กองทัพไทยกับภารกิจผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพในอาเจะห์
(เขียนลงบันทึกความทรงจำปี ๔๖ หลังจากร่วมพิธีรับเหรียญด้านมนุษยธรรม
ณ สถานทูตอินโดนีเซีย/กรุงเทพฯ)
โดย นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล สำนักวางแผนการฝึกร่วมและผสม
กรมยุทธการทหาร
ทำหน้าที่ Field
Monitor การปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่อาเจะห์
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากองทัพไทยได้มีการจัดส่งกำลังพล
นายทหารสัญญาบัตรจากเหล่าทัพไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพของสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ
เช่น อังรีดูนังต์เซนเตอร์ (Henry Dunant Center : HDC) ในประเทศต่าง ๆ เช่น เซียร์ราลีโอน อิรัก อัฟกานิสถาน
ติมอร์และที่ล่าสุดคือ จังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
ดังนั้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้เข้าใจบทบาทหนึ่งของทหารไทยในการสนับสนุนนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ
และให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการจะสอบไปในตำแหน่งผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพ
ผมจึงขอใช้บทความนี้บอกเล่าประสบการณ์ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในคณะผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพใน อาเจะห์
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป
ภาพ: การเรียกร้องกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
ในช่วง ๔-๕
เดือนที่ผ่านมาข่าวคราวของรัฐบาลอินโดนีเซียได้เป็นข่าวใหญ่ในระดับนานาชาติเนื่องจากวันที่
๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การ
อังรีดูนังต์เซนเตอร์ (HDC) นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ตัวแทนของรัฐบาล อินโดนีเซีย (RI: Republic of Indonesia) และขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ หรือขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh
Movement) ได้เจรจาตกลงกัน โดยมีตัวแทนประเทศสหรัฐ ธนาคารโลก และญี่ปุ่น ร่วมเจรจาด้วยจนประสบความสำเร็จ โดยมีการลงนามข้อตกลง หยุดยิงเพื่อยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันที่เรียกว่า
Cessation of Hostilities Framework Agreement Between Government of
Indonesia and the Free Aceh Movement ที่มีการต่อสู้มายาวนานกว่า
๒๖ ปี
ภาพ: การลงนามสัญญาสันติภาพที่ทำเนียบรัฐบาลฟินแลนด์ ที่สโมลนา (Smolna)
กรุงเฮลซิงกิ ๑๕ ส.ค. ๒๕๔๘
เมื่อ
พ.ศ.๒๕๔๕ เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนของ Independence
Crisis Group เปิดเผยว่าในในช่วง ๒๖ ปี ที่ผ่านมา
มีประชาชนในจังหวัดอาเจะห์ เสียชีวิตไปแล้วประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน เฉลี่ย ๓ คน/วัน ประเทศไทยในฐานะที่ได้รับเชิญโดย HDC และรัฐบาลอินโดนีเซีย ให้ส่งนายทหารสัญญาบัตรเข้าปฏิบัติภารกิจในคณะผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพ
ใน จังหวัดอาเจะห์ จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าภารกิจครั้งนี้จะประสบความสำเร็จเหมือนกับภารกิจติมอร์หรือไม่
ภาพ: การเรียกร้องกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์
ยก.ทหาร
ได้มีหนังสือด่วนที่สุด เรื่องการพิจารณาคัดเลือกและจัดส่ง
บุคลากรทางทหารเข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพ
ในจังหวัด อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
นายทหารสัญญาบัตรชั้นยศ ร.อ.- พ.ต./นต. ๑๙ นาย
ไปปฏิบัติหน้าที่คณะผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพ ในจังหวัดอาเจะห์ ทั้งนี้การเข้าปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์เป็นการปฏิบัติการครั้งแรก
ตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงเพื่อยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างตัวแทนของรัฐบาล
อินโดนีเซียและขบวนการอาเจะห์เสรี
จากสถานการณ์รุนแรงที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่ปฏิบัติการนั้นเป็นพื้นที่ทางบกและพื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในลักษณะของการเฝ้าตรวจและสังเกตการณ์
โดยไม่ติดอาวุธนอกจากนี้ ประชาชนทั้ง ๒ ฝ่าย ส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
ผู้ที่เข้าปฏิบัติหน้าที่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์ในการปฏิบัติการในสนามทั้งทางบกและทางทะเล
และหากเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามหรือมีความรู้ภาษาอินโดนีเซียก็จะมีความเหมาะสมเป็นพิเศษ
ผู้เขียนนับว่าโชคดีอย่างมากที่กรมกำลังพลทหารเรือได้เปิดรับสมัครคัดเลือกนายทหารสัญญาบัตร
เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ผู้สังเกตการณ์รักษา
สันติภาพในจังหวัดอาเจะห์ อินโดนีเซีย ในตำแหน่ง Field Monitor ในชุดที่ ๒ โดยรับสมัครนายทหารสัญญาบัตรชั้นยศ
ร.อ.-น.ต. จากหน่วยต่าง ๆ ของ ทร. โดยไม่จำกัดพรรคเหล่าทำให้รอบนี้มีผู้สมัครมืออาชีพมาสอบ คัดเลือกกันมาก
ซึ่งผลการสอบคัดเลือกในรอบสุดท้าย ที่ บก.ทท นั้น ปรากฏผลว่าในตำแหน่ง Field
Monitor ๑๘ คน
มีข้าราชการจาก ทร. สอบได้ ๔ คน จาก ทบ. ๗ คน และจาก ทอ. ๖ คน
โดยผู้เขียนมีคะแนนอยู่ในระดับที่ ๒ ของทุกเหล่าทัพ โดยที่ ๑ เป็นผู้สมัครจาก ทบ.( เสธ.ฯ)
ดังนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ ผู้เขียน
จึงขอแบ่งบทความนี้ออกเป็น ๔ ตอน คือ
ตอนที่
๑ ประวัติความเป็นมาและปัญหาของจังหวัดอาเจะห์
ตอนที่
๒ ภารกิจของทหารไทย
ตอนที่
๓ ประสบการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
ตอนที่
๔ บทสรุป
ตอนที่ ๑
ประวัติความเป็นมาและปัญหาของจังหวัดอาเจะห์
จังหวัดอาเจะห์ (Aceh)
เป็น ๑ ใน ๓๐ จังหวัด ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษของ อินโดนีเซีย
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือเกาะสุมาตรา ห่างจากภาคใต้ตอนล่างประมาณ ๓๐๐ ไมล์ทะเล
มีพื้นที่ประมาณ ๕๕,๓๙๐ ตาราง กิโลเมตร
มีเกาะน้อยใหญ่อยู่ในเขตปกครองถึง ๑๑๙ เกาะ โดยเฉพาะเกาะ Sabang ที่เลื่องชื่อเรื่องทิวทัศน์และปะการัง มีทะเลสาบ ๒ แห่ง นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ซึ่งประกอบด้วยทองคำ
แพลทินัม เหล็ก ดีบุก โมลิบดีนัม ยางพารา กาแฟ ไม้ซุง น้ำมัน
และก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสินค้าส่งออก อันดับ ๑ ของโลก
อาเจะห์ต้องการแยกตัวออกจากประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากขาดการเหลียวแล จากรัฐบาล
นอกจากนั้นยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแบ่งสรรรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่รัฐบาลควบคุม
เพื่อนำมาพัฒนาจังหวัดอาเจะห์ในด้านความเป็นอยู่
ดังนั้นชาวอาเจะห์จึงมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี มีโรงพยาบาลไม่กี่แห่ง บุคลากรทางการแพทย์มีน้อย ยามีราคาแพงมาก
และระบบสาธารณูปโภคก็ไม่ได้มาตรฐาน
ถึงแม้ว่าน้ำมันที่ใช้ในจังหวัดอาเจะห์จะมีราคาถูกกว่าน้ำดื่ม แต่ก็มีคุณภาพต่ำ
ทำให้เกิดมลพิษควันเสียทั่วเมือง ถ้าศึกษาจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
จะเห็นว่าอาเจะห์เคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองสุดขีดในยุคเก่าแก่หลายร้อยปี นักประวัติศาสตร์ระบุว่าศาสนาอิสลาม
เริ่มเผยแพร่เข้าสู่หมู่เกาะอินโดนีเซียหรือภูมิภาคนี้ เมื่อประมาณ ค.ศ.๗๐๐
โดยผ่านจังหวัดอาเจะห์ อาณาจักรอิสลามแห่งแรก มีชื่อว่า เปอร์ลัก (อาเจะห)์
และเป็น เมืองท่าสำคัญ นับเป็นศูนย์กลางการค้า
ในภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีดและมีอิทธิพลในยุคของสุลต่าน อิสกันดาร์ (ค.ศ.๑๖๐๗
- ๑๖๓๖) หลังจากนั้นก็เสื่อมลง ในที่สุดอาเจะห์ก็ถูกยึดครอง
ตกเป็นเมืองขึ้นของชาวเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๓
ภาพ General Kohler, commandant of
Dutch troops, died after shot by Acehnese sniper during first aggression to
Aceh
ต่อมาใน
ค.ศ.๑๙๔๒ ชาวอาเจะห์จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับชาวเนเธอร์แลนด์
โดยร่วมกับประเทศอินโดนีเซีย จนประสบความสำเร็จ โดยอดีตประธานาธิบดี ซูการ์โน
ได้สัญญาที่จะให้ สิทธิ์ในการปกครองตนเองแก่ชาวอาเจะห์ แต่ก็ไม่ได้ให้เอกราชแก่อาเจะห์
จนดินแดนอาเจะห์กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียจนถึงปัจจุบัน
การต่อสู้ยุคใหม่เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙
หรือ ๒๗ ปีมานี้ โดยขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ หรือขบวนการอาเจะห์เสรี
หรือในภาษาอาเจะห์ ก็คือ GAM: Geraken Aceh Merdeka ได้ดำเนินการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล
แม้ในสมัยของนาย BJ Habibie ได้มีการถอนทหารจำนวนมากออกจากจังหวัดอาเจะห์
แต่แนวนโยบายยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในปี ค.ศ.๑๙๙๙ ประชาชนชาวอาเจะห์ที่ถูกสงสัยว่าเข้าร่วมขบวนการยังคงถูกสังหารและถูกจับกุมจำนวนมาก
ทั้งนี้ได้มีความพยายามขององค์กรระหว่างประเทศในการพยายามยุติความรุนแรงโดยใช้การเจรจาหลายครั้งแต่ล้มเหลวมาแล้วกว่า
๑๕ ครั้ง จนในครั้งนี้องค์กรอังรีดูนังต์ (Henry Dunant Center) ได้เข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยทั้ง ๒ ฝ่าย
โดยเชิญที่ปรึกษาระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลทางการทหารและการทูตในภูมิภาค ได้แก่
สหรัฐ ฯ ธนาคารโลก ญี่ปุ่น และไทยเข้าร่วมเจรจาด้วยจนประสบความสำเร็จและได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันที่เรียกว่า Cessation of Hostilities Framework
Agreement Between Government of Indonesia and the Free Aceh Movement เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ที่สำนักงานใหญ่ ขององค์การอังรีดูนังต์ (HDC)
นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
โดยสันติภาพในอาเจะห์ต้องอาศัยการยินยอมพร้อมใจของ ทั้ง๒ ฝ่าย
ในการร่วมมือปฏิบัติตามข้อตกลง เนื่องจากไม่มีอำนาจของสหประชาชาติ โดยตามข้อตกลงของทั้ง
๒ ฝ่าย เห็นพ้องกันที่จะจัดการเลือกตั้งใน ค.ศ.๒๐๐๔ โดยให้หน่วยงานระหว่างประเทศเข้าไปดูแลการหยุดยิงและวางอาวุธของฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์
และประเทศอินโดนีเซียต้องยินยอมให้อำนาจปกครองตนเอง
รวมถึงอำนาจในการจัดการทรัพยากรน้ำมันของอาเจะห์
ขณะที่กองทัพอินโดนีเซียจะต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่
ปรับยุทธวิธีจากการรุกเป็นการรับ โดยเฉพาะตำรวจพิเศษ BIMOB จะแปรสภาพเป็นตำรวจปกติจากข้อตกลงดังกล่าวรัฐบาลอินโดนีเซีย
และ HDC ได้เชิญไทยและฟิลิปปินส์เข้าร่วมในคณะ ผู้สังเกตการณ์รักษาสันติภาพในอาเจะห์
โดย HDC ได้ จัดตั้งกองบัญชาการร่วมรักษาความปลอดภัย (JSC
: Joint Security Committee) ที่เมืองหลวง
คือเมืองบันดาร์ อาเจะห์ โดยมีธนาคารโลก สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
ร่วมให้ทุนบูรณะจังหวัดอาเจะห์
ตอนที่
๒ ภารกิจของทหารไทย
ทหารไทยชุดแรก จำนวน ๔๖ คน
เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ที่จังหวัดอาเจาะห์ เมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕
ร่วมกับนายทหารฟิลิปปินส์จำนวน ๘ คน โดยแผนปฏิบัติการกระบวนการสันติภาพและยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันมีกำหนด
๑๘ เดือน ต่อจากนั้นจะเป็นการเลือกตั้งภายใต้กฎหมายของประเทศอินโดนีเซีย ใน
ค.ศ.๒๐๐๔ โดยฝ่ายไทยได้ตั้งกองบัญชาการร่วมรักษาความปลอดภัยอาเจะห์
ที่เมืองบันดาห์อาเจะห์ และเป็นหน่วยบัญชาการของทหารไทยทั้งหมดที่มาปฏิบัติภารกิจ
โดยมีหน้าที่ประสานกับหน่วยขึ้นตรง คือ กองบัญชาการกองทัพไทยดูแลความเป็นอยู่สวัสดิการและความปลอดภัยของทหารไทยที่เข้าไปปฏิบัติ
หน้าที่ในแต่ละตำบลทั้ง ๘ ตำบล โดยมี พลตรี ทนงศักดิ์ ตุวินันท์
เป็นประธานคณะกรรมการร่วมรักษาความปลอดภัย พันเอก ชัยวัฒน์ สะท้อนดี เป็นเสนาธิการร่วม พันโท รณรงค์ กันตวัฒน์ ดูแลเรื่องสวัสดิการ ร่วมกับ พันเอก นภดล มังคลทน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้เข้าใจในศัพท์และคำย่อที่ใช้
จึงขออธิบายในส่วนที่สำคัญ ดังนี้
๑) HDC
(Henry Dunant Center) เป็นองค์กรเอกชน สำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา
สวิตเซอร์แลนด์
๒) JSC
(Joint Security Committee) : คณะกรรมการความปลอดภัยร่วม
ประกอบด้วยกำลังพลจาก ๓ ฝ่าย ได้แก่
ผู้แทนรัฐบาลอินโดนีเซีย ผู้แทนขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ และผู้แทนนานาชาติที่เป็นกลางซึ่งจัดจากประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์
และแบ่งกำลังออกเป็นทีมย่อย JSC เพื่อลงปฏิบัติงานในพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดอาเจะห์ใน
๘ ตำบล รวม ๘ ทีม ทั้งนี้การจัดกำลังจัดกำลังพลจาก ๓ ฝ่ายเช่นเดียวกันโดยผู้แทนจากชาติที่เป็นกลางจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีม
ซึ่งทั้ง ๗ ตำบล มีหัวหน้าสถานีเป็นทหารไทยและ ๑ ตำบลมาจากผู้แทนฟิลิปปินส์
๓)
TMT(Triparties Monitoring Team) คณะตรวจสอบร่วม ๓ ฝ่ายคือ ตัวแทนของ JSC ที่ประกอบกำลังเป็นทีมย่อยของ
JSC ลงปฏิบัติในพื้นที่ทั่วจังหวัดอาเจะห์ใน ๘ ตำบล จำนวน ๘
ทีม โดยประกอบกำลัง จาก ๓ ฝ่ายได้แก่ ผู้แทนทหารและตำรวจของรัฐบาลอินโดนีเซีย ผู้แทนฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์
และจากนานาชาติที่เป็นกลางซึ่งจะทำหน้าทีเป็นหัวหน้าทีมโดยมี ๗ ตำบล
และมีหัวหน้าสถานีเป็นทหารไทย ส่วนอีก ๑ ตำบล เป็นทหารฟิลิปปินส์
๔)
COHA ( Cessation Of Hostilities
Agreement ) เป็นข้อตกลงหยุดยิงที่ลงนามร่วมกันระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย
และฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ เมื่อ ๙ ธ.ค. ๒๕๔๕ ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การอังรีดูนังต์ นครเจนีวา ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ โดยมี Amb.Mr.S. Wiryono จากรัฐบาลอินโดนีเซีย
และ DR. Zaini Abdullah จากขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ และ MR.Martin
Griffiths จาก HDC โดยมี ๙ บท ดังนี้
บทที่ ๑ กล่าวถึงจุดประสงค์ของ COHA
คือข้อตกลงหยุดยิง หยุดการละเมิดมนุษยธรรมสร้างสันติภาพและ
นำความสงบสุขมาสู่จังหวัดอาเจะห์
บทที่ ๒ กล่าวถึงการปฏิบัติต่าง ๆ
ของทั้ง ๒ ฝ่าย เพื่อบรรลุจุดประสงค์ ร่วมกันในข้อตกลง
บทที่ ๓ หน้าที่และองค์ประกอบของ JSC
บทที่ ๔
การจัดตั้ง Peace Zone และข้อปฏิบัติของทั้ง
๒ ฝ่าย ในพื้นที่ ภายใต้การสังเกตการณ์ของ TMT
บทที่ ๕
แผนงานและระยะเวลาในการปฏิบัติงานทั้ง ๓ ช่วงของการปฏิบัติ
บทที่ ๖ การสนับสนุนงานตามข้อตกลงของทั้ง
๒ ฝ่าย
บทที่ ๗
การติดต่อสื่อสารและการจัดตั้งหน่วยให้ข่าว (Public Information
Unit)
บทที่ ๘ Joint Council ได้แก่ตัวแทนของทั้ง ๒ ฝ่าย
และ HDC กับการแก้ปัญหาที่เหนือขอบเขตของ JSC
บทที่ ๙
การยกเลิกข้อตกลงโดยในรายละเอียดกล่าวว่าทั้ง ๒ ฝ่าย
สามารถยกเลิกข้อตกลงได้โดยต้องส่งเหตุผลหรือปัญหาให้กับ Joint
Council เพื่อรับทราบและแก้ไขภายใน ๓๐ วัน
ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็สามารถยกเลิกข้อตกลงได้
๕) SOMA
: Status of Mission Agreement เพื่อให้ข้อตกลงหยุดยิงของ ทั้ง ๒
ฝ่าย เป็นผลสำเร็จ ฝ่ายรัฐบาล อินโดนีเซีย และฝ่ายขบวนการแบ่งแยก ดินแดนอาเจะห์
ได้เสนอให้ HDC ดำเนินการจัดตั้งภารกิจรักษาสันติภาพในจังหวัด
อาเจะห์ ชื่อว่า HDC Aceh Monitoring Mission หรือ HAMM
โดยมี ๙ บท ได้แก่
บทที่ ๑-๓ กล่าวถึงทีม TMT
จัดจากไทยและฟิลิปปินส์ โดย JSC มีสิทธิพิเศษในการคุ้มครองคล้ายกับสิทธิการทูตในการคุ้มครองทรัพย์สิน
เอกสาร การติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ
จะล่วงละเมิดไม่ได้และสามารถเดินทางเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ทั่วจังหวัดอาเจะห์ได้
บทที่ ๔ ชุดปฏิบัติงาน TMT
บัตรแสดงตน และการห้าม TMT พกอาวุธระหว่างปฏิบัติหน้าที่
บทที่
๕ ความรับผิดชอบของรัฐบาลอินโดนีเซียในการรักษาความปลอดภัยให้กับบุคลากรของ JSC
บทที่ ๖ สิทธิพิเศษในการคุ้มครองบุคคล
ทรัพย์สิน เอกสาร การติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จะไม่คุ้มครองบุคคลที่แสวงหาผลประโยชน์จากสิทธิพิเศษและกระทำผิดต่อกฎหมายอินโดนีเซีย
บทที่ ๗ หน้าที่ของรัฐบาล
อินโดนีเซียในการจัดหาที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับ JSC
บทที่ ๘ Joint Council ได้แก่ตัวแทนของทั้ง ๒ ฝ่าย และ HDC กับการแก้ปัญหาที่เหนือขอบเขตของ JSC
บทที่
๙ การยกเลิกข้อตกลงโดยในรายละเอียดกล่าวว่าทั้ง ๒ ฝ่าย
สามารถยกเลิกข้อตกลงได้โดยต้องส่งเหตุผลหรือปัญหาให้กับ Joint
Council เพื่อรับทราบและแก้ไขภายใน ๓๐ วัน
ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็สามารถยกเลิกข้อตกลงได้
โครงสร้างของ
The
HDC Aceh Monitor Mission
Joint Council
Joint Security Committee (JSC )
Monitoring Team Secretarial
Public Information Unit
หมายเหตุ Secretarial เป็นฝ่ายสนับสนุนงาน ของ JSC ด้านธุรการ การเงิน
และการส่งกำลังบำรุงต่าง ๆ
Public Information Unit เป็นฝ่ายให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์
แผนงานของ JSC
ตามข้อตกลง COHA แบ่งเป็น
๓ ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ ๑ หลังจากทั้ง ๒ ฝ่าย
ลงนามข้อตกลงหยุดยิงใน ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ จะใช้ระยะเวลา ๓
เดือน ในการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของ ทั้ง ๒ ฝ่าย และกำหนด Peace
Zone
ช่วงที่ ๒ ใช้ระยะเวลา ๕ เดือน
โดยเปิด Peace
Zone แปรสภาพกำลังฝ่ายรัฐบาลจากฝ่ายรุกเป็นฝ่ายรับ มีการ
ปรับเปลี่ยนกำลัง ได้แก่ ตำรวจพิเศษ BIMOB ที่ติดอาวุธปืนยาวก็เปลี่ยนมาเป็นปืนสั้นและปรับเปลี่ยนเป็นตำรวจบ้าน
มีการ Relocation กองกำลังรัฐบาลกลับ ที่ตั้งปกติ
การเปลี่ยนสภาพจาก Strike Force เป็น Defense Force สำหรับ Peace Zone จะต้องไม่มีการปฏิบัติการทางทหารใด
ๆ ยกเว้นการปฏิบัติในการสอบสวนของตำรวจตามขั้นตอนของกฎหมายเท่านั้น ส่วนฝ่าย GAM
จะต้องวางอาวุธร้อยละ ๑๐ ในพื้นที่ลับที่ทราบเฉพาะ HDC ที่เจนีวา
และการสร้างความสงบสุขในจังหวัดอาเจะห์เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใน พ.ศ.๒๕๔๖
ช่วงที่ ๓
การดำรงสภาพปกติเพื่อเตรียมการไปสู่การเลือกตั้ง
ทีมผู้สังเกตการณ์
TMT
(Tri-Parties
Monitoring Team) ประกอบกำลังจาก ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล อินโดนีเซีย
ฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ และฝ่ายนานาชาติซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าทีม ใน ๘
ตำบล คือ
๑. ทีมTMTตำบล Banda Aceh เขต Great Aceh
๒. TMT Sigli เขต Pidie
๓. TMT Birun เขต North Aceh
๔. TMT Lhoksamawe เขต North Aceh
๕. TMT Langsa เขต North Aceh
๖. TMT Takengon เขต West Aceh
๗. TMT Tapaktuan เขต South Aceh
ทีมแต่ละตำบล
ทั้ง ๘ ตำบล จะประกอบด้วยกำลังพล ดังนี้
ก) ฝ่าย
International
Representative (ทหารไทยเป็นหัวหน้าชุด) จำนวน ๖ คน
ข) ฝ่าย
GAM
Representative จำนวน ๖ คน
ค) ฝ่าย
RI
Representative จำนวน ๖ คน
ง) ฝ่าย
Interpreters
จำนวน ๓ คน (แต่ละคนต้องสามารถใช้ ๓ ภาษาได้แก่ ภาษาอาเจะห์
ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย
และภาษาอังกฤษ)
จ) พนักงานขับรถ
จำนวน ๗ คน
ฉ) Officer
Manager จำนวน ๑ คน
ช) Secretary
จำนวน ๑ คน
หลักปฏิบัติประจำวัน
(รปจ.)ของ ๘ สถานี
เริ่มปฏิบัติงานเวลา ๐๘๓๐ - ๒๐๐๐ ตั้งแต่วันจันทร์ –
วันเสาร์และมีการจัดแบ่งองค์กรในส่วนงานปฏิบัติการหน้าที่ประจำวัน ดังนี้
ก) หัวหน้าทีม (Team
Leader)
ข) นายทหารยุทธการ (Operation
Officer)
ค) *นายทหารเวรประจำวัน
(Duty
Officer)
ง) *นายทหารส่งกำลังบำรุง
(Logistics
Officer)
จ) *นายทหารรวบรวมข้อมูล
(Information
Officer)
ฉ) นายทหารการเงิน (Finance
Officer)
ช) รองตัวแทนฝ่าย GAM
(Deputy Representative of GAM)
ซ) รองตัวแทนฝ่ายรัฐบาล
(Deputy
Representative of RI)
ฌ) นายทหารธุรการ (Duty
Admin)
ญ) คนขับรถประจำวัน (Duty
Driver)
ฎ) ล่ามประจำวัน (Duty
Interpreter)
งานและรายงานสำคัญที่ต้องทำเป็นประจำมีดังนี้
ก) การตรวจสอบแผนการเดินทางเบื้องต้น
(Pre
- departure Checklist)
ข) รายงานประจำวัน (Daily
Report Format)
ค) แผนการทำงานประจำสัปดาห์
(Weekly
Forecast)
ง) รายงานเหตุการณ์สำคัญประจำวัน
(TMT
Incident and Violation Report)
จ) แผนในการรับเจ้าหน้าที่ทีมที่กลับจากภารกิจ
(Mission
Personal Arrival Procedure)
ฉ)
แผนเดินทางออกไปปฏิบัติงานในทางสอบสวนและยืนยันคดี
(HAMM Journey Management Plan)
ช) แผนด้านการเงินและธุรการ
(Finance
and Admin Plan)
ซ) แผนการส่งกำลังบำรุงและธุรการ
(Logistic
and Admin Plan)
ฌ) การประเมินความเสี่ยงของเหตุการณ์ในพื้นที่และการปฏิบัติงาน
(Risk
Assessment Matrix)
ญ) ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
(Action
On)
ฎ) *การตรวจสอบสถานภาพของอุปกรณ์
ประจำทีม (District HQ Equipment Accounting Register)
ฏ) ตรวจสอบยารักษาโรคและอุปกรณ์ทางการแพทย์
(Medical
Pack Drugs Information Sheets)
ฐ) รายงานประจำสัปดาห์ (Weekly
Reporting Matrix)
ฑ) การตรวจสอบสรุปสถานการณ์ประจำวันจากกองบัญชาการ
(HQ
Daily Reverse SitRep)
งานที่ปฏิบัติในแต่ละวัน
เริ่มจากการรับคดีต่าง ๆ ที่มีผู้มาแจ้งที่สำนักงาน JSC
หลังจากล่ามที่ประชาสัมพันธ์สอบถาม
ในเบื้องต้นว่าคดีอยู่ในการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง COHA หรือไม่
(COHA ใน Annex JSC Sanction) ลงนามเมื่อ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕
กำหนดไว้มี การข่มขืน การทรมาน การทำลายทรัพย์สิน การเผา การปล้นชิงทรัพย์
การขู่เข็ญกรรโชก การเก็บค่าคุ้มครอง การคุกคามขู่ การลักพาตัว การกวาดหา (Sweep) การซุ่มโจมตี การยิง การฆ่า การล่อลวง การเรียกค่าไถ่ การระเบิด
การข่มขู่พยาน) มีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น นำพยานหรือจดหมายรับรองจากผู้นำหมู่บ้านมายืนยัน
หลังจากนั้น ทีมที่เป็นชุดสัมภาษณ์ที่มีตัวแทนทั้ง ๒ ฝ่าย และชาติเป็นกลาง
ก็จะสัมภาษณ์ โดยมีหัวหน้าชุดซึ่งเป็นคนไทย ทำหน้าที่เป็นผู้นำรับผิดชอบในคดี
โดยต้องยึดหลักการเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปข้างหนึ่งข้างใด ยุติธรรม ยึดในหลักการ เหตุผล
หลักฐาน กล้าตัดสินกล้าในความเป็นจริงโดยไม่เกรงกลัวอิทธิพล
คือกล้าที่จะประเมินระหว่างความเสี่ยง การเอาตัวรอด
และการทำหน้าที่ด้วยความถูกต้อง โดยรักษา เกียรติศักดิ์ของตน
เพราะตัวแทนจะไม่มีอาวุธ ติดตัว และต้องเดินทางเข้าไปยืนยันคดี
ในพื้นที่อิทธิพลทั้ง ๒ ฝ่าย
การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนหน้านั้นหาได้เพียงคำตอบของทีมงานเท่านั้น
ฝ่ายที่มีอิทธิพลในพื้นที่จะค้ำประกันเพียงคำว่า "
ผมรับรองครับว่าปลอดภัย" แค่นั้นเอง ทีมปฏิบัติงานจะไว้ใจได้แค่ไหน
หรืออาจแค่ลูกปืนเพียง ๑ นัด ซึ่งก็ไม่รู้ว่าฝ่ายไหน หลังจากสัมภาษณ์เรียบร้อย
ก็ต้องให้ทั้ง ๒ ฝ่าย หาข้อมูล โดยติดต่อไปยังหัวหน้าในพื้นที่เพื่อหาความจริง
จากหลักฐานที่นำมาประกอบเพิ่มเติม เป็นความเห็นของทั้ง ๒ ฝ่าย ในรายงาน TMT
Incident and Violation Report และ Daily Report Format ลงนาม ๓ ฝ่าย นำเสนอ JSC (Joint Security Committee) ที่เมืองบันดาห์อาเจะห์ เพื่อรอการให้ออกยืนยันคดีในพื้นที่จริงต่อไป
หลักการสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์
Complainer
มีดังนี้
๑.
หลังจากสัมภาษณ์เบื้องต้นโดยล่ามที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ได้นั้นจะนำมาเตรียมการสัมภาษณ์
โดยหาข้อมูลสำคัญในพื้นที่ของคดีนั้น เช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน การข่าว
จากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์และเตรียมคำถาม
๒.
เตรียมห้องสัมภาษณ์ แจ้งลูกทีม (ตัวแทนฝ่ายละ ๑ คน) และล่าม
เข้าร่วมสัมภาษณ์และทำคดีเสนอ JSC
๓. เริ่มสัมภาษณ์ตามขั้นตอน
๓.๑
กล่าวต้อนรับทั้ง ๓
ภาษา แนะนำหน้าที่อำนาจ JSC และทีมสัมภาษณ์
๓.๒
ยืนยันอำนาจในการคุ้มครอง
Complainer
และพยานตามข้อตกลง COHA
๓.๓
ขอตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชน
๓.๔ สัมภาษณ์ Step
by Step โดยใช้หลัก Neutral, Authoritative, Receptive,
Enquiring, Compassionate, Articulate, Friendly ดังนั้น ชื่อ Complainer
พยานคือใคร When เกิดเมื่อไร How อย่างไร Reason เหตุผล Detail เหตุการณ์
มีใครได้รับบาดเจ็บหรืออันตราย หรือถูกละเมิดตามข้อตกลง การแต่งกาย อาวุธที่ใช้
เป็นต้น
Diagram
ของการทำคดีมี ดังนี้
JSC Violation and Sanction Procedure เป็นข้อตกลงลงนามในที่ประชุมตัวแทนสูงสุดทั้ง ๓ ฝ่าย ใน JSC เพื่อใช้ตัดสินคดีต่าง ๆ ที่ทาง District TMT ทำเสนอขึ้นมาและใช้เป็นกลไกในการทำให้ฝ่ายรัฐบาล
และฝ่ายแบ่งแยกดินแดนปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงโดยมี ๓ ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ Information
Management Committee (IMC) จะส่งคดีให้ TMT แต่ละตำบลเพื่อออกไปยืนยันคดี
หาหลักฐาน เพิ่มเติมในสถานที่เกิดเหตุในพื้นที่รับผิดชอบ
ขั้นตอนที่ ๒ TMT
แต่ละตำบลจะออกไปยืนยันคดีหา
หลักฐานเพิ่มเติมในสถานที่เกิดเหตุในพื้นที่รับผิดชอบ และ ทำรายงานกลับไปให้ IMC
โดย IMC จะตรวจสอบและส่งคดีให้กับ JSC
Verification Committee ประเมินวิเคราะห์แยกประเภทคดี
ถ้าเป็นการละเมิดข้อตกลงขั้นรุนแรงจึงจะส่งคดีให้ JSC Senior Envoy
Committee เพื่อตัดสิน
ขั้นตอนที่ ๓ JSC
Senior Envoy Committee ซึ่งประกอบด้วย Envoy ทั้ง
๒ ฝ่าย จะร่วมกันพิจารณาคดีเพื่อตัดสินและส่งผลไปให้ Public Information
Unit ลงผลตัดสินและเผยแพร่ใน Media ต่าง ๆ
แผนเดินทางเข้าพื้นที่ปฏิบัติการหรือ
Journey
Management Plan ก่อนการออกพื้นที่ไปยืนยันคดีหรือหาหลักฐาน
จะต้องมีการซักซ้อมความเข้าใจของลูกทีม คนขับรถและล่าม ตามหัวข้อสำคัญ ๆ ดังนี้
๑) ประเภทและรายละเอียดของคดีนั้นพร้อมด้วยการข่าวในด้านต่าง
ๆ
๒) บรรยายเรื่องการติดต่อสื่อสารกับหน่วยต่าง
ๆ การตรวจสอบสภาพ และจัดผู้ที่ รับผิดชอบอุปกรณ์โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม และ GPS
ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบอุปกรณ์โทรศัพท์ผ่านดาวเทียมต้องคอย Radio
Check กับหน่วยตลอดเวลา
๓) จัดเตรียมกระเป๋าปฐมพยาบาลเบื้องต้นและอาหาร
๔) บรรยายแผนที่
เส้นทางกำหนดจุดนัดพบกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
๕)
อบรมคนขับรถในเรื่องความปลอดภัย
เช่น ต้องคอย Standby ที่รถ
ตลอดเวลาพร้อมที่จะออกรถได้ทันที ตรวจสอบใต้ท้องรถเรื่องระเบิด จะต้อง
หันหัวรถออกถนนใหญ่ทุกครั้ง สัญญาณระหว่างรถในขบวนเพราะมีข้อบังคับว่า จะไปทำคดีหรือออกนอกที่ตั้งทุกครั้งจะ ต้องใช้รถ ๒ คัน
ทีม ๒ ทีม เพื่อคอย ช่วยเหลือกัน
๖) จำนวนคนที่ไป
และหน้าที่ รับผิดชอบในเรื่องคดี
๗)
คำนวณระยะทางเวลาและ
เบิกค่าใช้จ่าย กรณีไปทำคดีและต้อง ค้างนอกพื้นที่
ตอนที่
๓ ประสบการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
เรื่องราวต่อไปนี้บันทึกจากประสบการณ์จริง
ที่ผู้เขียนได้เข้าไปปฏิบัติภารกิจโดยมีความ
ตั้งใจอย่างมากที่จะหาโอกาสใช้ความรู้ที่มีอยู่หลากหลาย นำมาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาในพื้นที่ปฏิบัติงานจริงที่มีอันตราย
และมีความเสี่ยงสูง เพื่อสร้างภาวะผู้นำ ความเชื่อมั่น
และเป็นการทดสอบใจตนเองอีกทั้งยังต้องการมีประสบการณ์ชีวิตแบบผู้ชาย ชาติทหาร
เหมือนอย่างที่เพื่อนของผู้เขียน น.ต.ประทีป อนุมณี
พรรคนาวิกโยธินที่ได้ไปปฏิบัติภารกิจในภาคใต้และประสบเหตุถูกยิงที่ศีรษะบาดเจ็บสาหัสนับเป็นความภาคภูมิใจ
ของผู้เขียนและของรุ่นในความกล้าหาญและความเป็นนักรบของเพื่อน เนื่องจากผู้เขียนนั้น เป็นนายทหารพรรคนาวิน
จึงแทบจะไม่มีโอกาสเหมือนนายทหารพรรคนาวิกโยธินที่จะไปปฏิบัติภารกิจในสนามจริงๆ
"พวกบุ๋นเรียนมาความรู้ท่วมหัวจะเอาตัวรอดหรือเปล่า หรือพวกบู้ผ่านการฝึกติดเครื่องหมายเต็มอกก็ไม่สู้เท่ากับเจอเหตุการณ์จริง ทหารอาชีพต้องทำได้อย่างที่ขงเบ้งกล่าว
"รู้จริง รบได้จริง" แม้ภารกิจนี้
ลักษณะในการปฏิบัติการจะไม่เหมือนการปฏิบัติทางทหาร เช่น การออกปฏิบัติราชการชายแดน
การประกอบกำลังยุทธวิธี และเทคนิค ทางการปฏิบัติการทหารต่าง ๆ
แต่ในเรื่องการวางแผนทางทหารในด้านต่าง ๆ เช่นยุทธการ การข่าว และการสื่อสาร
ได้นำมาใช้จริงในภารกิจ เป็นการนำความรู้และประสบการณ์มาปฏิบัติจริง
ไม่ใช่เพียงอยู่ในตำรา การตัดสินใจจึงมีความเสี่ยงต่ออันตรายเท่าเทียมกัน
โดยเฉพาะภารกิจนี้ไม่สามารถมีอาวุธไว้ป้องกันตัวและตำบลที่ผู้เขียนปฏิบัติงานยังมีการสู้รบกันอยู่
ดังนั้นการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ของผู้เขียน
นอกจากปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว
ยังเป็นการอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติในเหตุการณ์หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเพื่อทดสอบตนเอง
เพื่อรักษาความปลอดภัยของลูกทีม รวมทั้งยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการปฏิบัติราชการต่อไป
อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ทาง HDC และรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียขอให้รัฐบาลไทยส่ง
นายทหารร่วมคณะผู้สังเกตการณ์การรักษาสันติภาพ ที่เมืองอาเจะห์เพิ่มเติมประกอบกับ
รัฐบาลฟิลิปปินส์มีปัญหาภายในประเทศไม่สามารถส่งนายทหารฯ ได้ครบตามจำนวนและ
ขณะเดียวกับเหตุการณ์ในเมืองอาเจะห์ โดยรอบเริ่มดีขึ้น การละเมิดมนุษยธรรมลดลงกว่า
๘๐% จึงเป็นการเร่งด่วนของกองทัพไทยในการจัดนายทหารเข้าร่วมภารกิจ ดังนั้นหลังจากที่ทราบว่าได้รับการคัดเลือกก็เหลือเวลาไม่กี่วันในการเตรียมตัว โดยนอกจากของส่วนตัว อาหารแห้ง มุ้ง
และรองเท้าบูตแล้วที่สำคัญคือ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยเฉพาะยารักษาโรคท้องถิ่น
ซึ่งได้แก่ มาลาเรีย ส่วนเครื่องแบบทาง HDC จัดให้
นอกจากนั้นยังต้องเข้าอบรมเบื้องต้นที่ บก.ทท. เกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป
การข่าว ความเป็นมา ประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา
โดยถือว่าทหารไทยที่เข้าไปปฏิบัติ ภารกิจนั้น
เป็นกลไกสำคัญในบทบาทระหว่างประเทศของไทย การปฏิบัติภารกิจถ้าบกพร่อง
ก็อาจจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นับว่าเป็นเกียรติประวัติในฐานะนายทหารเรือไทยตัวแทนกองทัพไทยคนหนึ่งเป็นความภูมิใจที่ได้มีโอกาสและความตั้งใจที่จะทุ่มเท
ต่อการปฏิบัติภารกิจอย่างดีที่สุด ภารกิจนี้ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
และประสบการณ์ ตลอดจนความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ไหวพริบ ปฏิภาณ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการอดทนต่อสภาพกดดันอีกทั้งยังต้องกล้าแสดงออกให้เห็นถึงภาวะผู้นำและการ
ตัดสินใจ
ในวันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
เที่ยวบิน TG403 ก็พาคณะ ฯ รวม ๑๙ คนโดยมี พ.อ.นภดลฯ เป็นหัวหน้าชุด
ออกเดินทางจากประเทศไทยบินตรงไปประเทศมาเลเซียและ บินต่อไปเมืองเมดาน
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย พัก ๑ คืน เพื่อบินตรงต่อไปเมืองอาเจะห์ เมื่อถึงท่าอากาศยาน มี พล.ต.ทนงศักดิ์ ฯ
ซึ่งทำหน้าที่เป็น Senior Envoy พร้อมสื่อมวลชนใน ประเทศและนอกประเทศจำนวนมากมาคอยทำข่าว
ก่อนที่จะเข้าที่พักโรงแรมสุลต่านเพื่ออบรมก่อนจะส่งกำลังพลลงพื้นที่
ภาพ Banda Aceh's
Grand Mosque
วันรุ่งขึ้นก็เริ่มอบรมเพื่อเตรียมชุด TMT เข้าไปเสริมชุดเดิม หัวข้ออบรมเป็นเรื่องสรุปสถานการณ์ในพื้นที่ข้อตกลง
หลักปฏิบัติ การรายงาน ลักษณะงาน
ระเบียบ เทคนิคการ สัมภาษณ์
การแก้ปัญหาการ ปฐมพยาบาล
การติดต่อสื่อสาร การใช้อุปกรณ์สื่อสาร คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม GPS
สุดท้าย คือ การแบ่งกลุ่มทีม TMT โดยดูความเหมาะสมและความสมัครใจ สำหรับผู้เขียนเลือกไปปฏิบัติงานในเมือง Tapaktuan
ซึ่งเป็นชนบทอยู่ไกลที่สุด
ด้วยเหตุผลลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ป่าเขา ติดชายทะเล และนิสัยของคนท้องถิ่นคล้ายทาง
๔ จังหวัดภาคใต้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์กับกองทัพเรือได้ (ผู้เขียน:เขียนก่อนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้ในปี
๔๗) และเนื่องจากเพื่อนและรุ่นน้อง SEAL ทั้ง ๒ คน
มีฝีมือที่เชื่อถือได้เต็ม ๑๐๐ % จากผลการปฏิบัติงานของทีม Tapaktuan ซึ่งมีทั้ง ๓ เหล่าทัพ ไม่ มีปัญหาภายในทีม ทั้ง ๓ ฝ่าย
สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างดีเยี่ยม และมีความสามัคคี
สำหรับความสัมพันธ์กับผู้นำ ทั้ง ๒ ฝ่ายในพื้นที่เป็นไปด้วยดี มีการเข้าไปคารวะ มีงานเลี้ยง
งานมวลชนสัมพันธ์
และมีการเข้าไปร่วมกิจกรรมท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน
ซึ่งสังเกตได้ตอนที่กองกำลัง ฯ ต้องถอนตัวกลับมาที่เมืองบันดาห์อาเจะห์นั้น
คงมีแค่ทีม South Aceh ทีมเดียวที่ทีมสาธารณรัฐอินโดนีเซียมาเยี่ยมและยอมมาพักที่โรงแรมร่วมกันกับฝ่ายแบ่งแยกดินแดน
แต่ผลที่ต้องกลับมาก่อนนั้น เนื่องจากเป็นปัญหาในระดับบนที่ทีมไม่สามารถแก้ไขได้
ทีม Field Monitor ตำบล Tapaktuan ใส่เสื้อพื้นเมืองร่วมพิธีรดน้ำ พลตรี
ทนงศักดิ์ ตุวินันท์ ประธานคณะกรรมการร่วมรักษาความปลอดภัย (Joint Security
Council: JSC) เนื่องในวันสงกรานต์ไทย
ในที่สุดวันเคลื่อนกำลังลงพื้นที่ก็มาถึงหลังจากการเกิดเหตุการณ์ที่
Central
Aceh โดยชาวบ้าน ประมาณ ๔,๐๐๐ คน
รวมตัวมาเรียกร้องให้ JSC (Joint Security Committee) นำเงิน ของชาวไร่กาแฟ ที่ถูกฝ่าย
GAM เรียกเงินค่าคุ้มครองนับล้านรูเปียส และมีการบังคับให้ JSC
แก้ไขปัญหาโดยการนำเงินมาคืน
เหตุการณ์เริ่มบานปลายจนตำรวจคุมไม่อยู่ ชาวบ้าน
เริ่มทำการทำลายทรัพย์สินและเผาสำนักงาน
อีกทั้งยังจับสมาชิก TMT ฝ่าย GAM มารุมซ้อมและกระทืบจนปางตาย ๑ คน
สำหรับคนอื่นโดนลูกหลงบาดเจ็บ จนกระทั่งกำลังทหารมาเพิ่มเติม
ตำรวจจึงคุมสถานการณ์ไว้ได้จากการประเมินสถานการณ์ของทีมไทยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ยังไม่น่าเกิดกับสถานีอื่น นายทหารยุทธการที่รับผิดชอบแผนการส่งกำลังพล ของ TMT
ไปประจำเพิ่มเติมในแต่ละตำบลทั้ง ๘ ตำบล จึงได้อนุญาตเคลื่อนกำลังสำหรับ ทีม South
Aceh จะเดินทางไปกับทีม West Aceh ผู้เขียนได้ออกเดินทางในเวลา
ประมาณ ๐๘๓๐ ถึงสถานี West Aceh เมือง Malabour เวลา ๑๔๐๐ พัก ๒๐ นาที ก็ต้องรีบออกเดินทาง โดยมีรถประจำสถานี South
Aceh เดินทางมารับครึ่งทางที่สถานี West Aceh เมือง
Malabour เหตุผลที่ผู้เขียนต้องรีบออกเดินทาง
เพราะไม่ต้องการเดินทาง ตอนมืด เนื่องจากเส้นทางขึ้นเขาแคบและมี เหวตามทางโค้ง จากการข่าวที่ทราบมาก่อนคือ
ยังมีการซุ่มโจมตีฝ่ายรัฐบาลตลอด ๒ ข้างทางบนเขา แม้จะเดินมากับฝ่าย GAM และฝ่ายรัฐบาลที่เป็นทีม TMT ก็อาจมีการเข้าใจผิดกันได้
เพราะเวลามืดไม่รู้ใครเป็นใคร แต่คนขับรถที่ผู้เขียนโดยสารมาด้วยแม้จะตาเหล่แต่เก่งมากสามารถมาถึงสถานี
JSC เมือง Tapaktuan ได้ก่อนมืดวันรุ่งขึ้นผู้เขียนก็เริ่มงานโดยมีการแนะนำตัวและศึกษางานเกี่ยวกับการจัดองค์กร
หน้าที่ รับผิดชอบ โดยประกบกับทีมอื่นที่เป็นทีมประจำวันเข้าไปสังเกตการณ์สัมภาษณ์และเข้าร่วมปฏิบัติงานทันที
การปฏิบัติงานในระยะแรกนั้นเป็นช่วงที่การดำเนินการในข้อบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย
รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และองค์กรอังรีดูนังต์เซนเตอร์ยังไม่เสร็จสิ้น
ดังนั้นจึงยังไม่มีการประกันชีวิต อีกทั้ง ICRC (องค์กรช่วยหลือผู้ประสบภัยทางสงคราม)
ได้ระบุชัดเจนถึงผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เมือง
Tapaktuan ว่าถ้าประสบอันตราย
บาดเจ็บสาหัส ICRC จะรับผิดชอบผู้ป่วยในกรณีที่ต้องพาผู้ป่วยไปรักษาพยาบาลที่เมือง
บันดาห์ อาเจะห์เท่านั้น
ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากเมือง Tapaktuan ๑ วันเต็ม สำหรับโรงพยาบาลเมือง Tapaktuan นั้น ไม่สามารถผ่าตัดใหญ่ได้
และการติดต่อสื่อสารระหว่างเส้นทางในพื้นที่นั้นเป็นไปด้วยความยากลำบากต้องใช้เครื่องโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมซึ่งก็ขึ้นกับ
สภาพอากาศ
ถ้าเกิดเหตุในป่าซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ สัญญาณจะไม่มี
บางครั้งรถไปเป็นขบวนแค่การติดต่อสื่อสารกับรถข้างหน้าก็ไม่สามารถติดต่อได้
ปัญหาเหล่านี้มีผลต่อความปลอดภัยและการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของชุด TMT เมือง Tapaktuan มากกว่าสถานีอื่นๆ
ภารกิจสำคัญๆ
ที่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สามารถใช้เป็นบทเรียนสำหรับผู้ที่จะมี
โอกาสไปปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกันนี้ มีดังนี้
ภารกิจที่
๑ การข่าว IO
และการสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำในพื้นที่ปฏิบัติการ
ได้แก่ การเข้าไปพบผู้นำฝ่ายแบ่งแยกดินแดน
GAM และไปหาลูกเรือประมงไทยที่ถูกเรือโจรสลัดปล้นและรอดเพียงคนเดียวเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเป็นการไปกับสมาชิกฝ่าย GAM
ที่ได้รับอนุญาตให้ไปพักผ่อนได้หลังการปฏิบัติงาน การไปนั้นคงไปเฉพาะฝ่ายไทยและฝ่ายแบ่งแยกดินแดน
GAM เท่านั้น ส่วน TMT ฝ่ายสาธารณรัฐอินโดนีเซียไม่ได้ร่วมไปด้วยเนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย จุดประสงค์ของการไปของฝ่ายไทยนั้นเพื่อต้องการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่น
ในการปฏิบัติงานของ JSC นอกจากนั้น
ยังต้องการไปดูฐานที่ตั้งและอาวุธของฝ่าย GAM และการข่าวโจรสลัดและการค้าอาวุธจากเรือประมงฝ่ายไทย
ทั้งนี้ก่อนการเดินทางจะเป็นการบรรยายสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติ
และรับทราบสัญญาณต่าง ๆ
ตลอดเส้นทางในพื้นที่ที่ แยกจากถนนใหญ่แล้ว
ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางสำหรับรถขับเคลื่อน ๔ ล้อ เนื่องจากเป็นทางทุรกันดาร
บางช่วงจะมีสะพานไม้เล็ก ๆ ในกรณีนี้ถือว่าผิดหลักการที่ JSC กำหนด
ไว้ว่าไม่ควรออกนอกถนนใหญ่แต่เมื่อประเมินสถานการณ์กับข้อมูลข่าวและประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์กับฝ่ายGAM
ที่จะได้แล้วนับว่าคุ้มและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงาน เมื่อถึงจุดหมาย ฝ่ายเราได้เข้าไปติดต่อกับฝ่าย GAM เพื่อขอ
อนุญาตเข้าพื้นที่
ในช่วงนี้ผู้เขียนและเพื่อนสะพายเป้ตลอดเวลาเผื่อไม่สามารถใช้รถเป็นพาหนะในกรณีฉุกเฉินได้
การทดลองติดต่อสื่อสารกับหน่วยนอกตั้งแต่เข้าพื้นที่นั้นไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นป่าสูง เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบดูทิศทาง ตำบลที่
และทำเส้นทางกลับสู่ถนนใหญ่ โดยใช้ GPS แล้ว
ทีมงานของข้าพเจ้าก็มองไปรอบ ๆ
ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีชาวบ้านและ ฝ่าย GAM ออกมามีการติดต่อขอเข้าไปดูฐานแต่ก็ล้มเหลว
เนื่องจากเพิ่งมีการเคลื่อนย้ายเข้าไปในป่าลึกแล้วก่อนหน้าที่ฝ่ายเราจะเข้าไป
อย่างไรก็ตามฝ่าย GAM ก็รับปากว่าคราวหน้าจะพาไป คงเหลือแต่การพบผู้นำฝ่ายแบ่งแยกดินแดน GAM
และไปพบลูกเรือประมงไทย เราตัดสินใจไปพบลูกเรือประมงไทยก่อน
โดยมีรถขบวนพาไปที่บ้านหลังหนึ่ง
เมื่อเข้าไปในบ้านผู้เขียนกับเพื่อนนั่งอยู่ตรงกลางรายล้อมด้วยฝ่าย GAM ฝ่ายเราสัมภาษณ์ลูกเรือประมงที่อ้างว่าเป็นคนไทย
เมื่อฝ่ายเราสอบถาม จึงทราบว่าเป็นคนพม่า ทำงานในเรือที่มีไต๋ ชื่อ ไต๋สำราญ
เถ้าแก่ชื่อโกนุ้ยอยู่บ้านหาดทรายขาว
สะพานปลา ปากน้ำ อ.เมือง
จ.ระนอง มีลูกเรืออื่นที่รู้จักคือ
นายเม่น นายทั่น นายโชว์ นายตุ๋ย นายอี
ทั้งหมดออกเรือมาหาปลาในน่านน้ำสาธารณรัฐอินโดนีเซีย บริเวณน่านน้ำอาเจะห์และถูกโจรสลัดยิงตายทั้งลำ
เหลือเพียงคนเดียว ฝ่าย GAM ช่วยไว้ชื่อนายโมฮัมหมัด อาลี
เนื่องจากไม่มีญาติในไทยและพม่า เขาจึงตั้งใจจะใช้ชีวิตในจังหวัดอาเจะห์ตลอดไป
หลังจากนั้นผู้เขียนกับเพื่อนจึงเพียงจดข้อมูล
เพื่อจะได้ไปแจ้งให้กับเจ้าของเรือประมงและเดินทางต่อไปพบกลุ่มผู้นำฝ่าย GAM ในช่วงนี้ผู้นำทางพาเราลัดเลาะไปจนถึงบ้านริมทะเล
ซึ่งเป็นที่นัดหมายรับประทานอาหาร เมื่อฝ่ายเราจอดรถ
และทำตามกรรมวิธีรักษาความปลอดภัยแล้ว
เราจึงเข้าไปในบ้าน สำหรับชาวอาเจะห์ยังมี
ความเชื่อแบบดั้งเดิมที่จะไม่ให้ผู้หญิงและเด็กออกมาพบ คนแปลกหน้าคือพวกเรา ดังนั้น จึงมีแต่หัวหน้าใหญ่ GAM ออกมาเชิญพวกเราเข้า ข้างใน พร้อมกับพวก TMT ฝ่าย
GAMระหว่างที่เพื่อนของผู้เขียนพูดคุยทักทายอยู่นั้น
ผู้เขียนก็ขอเข้าห้องน้ำเพื่อดูทางหนีทีไล่
หลังจากนั้นผู้เขียนกับเพื่อนจะนั่งอยู่ตรงกลางรายล้อมด้วยกลุ่มผู้นำฝ่าย GAM เราพยายามคุยทักทายสร้างความเป็นมิตร
โดยเลี่ยงคำถามที่ตอบไม่ได้หรือสร้างความไม่พอใจและถาม
ในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับการทำงานของเรา
อาหารมื้อใหญ่เริ่มลำเลียงมาเป็นอาหารคล้าย อาหารปักษ์ใต้บ้านเรา
ผู้เขียนกับเพื่อนรับประทานอาหารกันจนแน่นท้องท่ามกลางกลุ่มควัน
บุหรี่เหมือนไฟไหม้บ้าน
ตบท้ายด้วยกาแฟและถั่วลิสง หลังจากนั้นก็เป็นการตอบคำถามที่ สงสัยของฝ่าย GAM เริ่มจากคำตอบง่ายและเริ่มยากขึ้นเรื่อย
ๆ การตอบเริ่มตึงเครียดเพราะฝ่าย GAM ต้องการคำตอบซึ่งฝ่ายเราไม่สามารถให้คำตอบได้
เพราะเป็นเรื่อง นโยบายเบื้องบนที่เราไม่รู้
เรื่องการต่อรองและจุดบกพร่องของข้อตกลงที่ทั้ง ๓ ฝ่าย พยายามมองข้ามไป
ซึ่งผลสุดท้ายก็ส่งผลถึงภารกิจนี้ ทุกคำตอบอาจสร้างการระแวงหรืออาจ
มีข้อความน่าเชื่อถือก็ได้ ถ้าตอบไม่จริงหรือตอบขอไปทีก็อาจจะสร้างความไม่พอใจ
ซึ่งอาจมีผลต่อการขอสนับสนุนข่าวจากพวกเขา เพราะเขาอาจจะไม่ให้ความร่วมมือก็ได้
ผู้เขียนจึง
ต้องคอยสะกิดเพื่อนอยู่หลายครั้งบางคำตอบต้องปรึกษากันก่อนเพราะถ้าพวกเขาโกรธขึ้น
มา ทีม GAM ที่นำเข้าพบก็ไม่กล้ารับประกันความปลอดภัย
นับว่าโชคดีที่คนไทยเป็นนักเล่าเรื่องตลกบรรยากาศจึงเริ่มดีขึ้นมากเมื่อมีเสียงหัวเราะ
ผู้เขียนกับเพื่อนจึงรีบฉวยโอกาสทองขอกลับก่อน โดยขอตัวไปพบญาติฝ่าย GAM ที่เป็นผู้นำศาสนาและผู้นำหมู่บ้านที่ประสงค์จะทำพิธีต้อนรับผู้เขียนและเพื่อน
พิธีดังกล่าวคล้ายๆ พิธีบายศรีสู่ขวัญของไทยเราแต่เป็นพิธีเฉพาะคนมุสลิมคล้ายเฉลิมฉลองผู้ที่กลับจากแสวงบุญจากนครเมกกะ
โดยมีการตั้งพิธี การสวดมนต์ก่อนเจ้าพิธีจะป้อนข้าวเหนียวดำให้ผู้เขียนและเพื่อนและรับพร(หลังจากภารกิจสำเร็จผู้เขียนเลยตั้งใจพยายามไม่กินเนื้อหมูเพื่ออุทิศให้เพื่อนมุสลิมที่ตายไปหลังจากที่ทหารไทยถอนกำลังจากอาเจะห์และเหตุการณ์ซึนามิ
ซึ่งหลังจากนั้นผู้เขียนสังเกตว่าตนเองมักจะได้รับภารกิจที่ต้องทำงานร่วมกับมุสลิมไม่ว่าไปปฏิบัติภารกิจหมู่เรือ ปราบโจรสลัดที่อ่าวเอเดนและโซมาเลียและการไปทำงานกองทัพเรือที่
๓ จังหวัดภาคใต้) โดยมีชาวบ้านลูกเด็กเล็กแดงที่อยากรู้จักเราเข้ามามุงดูกันเต็มไปหมด
ก่อนกลับผู้นำหมู่บ้านเจ้าพิธีจับมือผมมาประกบมือเขาพร้อมกล่าวขอบคุณทหารไทยที่มาช่วยทำให้ชาวอาเจะห์สงบสุข
ผู้เขียนสัญญากับเขาว่าจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและขึ้นรถท่ามกลางกลุ่มชาวบ้านที่มาส่งโบกไม้โบกมือยิ้มแย้ม
ผู้เขียนเดินทางกลับและคิดไปตลอดทางว่า "ความ
หวังสิ่งเดียวของพวกเขาคือตัวเราหรือนี่
เมื่อรับปากเขาไว้แล้วต้องทำให้ได้"
ผู้เขียนกลับถึงที่พักประมาณ ๒ ทุ่ม
ภารกิจครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำพื้นที่
ทำให้สามารถได้การข่าวที่มีความเชื่อถือได้สูง
จนนำไปใช้เปรียบเทียบกับข่าวที่ได้รับจากฝ่าย รัฐบาล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
คือเรื่องมีกลุ่ม ผู้ประท้วง
(กลุ่มจัดตั้ง)จากหลายหมู่บ้านเดินทาง มาปฏิเสธ Peace Zone และขับไล่
JSC ออกนอกพื้นที่ ซึ่งเป็นข่าวที่ได้รับจากฝ่าย GAM ส่วนฝ่ายรัฐบาลในทีมบอกว่าไม่ทราบ
ทำให้ทีมสามารถวางแผนตั้งรับและแผนเคลื่อนย้ายได้ทันเวลาทุกคนปลอดภัย
ภารกิจที่
๒
ด้านยุทธการ ต่อมาคือการเข้าร่วมคลี่คลายปัญหาในเหตุการณ์ชาวบ้านเมือง Tapaktuan ประมาณ ๔๐
คน ซึ่งเดินทางไปที่สำนักงาน JSC
เพื่อเรียกร้องแกมบังคับให้
JSC ไป สถานีตำรวจเพื่อปล่อยตัวชาวบ้านที่ถูกจับ
โดยชาวบ้านเหล่านั้นต่างเป็นญาติของผู้ที่ถูกจับ บางคนก็ร้องไห้จนเป็นลม
พวกเราพยายามควบคุมเหตุการณ์ โดยแยกกลุ่มเลือกเอาเฉพาะที่เห็นเหตุการณ์ แล้วทำการสัมภาษณ์ไว้เบื้องต้นตามขั้นตอน หากเห็นว่าอยู่ในการละเมิดข้อตกลง
ก็จะรับคดีและเริ่มสัมภาษณ์ Complainer ที่เกี่ยวข้อง ผลการสัมภาษณ์ของทั้ง ๒ ฝ่ายสรุปได้ว่า
เวลาประมาณ ๐๕๐๐ กองกำลังไม่ทราบฝ่าย ใช้ชุดพลางถืออาวุธปืนไรเฟิล
เดินทางเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้าน โดยเข้าไปค้นหาแต่ละบ้าน เพื่อจับกุมผู้ที่ต้องสงสัยฝ่าย
GAM ๔ คน ได้แก่ เต็งกู Ibrahim เต็งกู
Suardi เต็งกู Arjun และเต็งกู Buyung ในคดี โจมตีป้อมยามตำรวจ
ซึ่งกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ได้ทำร้ายผู้จับกุมจนสลบ และได้ยิงชาวบ้าน บาดเจ็บสาหัส ๑
คน ยึดหมู่บ้านเพื่อหาข่าว จนถึงเวลาประมาณ ๑๐๐๐
หลังจากที่ให้ตัวแทน ทั้ง ๒ ฝ่าย
ติดต่อหาข้อมูลกับฝ่ายตนที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้น สรุปได้ว่าฝ่ายรัฐบาลยอมรับว่า
เป็นกองกำลังผสมตำรวจพิเศษและนาวิกโยธิน
ผู้เขียนจึงขอร้องให้เขายอมถอนกำลังและรับรองความปลอดภัย เพื่อที่จะได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่บาดเจ็บและชาวบ้านจะได้กล้ากลับไป
ใช้ชีวิตตามปกติโดยได้ติดต่อขอความร่วมมือกับสถานพยาบาลให้ช่วยส่งรถพยาบาล
ฉุกเฉินไปรับและเพื่อมนุษยธรรมจึงช่วยออกเงินส่วนตัวร่วมกับเงินบริจาคของสมาชิก (JSC
ไม่มีภารกิจช่วยเหลือด้านนี้ จึงไม่มีเงินสนับสนุน)
เพื่อส่งผู้บาดเจ็บไปรักษาที่เมือง Malabour เนื่องจากโรงพยาบาล
เมือง Tapaktuan ไม่สามารถผ่าตัดได้ ส่วนความช่วยเหลือผู้ที่ถูกจับนั้น
ผู้เขียนและรุ่นพี่ในทีมได้ประสานไปกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อที่จะให้เขาใช้ขั้นตอนทางกฎหมายสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ในการพิจารณาคดีอย่างถูกต้องเป็นธรรมและตามข้อตกลงใน COHA ซึ่งตำรวจบอกว่ายินดีที่ให้ชาวบ้านไปแจ้งความและสอบถามได้
แต่ชาวบ้านปฏิเสธซึ่งทางเราก็ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติงานของฝ่ายรัฐบาลได้
และไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาเป็นได้แต่เพียงตัวไกล่เกลี่ยเท่านั้น ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเขาก็มีสิทธิในการจับกุมผู้กระทำผิด
แต่ในกรณีที่เป็นความขัดแย้งซึ่งมีการต่อสู้ของทั้ง ๒ ฝ่าย
นั้น ก็ไม่น่าที่จะใช้เป็นข้ออ้างเพราะอาจทำให้ฝ่าย GAM ทุกคนเป็นผู้กระทำผิดทางกฎหมายต้องโดนจับกุมทุกคนหากเป็นเช่นนั้นจะมีข้อตกลงหยุดยิงเพื่อที่จะมาเจรจากัน
ทำไม ? ปัญหานี้ผู้เขียนได้บอกให้พี่หัวหน้าทีมปรึกษากับ Senior
Envoy ซึ่งได้รับคำตอบว่าปัญหานี้เป็นจุดบอดที่รัฐบาลได้ใช้อ้างความชอบธรรมในการปฏิบัติตอนนี้จึงได้แต่
พยายามเจรจาต่อรองทั้ง ๒ ฝ่ายอยู่ ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้นไปก่อน
ผู้เขียนและรุ่นพี่จึงได้กลับไปประสานกับทางตำรวจ
เพื่อขอทราบถึงความปลอดภัยของผู้ที่ถูกจับกุมคำตอบที่
ได้คือตำรวจไม่ได้จับกุมผู้ที่มีรายชื่อตามที่ชาวบ้านแจ้งแต่จับกุมผู้อื่นซึ่งระหว่างทางได้
กระโดดลงรถหนีไปหมดทั้ง ๔ คน
(เหตุการณ์ผู้ถูกจับกุมกระโดดลงรถหนีไปเคยเป็นข้ออ้างในคดีประมาณ ๒ คดี
ซึ่งมีคดีหนึ่งที่ต่อมาพบเจอเป็นศพ) ผู้เขียนและรุ่นพี่ในทีมจึงได้สรุปในสิ่งที่ได้ดำเนินการต่อตัวแทนชาวบ้าน
คือ ขอบเขต อำนาจที่ทีมงานสามารถกระทำได้ภายใต้ข้อตกลงทั้ง ๓ ฝ่าย สำหรับคดีนี้ได้ทำรายงานไปที่ JSC เมืองบันดาห์อาเจะห์ เพื่อให้สอบสวนคดี
(ซึ่งขณะนั้น JSC มีคดีที่ค้างไม่ได้พิจารณา ประมาณ ๑,๐๐๐ คดี) และรอในการได้รับอนุญาตให้เข้าไปหาหลักฐานในที่เกิดเหตุและได้
เข้าไปช่วยเหลือ และนำผู้บาดเจ็บสาหัสออกจากพื้นที่เพื่อส่งไปรักษาได้สำเร็จ
ซึ่งชาวบ้านก็ มีความพอใจและเข้าใจการทำงานของทีมงานเท่าที่จะสามารถกระทำได้ พวกเขาจึงยอม เดินทางกลับ
ภารกิจนี้จึงถือได้ว่าประสบผลสำเร็จเพราะสามารถสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านที่
อาศัยบริเวณใกล้สำนักงานและที่พักของทีม เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับทีม นอกจาก
นั้นชาวบ้านเหล่านี้ก็สามารถเป็นสายข่าวให้กับทีมได้
ภารกิจที่ ๓
ด้านยุทธการและงานสร้างภาวะผู้นำในทีม TMT งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ
การเข้าร่วมคลี่คลายปัญหาในเหตุการณ์สมาชิกฝ่าย GAM ในทีมชื่อ
เต็งกู Katiwi มีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งชื่อนาย Eddy
โดยฝ่าย GAM ในทีมบอกว่าเป็น Special Force ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งสังเกตจากเครื่องแต่งตัว โดยเมื่อครั้งทีมงานเดินทางมาถึงเมือง Tapaktuan
ใหม่ ๆ นั้น นาย Eddy ได้เดินทางมาที่โรงแรม
ที่พักและถามหา เต็งกู Katiwi เมื่อทราบว่า นาย Eddy ฝ่าย TMT มีเต็งกู Katiwi เป็น
สมาชิกจึงได้ข่มขู่ว่าให้ระวังตัว แล้วจึงกลับไป
ต่อมาได้ขับรถมอเตอร์ไซด์มาข่มขู่บริเวณ หน้าบ้าน ที่พักของทีมอีกหลายครั้ง
จนในวันเกิดเหตุหลังจากผู้เขียนทำคดีตอนเช้าเสร็จ ประมาณเวลา ๑๓๐๐
นายทหารยุทธการได้โทรมาแจ้งว่าสมาชิก TMT ในทีม ฝ่าย GAM
ถูกกักตัวและกำลังจะถูกทำร้ายที่ตลาดใกล้บริเวณสถานีขนส่ง
ผู้เขียนพร้อมทีมงานจึงได้รีบ ขึ้นรถและเดินทางไปตลาดพอเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ หัวหน้าทีมงานพร้อมเพื่อนของ
ผู้เขียนได้เข้าไปเจรจาเพื่อพยายามดึงคนของเราออกมา ผู้เขียนทำหน้าที่ในการช่วย
ประเมินสถานการณ์ ตรวจสอบที่เกิดเหตุ เพื่อประมาณว่าอีกฝ่ายมีมากี่คน ใครคือต้นเหตุ แค่นาย Eddy พร้อมเพื่อน ๒-๓ คน เท่านั้นหรือไม่ มีทางหนีทีไล่หรือไม่
ขณะที่ชาวบ้านเริ่ม มามุงดูกันมากขึ้น
และไม่รู้ว่าใครเป็นใครทีมงานจึงดึงไปเจรจาในห้องโดยถ้ากระทำไม่ถูกต้องก็จะส่งผลถึงความศรัทธาในการทำงานของ JSC
และ TMT เหตุการณ์นี้ผู้เขียน
เห็นว่าแม้ในทีมจะมีสมาชิกที่เป็นตำรวจสาธารณรัฐอินโดนีเซียแต่ก็ไม่สามารถช่วยให้
เหตุการณ์ดีขึ้นเลยตรงกันข้ามเหตุการณ์เริ่มจะรุนแรงเพราะนาย Eddy พร้อมเพื่อนโกรธ แค้นฝ่าย GAM
ทุกคน ผู้เขียนจึงขออนุญาตหัวหน้าทีมแยก TMT ฝ่าย
GAM กลับที่พักก่อน แล้วรีบพา TMT ฝ่าย
GAM ทั้งหมดแยกออกมาระหว่างนั้นนาย Eddy ติดตามออกมา และขัดขวางกระชากไหล่นาย Katiwi ก่อนขึ้นรถ
ผู้เขียนสังเกตว่าบริเวณเอวของนาย Eddy มีอาวุธลักษณะคล้ายอาวุธปืนเหน็บอยู่ใต้เสื้อ
ขณะที่นาย Katiwi ออกอารมณ์โกรธตอบโต้
ผู้เขียนพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจจะเกิดอันตรายขึ้นกับลูกทีมฝ่าย GAM ผู้เขียนจึงเข้าขวางระหว่างคนทั้งสอง พร้อม ๆ กับที่นาย Eddy เอามือจับอาวุธที่เอว ผู้เขียนจึงรีบผลักกระชาก นาย Katiwi ขึ้นรถปิดประตู และผลักนาย Eddy ออกไป
ขณะเดียวกันทุกคนในทีมเจรจา พึ่งวิ่งมาถึง ผู้เขียนรีบตะโกนเรียกเพื่อให้นาย Eddy หันเหความสนใจและเลิกที่จะใช้
อาวุธนั้นทำให้นาย Eddy เอามือละออกจากกระเป๋าและพยายามจะเปิดประตูเพื่อดึงฝ่าย
GAM ออกมาแต่ผู้เขียนให้ล็อกรถ
นาย Eddy จึงไม่สามารถเปิดได้ และต้องละออกมาจากรถ
เมื่อชุดเจรจามาถึงผู้เขียนจึงรีบขึ้นรถและให้รถรีบออกจากพื้นที่โดยเร็ว
หลังจากนั้นเราก็ได้ไปแจ้งตำรวจเพื่อให้ติดตามนาย Eddy มาสอบสวนคดีแต่ตำรวจไม่สามารถติดตามนาย Eddy ได้
ภารกิจนี้นับว่าเป็นผลสำเร็จ ในการสร้างภาวะผู้นำในทีม ทำให้ TMT ทั้ง ๒ ฝ่าย
เชื่อมั่นในผู้นำทีมคือฝ่ายไทยว่ากล้าที่จะปกป้องความปลอดภัยของพวกเขาที่เป็นลูกทีม
ไม่ว่าเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือ ฝ่าย GAM ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นมาก สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้น ที่ตลาดนั้น
เราได้ทำตามขั้นตอนโดยไม่มีการใช้อารมณ์ทำให้ภาพพจน์ของ JSC ดีใน สายตาชาวบ้าน
มีผลต่อความร่วมมือกับชาวบ้านและทีมงานฝ่ายเรา
ภารกิจสุดท้ายด้านยุทธการ
คือ
การเข้าร่วมคลี่คลายปัญหาในเหตุการณ์กลุ่มผู้ประท้วงจากชาวบ้าน ๘
ตำบลในอำเภอ TAPAKTUAN
ประมาณ ๑,๐๐๐ คน เดินทางมาต่อต้าน Peace Zone โดยต้องการให้ทีมของเราออกนอกพื้นที่ผู้อ่านลองนึกดูว่า
JSC (Joint Security Committee) นั้นการทำงานเพียง Monitorคือเพียงผู้สังเกตการณ์เหตุการณ์ที่เป็นการละเมิดข้อตกลง
ใน COHA โดย COHA ใน Annex JSC
Sanction ลงนาม ๑๑ มกราคม
พ.ศ.๒๕๔๕ มี ข้อกำหนดการละเมิดมนุษยธรรมต่อประชาชนไว้ซึ่งประกอบด้วย การข่มขืน
การทรมาน การ ทำลายทรัพย์สิน การเผา การปล้นชิงทรัพย์ การขู่เข็ญกรรโชก การเก็บค่าคุ้มครอง การคุก
คามขู่ การลักพาตัว การตรวจค้นหาผู้ที่มีความคิดตรงข้ามกับฝ่ายตน การซุ่มโจมตี การยิง การฆ่า การล่อลวง
การเรียกค่าไถ่ การระเบิด และการข่มขู่พยาน
ทั้งนี้ในข้อการละเมิดมนุษยธรรมต่อประชาชนในอาเจะห์นั้น มีมานานกว่า ๒๖ ปี แล้ว จนทำให้ประชาชนมีแต่การหวาด ระแวง และหวาดกลัว
เท่าที่ผ่านมามีคนตายเป็นหมื่นจากการกระทำของทั้ง ๒ ฝ่าย การที่ JSC เข้ามาทำให้เหตุการณ์การละเมิดลดลงมากกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์เมื่อมาถึง
ครั้งแรกสภาพเมืองอาเจะห์เกือบเป็นเมืองร้าง
ประชาชนจะออกนอกบ้านเฉพาะช่วงกลางวัน เท่านั้น พอตกเย็นจะรีบปิดบ้าน จึงเป็นคำถามว่าแล้วทำไมพวกเขาจึงอยากให้เราออกนอกจังหวัดอาเจะห์
เหตุผลที่ทีมเราประเมินโดยใช้การข่าวที่ได้จากฝ่าย GAM เขายืนยันว่ามีการ
ใช้กำลังปฏิบัติการพิเศษเข้าไปในหมู่บ้าน ๘ ตำบล เพื่อกวาดต้อนชาวบ้าน
ส่วนฝ่ายรัฐบาลในทีมเราแจ้งว่าไม่มี ซึ่ง ตามข่าวนั้น
พอสังเกตได้ว่าหลังจากที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสาธารณรัฐอินโดนีเซียมาประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงเหล่าทัพซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดอาเจะห์เป็นครั้งแรก
ในรอบ ๑๐ ปี หลังจากการประชุม ได้เกิดเหตุกลุ่มผู้ประท้วงขับไล่
JSC ทั่วจังหวัดอาเจะห์ โดยไม่มีเหตุผลจากการสังเกตการณ์ของ JSC
นั้นไม่มีอาวุธติดตัว ไม่สามารถใช้อำนาจไปบังคับทั้ง ๒
ฝ่ายและ ประชาชน
ผู้อ่านคงนึกออกนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจนี้ต่อได้
เพราะมีการฉีกสัญญาข้อตกลงโดยมีการขีดเส้นตายให้หน่วยปฏิบัติ เหตุการณ์กลุ่มผู้ประท้วง ขับไล่
JSC ทั่วจังหวัดอาเจะห์เกิดขึ้นติดต่อทีละตำบลเริ่มจากตำบลในเขต Central Aceh East Aceh และ
West Aceh ในที่สุด ทั้งที่เหตุผลที่กลุ่มผู้ประท้วงขับไล่ JSC
ที่ใช้อ้างนั้นขัดแย้งกับรายงาน TMT Incident and Violation
Report และ HQ Daily
Reverse SitRep ที่กล่าวว่า เหตุการณ์เริ่มดีขึ้นการละเมิดต่าง
ๆน้อยลงจนเกิดเหตุการณ์เรื่องการประท้วงทั่วจังหวัดอาเจะห์
เหตุการณ์เริ่มขึ้น หลังจากการประชุมผู้บัญชาการหน่วยขึ้นตรงเหล่าทัพ
พร้อมกับมีรายงานการเตือนมาจากกองบัญชาการ JSC ที่เมืองบันดาร์อาเจะห์ใน
HQ Daily Reverse SitRep เรื่องให้ระวังการประท้วง เนื่องจากเริ่มมีข้อบ่งชี้ถึงความต้องการให้ JSC
ออกนอกจังหวัดอาเจะห์ ทั้ง
๒
ฝ่ายเริ่มมีการหวาดระแวงกันว่าแต่ละฝ่ายไม่จริงใจในการแก้
ไขปัญหาและปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงฝ่าย GAMมีการจัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่คล้ายหน่วย
ปกครองท้องถิ่นของรัฐบาล
แยกออกจากรัฐบาลโดยชาวบ้านต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ
ฝ่ายรัฐบาลอ้างความชอบธรรมในการกวาดล้างฝ่าย GAM โดยอ้างเรื่องการเคยมีคดีกระทำ
ผิดของสมาชิกฝ่าย GAM โดย JSC
ได้สั่งการให้ระวังเรื่องความปลอดภัยและจัดทำแผน
เคลื่อนย้ายฉุกเฉินของฝ่ายไทยทั้งหมด
และให้แต่ละตำบลเสนอแผนรองรับการประท้วง และ แผนเคลื่อนย้ายฉุกเฉินเราเริ่มนำแผนเคลื่อนย้ายฉุกเฉินมาซักซ้อม ทั้งนี้แผน
Emergency Evacuation Plan นั้น
สามารถวางแผนได้โดยดูจากแผนที่เมือง TAPAKTUAN ที่ผู้เขียนและทีมได้ทำ
ขึ้นในแผนที่ประกอบด้วยระยะทางเส้นทางต่าง ๆ สถานที่สำคัญ เช่น สนามกีฬา
และเขื่อนกันคลื่นที่ทีมเรากำหนดเป็นจุดนัดพบ และเป็นจุดรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์
รายละเอียดของแผนเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน เริ่มจาก
๑. ตรวจสอบยืนยันจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือทั้งจากฝ่ายรัฐบาลฝ่ายGAMและฝ่าย JSC
๒. ประชุมแผนโดยจะแบ่งทีมเป็น ๒ ทีม คือ
ทีมที่ ๑ ทีม เจรจา
ประกอบด้วยหัวหน้าสถานีตัวแทน JSC หัวหน้าฝ่ายรัฐบาล ๑ คน หัวหน้าฝ่าย GAM ๑
คน และตัวแทนฝ่ายไทย ๑ คน (ซึ่งผู้เขียนเป็นตัวแทนฝ่ายไทย) ทั้งหมด
ทำหน้าที่ในการรับมือกับกลุ่มผู้ประท้วง ล่าม ๑ คน เจ้าหน้าที่สื่อ PIU สื่อที่ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์
๑ คน รถพร้อมคนขับ ๒ คัน
ทีมที่ ๒ เตรียมพร้อมเคลื่อนย้ายเป็นทีมที่แต่ละคนจะรับผิดชอบอุปกรณ์
เครื่องมือหลักฐาน การปฏิบัติงานของสถานีในการเก็บรักษาและเคลื่อนย้าย แต่ละคนจะรู้ว่าตนอยู่รถคันไหนใคร
คือผู้ควบคุมรถ และการติดต่อสื่อสารในทีม พร้อมเคลื่อนย้ายเมื่อได้รับการประสานจากทีม
เจรจาโดยจะเคลื่อนย้ายไปที่สถานีตำรวจในทันทีโดยระหว่างนั้นแม้เมือง TAPAKTUAN จะ เป็นเมืองเล็กมีความยาวประมาณ ๔ กิโลเมตร เท่านั้น
แต่เนื่องจากเส้นทางหลักจะเป็นตัว Y ทีมเจรจาจึงสามารถสกัดกลุ่มผู้ประท้วงก่อน
๓.ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการรักษาความปลอดภัยให้กับทีมที่พักและทรัพย์สิน
JSC
และดำเนินการตามแผนการรับมือกลุ่มผู้ประท้วง
เมื่อเหตุการณ์กลุ่มผู้ประท้วงขับไล่ JSC เริ่มเกิดทั่วจังหวัดอาเจะห์ ซึ่งเกิดขึ้นติดต่อที ละตำบล โดยเฉพาะด้านตะวันออกที่มีแหล่งทรัพยากรคือน้ำมันนั้น เริ่มมีการขับไล่ โดยเผา สำนักงาน JSC และมีการ ปาระเบิดเข้าที่พักแต่ไม่มีใครได้รับอันตรายทีมเรารีบประสานสาย
ข่าวในพื้นที่ที่เป็นระดับผู้นำ TMT ทันที ทั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลในทีมเรา แจ้งว่าไม่มี ซึ่งขัดแย้งกับ
ข่าวที่ได้รับและน่าเชื่อถือได้จากผู้นำฝ่าย
GAM ในพื้นที่ที่ว่ามีการใช้กำลังเข้าไปในหมู่บ้านบางตำบล
เพื่อกวาดต้อนชาวบ้านและจะมีการเดินทางมาที่ JSC เมือง TAPAKTUANในวัน รุ่งขึ้นวินาทีนั้นทุกคนนึกถึงเหตุการณ์ที่Central Aceh โดยชาวบ้านประมาณ ๔,๐๐๐ คน มาประท้วงและบังคับ JSC
ให้บังคับฝ่าย GAM
ให้คืนเงินค่าคุ้มครองที่เรียกจากชาวไร่กาแฟ
เหตุการณ์เริ่มบานปลายจนตำรวจคุมไม่อยู่
มีการทำลายและเผาสำนักงาน
ทรัพย์สิน และจับสมาชิก TMT
ฝ่าย GAM มารุมซ้อม กระทืบจนปางตาย ๑ คน
บรรยากาศขณะนั้นผู้เขียนได้ เห็นหลายคนในทีมกลัวตาย ทำอะไรไม่ถูกสมองตื้อ
บางคนเดินไปเดินมา บางคนนอนไม่หลับ บางคนเก็บของแล้วเก็บของอีก สำหรับผู้เขียนแล้วผลของการสวดมนต์ทำสมาธิทุกวัน
ทำให้มีสติที่จะไม่กลัวและกล้าจัดการกับปัญหาในช่วงวิกฤตได้ดีอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทีมและเกียรติประวัติทหารไทยและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง
คืนนั้นฝ่ายไทยได้ประชุมกันเพื่อหาข้อสรุปรายงาน
JSCตัดสินใจ โดยรวบรวมการข่าวเชิงลึกในพื้นที่ ติดต่อกับทุกหน่วยที่ให้ข่าวได้
เช่น JSC ที่เมืองบันดาร์อาเจะห์ ตำรวจ นาวิกโยธิน GAM
แล้วนำมาประเมินสถานการณ์
ผู้เขียนได้เสนอแผนที่ประชุมโดยนำปัจจัยเรื่องระยะทาง เวลาเดินทาง การข่าว เป็นหลัก
เหมือนการวางแผนทางทหารในการรับสถานการณ์การประท้วงให้กับทีมโดยพิจารณาเส้นทางที่ใช้เข้าเมือง
TAPAKTUAN แล้วพบว่ามีเส้นทางเดียว
ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางออกจากที่รวมพลของกลุ่มผู้ประท้วงไปยังเมือง TAPAKTUAN
ประมาณครึ่งชั่วโมงโดยต้องผ่าน Post หรือสถานีของนาวิกโยธินและตำรวจ
๓ สถานี
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของทีมส่วนรวม
เราต้องประสานนาวิกโยธินและตำรวจทั้ง๓ สถานีและสายข่าวฝ่าย GAM ที่จะต้องแจ้งกำหนดการออกเดินทางของกลุ่มผู้ประท้วงให้เราทราบก่อน ทั้งนี้ทีมเจรจาพร้อมตำรวจคุ้มครองจะต้องไปรับกลุ่มผู้ประท้วงตั้งแต่เมื่อผ่านสถานีที่
๑ เมื่อการเจรจาไม่สำเร็จทีมที่ ๒ จะได้มีเวลา
เพียงพอที่จะเคลื่อนย้ายไปที่สถานีตำรวจ
และประสานตำรวจให้รับผิดชอบในการควบคุมกลุ่ม ผู้ประท้วงและช่วยเหลือทีมที่ ๑
ออกจากการเจรจาและเดินทางมาสมทบทีมที่ ๒
ซึ่งทุกคนเห็นด้วยหลังจากสรุปให้คนไทยเข้าใจหน้าที่ทุกคนแล้วหัวหน้าสถานีจึงเรียกประชุมตอนดึก
เพื่อแจ้งแผนแก่ทุกฝ่ายในสถานีจนทุกคนรู้หน้าที่ความรับผิดชอบแล้วเราก็เริ่มเก็บข้าวของส่วนตัวจัดเก็บเอกสารการทำงานอุปกรณ์
ทรัพย์สินของ JSC ขึ้นรถเตรียมพร้อม
ในที่สุดตอนเช้าทุกคนตรวจสอบการสื่อสารหัวหน้าสถานีโทรศัพท์ไปที่JSCเมืองบันดาร์อาเจะห์เพื่อแจ้งสถานการณ์ความตั้งใจในการปฏิบัติทั้ง ๒
ฝ่ายตรวจสอบเพื่อยืนยันการเดินทางของกลุ่มผู้ประท้วง
ซึ่งฝ่ายรัฐบาลยังยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ฝ่าย GAM ยืนยันว่าฝ่ายรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องเหมือนเดิม ทีมที่ ๒
เก็บของและเตรียมพร้อมตามหน้าที่ที่ได้รับแต่ละคน ผู้เขียนที่เป็นชุดเจรจา
หัวหน้าสถานี และตัวแทน TMTทั้ง ๒
ฝ่ายเดินทางไปเตรียมพร้อมที่สำนักงาน
เนื่องจากที่สำนักงานสามารถใช้การสื่อสารทางสายโทรศัพท์และโทรสารเป็นหลักอีกข่าย
และอยู่ในตำบลที่ใกล้กับปากทางเข้าเมืองซึ่งเป็นทางผ่านของผู้ประท้วง เมื่อถึงเวลา
ประมาณใกล้เที่ยงฝ่ายรัฐบาลแจ้งข่าวว่ามีกลุ่มผู้ประท้วงเดินทางมาเพียงแค่ยื่นจดหมายเรื่อง
ความเดือดร้อนจากฝ่าย GAM ให้กับ บูปาตี คือ นายอำเภอเท่านั้น (จากการติดตามสถานการณ์
ประมาณได้ว่าเป็นม็อบจัดตั้งโดยรัฐบาลสอดคล้องกับข่าวที่ได้รับจากTMT ฝ่ายไทยในตำบลอื่น จึงสามารถควบคุมม็อบเรื่องเจตจำนง
ลักษณะการปฏิบัติได้ตามต้องการ-ผู้เขียน) อย่างไรก็ตาม
เพื่อความไม่ประมาทเรายังคงดำเนินการตามแผนต่อ
แต่ก็ช่วยลดบรรยากาศ ตึงเครียดไปมาก ตำรวจที่เราขอความร่วมมือประจำในพื้นที่พร้อม
กลุ่มผู้ประท้วงเดินทางเข้าพื้นที่เป็นขบวนรถเรียบร้อย
โดยไปที่ทำการอำเภอทีมเราได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนในพื้นที่เข้า
แทรกซึมกลุ่มผู้ประท้วงเพื่อหาข่าวสรุปได้ว่าเป็นกลุ่มจัดตั้งจริง
แต่ทั้งนี้มีข่าวที่ไม่ค่อยดีจากจดหมายที่กลุ่มผู้ประท้วงแจ้งเรื่องที่ฝ่าย GAM เริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่ามีการเริ่มเรียกค่าคุ้มครองและบังคับนำเงินไปซื้ออาวุธจาก "เรือประมงไทย"
โดยจากการประสานงานกับตำรวจที่มารักษาความปลอดภัยให้กับเรา (อาทิตย์ก่อนที่จะเริ่มมีเหตุการณ์ทีมฝ่ายไทยได้จัดงานเลี้ยงแบบลับ
ๆ
เพื่อประสานความร่วมมือกับผู้นำฝ่ายนาวิกโยธินและตำรวจที่ตามข้อตกลงจะเป็นผู้รับผิดชอบความปลอดภัยของบุคลากรJSCทำให้มีความสนิทสนมกันมาก)ทำให้สถานการณ์
เป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง
แม้ว่าที่พักของทีมเราห่างจากสำนักงานบูปาตี ประมาณ ๒๐๐ เมตร
จากเหตุการณ์นี้เหมือนเป็นการซักซ้อมก่อนเหตุการณ์รุนแรงจะมาถึง โดย "Lesson
to Learn" ที่เราได้เป็นการเอาเกลือจิ้มเกลือโดยใช้ฝ่ายรัฐบาลคุมสถานการณ์ม็อบที่จัดตั้งโดยฝ่ายรัฐบาล
หลังจากนั้นเรารอคอยการประสานจากบูปาตีแต่ไม่ได้รับการร่วมมือได้แต่รับแจ้งแต่ว่าบูปาตีติดราชการงานประจำที่ปฏิบัติในแต่ละวันการทำคดียากขึ้น
ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ได้ให้ความร่วมมือเหมือนแต่ก่อน
ต่างฝ่ายจะรอความได้เปรียบในเรื่องหลักฐาน มีทั้งการข่มขู่พยาน ทุกรูป
แบบเพื่อการได้เปรียบในเรื่องความชอบธรรมในสายตาของนานาชาติเหตุการณ์ต่าง ๆจึงเป็นเกมการเมือง
การข่าวที่ได้รับทราบว่าฝ่าย GAM มีการรวบรวมการข่าวในพื้นที่มากขึ้นมีการ
เรียกเก็บค่าคุ้มครองเพื่อระดมซื้ออาวุธและเสบียงอาหารในพื้นที่
ฝ่ายรัฐบาลก็มีการสับเปลี่ยน กำลังกันมีการสร้างและซ่อมแซมสะพานถนนยุทธศาสตร์
รวบรวมการข่าวที่ตั้งฝ่าย GAMและ การซ้อมการปฏิบัติการทางทหาร
สิ่งต่าง
ๆเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ทำให้เราเริ่มคาดการณ์ว่าเหตุการณ์รุนแรงน่าจะเกิดขึ้นเร็ววันนี้และน่าจะมีเส้นตายในการปฏิบัติการ
ในที่สุดก็เกิดเหตุการณ์การใช้กำลังขับไล่ทีม TMT โดยข่มขู่ว่าจะใช้กำลังเข้าทำลาย
ทรัพย์สิน และเผาจนทำให้ทีม TMT เมือง Malabour เขต West Acehต้องเคลื่อนย้ายกลับ ที่ตั้ง JSC
เมืองบันดาร์อาเจะห์ เพื่อความปลอดภัยหลังจากเหตุการณ์นี้แล้ว
ทำให้ทีมเราประมาณได้ว่าเหตุการณ์ต่อไปต้องเกิดกับทีม TMT
เมืองTAPAKTUAN แน่นอน
ทีมเราจึงรีบตรวจสอบสายข่าวตลอดเวลาทุกวัน จนกระทั่งสัปดาห์ต่อมาในกลางดึกวันจันทร์ประมาณ
๒ ทุ่ม
พี่ที่เป็นหัวหน้าสถานีมาบอกผู้เขียนว่ามีข่าวที่น่าเชื่อถือได้จากผู้นำฝ่าย GAM ในพื้นที่ว่า
มีการใช้กำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษเข้าไปในหมู่บ้าน๘
ตำบลเพื่อกวาดต้อนชาวบ้านประมาณ ๑,๐๐๐ คน (มากกว่าคราวที่แล้ว ทั้งพาหนะและผู้ประท้วงมาก)
โดยคราวนี้ม็อบมีการเตรียมการเป็นอย่างดีมีการจัดชุดทั้งชุดผู้นำเจรจา
ชุดปลุกปั่นชาวบ้าน ชุดทำลายทรัพย์สินและใช้กำลัง จะเดินทางมาที่ JSC
เมือง TAPAKTUAN
ในวันรุ่งขึ้น จากการประมาณการข่าว เหตุ
การณ์คาดว่าคราวนี้ม็อบมุ่งประสงค์มาที่ทีมเราโดยตรง
เนื่องจากไม่สามารถประสบความสำเร็จในการขับไล่ทีมเราในครั้งก่อนและน่าจะมีการพยายามขยายเหตุการณ์ให้รุนแรงขึ้น
เพื่อ ให้ JSC ออกนอกพื้นที่โดยเร็ว
ในการเตรียมการรับสถานการณ์การประท้วงของม็อบ(จัดตั้ง)ในคืนนั้นทีมเรายังคงปฏิบัติตามแผนเคลื่อนย้ายฉุกเฉินเดิมที่เราได้เคยเสนอและอนุมัติแล้วโดยนายทหารยุทธการ
กองบัญชาการ JSCที่เมืองบันดาร์อาเจะห์เป็นแผนที่ทุกคนเข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเป็นอย่างดี
เป็นแผนที่กองบัญชาการ JSC ทราบถึงจุดนัดพบกับเฮลิคอปเตอร์ของทีมเรา ถ้าตำรวจไม่สามารถรับเหตุการณ์รุนแรงนี้ได้แต่ในส่วนที่แตกต่าง
คือจำนวนของกลุ่มประท้วง
ที่มีจำนวนมากกว่าครั้งก่อนและพาหนะที่เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่
ทำให้ทีมเจรจาไม่สามารถรับกลุ่ม ผู้ประท้วงได้
ตั้งแต่เมื่อผ่านสถานีที่ ๑ เนื่องจากภูมิประเทศไม่อำนวยมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนมาใช้อาคารสำนักงานของบูปาตีที่สร้างใหม่ที่มีพื้นที่กว้างและกำแพงใหญ่เป็นรั้วกั้นสามารถควบคุมกลุ่มผู้ประท้วงได้ง่ายโดยยังคงใช้แผน
"เกลือจิ้มเกลือ"เป็นหลัก
คืนนั้น
ความวิตก ความเครียด
จากการไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตนในวันพรุ่งนี้เกิดขึ้น กับทุกคน
ค่ำคืนนี้จึงเป็นคืนที่ให้แง่คิดในชีวิตมากเวลาทุกวินาทีนั้นดูเหมือนจะมีค่าในการซึม
ซับเก็บความทรงจำและระลึกถึงคนที่เรารักเคารพและการเรียนรู้กับสิ่งที่เป็นธาตุแท้ที่อยู่ภาย
ในตัวเราเอง ที่จะแสดงออกมาเวลาเหนื่อยสุดชีวิต หิวสุดชีวิตง่วงสุดชีวิตและในวินาทีที่เราไม่
รู้ว่าชีวิตเราจะอยู่ต่อไปหรือไม่
โดยเฉพาะตัวผู้เขียนที่อยู่ในชุดเจรจาที่ต้องเผชิญกับผู้ที่มาประท้วงนับพันคน
นั่นคือเหตุ ผลการตัดสินใจของทีมที่จัดนายทหารไทยเพียง ๒
คน คือหัวหน้าสถานีและผู้เขียน
เพื่อลดความเสี่ยงของทีมให้สูญเสียต่ำสุดจริง ๆ แล้วทางเลือกในการปฏิบัติ มี ๒
ทางเลือก คือ
หลบหนีออกนอกพื้นที่ในคืนนี้และหาหลักฐานมาอ้างถึงความจำเป็นกับ JSCก็สามารถกระทำได้ และปลอดภัย
แต่ถือว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและแสดงให้เห็นถึงความขี้ขลาด
ไม่รักศักดิ์ศรีของทหารไทยส่วนอีกทางเลือกหนึ่ง
คือปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
และอยู่เผชิญเหตุการณ์อย่างสมศักดิ์ศรีทหารไทย ซึ่งผู้เขียนและทีมเลือกวิธีนี้
ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นทีมที่๒เก็บของและเตรียมพร้อมตามหน้าที่ที่ได้รับแต่ละคน
ผู้เขียน ที่เป็นชุดเจรจา หัวหน้าสถานี และตัวแทน TMT
ทั้ง ๒ ฝ่าย เดินทางไปเตรียมพร้อมที่สำนัก งานหัวหน้าสถานี
โทรศัพท์ไปที่ JSC เมืองบันดาร์อาเจะห์ เพื่อแจ้งสถานการณ์และความตั้ง ใจในการปฏิบัติ
ตัวผู้เขียนตรวจสอบข่าวเพื่อยืนยันการเดินทางและรายละเอียดของกลุ่มผู้ประท้วงจากทั้ง
๒ ฝ่าย ตรวจดูสำนักงานของบูปาตีที่สร้างใหม่ซึ่งเป็นสถานที่ที่เรา
จะให้ตำรวจควบคุมกลุ่มผู้ประท้วงทั้ง ๑,๐๐๐ คน
ให้อยู่ในเขตที่กำหนด และพูดคุยกับหัวหน้า
ตำรวจในเรื่องแผนการตั้งรับกลุ่มผู้ประท้วง
เวลาประมาณ๑๓๐๐ทุกอย่างพร้อมตำรวจที่เราขอมาสนับสนุนในการให้ความคุ้มครอง
มาถึงพร้อมอยู่ในตำบลที่รับผิดชอบ
ผู้เขียนย้ายที่จอดรถจากใกล้ป้อมตำรวจไปอยู่บริเวณปาก
ทางของเส้นทางฉุกเฉินจากสำนักงาน JSC
เพราะถ้าจอดที่เดิมอาจจะโดนบล็อกจากกลุ่มผู้ ประท้วง
โดยคนขับรถต้องเตรียมพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปจุดนัดพบทันที ในที่สุดขบวนกลุ่มผู้
ประท้วงก็เดินทางเข้าพื้นที่เรา จากภาพที่เห็นชาวบ้านส่วนมากยากจน
มาคราวนี้มีรถบรรทุก ๖ ล้อ
ขนาดใหญ่อัดคนมาแน่นประมาณ ๖ คัน
รวมทั้งรถกระบะ และรถสามล้อจำนวนมาก
ตำรวจที่เราประสานให้มีหน้าที่ในการควบคุมจราจรเริ่มทำหน้าที่
ขณะนั้นเองก็มีกลุ่มผู้ประท้วงจากเมือง TAPAKTUAN ประมาณ ๑๐๐
คนเดินมาสมทบ ซึ่งตรงนี้สายข่าวฝ่ายรัฐบาลไม่ได้บอกเราเราจึงไม่ทราบมาก่อน
จากภาพที่เห็นเราประเมินกลุ่มผู้ประท้วงว่ามีอาวุธหรือไม่
การจับกลุ่มใครคือหัวหน้า
เรารอจนกระทั่งผู้ประท้วงทั้งหมดเข้าไปในพื้นที่ที่เรากำหนดและมีตำรวจมาบล็อกทางออกตามแผนที่เราวางไว้แล้วจึงเริ่มการเจรจาทีมเจรจาเบื้องต้นประกอบด้วยหัวหน้าสถานีที่เป็นตัวแทนJSCตัวผู้เขียนซึ่งทำหน้าที่ประเมินสถานการณ์คอยดู
ความปลอดภัย รวมทั้งล่ามเจ้าหน้าที่ PIU สื่อที่ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์
หัวหน้าตำรวจเมือง TAPAKTUAN และตำรวจคอยรักษาความปลอดภัยเราคงใช้แผนเกลือจิ้มเกลือคือใช้ฝ่าย
รัฐบาลในการคุมม็อบจัดตั้งและต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการอยู่ในวงล้อมของกลุ่มผู้ประท้วง
ตำรวจเคลียร์ช่องทางความปลอดภัยแล้ว
ทีมเจรจาจึงเข้าไปพบหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงโดยกล่าวต้อนรับและยินดีที่จะเจรจาในปัญหาของกลุ่มผู้ประท้วงที่สำนักงาน JSC
เท่านั้น แต่ผู้ ประท้วงต้องจัดตัวแทนเข้าเจรจาเพียง ๕ คน
จุดประสงค์ตรงนี้เราต้องการแยกกลุ่มผู้ประท้วงกับตัวแทนให้อยู่ในที่ที่เราควบคุมทั้งเหตุการณ์เพื่อความปลอดภัยได้แล้วเราจึงกลับสำนักงานรอการเจรจา
ทีมเจรจาของเราที่มีตัวแทนทั้ง
๒ ฝ่ายนั่งทบทวนขั้นตอนในห้องเจรจาผู้เขียนเข้าไปตรวจดูทางออกฉุกเฉิน(ลับ)
ข้างหลังสำนักงานและออกมาประเมินเหตุการณ์ จึงเห็นตำรวจที่เราให้
ทำหน้าที่บล็อกทางออกของกลุ่มประท้วงได้ปล่อยผู้ประท้วงให้ออกจากสำนักงานบูปาตีที่ควบคุม
ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงเดินข้ามถนนมาประชิดรั้วสำนักงานเรา โดยมีเหลือนายตำรวจเพียง
๓ นายที่ให้ทำหน้าที่คุ้มครองสำนักงานเป็นปราการด่านสุดท้ายของเรา
ขณะที่ทีมปลุกปั่นของกลุ่มประท้วงเริ่มทำหน้าที่
บรรยากาศเริ่มเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นพร้อมเสียงตะโกนขับไล่JSC ทีมตัวแทนเจรจาของกลุ่มผู้ประท้วงมาถึงรั้ว
พร้อมบังคับขอเพิ่มจำนวนเจรจาจาก ๕ คน เป็น ๑๐ คน
มิฉะนั้นจะให้ผู้ประท้วงใช้กำลังเข้าไปในสำนักงานขณะนั้นเราไม่สามารถจะไว้ใจตำรวจว่าจะช่วยรักษาความปลอดภัยเราได้
เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เราจึงต่อรองเหลือ ๘ คน
และเดินนำตัวแทนของผู้ประท้วงไปที่ห้องเจรจา
ในห้องเจรจาเราจัดตำแหน่งการนั่งโดยหัวหน้าสถานีนั่งตรงกลางข้างขวาและซ้ายเป็นตัวแทนทั้ง
๒ ฝ่าย ในทีมและล่าม ส่วนผู้เขียนนั่งอยู่ด้านหลังใกล้หน้าต่างที่มีม่านบาง ๆ
เพื่อ คอยดูเหตุการณ์ภายนอกได้และคอยช่วยเสริมในการเจรจา(ผู้เขียนเคยเรียนการเจรจาต่อรองในการเรียนขั้นปริญญาโท)การเจรจาก็เริ่มขึ้นโดยเราทำตามขั้นตอนการเจรจาที่ได้รับ
การอบรม มาดังที่ได้กล่าวข้างต้นแต่คราวนี้ผู้ประท้วงที่ทำหน้าที่คอยเพิ่มระดับความรุนแรงเพื่อจุดประสงค์ในการใช้กำลังจะคอยพูดอย่างเดียว
คือ JSC
ต้องออกไปจากอาเจะห์นั่นคือเขาไม่ได้ต้องการมาเจรจาแก้ไขปัญหากับทีมเราแต่มาเพื่อใช้กำลังบังคับให้ทีมของผู้เขียนออกนอกพื้นที่เมื่อเปิดม่านดูเหตุการณ์ภายนอกจึงเห็นกลุ่มนำเริ่มนำผู้ประท้วงออกมานอกพื้นที่ที่เราควบคุมแล้วมาประชิด
ล้อมสำนักงานเราโดยมีตำรวจยืนกันแต่ก็ไม่รู้ว่าจะสกัดได้หรือไม่ตัวแทนที่ทำหน้าที่ปลุกระดมติดป้ายประท้วงที่รั้วและออกมากล่าวโจมตีโดยมีการให้ข้อมูลผิด
ๆ เช่น
JSC รับเงิน
จากรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียแล้วอยู่เฉย ๆ
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้ประท้วง (จริงๆ JSC ได้รับการสนับสนุนเงินจากองค์กรภายนอกได้แก่ World Bank และประเทศญี่ปุ่น) ผู้ประท้วงเริ่มแสดงความโกรธแค้นด้วยการส่งเสียงตะโกนไล่ JSC อยู่ตลอดเวลา
ซึ่งทำให้เหตุการณ์ทั้งในห้องเจรจาตึงเครียดตามเหตุการณ์ข้างนอกมากขึ้น
เมื่อตัวแทนผู้ประท้วงรู้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงทั้ง ๑,๐๐๐ คนนั้น ทำหน้าที่ตามแผนคือประชิดสำนักงานได้ และบีบบังคับโดยใช้กำลังขู่ขับไล่เพิ่มระดับความรุนแรงจนในที่สุดผู้นำกลุ่ม
ประท้วงสอบถามว่าใครคือตัวแทนฝ่ายGAMตอนนั้นผู้เขียนนึกถึงเหตุการณ์รุนแรงที่Central
Aceh ลำดับเหตุการณ์คล้ายกันมาก
ผู้เขียนรีบสะกิดพี่หัวหน้าทีมที่กำลังจะพูดไม่ให้ระบุตัวตนในทีม หัวหน้าทีมของผู้เขียนจึงรีบเปลี่ยนเรื่อง
ขณะเดียวกันก็สังเกตเห็นใบหน้าของตัวแทนฝ่าย GAM ซึ่งแสดงอาการเหมือนคนกลัวตายดูท่าทางจะไม่น่าไว้วางใจจึงลุกขึ้นและออกไปสะกิดตัวแทน
ฝ่าย GAM ให้ออกจากห้องโดยอ้างว่าขอไปเข้าห้องน้ำและให้ล่ามอีกคนพาไปที่รถที่เตรียมพร้อมไว้ แต่เขาไม่ยอมเพราะกลัวและไม่มั่นใจล่ามแต่ไว้ใจผู้เขียน
ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องพาเขาออกจากสำนักงานทางข้างหลังสำนักงาน(เส้นทางลับฉุกเฉิน)
เราออกมาผ่านหลังบ้านชาวบ้านที่ทำหน้างง ๆ เดินอ้อมกลุ่มผู้ประท้วงเลียบทะเล ฝ่าย GAM มีใบหน้าซีดเมื่อเห็นกลุ่มผู้ประท้วงและจะวิ่งหนีลงทะเลผู้เขียนดึงเขาไว้และถามว่าเชื่อและมั่นใจในตัวผู้เขียนหรือไม่เขา
บอกว่าเชื่อ ผู้เขียนจึงบอกว่าให้ตามมาเราถอดเสื้อ JSC และอาศัยจังหวะที่ผู้ประท้วงกำลังสนใจตัวแทนที่มากล่าวโจมตี
JSC เดินผ่านอ้อมออกมาอย่างปกติ
รีบตรงไปที่รถที่เราให้เตรียมพร้อมฉุกเฉิน ผู้เขียนให้รถส่งฝ่าย GAM กลับไปรวมกับทีมที่ ๒
และเดินกลับมาที่สำนักงาน ทำหน้าที่ต่อ ในที่สุดตัวแทนฝ่ายประท้วงยื่นข้อเสนอให้ JSC
ออกนอกพื้นที่ในตอนนี้ มิฉะนั้นจะทำลายและเผาสำนักงาน
เราพยายามต่อรองโดยอ้างเรื่องข้อตกลงใน COHA
ที่ฝ่ายใดจะ ยกเลิกข้อตกลงต้องให้เวลา JSC ๑ เดือน และต้องแจ้ง JSC ก่อนออกนอกพื้นที่ แต่ตัวแทน
ฝ่ายประท้วงไม่สนใจและออกนอกห้องไปแจ้งกับ
ผู้ประท้วงที่อยู่นอกสำนักงานว่าเราไม่ยอมออกนอกพื้นที่สร้างความโกรธแค้นแก่ผู้ประท้วงเหมือนเอาไฟไปจุดน้ำมันทำให้ผู้ประท้วงโกรธเสียงตะโกนเริ่มดังขึ้นและพยายามเข้ามาในสำนักงาน ขณะนั้นเราโทรศัพท์แจ้งกอง บัญชาการ JSC
ถึงสถานการณ์และรอการตัดสินใจจาก
Senior Envoy และรีบแจ้งให้ทีมที่ ๒
เตรียมเคลื่อนย้ายทีม
การประเมินเหตุการณ์ที่เห็นคาดว่าคงจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงแน่นอนเพราะตำรวจเริ่มคุมผู้ประท้วงไม่ได้เราต้องการลดบรรยากาศรุนแรง
ถ้ารอการตัดสินใจแน่นอนจาก JSC เรา คงไม่รอดจากการทำร้ายร่างกายและถูกเผาไปกับสำนักงานเป็นแน่
คงต้องแจ้งข้อตกลงเบื้องต้นคือการยอมออกนอกพื้นที่ก่อนเพื่อลดบรรยากาศตึง เครียด
โดยเราต้องหาผู้ที่จะเจรจากับผู้ประท้วงได้ในที่ประชุมเราสังเกตเห็นว่ามีตัวแทนคนหนึ่งซึ่งดูเป็นที่น่าเชื่อถือแก่ตัวแทนฝ่ายประท้วงคนอื่นและพอจะมีเหตุผลอยู่บ้าง
เราจึงเชิญมาต่อรองว่าเรายอมออกนอกพื้นที่แล้วแต่ขอต่อรองเวลาโดยอ้างว่าต้องเก็บของและล่ำลาเจ้าหน้าที่ราชการได้แก่บูปาตี
ตำรวจและนาวิกโยธิน ตรงนี้เราอ้างว่ามีความจำเป็นที่ฝ่ายเราต้องแจ้งความต้องการของผู้ประท้วงที่
ให้ฝ่ายเราออกนอกพื้นที่ไปยังรัฐบาลเขาก่อน
โดยให้ตัวแทนเหล่านี้ให้เป็นผู้เจรจากับทีมเรา ทั้งนี้การเจรจา
จะต้องเป็นไปอย่างเรียบร้อยและไม่มีการทำลายทรัพย์สินของทางราชการที่เป็นภาษีของผู้ประท้วงทุกคน
เพื่อเตือนผู้นำให้คุมผู้ประท้วงและไม่กล้าที่จะใช้กำลังเข้าทำลายทรัพย์สิน
สำนักงาน
รวมถึงทำร้ายเราหลังจากนั้นผู้นำคนดังกล่าวก็กลับไปแจ้งกลุ่มผู้ประท้วงที่ล้อมรอบ
สำนักงานเราไว้นับว่าเส้นยาแดงผ่าแปดเพราะเริ่มจะมีการหาเชื้อเพลิงบูชายัญเราและตำรวจเริ่มมองซ้ายมองขวาคาดว่าจะตัวใครตัวมันในไม่ช้า
ผู้นำคนนั้นกลับเข้ามาอีกครั้งและยื่นกำหนดเวลาให้ ๓
วันแต่เราต่อรองให้เพิ่มเป็น ๑๐ วัน ในที่สุดก็มายอมยุติกันที่ ๗ วันเสียงโห่ร้อง
ในความสำเร็จดังขึ้น ขณะที่ผู้เขียนและทีมเจรจาออกไปพบผู้ประท้วงพร้อมผู้นำกลุ่มประท้วงและตำรวจเพื่อแจ้งผลการเจรจาว่าเรายอมออกนอกพื้นที่
ขณะที่เจ้าหน้าที่สำนักงานแจกน้ำดื่มแก่ผู้ประท้วงทำให้ผู้
ประท้วงพอใจในผลเจรจาโห่ร้องแสดงความพอใจทยอยขึ้นรถกลับผู้เขียนนั่งมองผู้ประท้วง
ซึ่งมีใบหน้ายิ้มแย้มเหล่านั้นปีนป่ายขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่ ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่เขาถูกชักจูงว่าทำเช่นนี้แล้วจะทำให้เขาอยู่อย่างเป็นสุขแต่สิ่งที่เขากลัวที่สุดจะกลับมาหาเขาอีกครั้งหนึ่งหลังจาก
JSC ออกนอกพื้นที่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาจำไปชั่วชีวิต ครั้งนี้ความรุนแรงในพื้นที่จะเกิดขึ้นแบบที่เขาไม่เคยพบมาก่อน
(หลังจาก ผู้เขียนกลับมาแล้ว ทราบว่าเหตุการณ์ในจังหวัดอาเจะห์รุนแรงมาก โรงเรียนถูกเผาเป็นพันแห่ง ชาวบ้านตายมากกว่า๒๖
ปีที่ผ่านมามาก) สำหรับผู้เขียนแล้วทุกเหตุการณ์ยังอยู่ในความทรงจำ
ซึ่งได้เรียนรู้ด้วยตัวเองถ้าในวันนั้นมีการตัดสินใจผิดพลาดเหตุการณ์
ทั้งตัวผู้เขียนและเพื่อนร่วมทีมจะเป็นอย่างไร?
พี่หัวหน้าสถานีแจ้งสถานการณ์ทีม ๒
และความปลอดภัยของทีมแก่กองบัญชาการ JSC และขอทราบผลการตัดสินใจ
ซึ่งหัวหน้าทีมของผู้เขียนห่วงในความปลอดภัยของทีมมาก
จึงมีความตั้งใจจะถอนกำลังก่อนผู้เขียนออกความเห็นส่วนตัวว่าในความเป็นทหารอาชีพนั้น
หน้าที่และความรับผิดชอบมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
ถ้าทีมได้รับคำสั่งให้อยู่ต่อก็ต้องอยู่ต่อจะถอนกำลังก่อนไม่ได้
การอ้างเหตุผลที่ไม่ใช่ความเป็นจริงแจ้งแก่กองบัญชาการเพื่อเอาตัวรอดนั้นไม่ใช่วิสัยของทหาร
การที่เรามาปฏิบัติราชการที่นี่ เราต้องไม่ลืมเกียรติภูมิของทหารไทยและ
การกระทำต่าง ๆ อยู่ในสายตาของทหารสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
เวลาประมาณ ๑๘๐๐
หลังจากมีการประมาณสถานการณ์แล้ว กองบัญชาการ JSC จึงอนุญาตให้ทีมออกเดินทางกลับมาที่กองบัญชาการ
เพราะสถานีของเราอยู่ห่างไกลจากสถานีอื่นมาก จึงน่าเป็นห่วง
เนื่องจากการช่วยเหลืออพยพทั้งทางอากาศยานและภาคพื้นเป็นไปด้วยความยากลำบากและอาจจะถูกบล็อกเส้นทางออกจากเมืองTAPAKTUANทั้ง ๒ เส้นทาง การเคลื่อนย้ายออกจากเมือง TAPAKTUA เพื่อกลับไปที่กองบัญชาการ
JSC ซึ่งอยู่ที่เมืองบันดาร์อาเจะห์ใช้ระยะเวลาเพื่อการเดินทาง
๑ วันรถแต่ละคันต้องตรวจสอบความพร้อม
โดยเฉพาะเรื่องน้ำมันยางรถยนต์น้ำหนักบรรทุกและพื้นที่รถเพื่อวางแผนในการบรรทุกทรัพย์สินของ
JSC เช่น เอกสารการทำคดี คอมพิวเตอร์ และกระเป๋าเดินทาง
ส่วนของที่จำเป็นต้อง แยกติดตัวใส่เป้ไว้โดยเฉพาะ ได้แก่ Passport ตั๋วเครื่องบิน ยารักษาโรค
เครื่องหาตำบลที่ GPS โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม
เพื่อความไม่ประมาท ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดระหว่างเดิน ทาง
ก่อนย้ายออกจากที่พักผู้เขียนเปิดนิตยสาร นาวิกศาสตร์ และนิตยสารอื่นๆที่เพื่อนทิ้งไว้
ดูว่ามีพระบรมฉายาลักษณ์หรือไม่
เราเป็นคนไทยก็ไม่อยากให้คนชาติอื่นที่ไม่รู้มาเหยียบย่ำหรือไว้ในที่ไม่เหมาะสม
ผู้เขียนจึงตัดภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบรมราชชนกและสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชที่มีในหนังสือเก็บเข้าเป้ประจำตัว
รวมทั้งหนังสือสวดมนต์ประจำตัวที่ใช้สวดมนต์ทุกวัน ขณะที่สถานการณ์ภายนอกเมืองนั้นเริ่มรุนแรง
มีการปะทะกันของทั้ง ๒ ฝ่าย
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราจึงตัดสินใจเคลื่อนกำลังก่อนถึงเส้นตาย
ของผู้ประท้วง
ในเวลา ๐๖๐๐ ก่อนเส้นตาย ๓ วัน
เราเคลื่อนกำลังออกจากเมือง TAPAKTUA ไปเมือง
บันดาร์อาเจะห์ด้วยรถจำนวน ๖ คันโดยมีกำลังคุ้มกันจากนาวิกโยธินชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ
ๆ สำนักงานและที่พัก มาส่งเราจำนวนมาก พวกเขาพึ่งรู้ว่าความจริงคืออะไร
มีหลายคนมาบอกเรา ว่าสำหรับผู้ประท้วงเมืองบันดาร์อาเจะห์
มีการว่าจ้างหลายคนมาจากสามล้อรับจ้าง บางคนทำงานที่สำนักงานบูปาตี
แต่เมื่อถึงวินาทีนี้แล้วเราคงบอกพวกเขาได้แต่เพียงว่าพวกเราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างดีที่สุดแล้วและชาวเมืองอาเจะห์เป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองไปแล้ว
ตลอดเส้นทางกลับนั้นบรรยากาศบนรถเงียบ ความรู้สึกหลายอย่างผุดขึ้นมา
ผู้เขียนนึกถึงทิวทัศน์ นึกถึงภาพ ของชาวบ้านที่กำลังทำนา และนึกถึงเด็กตัวเล็ก
ๆ ที่อาศัยอยู่นอกเมือง
ออกมาโบกมือยิ้มให้ พวกเรา พวกเขาคงไม่รู้ว่าผู้ที่เคยไปช่วยพวกเขา
เป็นเสมือนตัวแทนรับรู้ความทุกข์ยากที่เขา
ได้รับจากการขัดแย้งทางการเมืองกำลังจะจากไปและต้องทิ้งให้พวกเขาเผชิญกับสิ่งที่น่ากลัว
บรรยากาศการละเมิดมนุษยธรรมกำลังจะเกิดขึ้นเหมือนเดิม และจะทวีความรุนแรงเพราะทั้ง
๒ ฝ่ายต้องการชัยชนะ ถ้าทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายแบ่งแยกดินแดน GAM มีจุดประสงค์ร่วมกันเพื่อความอยู่ดีกินดีมีสุขของชาวบ้านแล้วพวกเขาคงไม่ต้องลำบากเหมือนที่ผู้เขียน
ได้เข้าไปสัมผัส และกำลังจะเกิดขึ้นต่อไป ภาพสุดท้ายหลังจากเครื่องบินทหารได้บินขึ้นจากสนามบินแล้วผ่านหมู่บ้านชนบถ
เราจึงได้เห็นภาพทหารรัฐบาลได้เข้าปฏิบัติการค้นหาในลักษณะแถวหน้ากระดานหรือ Swept
Operationเพื่อหาฝ่ายตรงข้ามในหมู่บ้าน(ซึ่งภาพนี้ยังคงติดตาผู้เขียนถึงปัจจุบันว่าขออย่าได้เกิดกับแผ่นดินไทยเลย)
สำหรับภารกิจนี้เป็นภารกิจสุดท้ายในการปฏิบัติหน้าที่ที่เมือง TAPAKTUAN ของผู้เขียน นับว่าภารกิจนี้ประสบผลสำเร็จและทุกคนในทีมปลอดภัย
ตอนที่ ๔
บทสรุป
หลังจากนั้นประเทศญี่ปุ่น
สวีเดน และสหรัฐ ฯ ได้มีความพยายามที่จะเข้าไปเจรจาเพื่อให้องค์กร อังรีดูนังต์ปฏิบัติงานต่อในภารกิจนี้
แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้นกองบัญชาการของ JSC จึงได้แจ้งกับกระทรวงการต่างประเทศของไทยเพื่อยุติภารกิจดังกล่าว
กองบัญชาการกองทัพไทย จึงมีคำสั่งอนุมัติปิดภารกิจให้ผู้เขียนพร้อมผู้บังคับบัญชา
จำนวน ๔๘ คน กลับประเทศไทย ภายหลังปฏิบัติภารกิจในจังหวัดอาเจะห์มาเป็นเวลาประมาณ ๖ เดือน
สำหรับเหตุการณ์ในจังหวัดอาเจะห์ในปัจจุบันยังคงมีการต่อสู้ของทั้ง ๒ ฝ่าย
อย่างรุนแรงมากกว่า ๒๖ ปีที่ผ่านมาการ
ละเมิดมนุษยธรรมต่างๆถูกปกปิดโดยรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียไม่อนุญาตให้องค์กรใดๆ
หรือผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าไปทำข่าวในจังหวัดอาเจะห์
สำหรับตัวผู้เขียน
การได้มาปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดอาเจะห์นี้ เป็นบททดสอบจิตใจและเพิ่มประสบการณ์ความมั่นใจในการปฏิบัติงานในทุกภารกิจที่จะได้รับจากกองทัพเรือ
กองทัพไทย ประเทศชาติ ความรู้สึกขณะเกิดเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ ยังอยู่ในความทรงจำตลอดไปและจะกลับมาเตือนสติให้ปฏิบัติภารกิจด้วยความมีสติ ไม่ประมาท สำนึกถึงระบบเกียรติศักดิ์ หน้าที่ความรับผิดชอบ
ประโยชน์ส่วนรวมกองทัพเรือ กองทัพไทย ประเทศชาติและประชาชนซึ่งจะอยู่เหนือสิ่งอื่นใดแม้ชีวิตตนเอง
และเมื่อไม่นานมานี้(๑๒
สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ประธานาธิบดี เมกาวาตรีซูกาโนบุตรี ได้
ลงนามอนุมัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญเชิดชูเกียรติ SATYALANCANA DHARMA NUSA ให้กับ พลตรี ทะนงศักดิ์ ตุวินันท์และนายทหารไทย อีก ๕๔ คน
โดยมอบหมายให้ตัวแทนคือพลเอก Susilo Bambang Yudhoyono รัฐมนตรีประสานงานด้านกิจการการเมืองและความมั่นคงของอินโดนีเซีย(ตำแหน่งขณะนั้น
ต่อมาท่านเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซีย) เดินทางมาเป็นผู้มอบเหรียญดังกล่าวให้กับผู้แทนกองทัพไทยที่สถานทูตอินโดนีเซีย
/กรุงเทพ
โดยกำลังพลในส่วนของกองทัพเรือที่ได้รับประกอบด้วย นาวาตรี ณรงค์ นุสุวรรณ
หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ นาวาตรี ประสิทธิ์ ทองรักษ์
หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
ปฏิบัติงานพื้นที่ Tapaktuan
เขต South Aceh นาวาตรี นันทนาท บุญญพงษ์ กรมข่าวทหารเรือปฏิบัติงานพื้นที่Takengon เขต West Aceh นาวาตรี ดนัย ปฏิยุทธ โรงเรียนนายเรือ เรือเอก สิทธิชัย เรืองขจิต
กองเรือยุทธการปฏิบัติงาน พื้นที่ Birun เขต North
Aceh และผู้เขียนนาวาตรี พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล กรมข่าวทหารเรือ ปฏิบัติงานพื้นที่ Tapaktuan เขต South Aceh ซึ่งภารกิจนี้ถือว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับกองทัพเรือ กองทัพไทย และประเทศชาติ
ข้อมูลผู้เขียน: นาวาเอก พิสุทธิ์ศักดิ์ ศรีชุมพล
E-Mail : royalelephant@yahoo.com