร่วม/ผสม ไทย - มาเลเซีย จากทวิภาคีเป็นพหุภาคีกับประเทศอาเซียนและมิตรประเทศ โดยการฝึกเป็นการทบทวนขั้นตอน/วิธีการปฏิบัติในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของอาเซียนและมิตรประเทศ การทดสอบการใช้ขีดความสามารถทางทหารในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนด้านจัดการภัยพิบัติและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ AADMER และการบูรณาการทรัพยากรและเครื่องมือที่มีอยู่ให้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมี กองทัพไทย ส่วนราชการ พลเรือน ภาคประชาสังคม ชาติในอาเซียนและมิตรประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย สหรัฐฯ องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ UNOCHA , AHA Center , IFRC เข้าร่วมการฝึก
๕) การฝึกร่วมผสมไทย-กัมพูชา (Thai –  Cambodia Joint and Combined Exercise  2012)  กองทัพไทยเป็นเจ้าภาพ โดยเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันของประเทศในอาเซียนการฝึกประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกภาคสนาม โครงการช่วยเหลือประชาชนและการสาธิตเครื่องมือในการช่วยเหลือภัยพิบัติ ผู้เข้าร่วมการฝึกและผู้สังเกตการณ์จากชาติในอาเซียน รวมทั้งสิ้น ๑๓๐ คน
๖) การฝึกนอกประเทศ ได้แก่ การฝึกทางทหารอาเซียนด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของอาเซียน (ASEAN Militaries Humanitarian Assistance and Disaster Relief Exercise: AHX) และ การฝึก The ASEAN Defence  Ministers’ Meeting-Plus Humanitarian Assistance & Disaster Relief and Military Medicine Exercise (ADMM-PLUS HADR & MM EX) จัดขึ้นที่ประเทศบรูไนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับวิธีการหลักปฏิบัติด้านการบรรเทาและจัดการภัยพิบัติ การแพทย์ทางทหารของอาเซียน และการจัดทำระเบียบปฏิบัติประจำในการใช้ขีดความสามารถทางทหารเพื่อสนับสนุนด้านมนุษยธรรม การบรรเทาภัยพิบัติ และการแพทย์ทหาร ภายใต้กรอบความตกลงของ AADMER ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเทศคู่เจรจาในกรอบความร่วมมือ ADMM-PLUS รวม ๑๘ ประเทศ สำหรับกองทัพไทยประกอบกำลังเป็นหน่วยเฉพาะกิจการฝึก AHX มี ผู้อำนวยการสำนกนโยบายและแผนการฝึกร่วมผสม  กรมยุทธการทหาร เป็นผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึก ๑๔๙ นาย    
  บทสรุปผู้บริหาร

           แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์และภัยพิบัติจะมีมากขึ้นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นแต่รวมไปถึงกลุ่มประเทศอาเซียนและทั่วโลกด้วย ปัญหาในเรื่องการจัดการภัยพิบัติเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการบูรณาการทุกภาคส่วนหรือการผนึกกำลังกัน ทั้งนี้บทเรียน    ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแม้จะสร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศไทย แต่เราก็ได้เรียนรู้ที่จะเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะกองทัพไทยซึ่งมีเครื่องมือยุทโธปกรณ์ กำลังพล และพาหนะทางทหารที่มีขีดความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติต่างๆได้รวดเร็วและความสามารถที่จะดำรงขีดความสามารถหน่วยในพื้นที่เสี่ยงภัย (Mobility and Survivability) จากประสบการณ์ในเรื่องการบรรเทาสาธารณภัยที่กองทัพไทยได้รับในช่วงวิกฤตการณ์ภัยพิบัติของไทยและการส่งกำลังเข้าร่วมช่วยเหลือชาติประสบภัยในภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่างๆ ไปจนถึงการฝึกร่วมและผสมในเรื่อง HA/DRทั้งในและต่างประเทศ และการมีแผนงานระดับกองทัพที่ชัดเจนสอดคล้องกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ทำให้ปัจจุบันกองทัพไทยมีความพร้อมในการสนับสนุนรัฐบาลในเรื่องการบรรเทาสาธารณภัยได้เป็นอย่างดี ตลอดจนถึงการปฏิบัติการร่วมนานาชาติภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆซึ่งจะเป็นการลดความหวาดระแวงและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติและสร้างชื่อเสียงภาพลักษณ์ของประเทศไทยได้อย่างดี
________________________________

บทความล่าสุดที่เผยแพร่

การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องด้วยหลักการอิทธิบาทสี่

  การแขวนพระตามพื้นดวงเกิดและการเร่งพุทธคุณพระเครื่องที่แขวนประจำตัวด้วยหลักการอิทธิบาทสี่ นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา ความนอบน้อมของข้าฯ จ...

บทความที่ได้รับความนิยม